04_วพร.

การประชุมเตรียมความพร้อมการลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการประชุมเตรียมความพร้อมการลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษา ระดับปริญญาตรี สาขาวิชา ธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน ครั้งที่ ๑/๒๕๖๔ ในวันอังคารที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๔ เวลา ๑๓.๓๐ – ๑๖.๐๐ น. ณ ห้องประชุม สพฐ.๒ กระทรวงศึกษาธิการ โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อเตรียมความพร้อมในการลงนามบันทึกข้อตกลงโครงการความร่วมมือทางการศึกษา ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน

การประชุมในครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้แทนจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการประชุม และผู้แทนจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและกองประชาสัมพันธ์และประธานหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน คณาจารย์และคณะทำงานที่เกี่ยวข้อง

ทั้งนี้การลงนามบันทึกความเข้าใจโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน มีเป้าหมายให้นักเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับการคัดเลือกเข้าศึกษาต่อในหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน จำนวน ๓ รุ่น รุ่นละ ๑๐๐ คน รวมจำนวนทั้งสิ้น ๓๐๐ คน โดยใช้ระยะเวลาในการศึกษา รุ่นละ ๔ ปี แบ่งเป็นการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ประเทศไทย จำนวน ๒ ปี (ในปีที่ ๑ และปีที่ ๔) และจัดการเรียนการสอน โดยมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน ๒ ปี (ในปีที่ ๒ และปีที่ ๓) ซึ่งในแต่ละรุ่น นักเรียนอย่างน้อย ๓ คน จะได้รับทุนการศึกษาเต็มจำนวน หรือบางส่วนจากมหาวิทยาลัยและจากรัฐบาลขณะที่ศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเมื่อจบการศึกษาตามหลักสูตร ๔ ปี นักเรียนทุกคนจะได้รับวุฒิการศึกษาจากมหาวิทยาลัยทั้ง ๒ แห่ง

โครงการความร่วมมือทางการศึกษา  “๑+๒+๑” สำหรับการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาวิชา ธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน นอกจากจะเป็นจุดเริ่มต้นของการเสริมสร้างและพัฒนาศักยภาพของเยาวชนไทยให้มีความพร้อมที่จะขับเคลื่อนประเทศชาติอย่างมีประสิทธิภาพแล้ว ยังนับเป็นนวัตกรรมการสร้างเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้รูปแบบใหม่ ที่จะช่วยเชื่อมโยงระบบการศึกษาของประเทศไทยให้ผสานเข้ากับระบบการศึกษาในระดับนานาชาติอย่างมีคุณภาพต่อไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 4 ภาคกลาง และภาคตะวันออก

         วันที่ 7 เมษายน 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 4 ประกอบด้วยภาคกลาง และภาคตะวันออก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2564 ณ โรงแรมคลาสสิก คามิโอ โฮเต็ล แอนด์ เซอร์วิช อพาร์ตเมนต์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) ประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวทางปฏิบัติเดียวกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 48 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 12 เขต โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวปุณญอุษา ผดุงหมาย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 2 ภาคใต้

วันที่ 23 มีนาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้ เป็นจุดภาคใต้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 25 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมหรรษา เจบี หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) ประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวทางเดียวกันซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 30 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 6 เขต โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และนางจิณณาภักดิ์ มักคุ้น รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 เป็นเกียรติร่วมพิธีเปิดการประชุมดังกล่าวฯ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณานวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับเขตตรวจราชการ

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณานวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับเขตตรวจราชการ ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมแกรนด์ฮาวเวิร์ด กรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาและสังเคราะห์นวัตกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารและครู โดยผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ประกอบด้วย ข้าราชการบำนาญกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษาและคณะทำงานจากส่วนกลาง (สพฐ.)

การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ชวลิต โพธิ์นคร อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครื่องมือวัดผล สพฐ. เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วย ดร.สิริมา หมอนไหม อดีตรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา และ นางนิรมล บัวเนียม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสายน้ำทิพย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ที่ได้ให้แนวคิดในการพิจารณานวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี และการสังเคราะห์นวัตกรรมอันเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม

ทั้งนี้ผลการพิจารณาและสังเคราะห์นวัตกรรม ในแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเขตตรวจราชการ จะนำไปใช้ในการยกระดับคุณภาพของนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีที่ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และจัดทำเป็นคลังนวัตกรรมคุณธรรม จริยธรรม และเผยแพร่ต่อผู้ที่สนใจต่อไป

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564

วันที่ 17 มีนาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้(วพร.) กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 17 – 19  มีนาคม 2564 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นแนวทางเดียวกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย
–  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 44 เขต

–  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 9 เขต

โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และนางสาววิไลวรรณ  ยะสินธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เข้าร่วมเป็นคณะทำงานการประชุมดังกล่าวฯ

การประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตร และสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา)

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตร และสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร

ประชาสัมพันธ์การแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564

การแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564
รับสมัครผ่านโรงเรียน วันที่ 2  ธันวาคม 2563 – 4 มกราคม 2564
ทางเว็บไซต์ www.obecimso.net/web64/

การประชุม​เชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม​ สพฐ.​ ประจำปีงบประมาณ​ พ.ศ.​ 2564​

วันที่​ 12​ พฤศจิกายน​ 2563​  กลุ่มวิจัยและพัฒนา​องค์กร​แห่งการเรียนรู้​ สำนัก​พัฒนา​นวัตกรรม​การจัดการศึกษา​ โดยภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง​ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนา​นวัตกรรม​การ​จัดการ​ศึกษา​ ตำแหน่ง​ผู้เชี่ยวชาญ​ด้านการบริหารการจัดการศึกษา​ ​เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม​ และดร.จักรพงษ์​ วงค์​อ้าย​ ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป​ ชี้แจงวัตถุ​ประสงค์​และภาพรวมในการดำ​เนิน​งาน​ การประชุม​เชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม​ สพฐ.​ ประจำปีงบประมาณ​ พ.ศ.​ 2564​ ระหว่าง​ วันที่​ ​12​-13​ พฤศจิกายน​ 2563 ณ​ ห้องประชุม​ TEMPO​ GRAND​ ​ณ​ โรงแรม​นารา​ กรุงเทพ​มหานคร

 

พิธีมอบทุนการศึกษา โครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563

ในวันที่ 4 พฤศจิกายน 2563 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้รับเกียรติจากท่านเจิมมาศ จึงเลิศศิริ ผู้ช่วยเลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานในการมอบทุนการศึกษาในโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมดับบลิว สาทร กรุงเทพฯ และได้รับเกียรติจากผู้แทนสถานทูตอังกฤษคุณอเล็กซานดรา แมคคินซี รองเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย  คุณมาร์ค สมิธสัน, รองผู้อำนวยการ แผนกการค้าระหว่างประเทศคุณนันทมาศ เฟลเบอร์ ผู้จัดการการค้า แผนกการค้าระหว่างประเทศ  และผู้แทนสถานทูตอเมริกาคุณชาร์ล ฟิลิปส์ รองเจ้าหน้าที่การพาณิชย์อาวุโส และคุณธัญยธรณ์ วรวงษ์สถิตย์ เจ้าหน้าที่ผู้เชี่ยวชาญ สำนักงานที่ปรึกษาพาณิชย์ ร่วมเป็นสักขีพยานในการมอบทุนการศึกษา จำนวน 18 ทุน แบ่งออกเป็น 5 ประเภท โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้จัดโครงการเปิดโลกเยาวชนไทยก้าวไกลสู่นานาชาติ รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ. 2563 ซี่งได้ดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกนักเรียนที่มีความเป็นเลิศด้านคณิตศาสตร์ และต่อยอดเพื่อรับทุนการศึกษาจากภาคเอกชนเข้าศึกษา ณ ประเทศอังกฤษ และประเทศอเมริกา

 

การประชุมจัดทำแนวทางการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยไปแข่งขันทางวิชาการ​ ระดับนานาชาติ​ ​(ด้านศิลปะ) ประจำปี​ พ.ศ.​2563

วันที่ 30 ตุลาคม 2563 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมจัดทำแนวทางการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยไปแข่งขันทางวิชาการ​ ระดับนานาชาติ​ ​(ด้านศิลปะ) ประจำปี​ พ.ศ.​2564 ระหว่างวันที่ 30 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2563  ณห้องประชุม Tempo Grand ณ โรงแรมนารา กรุงเทพมหานคร