07_คพศ.

สพฐ. ให้ความสำคัญด้านการคัดแยกต้นทางเพื่อนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล โครงการกล่องนมรักษ์โลก

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้ น.ส.นลินี  จีนกูล ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษและบุคลากรกลุ่มโครงการพิเศษ เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานกระบวนการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด จังหวัดราชบุรี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และบริษัท เต็ดตรา แพ้ค (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินโครงการกล่องนมรักษ์โลก (Careton กล่องนมรักษ์โลก) ด้วยการรับสมัครโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร (กทม.) และสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกิจกรรมส่งเสริมให้เกิดการคัดแยกจัดเก็บกล่องเครื่องดื่มในโรงเรียน ซึ่งมีโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 26 แห่ง และโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 12 แห่ง รวมทั้งสิ้น 38 แห่ง และเพื่อให้โรงเรียนที่ร่วมกิจกรรมได้เข้าใจและเห็นความสำคัญการคัดแยกต้นทางเพื่อนำกลับสู่กระบวนการรีไซเคิล โครงการจึงได้จัดกิจกรรมศึกษาดูงานกระบวนการรีไซเคิลกล่องเครื่องดื่ม ในวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 ณ บริษัท อีโค่ เฟรนด์ลี่ ไทย จำกัด จังหวัดราชบุรี พร้อมกับมอบเกียรติบัตรให้กับครูและโรงเรียนที่ร่วมโครงการ

รายชื่อโรงเรียนในสังกัด สพฐ. จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่

1. โรงเรียนทุ่งมหาเมฆ สพป.กรุงเทพมหานคร
2. โรงเรียนแก้วอินทร์สุธาอุทิศ สพป.นนทบุรี เขต 2
3. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 55 (วัดโบสถ์ดอนพรหม) สพป.นนทบุรี เขต 1
4. โรงเรียนวัดคลองชัน สพป.ปทุมธานี เขต 2
5. โรงเรียนพญาไท สพป.กรุงเทพมหานคร
6. โรงเรียนอนุบาลพิบูลเวศม์ สพป.กรุงเทพมหานคร
7. โรงเรียนวัดอมรินทราราม สพป.กรุงเทพมหานคร
8. โรงเรียนไทยรัฐวิทยา 69 (คลองหลวง) สพป.ปทุมธานี เขต 1
9. โรงเรียนวัดบางพลีใหญ่ใน สพป.สมุทรปราการ เขต 2
10. โรงเรียนคลองบางแก้ว สพป.สมุทรปราการ เขต 2
11. โรงเรียนประถมศึกษาธรรมศาสตร์ สพป.ปทุมธานี เขต 1
12. โรงเรียนอนุบาลวัดปรินายก สพป.กรุงเทพมหานคร

การประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย ดร.จักรพงษ์  วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวยั่งยืนให้กับคณะทำงานจัดทำและปรับปรุงเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดทำคู่มือการประกวดสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นต้นแบบ สร้างแรงบันดาลใจ ส่งต่อนโยบายให้โรงเรียนในสังกัด ทั้งนี้เกณฑ์การประกวดได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักเทียบเคียงในการส่งเสริม กำกับดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน เกณฑ์ประกวดสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนประกอบด้วย หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบายและการวางแผน หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากร พลังงาน และการจัดการของเสีย หมวดที่ 4 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย และหมวดที่ 5 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหลอมรวมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู โรงเรียน ตลอดจนชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเชิดชูสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน ในการเป็นต้นแบบของการสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ และมีสมรรถนะในการปฏิบัติจริง ทั้งในด้านการคิด การตัดสินใจ การร่วมมือกันปฏิบัติงาน การใช้และบำรุงทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”   โดยมีคณะทำงาน จำนวน 31 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ 12 คน นักวิชาการศึกษา 7 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครู จำนวน 3 คน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน

ประกาศรายชื่อนักเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ High School Students International Conference ในวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566

ตามที่ สพฐ. ประชาสัมพันธ์นักเรียนที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ High School Students International Conference ในวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566 โดยวิทยากร จำนวน 3 คน หัวเรื่อง คือ “Connection Between Robots and Us”, “Climate Change and What We Should Do” และ “You Failed Upwards” โดยแบ่งกิจกรรมออกเป็น 2 ช่วง คือ ช่วงเช้าระหว่างเวลา 07.00 – 09.05 น. และ ช่วงบ่ายระหว่างเวลา 09.45 – 11.50 น. (เวลาประเทศไทย) ซึ่งผู้จัดเชิญนักเรียนไทยเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งควรเป็นผู้มีความรู้และสนใจในหัวเรื่องเกี่ยวกับหุ่นยนต์ ภาวะโลกร้อนและความหลากหลายในแง่มุมต่าง ๆ ในยุคปัจจุบัน นั้น

ในการนี้ สพฐ. ขอประกาศระกาศรายชื่อนักเรียนที่สนใจสมัครเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ High School Students International Conference ในวันอาทิตย์ที่ 12 กุมภาพันธ์ 2566

รายชื่อ คลิกที่นี่
** หมายเหตุ : สพฐ จะดำเนินการเสนอรายชื่อเพื่อให้ เลขาธิการ กพฐ อนุมัติคำสั่งให้นักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมต่อไป

โครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2566

วันอังคารที่ 17 มกราคม 2566  นางสาวกฤติกา ราษีสุทธิ์ ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายบริหารด้านการใช้ไฟฟ้าและกิจการเพื่อสังคม การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย พร้อมคณะ ขอหารือร่วมกับ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และนางสาวนลินี จีนกูล ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการโครงการพิเศษ  พร้อมคณะ เพื่อรายงานการดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2565 ทั้งนี้ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้นำเสนอแผนงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ประจำปี 2566 โดยมีรายละเอียดกิจกรรม ดังนี้
1. การพัฒนาเยาวชนเครือข่ายห้องเรียนสีเขียว ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษา
2. นิทรรศการและกิจกรรมในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ โดยเชิญ สพฐ.ร่วมกิจกรรม
3. เสริมสร้างทัศนคติเยาวชนสู่สังคมคาร์บอนต่ำ
4. บูรณาการห้องเรียนสีเขียวร่วมกับหน่วยงาน กฟผ. ให้กับโรงเรียน ชุมชน ในพื้นที่ตามแผน PDP
5. จัดตั้งห้องเรียนสีเขียว จำนวน 2 โรงเรียน
6. การพัฒนา Website ห้องเรียนสีเขียวรูปแบบใหม่เพื่อสร้างสังคมแห่งการเรียนร้อย่างยั่งยืน (Green Learing Society) และแผนการดำเนินงานห้องเรียนสีเขียว ปี 2566 มีแผนการดำเนินงาน ดังนี้ 1.งานการประกวดนวัตกรรม พลังงานและสิ่งแวดลอ้ ม ประจ าปี 2566 2. งานพลังเยาวชน (Green Learning Society) 3.งานส่งเสริมกิจกรรมเยาวชน สู่สังคมคาร์บอนต่ำ และ 4.งานจัดทำสื่อการเรียนรู้ ห้องเรียนสีเขียว (Smart Green Learning Room)

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ กลุ่มโครงการพิเศษ ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ระหว่างวันที่ ๒๖ – ๒๘ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อินน์ พระราม ๖ กรุงเทพมหานคร การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริม สนับสนุนให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาพัฒนาหน่วยงานที่มีการดำเนินงานที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและมีความปลอดภัยในการทำงานเพื่อเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนในด้านสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วย ๑. นโยบายด้านความปลอดภัย ๒. เกณฑ์การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสถานศึกษา (ITA) ๓. เกณฑ์การประเมินตามมาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานซึ่งเป็นตัวชี้วัดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ๔. เกณฑ์การประเมินสำนักงานสีเขียว (Green Office) ๕. เกณฑ์การประเมินการจัดการพื้นที่สีเขียว  

SCGC ร่วมกับ สส. และ สพฐ. ขยายผล “โครงการถุงนมกู้โลก” ส่งเสริมการจัดการขยะ ในโรงเรียน มุ่งสร้าง Eco-School เน้นให้เยาวชนเรียนรู้ผ่านการปฏิบัติจริง

15 พฤศจิกายน 2565 : เอสซีจี เคมิคอลส์ หรือ SCGC ร่วมกับ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) และสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดสัมมนาออนไลน์ “ต้นแบบการจัดการขยะในโรงเรียน โครงการถุงนมกู้โลก” เพื่อขยายผล “โครงการถุงนมกู้โลก” โมเดลการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy in School Model) ซึ่งริเริ่มโดย SCGC เน้นสร้างการเรียนรู้ให้กับเยาวชนผ่านการลงมือปฏิบัติจริง โดยขับเคลื่อนผ่านความร่วมมือของภาคีเครือข่าย ทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ตั้งเป้าขยายผลโครงการฯ ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 50 จังหวัด 1,700 โรงเรียน เพื่อให้เกิดการจัดการขยะภายในโรงเรียนอย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมในวงกว้าง สอดคล้องกับแนวทาง อีโคสคูล (Eco-School) พร้อมกันนี้ ได้ประชาสัมพันธ์ “กิจกรรมหนูน้อยกู้โลก” เปิดโอกาสให้เยาวชนส่งคลิปการจัดการถุงนมใช้แล้วเข้าประกวดชิงทุนการศึกษารวมกว่า 1 แสนบาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร

ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เปิดเผยว่า “โครงการถุงนมกู้โลก โดย SCGC เป็นโครงการที่ดำเนินการตามหลักการเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้วาระแห่งชาติ BCG Economy Model ที่มุ่งให้ความรู้และส่งเสริมให้เยาวชนคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง และนำนวัตกรรมมาเปลี่ยนถุงนมใช้แล้วให้กลายเป็นสิ่งของที่มีมูลค่าเพิ่มใช้งานได้ยาวนาน เช่น เก้าอี้ กระถางต้นไม้ สร้างตัวอย่างการหมุนเวียนทรัพยากรให้เห็นเป็นรูปธรรม ทาง สพฐ. มีความยินดีและพร้อมขับเคลื่อนโครงการฯ ผ่านสำนักงานเขตการศึกษาประถมศึกษา และโรงเรียนภายใต้ สังกัด สพฐ. เพื่อสร้างความตระหนักเรื่องการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด และความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมแก่เยาวชน เพื่อมุ่งสู่ Zero Waste School หรือ ‘ขยะเหลือศูนย์’ ในอนาคต”

ดร.สุรชา อุดมศักดิ์ รองผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่สายงานนวัตกรรม SCGC กล่าวว่าSCGC ธุรกิจเคมีภัณฑ์เพื่อความยั่งยืน ดำเนินธุรกิจควบคู่กับการดูแลสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล หรือ ESG (Environmental, Social and Governance) ขับเคลื่อนการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เน้นพัฒนานวัตกรรมพอลิเมอร์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม หรือ Green Polymer นอกจากนี้ ยังมุ่งลดผลกระทบต่อภาวะโลกร้อน ด้วยการเพิ่มประสิทธิภาพด้านพลังงาน การใช้พลังงานหมุนเวียน และพัฒนาเทคโนโลยีคาร์บอนต่ำ รวมทั้งมุ่งสร้างสังคมคาร์บอนต่ำ ให้เกิด Low Waste, Low Carbon โดยเล็งเห็นว่าการบริหารจัดการขยะตั้งแต่ต้นทางเป็นหนึ่งในทางออกสำคัญที่ทุกภาคส่วนควรร่วมมือกันขับเคลื่อน”

SCGC ได้ริเริ่มนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่ชุมชนรอบโรงงาน จ.ระยอง ภายใต้ “โครงการชุมชน LIKE (ไร้) ขยะ” เชื่อมโยง บ้าน วัด โรงเรียน และธนาคารขยะ ให้ความรู้และสร้างพฤติกรรมคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง โดยปัจจุบันมีชุมชนเข้าร่วมโครงการฯ กว่า 4,000 คน นำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลกว่า 236 ตัน ช่วยลดปริมาณการฝังกลบขยะ และลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกกว่า 483,375 กิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่า (ข้อมูล ณ วันที่ 30 กันยายน 2565)

นอกจากนี้ เพื่อต่อยอดการจัดการขยะในโรงเรียน ซึ่งพบว่ามีปริมาณขยะจากถุงนมจำนวนมาก SCGC จึงได้ร่วมกับโรงเรียนนำร่องในจังหวัดระยอง ริเริ่ม “โครงการ SCGC ถุงนมกู้โลก” ขึ้น โดยนำนวัตกรรมและการออกแบบมาสร้างมูลค่าเพิ่มให้พลาสติกใช้แล้วอย่างถุงนม นำเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิล และขึ้นรูปเป็น “เก้าอี้พลาสติกรีไซเคิลจากถุงนมโรงเรียน” ที่ใช้งานได้ยาวนาน ปลูกจิตสำนึกเรื่องการจัดการขยะ และสร้างตัวอย่างการหมุนเวียนทรัพยากรให้เห็นเป็นรูปธรรม

“ที่ผ่านมา SCGC ได้ขยายผล โครงการ SCGC ถุงนมกู้โลก ร่วมกับโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (สพป.) สุพรรณบุรีเขต 1 รวม 135 โรงเรียน พร้อมร่วมมือกับเครือข่ายเอกชน รองรับโรงเรียนต่าง ๆ ที่สนใจเข้าร่วมโครงการต่อไป โดยตั้งเป้าขยายผลโครงการฯ ครอบคลุมพื้นที่เป้าหมาย 50 จังหวัด 1,700 โรงเรียน สำหรับความร่วมมือระหว่าง SCGC สส. และ สพฐ. ในครั้งนี้ จะช่วยขับเคลื่อนให้เกิดการจัดการขยะในโรงเรียนอย่างเป็นระบบ และเห็นเป็นรูปธรรมในวงกว้างต่อไป” ดร.สุรชา กล่าวเพิ่มเติม

นายสมศักดิ์ สรรพโกศลกุล อธิบดีกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม (สส.) กล่าวว่า “กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และกระทรวงศึกษาธิการ ได้ลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การดำเนิน ‘โครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-School)’ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมความร่วมมือ และสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ทั่วประเทศ พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ด้านสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนตามหลักการของโครงการ สอดคล้องกับแนวทางการสร้างพลเมืองเพื่อสิ่งแวดล้อม (Green Citizen) ที่มีความตระหนัก และรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งต้องปลูกฝังพฤติกรรมตั้งแต่วัยเด็ก ‘โครงการถุงนมกู้โลก โดย SCGC’ ได้สร้างต้นแบบการจัดการถุงนมโรงเรียนแบบครบวงจร ช่วยลดปริมาณขยะฝังกลบและเพิ่มการรีไซเคิล มีแนวทางที่สอดคล้องกับ ‘โครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco-School)’ และ ‘โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste to School)’ กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในสังกัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมขับเคลื่อน และขยายผล รวมถึงการประชาสัมพันธ์โครงการฯ ผ่านภาคีเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน และขอเชิญชวนสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด (ทสจ.) และโรงเรียนในเครือข่ายเข้าร่วมโครงการฯ สร้างการมีส่วนร่วมและการเรียนรู้ ผ่านการบูรณาการกิจรรมเรื่องการจัดการขยะอย่างเป็นรูปธรรมให้แก่เยาวชนในวงกว้าง พัฒนาเด็กและเยาวชนให้เห็นคุณค่าของการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เริ่มต้นจากสองมือเล็ก ๆ สู่การสร้างลักษณะนิสัยรักสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนในอนาคต”

สำหรับ “กิจกรรมหนูน้อยกู้โลก” ภายใต้โครงการถุงนมกู้โลก ชวนโรงเรียนอนุบาล-ประถมศึกษาทั่วประเทศ ร่วมกิจกรรมประกวดคลิปวิดีโอ “หนูน้อยกู้โลก” เพียงบอกเล่าวิธีจัดการถุงนมโรงเรียนใช้แล้วให้สร้างสรรค์และน่าสนใจ ความยาวไม่เกิน 3 นาที ชิงทุนการศึกษารวมกว่า 1 แสนบาท พร้อมโล่รางวัล และเกียรติบัตร สมัครและส่งผลงานได้ตั้งแต่วันนี้ – 13 ม.ค. 2566 ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ www.scg.com หรือ Facebook: SCGofficialpage

สอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับโครงการถุงนมกู้โลก

คุณานนท์ คงสมเวช

kunanoko@scg.com โทร 088-745-2130

การจัดกิจกรรมงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัลโครงการ “นวัตกรรมรักษ์โลก”

วันที่ 11 ตุลาคม 2565  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มโครงการพิเศษ เป็นคณะทำงานคนดี รักษ์โลกและให้ได้ความร่วมมือในการเผยแพร่ประชาสัมพันธ์เพื่อเชิญชวนนักเรียน เด็ก และเยาวชนและผู้ที่สนใจ ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดคลิปในหัวข้อ “บอกรักโลก : บ้านส่วนรวมของเรา” ในการนี้คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา กำหนดจัดงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัล โครงการ “นวัตกรรมรักษ์โลก” ในวันอังคารที่ 11 ตุลาคม 2565 เวลา 08.30 – 15.30 น. ณ ห้องสัมมนา B 1 – 1 ชั้น B 1 อาคารรัฐสภา ได้เชิญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเข้าร่วมงานและจัดนิทรรศการโครงการ “นวัตกรรมรักษ์โลก”

โดย สพฐ. มอบหมายให้โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก และโรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 ร่วมจัดนิทรรศการ เพื่อเผยแพร่ผลการดำเนินงานของโรงเรียนที่สำคัญ ได้แก่
  • โครงการพัฒนาโรงเรียนสีเขียวสู่ความยั่งยืน บอร์ดเกม ภารกิจกู้โลก กับการพัฒนาที่ยั่งยืน  การผลิตเส้นใยจากผักตบชวาเพื่อดักจับไขมัน นำเสนอโดย โรงเรียนมัธยมวัดหนองจอก ฯลฯ
  • โครงการสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ฐานการเรียนรู้ผักไฮโดรดอรจา  ฐานการเรียนรู้ปุ๋ยหมักอินทรีย์ชีวภาพ นวัตกรรมอฐสละ   เศษอาหารมีค่าใช้เลี้ยงปลาตามแนวเศรษฐกิจพอเพียง ฯลฯ  นำเสนอโดย โรงเรียนดอนเมืองจาตุรจินดา

การประชุมเชิงปฎิบัติการ”สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565″ ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2565 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก

ช่วงระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2565 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (วนบ.) และ กลุ่มโครงการพิเศษ (คพศ.) นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ “สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก” ซึ่งมีคณะทำงานเข้าร่วมทั้งหมด 60 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย นักวิชาการศึกษา และข้าราชการบำนาญ โดยการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. เข้าร่วมสังเกตุและให้คำปรึกษาในการประชุมครั้งนี้

วัตถุประสงค์การประชุมครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อทบทวนและสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภาพความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 เรื่อง ดังนี้
1) สรุปผลการดำเนินงานโครงการคอนเน็กซ์อีดี
2) สรุปผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา
3)
สรุปผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมศักยภาพ
ในการเป็นพลเมืองอาเซียนและเตรียมสู่การเป็นพลเมืองโลกอย่างยั่งยืนและ
4) สรุปผลการดำเนินงาน
ด้านสิ่งแวดล้อม
พร้อมทั้งจัดทำเล่ม “สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 ต่อไป

เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้นวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม”

วันที่ 16 กันยายน 2565 ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้ นางสาวนลินี  จีนกูล ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ และบุคลากรโครงการพิเศษ  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้นวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม” ระหว่าง การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และ มหาวิทยาลัย ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ในการต่อยอดองค์ความรู้ และความตระหนักในคุณค่าของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมของเยาวชนมุ่งสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียว (Green Learning Society) โดยการจัดประกวดนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เยาวชนได้พัฒนาทักษะ ศักยภาพ และความคิดสร้างสรรค์ในการพัฒนานวัตกรรมการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อคุณภาพอากาศที่ดี ตลอดจนเพิ่มโอกาสในการเข้าศึกษาในระดับอุดมศึกษาให้กับนักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาในโครงการห้องเรียนสีเขียว ซึ่งเป็นการดำเนินการภายในบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ “โครงการความร่วมมือด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (โครงการห้องเรียนสีเขียว)” ระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล(Eco – School) ระหว่างวันที่ ๕ – ๘ กันยายน ๒๕๖๕  ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เชิงสะพานซังฮี้ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านดร.ภูธร  จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการเปิดการอบรมดังกล่าว

การอบรมครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของทั้ง ๒ หน่วยงาน ภายใต้ความร่วมมือ (MOU) การดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

๑) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล  (Eco – School)

๒) เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ พัฒนาโรงเรียนตามหลักการของโครงการโรงเรียนอีโคสคูล  (Eco – School) และ

๓) เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก เจตคติ รวมถึงเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑  ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)   โดย สพฐ. กำหนดนโยบายที่ส่งเสริมความร่วมมือ สร้างความรู้ ความเข้าใจในแนวทางการพัฒนาโรงเรียนอีโคสคูล  โดยยึดแนวทางการพัฒนาโรงเรียนทั้งระบบ เสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก และส่งเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านสิ่งแวดล้อม ขยายผลการพัฒนาโรงเรียนอีโคสคูลให้กับโรงเรียนในสังกัดทั่วประเทศ การอบรมครั้งนี้เป็นการอบรมรุ่นที่ ๑ จำนวน ๖๐ คน ประกอบไปด้วย ศึกษานิเทศก์ และครู

สามารถดาวน์โหลดรูปกิจกรรม คลิกที่นี่ 

 

รายงานผลการดำเนินงานโครงการนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ (100 นวัตกรรม)

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินการจัดสรร/ สนับสนุนงบประมาณให้กับโรงเรียนที่ได้รับการตัดสินนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับประเทศ จำนวน ๑๐๐ นวัตกรรม/ โรงเรียน ๆ ละ 5,000 บาท เพื่อนำไปพัฒนาต่อยอดผลงานนวัตกรรม อาชีพตามข้อเสนอ โดยกำหนดให้โรงเรียนดำเนินการพัฒนานวัตกรรม จัดทำวีดิทัศน์ เล่มรายงานผลการดำเนินงาน พร้อมทั้งส่งแบบรายงานผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายในวันที่ 15 กันยายน 2565

 

รายงานผลการดำเนินงานคลิกที่นี่

ข้อมูลที่รายงานผลการดำเนินงานเข้ามาแล้ว คลิกที่นี่

แนวทางการดำเนินงาน

ประกาศผลการตัดสินการประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับประเทศ

ขอให้โรงเรียนดำเนินการตามแนวทางที่แจ้งไว้

  1. แนวทางการขอรับเกียรติบัตรเข้าร่วม 503 นวัตกรรม (สามารถขอรับได้ทุกโรงเรียนตามรายชื่อเข้าร่วม)
  2. แนวทางการดำเนินงานสำหรับ 100 นวัตกรรม (ที่ได้รับการตัดสิน)
  3. แบบประเมินตอนที่ 1 (ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วม) /และ แบบประเมินตอนที่ 2,3 (สำหรับ 100 นวัตกรรม)

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

หนังสือนำส่ง สพท.

สำหรับนวัตกรรมที่เข้าร่วมประกวดทั้ง 503 นวัตกรรม ที่ประสงค์ขอรับเกียรติบัตรเข้าร่วม รายละเอียด ดังนี้

หากมีการแก้ไขคำถูกผิดสำหรับรายชื่อ โปรดแจ้งทางช่องทางไลน์ประสานงาน

ทำแบบประเมินและดาวน์โหลดเกียรติบัตร

ทำแบบประเมินและดาวน์โหลดเกียรติบัตร สำหรับนักเรียน

ทำแบบประเมินและดาวน์โหลดเกียรติบัตร สำหรับครูที่ปรึกษา