05_วสศ.

การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2

          การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 2 ซึ่งจัดขึ้นโดย กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เมื่อวันที่ 27 – 30  มิถุนายน  2566  ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัดกรุงเทพมหานคร การประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้คณะกรรมการตรวจพิจารณาผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกในรอบที่ 1 โดยมีผลงานวิจัยจำนวน 31 เรื่อง ซึ่งประกอบด้วย 1) ผลงานวิจัยประเภทบุคคล จำนวน 21 เรื่อง และ 2) ผลงานวิจัยประเภทหน่วยงาน จำนวน 10 เรื่อง ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย ข้าราชการบำนาญผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา 1) นางบุญชู ชลัษเฐียร อดีตที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  2) นางสาววีณา อัครธรรม อดีตที่ปรึกษาสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และอาจารย์จากมหาวิทยาลัย 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวลิตเกิดทิพย์ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี 2) อาจารย์ ดร.ชวลิต ขอดศิริ อาจารย์คณะครุศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ (ศูนย์แม่ริม) และ 3) อาจารย์ ดร. มณเฑียร ชมดอกไม้ อาจารย์คณะศึกษาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน วิทยาลัยนานาชาติเซนต์เทเรซา และคณะทำงานจากส่วนกลางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รวมทั้งสิ้นจำนวน 20 คน ซึ่งการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยในครั้งนี้ เพื่อให้ผู้ที่ผลงานวิจัยผ่านการพิจารณาคัดเลือกได้มานำเสนอในเวทีการนำเสนอผลงานวิจัยในรอบตัดสินผลการประกวดงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ต่อไป

การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 1

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 1 ระหว่างวันที่ 19- 22 เมษายน 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขต บางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยของข้าราชการครู และบุคลากรทางการศึกษาที่ส่งผลงานวิจัยเข้าร่วมการประกวดผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งมีผลงานวิจัยที่ส่งเข้าร่วมการประกวดครั้งนี้ จำนวนทั้งสิ้น 132 เรื่อง จาก 59 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 38 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 21 เขต โดยแบ่งเป็นผลงานวิจัยประเภทบุคคล จำนวน 113 เรื่อง และผลงานวิจัยประเภทหน่วยงาน จำนวน 19 เรื่อง และผลงานวิจัยมีความเกี่ยวข้องกับนโยบายการขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 4 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านความปลอดภัย จำนวน 13 เรื่อง 2) ด้านโอกาสและการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา จำนวน 7 เรื่อง 3) ด้านคุณภาพ จำนวน 88 เรื่อง และ 4) ด้านประสิทธิภาพ จำนวน 24 เรื่อง โดยผู้เข้าร่วมการประชุมมีจำนวนทั้งสิ้น 26 คน ประกอบด้วย คณะทำงานจากส่วนกลาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการบำนาญ ผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา กิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การนำเสนอข้อมูลผลงานวิจัยที่ส่งเข้าร่วมการประกวดผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การชี้แจงหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยรอบที่ 1 และการแบ่งกลุ่มปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบที่ 1 ซึ่งผลงานวิจัยที่ผ่านการพิจารณาคัดเลือกจากคณะกรรมการในรอบที่ 1 จะผ่านเข้าสู่การพิจารณาคัดเลือกในรอบที่ 2 ต่อไป

การอบรมเชิงปฏิบัติการเติมเต็มศักยภาพการประเมินบทความวิจัยวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา นำโดยนางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษาและคณะ ได้ดำเนินการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเติมเต็มศักยภาพการประเมินบทความวิจัยวารสารการวิจัยทางการศึกษา เมื่อวันวันที่ 24 – 27  มีนาคม 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 32 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 16 คน ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด จำนวน 14  คน และข้าราชการบำนาญ 2 คน โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเติมเต็มศักยภาพความรู้ความเข้าใจ ทักษะการเขียนบทความวิจัยและการประเมินบทความวิจัยให้กับบุคลากรในสังกัดที่มีความสนใจเป็นผู้ประเมินบทความวิจัยวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งกิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การอภิปราย การบรรยายให้ความรู้ และการแบ่งกลุ่มฝึกปฎิบัติการเขียนบทความวิจัย และประเมินบทความวิจัย โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  2) อาจารย์ ดร.พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข 3) รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 4) รองศาสตราจารย์ ดร.ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายสุดา เตียเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเขียนบทความวิจัย/การเผยแพร่บทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย และการประเมินบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลวารสารออนไลน์ (Thai Journals Online : Thaijo) ในบทบาทของผู้ตีพิมพ์บทความวิจัย และผู้ประเมินบทความวิจัย วิทยากรโดย นายเจียมพล บุญประคม ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 และนายภานุวัชร ปุรณะศิริ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์  ซึ่งการประชุมครั้งนี้ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนบทความวิจัย การประเมินบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ อีกทั้งยังได้ฝึกประสบการณ์ในการเขียนบทความวิจัย 4 ประเภท ประกอบด้วย 1) งานวิจัยเชิงทดลอง 2) งานวิจัยเชิงประเมินโครงการ 3) งานวิจัยเชิงสำรวจ และ4) งานวิจัย R&D และ/ฝึกปฏิบัติในการทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินบทความวิจัย เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินบทความวิจัยให้กับวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป 

การประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์  ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา และคณะ ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งเป็นกิจกรรมภายใต้โครงการประกวดผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดขึ้นเมื่อวันที่ 14 – 16 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมบียอนด์สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำเกณฑ์ แบบเครื่องมือ สำหรับการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้เข้าประชุมประกอบด้วย คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะทำงานส่วนกลาง สพฐ. และข้าราชการบำนาญผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา จำนวน 18 คน กิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การนำเสนอร่างประกาศ เกณฑ์ และแบบเครื่องมือ การระดมความคิดเห็น และการแบ่งกลุ่มเพื่อจัดทำเกณฑ์การพิจารณาคุณภาพผลงานวิจัยฉบับสมบูรณ์ ซึ่งจากประชุมดังกล่าว ทำให้สำนักงานคณกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีแบบเครื่องมือ และหลักเกณฑ์สำหรับการพิจารณาคัดเลือกผลงานวิจัยในการประกวดผลงานวิจัยดี มีคุณภาพ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยจะดำเนินการประกาศ ประชาสัมพันธ์การรับสมัครผลงานวิจัยเข้าร่วมการประกวดต่อไป

การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา และคณะ ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 15 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยในวันที่ 13 มิถุนายน 2565 ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้เกียรติมาพบปะกับคณะผู้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว ให้คำชี้แนะ และแนะนำแนวทางการดำเนินงานที่เป็นประโยชน์เพื่อให้การประชุมในครั้งนี้สามารถดำเนินงานได้อย่างบรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ วัตถุประสงค์ในการประชุมครั้งนี้เพื่อพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต) ให้เป็นไปตามเกณฑ์การพิจารณาที่กำหนดไว้ เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานตามข้อเสนอโครงการที่ได้รับการพิจารณาคัดเลือกต่อไป ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย อดีตที่ปรึกษา สพฐ. นางวีณา อัครธรรม ข้าราชการบำนาญผู้มีความรู้ความเชี่ยวญด้านการศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และคณะทำงานส่วนกลาง สพฐ. โดยกิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การทบทวนหลักเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการ การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการเพื่อให้มีความเหมาะสมของกับการสนับสนุนงบประมาณ และการสรุปผลการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยและนวัตกรรมไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 (ด้านการพัฒนาทักษะชีวิต)

การประชุมปฏิบัติการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อการจัดทำนโยบายการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่

 

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการสังเคราะห์งานวิจัยเชิงพื้นที่เพื่อการจัดทำนโยบายการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ ระว่างวันที่ 24 – 27 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานในการเปิดการประชุมดังกล่าว โดยการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการเรียนรู้วิถีใหม่ โดยการสังเคราะห์รายงานการวิจัยข้อเสนอเชิงนโยบายการจัดการศึกษาในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โดยจำแนกตามเขตตรวจราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ทั้งนี้เพื่อให้ได้รูปแบบและแนวทางสำหรับการจัดการศึกษาที่เหมาะสมสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ สามารถนำไปใช้เป็นแนวทางในการจัดการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป ผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย คณะทำงานจากส่วนกลาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน คณะทำงานศึกษานิเทศก์ จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการบำนาญผู้มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา จำนวนทั้งสิ้น 29 คน  กิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การแบ่งกลุ่มปฏิบัติการสังเคราะห์งานวิจัย โดยแบ่งตามเขตตรวจราชการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 18 เขต การจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายระดับเขตตรวจราชการ และระดับสำนังานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การนำเสนอผลการสังเคราะห์ข้อมูลงานวิจัยซึ่งแบ่งเป็น 3 ประเด็นหลัก ได้แก่ 1) การบริหาร 2) การจัดการเรียนรู้ /คุณภาพผุ้เรียน 3) การดูแลช่วยเหลือนักเรียน  ซึ่งมุ่งเน้นมอง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านจุดแข็ง 2) ด้านจุดอ่อน 3) ด้านโอกาส และ4) ด้านอุปสรรค และการจัดทำข้อเสนอเชิงนโยบายระดับเขตตรวจราชการ ในประเด็นดังนี้ 1) ด้านความปลอดภัย 2) ด้านโอกาสทางการศึกษา 3) ด้านคุณภาพการศึกษา และ4) ด้านประสิทธิภาพการบริหารจัดการ ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการวิจัยทางการศึกษา นำโดย ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียน ดร.ลาวัณย์ ตรีเนตร อดีตที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ และดร.สิริมา หมอนไหม อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา ผู้ซึ่งให้คำชี้แนะ แนะนำแนวทางการในการดำเนินงานสังเคราะห์งานวิจัยให้สามารถดำเนินงานได้อย่างบรรลุเป้าหมายวัตถุประสงค์ของการประชุมในครั้งนี้

การประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยนวัตกรรม SLC

 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา (วสศ.) จัดประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยนวัตกรรม SLC (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ระหว่างวันที่ 18 -20 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง) ให้เกียรติมาเป็นประธานในการเปิดการประชุมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ประกอบด้วย คณะทำงานจากส่วนกลาง สพฐ. และศึกษานิเทศก์ (Area Team) จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 39 เขต ซึ่งกิจกรรมการประชุมประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในโครงการนำเสนอแผนขับเคลื่อนโครงการในปี พ.ศ. 2565 การนำเสนอแนวคิดการจัดทำวิดีทัศน์โครงการ โดย สพป.ลำปาง เขต 1 สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 สพป.สิงห์บุรี และสพป.กระบี่ และการนำเสนอความก้าวหน้าในการดำเนินงานวิจัยโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยนวัตกรรม SLC (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดย สพป.ร้อยเอ็ด เขต 1 สพม.แพร่ นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมการประชุมยังได้ร่วมกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยนวัตกรรม SLC (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่มีความน่าสนใจและสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปใช้ในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการ SLC ได้อย่างมีประสิทธิภาพ วิทยากร โดย รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา (ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย) และการเติมเต็มข้อมูลความรู้จากผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา โดย อดีตที่ปรึกษา สพฐ. (นางสาววีณา อัครธรรม) ดร.ศักดิ์สิน ช่องดารากุล และนางสาววิไลวรรณ เหมือนชาติ ในวันสุดท้ายของการประชุมปฏิบัติการจัดการความรู้การใช้กระบวนการวิจัยเป็นฐานในการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนคุณภาพของชุมชนด้วยนวัตกรรม SLC (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญพิเศษ (นางเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า) มาให้แนวคิดเกี่ยวกับการเป็นโรงเรียนในฐานะชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) สู่การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในเวทีวิชาการระดับนานาชาติต่อไป

 

 

 

วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Basic Education Research Journal)

วารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน (OBEC Basic Education Research Journal) มีนโยบายในการเป็นสื่อกลาง และเผยแพร่บทความวิจัยที่นำไปสู่การพัฒนาคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการนำองค์ความรู้ที่ผ่านกระบวนการวิจัยไปสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ชุมชน สังคม มีขอบเขตเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อส่งเสริม และเผยแพร่บทความวิจัยในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของครูและบุคลากรทางการศึกษา สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และหน่วยงานภายนอก และเพื่อเป็นสื่อกลางในการนำเสนอองค์ความรู้ที่ได้จากบทความวิจัยสู่การนำไปใช้ประโยชน์ทางการศึกษา

 

การประชุมปฏิบัติการพัฒนาระบบการเผยแพร่บทความวิจัยและจัดทำวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 1

เมื่อวันที่ 23- 26 พฤศจิกายน 2564 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดยนางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา และคณะ ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาระบบการเผยแพร่บทความวิจัยและจัดทำวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 1 ณ โรงแรมบียอนด์สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ซึ่งในการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 1 และเผยแพร่บทความวิจัยทางการศึกษา จำนวน 11 เรื่อง ในรูปแบบออนไลน์บนระบบบริหารจัดการข้อมูลวารสารออนไลน์ (Thai Journals Online : ThaiJo ) โดยกิจกรรมการประชุมประกอบด้วย 1) การจัดการฐานข้อมูลการใช้งานระบบการจัดการวารสารออนไลน์ (Thai Journals Online : ThaiJo) 2) การตรวจสอบความถูกต้องของบทความวิจัยเพื่อจัดทำวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 1 และ3) การจัดทำอาร์ตเวิร์ครูปเล่มวารสาร เพื่อเผยแพร่ในระบบวารสารออนไลน์ สู่การนำองค์ความรู้ที่ได้จากบทความวิจัยไปใช้ประโยชน์ในทางการศึกษาต่อไป

 

การประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 เมื่อวันที่ 17-20 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยในวันที่ 19 มีนาคม 2564 ได้รับเกียรติจากท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา) ให้เกียรติมามอบนโยบายแก่ผู้เข้าร่วมการประชุมปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งในการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ของผู้บริหารสถานศึกษา และครูในสังกัดที่ได้ส่งข้อเสนอโครงการมาเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 225 โครงการ ประกอบด้วยข้อเสนอโครงการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 161 โครงการ และข้อเสนอโครงการจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 64 โครงการ และเพื่อพิจารณาความเหมาะสมของงบประมาณในการสนับสนุนข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย คณะทำงานจากส่วนกลาง สพฐ. คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และข้าราชการบำนาญ ผู้มีความเชี่ยวชาญด้านการศึกษา โดยกิจกรรมการการประชุมประกอบด้วย การจัดทำเกณฑ์การพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ การแบ่งกลุ่มพิจารณาคัดเลือกข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ตามกลุ่มสาระการเรียนรู้ / นวัตกรรม การพิจารณาความเหมาะสมของงบประมาณ การนำเสนอข้อมูลข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ที่ผ่านการพิจารณา การจัดทำรายละเอียดข้อเสนอโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ จัดลำดับผลการพิจารณา และการสรุปผลการพิจารณาข้อเสนอโครงการที่ผ่านการพิจารณา ทั้งนี้เพื่อสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สามารถให้การสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานกับข้อเสนอโครงการที่ผ่านการพิจารณาได้อย่างเหมาะสมต่อไป







การประชุมปฏิบัติการจัดทำเอกสารรายงานการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และแนวทางการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
นำโดย นางสาวดุจดาว  ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา และคณะ ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการจัดทำเอกสารรายงานการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และแนวทางการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมือง
รุ่นใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 21 – 24 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา) ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง จุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยกิจกรรมการประชุมประกอบด้วยการนำเสนอรายงานการดำเนินงานโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รุ่นที่ 1 และการวางกรอบแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 2 : โรงเรียนคุณภาพประจำชุมชน พร้อมทั้งมีการเติมเต็มกระบวนการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้และทักษะการชี้แนะ Coaching and Mentoring  โดยท่าน รศ.ดร.สิริพันธุ์  สุวรรณมรรคา ข้าราชการบำนาญ (ผอ.ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้และวิชาชีพครู จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย) และมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง โดยใช้กระบวนการ Lesson Study ของโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น โดย  นางสาวพรพิมล ทักษะวรบุตร  ข้าราชการบำนาญ (ศึกษานิเทศก์ สพป.ขอนแก่น เขต ๑) การจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียน โดย  นางบรรเจอดพร  สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง และนวัตกร โดย นางสาวสมพร  สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และมีการแบ่งกลุ่มปฏิบัติการเผยแพร่การดำเนินงานโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ บนเว็บไซต์โครงการ www.slcobec.net โดย นายพิทักษ์เกียรติ บรรเทา  ผอ.รร.อุดมพัฒนศึกษา สพม. เขต 22 นอกจากนี้ในวันสุดท้ายของการประชุมได้รับเกียรติจากท่านเบญจลักษณ์  น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนผ่านนวัตกรรมการพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ให้ประสบควมสำเร็จในการดำเนิน

ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community)เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่

เมื่อวันที่ 30 ตุลาคม 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา นางสาวกัญญาพร  ไทรชมภู นักวิชาการศึกษา นางสาวสุวรรณา กลิ่นนาค นักวิชาการศึกษา และนางสาวสุนิศา หวังพระธรรม นักวิชาการศึกษา ได้ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ณ โรงเรียนวัดจรเข้ตาย (พินิจค้าประชาสรรค์) และโรงเรียนวัดหัวกระสังข์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาฉะเชิงเทรา เขต 2 ซึ่งในการลงพื้นที่ครั้งนี้ทำให้ทางคณะได้เห็นถึงรูปแบบการดำเนินงานและกระบวนการดำเนินงานของโรงเรียนนำร่องโครงการ SLC ผ่านกิจกรรมการพัฒนาผู้เรียนที่หลากหลาย เห็นถึงภาพความร่วมมือของโรงเรียนและชุมชนในการดำเนินงานโครงการเพื่อมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนเป็นผู้มีสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ซึ่งเป็นภาพความสำเร็จที่เกิดขึ้นจากความมุ่งมั่นในการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ทั้งนี้ทางคณะที่ลงพื้นที่ติดตามได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์เเละเติมเต็มในส่วนที่ยังขาดหายไปของกระบวนการดำเนินงานโครงการ SLC ให้กับโรงเรียนนำร่องในโครงการทั้งสอง ทั้งนี้เพื่อให้เกิดการพัฒนากระบวนการดำเนินงานโครงการการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ในปีงบประมาณ 2564 ที่มีความสมบูรณ์มากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลทำให้ผู้เรียนได้รับการพัฒนาศักยภาพและมีสมรรถนะความเป็นพลเมืองรุ่นใหม่ที่ดียิ่งขึ้นต่อไป