05_วสศ.

ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว  ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา นางสาวสุวรรณา  กลิ่นนาค นักวิชาการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และนายศักดิ์สิน  ช่องดารากุล (ข้าราชการบำนาญ) ที่ปรึกษาโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานโรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ของจังหวัดระยอง ได้แก่ 1) โรงเรียนบ้านค่าย  สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18  โครงการ 1 ห้องเรียน 8 โครงงาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ นายสุกิจ โพธิ์ศิริกุล  นายกุลธีร์ ศรัณยุตม์ และนางอุบลรัตน์ ฆวีวงษ์ และ 2) โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 10 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โครงการการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดจิตศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 10 ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ นางฉัตรมน อินทศร  นางญาณิศา จันทร์แสง  นางสาวนิตยา ใยคง  นางสาวภัคเนตร พุทธิโภคิน นางสาวศศินามณี สารักษ์ นางนันทชนม์ สิงห์สถิต นางเยาวลักษณ์ ชร็อฟ นางสาวสินาภรณ์ ใจแก้ว นางสาวดาริกา แก้วลังกา และนายนพรัตน์ บูรณะถาวร ซึ่งทางคณะที่ลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์แก่โรงเรียนในโครงการทั้งสองเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาให้การดำเนินงานโครงการมีความสมบูรณ์และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

 

การประชุมปฏิบัติการพัฒนาระบบการเผยแพร่บทความวิจัยในรูปแบบ e – journal

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาระบบการเผยแพร่บทความวิจัยในรูปแบบ e – journal ระหว่างวันที่ 29 กรกฎาคม – 1 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยเมื่อวันพุธที่ 29 กรกฎาคม 2563 ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษ ในหัวข้อเรื่อง การยกระดับการเผยแพร่บทความวิจัยทางการศึกษาสู่มาตรฐานสากลในรูปแบบ e-journal ซึ่งการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบการจัดเก็บงานวิจัย และเผยแพร่บทความวิจัย ของ สพฐ. ในรูปแบบ e-journal อีกทั้งยังได้รับเกียรติจากคณะวิทยากร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาบรรยายให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ เรื่อง การพัฒนาคุณภาพวารสารให้เข้าสู่ฐานข้อมูลศูนย์ดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย โดย ผศ.ดร.สายสุดา เตียเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาการบริหารการศึกษาและหัวหน้ากองบรรณาธิการวารสารการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร และฝึกปฏิบัติการใช้งานระบบการจัดการวารสารไทยในระบบออนไลน์ (Thai Journal Online System (ThaiJo 2) โดยนางสาววรรณภา แสงวัฒนะกุล และนางสาววารุณีย์ ตั้งศุภธวัช ฝ่ายประสานงานกองบรรณาธิการและการจัดการวารสารศิลปากร ศึกษาศาสตร์วิจัย มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ข้าราชการบำนาญผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการวิจัย คณะวิจัยจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะกรรมการประสานงานด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และคณะทำงานจากสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้เข้าร่วมประชุมได้ฝึกปฏิบัติการจัดทำรายละเอียดของระบบการเผยแพร่บทความวิจัยในรูปแบบ e-journal ซึ่งได้จัดแบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้ 1) ด้านผู้ดูแลระบบการจัดการวารสารออนไลน์ 2) ด้านผู้ใช้งานระบบการจัดการวารสารออนไลน์ และ3) ด้านผู้ทรงคุณวุฒิประเมินบทความวิจัย ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ทำให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมีระบบการเผยแพร่บทความวิจัยทางการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัด สพฐ. ในรูปแบบ e-journal ที่ได้มาตรฐาน

การประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้แผนปฏิบัติการโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่

เมื่อจันทร์วันที่ 13 กรกฎาคม 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นประธานเปิดและบรรยายพิเศษในการประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้แผนปฏิบัติการโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 กรกฎาคม ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร กิจกรรมการประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย การนำเสนอแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้  (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในโครงการ SLC และมีการสะท้อนคิดแผนปฏิบัติการ ข้อเสนอโครงการวิจัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) และบรรยายในหัวข้อ เรื่อง แนวคิดในการขับเคลื่อนแผนปฏิบัติการโครงการให้ประสบความสำเร็จ โดยท่าน รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  กิจกรรมการแบ่งกลุ่มปฏิบัติการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่  บนเว็บไซต์ www.slcobec.net และกิจกรรมวางแผนกำหนดปฏิทินการจัดงาน Symposium โครงการ SLC ใน 4 ภูมิภาค ซึ่งประกอบด้วย ภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้ โดยวันสุดท้ายของการประชุมทางกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.เบญจลักษณ์  น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้ให้เกียรติมาบรรยายในหัวข้อ เรื่อง ความคาดหวังต่อสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ปีงบประมาณ 2563 เพื่อเป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ SLC ให้ประสบความสำเร็จต่อไป

การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

เมื่อวันที่ 23 – 27 มีนาคม 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้จัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการร่วมกันพิจารณาข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ตามหลักเกณฑ์การพิจารณา  4 ด้าน 1) ด้านความสำคัญและความจำเป็น 2) ด้านวัตถุประสงค์และผลที่คาดว่าจะได้รับ 3) ด้านการสังเคราะห์ สรุปและนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และ 4) ด้านความเป็นไปได้ในการดำเนินกิจกรรมของโครงการ ซึ่งมีข้อเสนอโครงการที่ส่งเข้ามาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานตามโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ รวมทั้งสิ้น จำนวน 309 โครงการ จาก 39 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและขณะนี้อยู่ระหว่างเตรียมการประกาศผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการดังกล่าว ซึ่งได้กำหนดการประกาศผลการพิจารณาไว้ภายในเดือนเมษายน 2563

 

 

 

 

 

 

 

การประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ คู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง และจัดโครงร่างงานวิจัยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)

เมื่อวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้จัดประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ คู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง และจัดทำโครงร่างงานวิจัยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร รองศาสตราจารย์สิริพันธุ์  สุวรรณมรรคา ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายให้ความรู้และทำกิจกรรมเกี่ยวกับคุณลักษณะและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) อาจารย์วิฑูรย์ นาสารีย์ ข้าราชการบำนาญ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ให้เกียรติมาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการประเมินตนเองอย่างมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ซึ่งการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเองอย่างมีส่วนร่วม จัดทำเกณฑ์คุณภาพโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และจัดทำโครงร่างงานวิจัยและพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยผู้เข้าร่วมการประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ คู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง และจัดทำโครงร่างงานวิจัยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานด้านการวัดและประเมินผลทางการศึกษาหรือด้านการวิจัยจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 34 เขต และบุคลากรในสังกัด สพฐ. ซึ่งกิจกรรมการประชุม ประกอบด้วย การรับฟังบรรยายความรู้จากวิทยากรและแบ่งกลุ่มปฏิบัติการทำกิจกรรม ได้แก่ 1) จัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเองอย่างมีส่วนร่วม 2) จัดทำเกณฑ์คุณภาพโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 3) จัดทำโครงร่างงานวิจัยและพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการและกำหนดปฏิทินการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง ณ โรงเรียนนำร่องโครงการ และในวันสุดท้ายของการประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ คู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง และจัดทำโครงร่างงานวิจัยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับเกียรติจากท่านเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ให้เกียรติมามอบนโยบายในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมเพื่อนำไปเป็นแนวทางการในการดำเนินงานต่อไป

การประชุมปฏิบัติการจัดทำแนวทางการยกระดับคุณภาพโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community)เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 12 มกราคม 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้รับเกียรติจากท่าน ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการจัดทำแนวทางการยกระดับคุณภาพโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่และได้รับเกียรติจากท่าน รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา วิทยากรผู้มากประสบการณ์ด้านการพัฒนาการศึกษาจากคณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนให้เป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) : SLC ซึ่งการประชุมมีกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-14 มกราคม 2563 ณ โรงเเรมริเวอร์ไซด์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ เพื่อเรียนรู้ถึงกระบวนการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง และร่วมกันกำหนดวิสัยทัศน์ จัดทำแผนปฏิทินการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community)เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยกิจกรรมการประชุมครั้งนี้ประกอบไปด้วย กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สะท้อนสู่การกำหนดวิสัยทัศน์และจัดทำแผนการขับเคลื่อนโครงการพัฒนาโรเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ศึกษาหนังสือการปฏิรูปโรงเรียน แนวคิดชุมชนแห่งการเรียนรูักับการนำทฤษฎีมาปฏิบัติจริง ของ ซาโต มานาบุ ซึ่งเป็นแนวคิดและผลการดำเนินงานโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Commumity) : SLC ที่ประสบความสำเร็จของประเทศญี่ปุ่น และร่วมเรียนรู้ ฝึกปฏิบัติออกแบบกิจกรรมการประเมินตนเอง โดยผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา จำนวน 34 เขตพื้นที่การศึกษา วิทยากรผู้ให้ความรู้และคณะทำงานจากสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

การประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดวิจัยดี มีนวัตกรรม และเกณฑ์การพิจารณาโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการพัฒนาต่อยอดงานวิจัย

วันที่ 16 ธันวาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษามอบหมายให้ ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานเปิดการประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดวิจัยดี มีนวัตกรรม และเกณฑ์การพิจารณาโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการพัฒนาต่อยอดงานวิจัย ซึ่งจัดโดยกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 19 ธันวาคม 2562 ณ โรงแรมเบลล่า บี ถนนจรัญสนิทวงศ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี มีเป้าหมายเพื่อจัดทำเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกเพื่อสนับสนุนงบประมาณโรงเรียนในการทำโครงการการนำนวัตกรรมจากงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ เกณฑ์ในการคัดเลือกงานวิจัย และจัดทำเกณฑ์การตัดสินให้รางวัลผลงานวิจัยดี มีนวัตกรรมเพื่อพัฒนาต่อยอดงานวิจัย โดยผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ สพฐ.ข้าราชการบำนาญ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการจัดการศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู โดยกิจกรรมการประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ประกอบด้วย การร่วมนำเสนอความคิดเห็นแนวทางการขับเคลื่อนโครงการการระดมความคิดเห็นในการจัดทำร่างเกณฑ์การส่งข้อเสนอโครงการ การนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์และการจัดทำร่างเกณฑ์การพิจารณาโครงการการนำผลงานวิจัยไปใช้ประโยชน์ การพัฒนาต่อยอดงานวิจัย และจัดทำเกณฑ์การตัดสิน และเกณฑ์การให้รางวัล สำหรับการประกวดวิจัยดี มีนวัตกรรม ซึ่งจะจัดขึ้นในปี 2564

ศึกษาเรียนรู้การดำเนินงานจัดทำวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม

เมื่อวันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม 2562 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้เดินทางไปศึกษาการดำเนินงานจัดทำวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์ ณ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม เพื่อศึกษาถึงรูปแบบการจัดทำวารสาร e – Journal ที่ผ่านการประเมินคุณภาพ และอยูในฐานข้อมูลดัชนีการอ้างอิงวารสารไทย (TCI) ทั้งนี้เพื่อนำมาเป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินงานจัดทำระบบการเผยแพร่บทความวิจัยทางการศึกษาของครูและบุคลากรทางการศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในรูปแบบ e – Journal ต่อไป

ลงพื้นที่ศึกษาสภาพและจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนขนาดเล็กที่จะมีการควบรวมในจังหวัดอุดรธานี

เมื่อวันที่ 25 – 27 พฤศจิกายน 2562 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมกับกลุ่มวิจัยและพัฒนานโยบาย สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ลงพื้นที่เพื่อศึกษาสภาพและจัดเก็บข้อมูลโรงเรียนขนาดเล็กที่จะมีการควบรวมในจังหวัดอุดรธานี โดยเป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 2 จำนวน 13 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนบ้านท่าม่วงเวียงคำ โรงเรียนบ้านสวนมอนคำ อ.กุมภวาปี โรงเรียนบ้านนายูง โรงเรียนบ้านคำดอกไม้ โรงเรียนบ้านหนองกุงปาว โรงเรียนบ้านป่าไร่ โรงเรียนบ้านคำม่วง อ.ศรีธาตุ โรงเรียนบ้านคำเต้าแก้วหินลาด โรงเรียนบ้านตาดโตนไร่เดชา โรงเรียนชุมชนบ้านบุ่งแก้ว โรงเรียนบ้านโคกล่าม อ.โนนสะอาด โรงเรียนบ้านหนองประเสริฐ และโรงเรียนบ้านหนองหว้า อ.หนองแสง ทั้งนี้เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาใช้ในการวางแผนและพัฒนาโรงเรียนขนาดเล็กให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น