09_พรด.

การอบรมการใช้ระบบปฏิบัติการประกวดผลงานและแข่งขันในการประชุมวิชาการ”การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี”

ในวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2565 รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา) เป็นประธานในพิธีเปิด และผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง) ร่วมเป็นเกียรติกล่าวรายงาน การอบรมการใช้ระบบปฎิบัติการประกวดผลงานและแข่งขันในการประชุมวิชาการ”การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ณ ห้องปฎิบัติการ DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Zoom Meeting)

ในการประชุมฯ ครั้งนี้ มีผู้ร่วมประชุมฯ ได้แก่ ศึกษานิเทศก์และผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนตามพระราชดำริ จาก 47 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ 2 คน รวม 94 คน และวิทยากรในการอบรมฯ และเจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบโครงการของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 114 คน

การประชุมฯ ในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่
1) ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
2) ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน
3) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ
4) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ
5) ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการจัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติ รายด้าน

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ กพฐ. ขับเคลื่อนการดำเนินงานการน้อมนำ พระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงาน การน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งให้แนวคิดการขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่เพิ่มภาระงานใหม่ให้กับสถานศึกษา ครู นักเรียน แต่เป็นการปรับการดำเนินงานให้เป็นระบบยิ่งขึ้น ลงสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก สร้างความรักและเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพและเป็นพลเมืองดี ระหว่างวันที่ 21- 24 มิถุนายน 2565 การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้น  ณ ห้องประชุมสพฐ. 2 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ทั้งนี้ ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านติดตามตรวจสอบการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประธานคณะทำงานจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานการน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานเป็นการน้อมนำพระบรมราโชบาย 4 ด้าน คือ มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ-มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี
ผ่านการปฏิบัติกิจกรรม วิถีคนดี คุณธรรมนำชีวิต หนึ่งนักเรียนหนึ่งอาชีพ  และจิตอาสาด้วยหัวใจ โดยจะลงสู่การปฏิบัติในโรงเรียนนำร่อง 588 โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนพระราชดำริฯ  19 กลุ่มโรงเรียน ขับเคลื่อนผ่านเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกันถอดบทเรียนและค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผล
กับโรงเรียนทั่วไป 29,265 โรงเรียน ในปีการศึกษาต่อไป

ผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย นายบุญเลิศ  ค่อนสะอาด ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้  นางลำใย สนั่นรัมย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครื่องมือวัดผล นางสาวพรเพ็ญ ทองสิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.สุวิทย์  บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและสื่อสารการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านติดตามตรวจสอบการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา คณะทำงานจากส่วนกลาง นักวิชาการศึกษา คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และรองผู้อำนวยการโรงเรียน ตามลำดับ

สพฐ. ประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมวิชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ ประจำปี 2564

วันที่ 23 ธันวาคม 2564 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในการประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมวิชาการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564 โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สมเกียรติ ชอบผล ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 สำนักงานโครงการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี บรรยายพิเศษเรื่อง “การจัดการศึกษาตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัดนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” พร้อมด้วย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี รวมถึงผู้รับผิดชอบโรงเรียนในโครงกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฯ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เข้าร่วมการประชุม ณ โรงแรมคุ้มภูคำ และมหาวิทยาลัยแม่โจ้ จังหวัดเชียงใหม่

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฯ จึงมุ่งส่งเสริม สนับสนุน และติดตามการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตามวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่ 1) ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์มารดา 2) ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน 3) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ 4) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ 5) ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และ 6) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น

จากการดำเนินงานที่ผ่านมา สพฐ. โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ดำเนินงานพัฒนาโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนทุรกันดาร (กพด.) จำนวน 190 โรงเรียน ทั่วประเทศ เป็นกลุ่มโรงเรียนที่จัดตั้งขึ้นเพื่อพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์ตามตัวชี้วัด 6 ด้าน ตามแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารดามพระราชดำริฯ ฉบับที่ 5 สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2560-2579) และเพื่อให้การดำเนินการโครงการเป็นไปตามแผนปฏิบัติราชการของ สพฐ. และบรรลุตามวัตถุประสงค์ของกลุ่มโรงเรียน อีกทั้งเพื่อเป็นการพัฒนาศักยภาพผู้บริหารสถานศึกษา และสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เกี่ยวข้อง จึงได้จัดกิจกรรม ดังนี้

  1. การประชุมปฏิบัติการจัดทำแผนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร กลุ่มเป้าหมายเป็นผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 190 คน และผู้รับผิดชอบโครงการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 47 เขต รวมทั้งสิ้น 237 คน
  2. การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564
  3. การจัดนิทรรศการของโรงเรียนที่ชนะเลิศแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของ สพฐ. ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2564 โดยโรงเรียนบ้านเขาส่องกล้อง สังกัดสำนักงานเขดพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก
  4. การเฝ้ารับเสด็จฯ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัดนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ณ ศูนย์กีฬาเฉลิมพระเกียรติ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ สำหรับผู้บริหารและผู้ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร จำนวน 40คน และผู้เข้าร่วมรับเสด็จ ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ในระบบ Zoom Meeting โดยรวมแล้วมีผู้เข้าร่วมการประชุมฯ และร่วมกิจกรรม จำนวนทั้งสิ้น 370 คน

“ทั้งนี้ ในการประชุมและจัดกิจกรรมครั้งนี้ ยังได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรผู้ทรงความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารฯ มาให้ความรู้ความเข้าใจในการจัดทำแผนพัฒนาโรงเรียนในโครงการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัดนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ของ สพฐ. ซึ่งคาดว่าผู้เข้าร่วมประชุมทุกคนจะได้รับความรู้จากวิทยากรและประสบการณ์ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อนำไปพัฒนาโรงเรียนในพื้นที่ของตนเองต่อไป” เลขาธิการ กพฐ. กล่าว

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

https://www.obec.go.th/archives/544133

https://www.facebook.com/obec.pr/posts/1514880155549128

ดาวน์โหลด คู่มือการจัดตั้งงบประมาณปี 2566 งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง กลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ

ดาวน์โหลด คู่มือการจัดตั้งงบประมาณปี 2566

ดาวน์โหลด งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง กลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ

ลิงก์สำรอง คลิก