07_คพศ.

การประชุมร่วมพิจารณาโครงการนำร่องการศึกษาสีเขียว UNESCO – Huawei

เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2567 ได้มีการร่วมพิจารณาหนังสือจากสำนักความสัมพันธ์ต่างประเทศ สำนักปลัดกระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง โครงการนำร่องการศึกษาสีเขียว UNESCO – Huawei โดยขอความอนุเคราะห์ สพฐ. พิจารณาเสนอชื่อสถานศึกษาที่มีความเหมาะสมที่จะเข้าร่วมโครงการนำร่องการศึกษาสีเขียว จำนวน 4 แห่ง รวมทั้งให้ความเห็นต่อร่างข้อตกลงการบริจาคสิ่งของ (Draft Donation of Goods Agreement)โดยมีสำนักและผู้ที่เข้าร่วมดังนี้

  1. สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์
    1.1 นายภูริวรรษ คำอ้ายกาวิน ผอ.สำนักบริหารงานความเป็นเลิศด้านวิทยาศาสตร์
    1.2 นางสาวยูถิภา ฉายลักษมี นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
  2. สำนักสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
    2.1 นางอังสนา ม่วงปลอด นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ
  3. สำนักนิติการ
    3.1 นางสาวชลธิชา แสงนาค นิติกรปฎิบัติการ
  4. สำนักนโยบายและแผน
    4.1 นางสาวดารากร เพ็ญศิริ นักวิเทศสัมพันธ์ชำนาญการพิเศษ
    4.2 นางสาววีรดี อิศรเสนา ณ อยุธยา นักวิเทศสัมพันธ์ปฏิบัติการ
  5. สำนักพัฒนานวิตกรรมการจัดการศึกษา
    5.1 นางสาวธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
    5.2 นางสาวนลินี จีนกูล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ
    5.3 นายพรชัย ถาวรนาน นักวิชาการศึกษาชำนาญการ
    5.4 นางสาวชญาดา อินทรวินิจ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
    5.5 นางสาวกชกร อาริยะวัฒนา นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ
    5.6 นางสุดาพร หลวงนิหาร เจ้าหน้าที่โครงการ
    5.7 นายประเวช อุ่มผาง เจ้าหน้าที่โครงการ

จากการร่วมพิจารณาของผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ มีความเห็นโดยหลักการโครงการฯนำร่วงการศึกษาสีเขียว UNESCO – Huawei เป็นโครงการที่มีประโชน์ต่อสถานศึกษาจึงเป็นควรมอบหมายสำนักนิติกรตรวจสอบด้านระเบียบ กฏหมายที่เกี่ยวข้องในโครงการฯ มอบหมายสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาพิจารณารายชื่อโรงเรียน และพิจารณาร่วมกับโรงเรียนที่จะประสานส่งรายชื่อเพื่อเข้ารับการบริจาคแผงโซลร์เซลล์รวมทั้งการประสานเพิ่มรายชื่อโรงเรียนที่ทีก่ีตั้งอยู่ในจังหวัดที่สนองความต้องการของโครงการฯ โดยให้ข้อมูลโครงการฯในการเข้าตรวจสอบในการเข้าตรวจสอบโรงเรียนในการติดตั้งแผงโซลาร์เซล์ และการยอมรับในเงื่อนต่างๆ ของโครงการ

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ สนก

เชิญชวนนักเรียนที่สนใจเข้าร่วม ประกวดสปอตโทรทัศน์รณรงค์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) ได้ดำเนินการจัดการประกวด สปอตโทรทัศน์ เพื่อพัฒนานักเรียนและบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ ความเข้าใจ เกิดความตระหนักในปัญหาสิ่งแวดล้อม การอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พร้อมที่จะเป็นส่วนหนึ่งของการป้องกันและแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมของประเทศ ภายใต้หัวข้อ “ปลูกต้นกล้าความคิด เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม” พร้อมทั้งชิงโล่รางวัลเกียรติบัตรและเงินรางวัลมูลค่าร่วมกว่า 39,000 บาท

โดยรายละเอียดการแข่งขันมีดังนี้

หลักเกณฑ์การประกวด

หัวข้อ “ปลูกต้นกล้าความคิด เพื่อคุณภาพชีวิตและสิ่งแวดล้อม

ประเภทการประกวด แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่

ประเภทที่ 1 ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึง ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

ประเภทที่ 2 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

ประเภทที่ 3 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ถึง ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

โดยแต่ละทีมจะมีนักเรียนไม่เกิน 3 และครูผู้ควบคุมทีมไม่เกิน 2 คน

เปิดเริ่มสมัครตั้งแต่บัดนี้ไปจนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2567

เว็บไซต์ https://eesd.obec.go.th/

FACEBOOK

https://www.facebook.com/EESDinThailand/

https://www.facebook.com/profile.php?id=61556129662390

เอกสารราชการ และ โปรเตอร์ประชาสัมพันธ์ 

https://drive.google.com/drive/folders/1vLzxF4fhSQVruslqCMv4oHWdS1_HWQwc?usp=sharing

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ สนก

นิทรรศการโครงการ “คนดีรักษ์โลก”

เมื่อวันอังคารที่ ๑๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๗ ได้มีการจัดงานประกาศผลการประกวดคลิปและพิธีมอบรางวัล โครงการ “คนดีรักษ์โลก” จัดโดยคณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม คณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับ การท่าเรือแห่งประเทศไทย และสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย ณ ชั้น B๑ อาคารรัฐสภา (สผ.) โดยมี นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้ารับโล่เกียรติยศ “Saint Francis of Assisi Award” โดย อาร์ชบิชอป ปีเตอร์ ไบรอัน เวลส์ (Archbishop Peter Bryan Wells) เอกอัครสมณทูตแห่งนครรัฐวาติกัน ประจำประเทศไทย เป็นผู้มอบรางวัล

โครงการ “คนดีรักษ์โลก” มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการปลูกฝัง คุณธรรมให้เด็ก เยาวชนและประชากร กลุ่มคนรุ่นใหม่มีความตระหนักและเห็นคุณค่าความสำคัญของสิ่งแวดล้อม และมีการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้จากประสบการณ์ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่ได้นำหลักคุณธรรม จริยธรรมมาใช้ในการดำรงชีวิต ด้วยการไม่เบียดเบียน ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม รวมทั้งมีความเสียสละอุทิศตนเพื่อปกป้อง สิ่งแวดล้อม เมื่อคนกลุ่มมากปฏิบัติสืบเนื่องมายาวนานจนกลายเป็น “วัฒนธรรมรักษ์โลก” สร้างปรากฏการณ์ “คืนดีกับโลกอันจะเป็นประโยชน์ต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมและคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนในสังคมโดยส่วนรวม”

ทั้งนี้มีตัวแทนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีความโดดเด่นและดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม เป็นที่ประจักษ์ นำนิทรรศการเข้าร่วม จำนวน ๔ โรงเรียนได้แก่

โรงเรียนที่ ๑ โรงเรียนวัดสังฆจายเถร สังกัด สพป.สุพรรณบุรี เขต ๑ โดยมีโครงการที่นำเสนอ ๓ โครงการได้แก่
๑. นำเสนอโครงการโรงเรียนอีโคสคูล
๒. การปลูกพืชผักผลไม้ และลดการใช้สารเคมีตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
๓. การแปรรูปผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร เช่น กล้วยฉาบ และน้ำยาบ้วนปาก

โรงเรียนที่ ๒ โรงเรียนบ้านโคกมะเมียน (ธรรมสุชาติอุทิศ) สังกัด สพป.สุรินทร์ เขต ๑ โดยมีโครงการที่นำเสนอ ๓ โครงการได้แก่
๑. การนำขยะมารีไซเคิลเป็นสินค้า
๒. การปลูกต้นไม้เพื่อเพิ่มพื้นที่สีเขียว
๓. การแปรรูปอาหารข้าวหอมมะลินิลสุรินทร์

โรงเรียนที่ ๓ โรงเรียนระหานวิทยา สังกัด สพม.กำแพงเพชร โดยมีโครงการที่นำเสนอ ๓ โครงการได้แก่
๑. การผลิตหัวโขนที่ทำจากกระดาษรีไซเคิล
๒. การผลิตกระถางต้นไม้จากดินและกระดาษรีไซเคิล
๓. นำเสนอโครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School

โรงเรียนที่ ๔ โรงเรียนวัดเขมาภิรตาราม สังกัด สพม.นนทบุรี โดยมีโครงการที่นำเสนอ ๔ โครงการได้แก่
๑. เครื่องคัดแยกขยะประเภทขวดพลาสติก และโลหะ ผ่านระบบ IOT
๒. กระดาษจากผักตบชวาที่มีประสิทธิภาพการดูดซับเอทิลีน
๓. การประดิษฐ์กระถางดอกไม้จากขวดพลาสติก
๔. การเพิ่มพื้นที่สีเขียวด้วยการจัดสวนถาด

Continue reading

การประชุมเตรียมการโครงการนำร่องการศึกษาสีเขียว UNESCO – Huawei

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 เดือนมกราคม 2567 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตัวแทน UNESCO – Huawei ได้ประสานงานโครงการฯ กับหน่วยงานหลายหน่วยงาน เช่น อาชีวศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ฯลฯ เพื่อเสนอโปรเจ็ค Green – Cool และอธิบายรายละเอียดของโปรเจ็คเป็นการบริจาคอุปกรณ์โซล่าเซลล์ให้กับโรงเรียนจำนวน 4 โรงเรียน

ซึ่งอุปกรณ์ที่จะแจกให้กับโรงเรียนมีมูลค่า 500,000 – 1,000,000 บาท โดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เสนอชื่อโรงเรียนไปยังทางโครงการฯ อีกทั้งทางโครงการจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบคุณสมบัติของโรงเรียนที่จะรับบริจาคเพื่อดำเนินโครงการต่อไป

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ สนก

การประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัฒกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม 2567 ณ โรงแรม ปรี๊นส์ตั้น กรุงเทพมหานคร

การประชุมในครั้งนี้ เกิดจากการร่วมมือทั้ง 2 หน่วยงานโดยสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยงาน ภายใต้ความร่วมมือ โครงการส่งเสริมการศึกษาด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์อย่างยั่งยืนตามหลักเศษฐกิจหมุนเวียน

มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงหลักสูตรการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจ ในทักษะกระบวนการสิ่งแวดล้อม โดยมีคณะทำงาน จำนวน 51 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และ ผู้เกี่ยวข้อง

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ สนก

รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่าง Tokyo Metropolitan Board of Education และ สพฐ. ในกิจกรรมออนไลน์ Virtual Study Abroad

รายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่าง Tokyo Metropolitan Board of Education และ สพฐ.
ในกิจกรรมออนไลน์ Virtual Study Abroad และกิจกรรมออนไลน์ High School Students International Conference รับฟังบรรยาย อภิปรายและทำกิจกรรมในหัวข้อ Virtual Study Abroad
ในวันศุกร์ที่ 3 พฤศจิกายน 2566 ระหว่างเวลา 07.00 – 14.30 น. (เวลาประเทศไทย)

โครงการความร่วมมือ ด้านการศึกษาระหว่าง Tokyo Metropolitan Board of Education และ สพฐ. กิจกรรมออนไลน์ Virtual Study Abroad

โครงการความร่วมมือด้านการศึกษาระหว่าง Tokyo Metropolitan Board of Education และ สพฐ.
กิจกรรมออนไลน์ Virtual Study Abroad

รับสมัครนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่อยู่ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่มีความสนใจเข้าร่วมกิจกรรมออนไลน์ High School Students International Conference รับฟังบรรยาย อภิปรายและทำกิจกรรมในหัวข้อ Virtual Study Abroad

ในวันศุกร์ที่ ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๖ ระหว่างเวลา ๐๗.๐๐ – ๑๔.๓๐ น. (เวลาประเทศไทย)

 

การขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR)

TIPMSE รวมพลังเครือข่ายประกาศเริ่มปฏิบัติการ EPR ภาคสมัครใจ เก็บกลับบรรจุภัณฑ์สู่วงจรรีไซเคิล

ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ หนึ่งใน 26 องค์กรที่มาร่วมแสดงเจตจำนงขับเคลื่อน EPR Voluntary เพิ่มเติมในปี 2023 โดยมีบทบาทการทำงานร่วมกันในส่วนของการสื่อสารสร้างความเข้าใจเพื่อสนับสนุนหลักการ EPR ให้กับกลุ่มเยาวชนซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการจัดการบรรจุภัณฑ์ผ่านกิจกรรมหลักสูตรอบรมครูประถม-มัธยม และกิจกรรมโต้สาระวาที ซึ่งเป็น 2 กิจกรรมที่จะช่วยให้เยาวชนเข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดการบรรจุภัณฑ์ต่อไปอนาคตได้

ภายในงานดังกล่าวมีเวทีสัมมนา “EPR in action: ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ธุรกิจปังอย่างยั่งยืน” โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ และสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หรือ TIPMSE จัดเวทีสัมมนา พร้อมแถลงความร่วมมือระหว่าง 4 องค์กรเครือข่าย ได้แก่ PackBack By TIPMSE, PPP Plastics, PRO Thailand Network และ Aluminum Closed Loop Packaging System ที่มีบทบาทในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ทั้งแก้ว กระดาษ พลาสติก กล่องนม และกระป๋องอลูมิเนียม เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยกลไก Extended Producer Responsibility หรือ EPR ซึ่งเป็นกลไกการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต ครอบคลุมตลอดทั้งชีวิตวงจรผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงขั้นตอนหลังการบริโภค โดยมีนางชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อน EPR ร่วมเป็นประธานในพิธี ในวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ณ ห้องเพลนารีฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

 

พิธีมอบรางวัลในงาน EGAT Green Learning Society

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ในการมุ่งเน้นปลูกฝังองค์ความรู้ ทัศนคติ และอุปนิสัยที่ดีในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนของโรงเรียนในโครงการห้องเรียนสีเขียว ในปี 2566 ได้กำหนดจัดกิจกรรมประกวดสำหรับนักเรียนและโรงเรียน จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้

  1. กิจกรรมโรงเรียนสีเขียวเบอร์ 5 เพื่อยกระดับโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้โรงเรียนบูรณาการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมกับทุกกิจกรรมของโรงเรียน รวมทั้งเป็นการประเมินและติดตามผลโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  2. กิจกรรม EGAT Green Learning Academy ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาทักษะการผลิตสื่อของเยาวชนสู่การเป็นนักสื่อสารและเป็นผู้นำที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่สังคม

และในวันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมเป็นประธานมอบรางวัลในงาน EGAT Green Learning Society ซึ่งเป็น การประกาศเกียรติคุณให้แก่โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของปี 2565 และปี 2566 ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคาร Impact Exhibition อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี 

        

“คนดี รักษ์โลก”

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้เข้าร่วมงาน “คนดี รักษ์โลก” โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม B1-1 ถึง ห้องประชุม B1 – 6 (ฝั่งสภาผู้แทนราษฎร) ชั้น B1 อาคารรัฐสภา โดยเป็นการจัดงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัลโครงการนวัตกรรมรักษ์โลก ในงาน “พลังแห่งความรัก” และได้เชิญโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 2 โรงเรียนเข้าร่วมจัดนิทรรศการ “นวัตกรรมรักษ์โลก” ได้แก่ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่เป็นเลิศ (Best Practice)

 

     

 

สพฐ. ขอประกาศผลการแข่งขันโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” และขอแจ้งรายละเอียด ดังนี้

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

การประชุมเตรียมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Cloud Meetings)

วันที่ ๑๘ กรกฎาคม ๒๕๖๖ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้อนุมัติให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมเตรียมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน ผ่านระบบออนไลน์ (Zoom Cloud Meetings) ได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งเป็นโรงเรียนที่ได้รับเกียริตบัตรขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ โดยทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้โอนจัดสรรงบประมาณให้กับโรงเรียน เพื่อเตรียมการจัดตั้งศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน จำนวน ๒๙ โรงเรียน ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีศักยภาพสูงในการดำเนินงานสวนพฤกษศษตร์โรงเรียนและดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง สามารถเป็นพี่เลี้ยงให้กับโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงที่สนใจเข้าร่วมโครงการ และช่วยให้คำแนะนำกับโรงเรียนที่จะต้องรับการประเมินจากคณะกรรมการของโครงการ อพ.สธ. ซึ่ง สพฐ. มีแผนในการเพิ่มจำนวนสมาชิกงานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน โดยการจัดตั้งโรงเรียนที่ได้รับเกียรติบัตรขั้นที่ ๑ และขั้นที่ ๒ เป็นศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียน และได้ชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงานและวางแผนการดำเนินงานตามภารกิจบทบาท หน้าที่ ของศูนย์การเรียนรู้งานสวนพฤกษศาสตร์โรงเรียนต่อไป