04_วพร.

การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2564 “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.”

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2564  “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ระหว่างวันที่ 8 – 10 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร โดยรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย มอบนโยบายการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. และดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการทีมขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด่วนพิเศษ (EMS: Express Moral Service) ประมินผลการรายงานผลโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อนำไปสู่การประกาศผลเพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติต่อไป

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์รางวัลคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.” ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์รางวัลคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.” ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 1 – 3 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้มอบหมายให้ ดร. ฐาปณัฐ  อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน โดยมีนายวิทยา ศรีพันชาติ นักวิชาการศึกษา พร้อมทั้งบุคลากรส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ร่วมกันสรุปผลและสังเคราะห์รางวัลคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีที่มีความโดดเด่น รวมถึงจัดทำคลังความรู้คุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีอย่างมีประสิทธิภาพ

โดยรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย เดินทางมาเข้าพบผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อชี้แจงนโยบายและสร้างขวัญกำลังใจให้คณะกรรมการประเมินทุกภูมิภาค

 

การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2565 : Indonesia International Mathematics Competition 2022 (IMC 2022)

เมื่อวันเสาร์ที่ 2 กรกฎาคม 2565 สพฐ. ได้นำทีมนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2565 : Indonesia International Mathematics Competition 2022 (IMC 2022) ณ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบการแข่งขันออนไลน์พร้อมกับทางเจ้าภาพ กระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐอินโดนีเซีย และประเทศอื่นๆ โดยมีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันทั้งหมด 31 ประเทศ แบ่งเป็นทีมประถมศึกษา 69 ทีม และทีมมัธยมศึกษา 78 ทีม ซึ่งประเทศไทยส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 32 คน  เป็นนักเรียนประถมศึกษา 16 คน และนักเรียนมัธยมศึกษา 16 คน การแข่งขันมีทั้งประเภทบุคคล และประเภททีม จัดการแข่งขันเป็น 2 เวที ดังนี้

  1. การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา Indonesia International Mathematics Competition: Elementary Mathematics International Competition 2022 (IIMC : EMIC 2022)
  2. การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษา Indonesia International Mathematics Competition: Invitational World Youth Mathematics Intercity Competition 2022 (IIMC : IWYMIC 2022)

กำหนดการแข่งขันระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2565  ณ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และโรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร และจะประกาศผลการแข่งขันในวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ทางระบบออนไลน์

นักเรียนระดับประถมศึกษา จำนวน 16 คน แบ่งเป็น 4 ทีม ดังนี้

ทีม A

1. เด็กชายธนกร ตั้งเจตน์                         โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

2. เด็กชายจิระพัชร์ พุฒดี                         โรงเรียนเซนต์คาเบรีย

3. เด็กหญิงปุณณิสา ว่องวณิชชากร        โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา

4. เด็กชายกฤษฎ์ วิชัยพฤกษ์                   โรงเรียนสุวรรณวงศ์

ทีม B

1. เด็กชายพลภัทร วัฒนาอุดม                 โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง

2. เด็กชายภูเมฆา เค้ามงคลกิจ                โรงเรียนอนุบาลพิษณุโลก

3. เด็กชายกรภัทร วงศ์จงใจหาญ             โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา

4. เด็กชายภาวัต เลิศสุกิจจา                     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

ทีม C

1. เด็กชายธนบดี วรกุล                              โรงเรียนนานาชาติแอ๊ดเวนติสมิชชั่น

2. เด็กหญิงรัตน์ฐิษา พงศ์สิงหโชติ           โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา

3. เด็กชายณดล อัศวรุ่งนิรันดร์                  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)

4. เด็กชายณัฐพงษ์ ศรีวัฒนา                    โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม

ทีม D

1. เด็กหญิงอชิรญา ดำริห์                           โรงเรียนเวตวันวิทยา

2. เด็กชายวรพงศ์ ประดิษฐ์รุ่งวัฒนา          โรงเรียนแสงทองวิทยา

3. เด็กชายวริศ ศักดิรัตน์                             โรงเรียนเกษมทรัพย์

4. เด็กชายอังกูร พิทักษา                           โรงเรียนอนุบาลระยอง

นักเรียนระดับมัธยมศึกษา จำนวน 16 คน แบ่งเป็น 4 ทีม ดังนี้

 ทีม A

1.  เด็กชายเกียรติภูมิ สิเจริญ                      โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

2. นายกันตินันท์ ไหลประเสริฐ                   โรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย ปทุมธานี

3. เด็กชายพัฒนแสง พินิจพิชิตกุล             โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

4. นายธราดล จิตซื่อ                                   โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย

ทีม B

1. เด็กชายกิรัชภาส ถาวร                            โรงเรียนชลราษฎรอำรุง

2. เด็กชายจิรัฏฐ์พล เตชาวุฒิชัย                 โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

3. นายวริทธิ์ ส่งศรี                                       โรงเรียนแสงทองวิทยา

4. เด็กชายสิรภพ ขาวพลัด                          โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

ทีม C

1. เด็กชายภัทรภณ ธนพิทักษ์                     โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล

2. เด็กชายกรชวัลร์ ตันติวิเศษศักดิ์              โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

3. นายวชิรวิชญ์ กิจคุณาเสถียร                    โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

4. นางสาวธันยธร เจิ้ง                                   โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

ทีม D

1. เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส                              โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย

2. เด็กชายณรงค์ฤทธิ์ อาจณรงค์ฤทธิ์          โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

3. เด็กชายณฐกร คุ้มมั่น                                โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม

4. เด็กชายปิยพัทธ์ โอปิลันธน์                      โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การอบรมปฏิบัติการเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2565 Indonesia International Mathematics Competition 2022 (Virtual) (IIMC 2022)

สพฐ. จัดอบรมปฏิบัติการเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2565 Indonesia International Mathematics Competition 2022 (Virtual) (IIMC 2022) ระหว่างวันที่ 28 มิถุนายน – 1 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเชิญจากกระทรวงศึกษาธิการสาธารณรัฐอินโดนีเซีย เจ้าภาพ มีประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน 31 ประเทศ เป็นทีมประถมศึกษา 69 ทีม และทีมมัธยมศึกษา 78 ทีม การแข่งขันมีทั้งประเภทบุคคล และประเภททีม โดยจัดการแข่งขันเป็น 2 เวที ดังนี้

  1. การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา Indonesia International Mathematics Competition: Elementary Mathematics International Competition 2022 (IIMC : EMIC 2022)
  2. การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับมัธยมศึกษา Indonesia International Mathematics Competition: Invitational World Youth Mathematics Intercity Competition 2022 (IIMC : IWYMIC 2022)

ประเทศไทยส่งนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 32 คน  เป็นนักเรียนประถมศึกษา 16 คน และนักเรียนมัธยมศึกษา 16 คน กำหนดจัดการแข่งขันระหว่างวันที่ 30 มิถุนายน – 6 กรกฎาคม 2565  ณ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และโรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร ประกาศผลการแข่งขันวันที่ 6 กรกฎาคม 2565 ทางระบบออนไลน์

สพฐ. ยกระดับการขับเคลื่อนคุณธรรมในยุคดิจิทัล ด้วยนวัตกรรมการวัดคุณธรรมจริยธรรมออนไลน์ สำหรับผู้บริหารครู และบุคลากรทางการศึกษา

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการทดลองใช้และพัฒนาประสิทธิภาพนวัตกรรมการวัดคุณธรรมจริยธรรมออนไลน์ สำหรับผู้บริหารครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาและโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระหว่างวันที่ 24 – 26 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ กรุงเทพมหานคร

การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อทดลองใช้และพัฒนาประสิทธิภาพนวัตกรรมการวัดคุณธรรมจริยธรรมออนไลน์ ให้ครอบคลุม 7 กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ 1) นักเรียนปฐมวัย 2) นักเรียนระดับประถมศึกษาตอนต้น 3)นักเรียนระดับประถมศึกษาปลาย 4) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 5) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย 6) ครู 7) ผู้บริหารโรงเรียน

โดยภายหลังจากการทดลองใช้และพัฒนาประสิทธิภาพนวัตกรรมการวัดคุณธรรมจริยธรรมออนไลน์ หรับนักเรียน ครู และผู้บริหารเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สพฐ. วางแผนการนำนวัตกรรมดังกล่าวลงไปใช้จริงในโรงเรียน ในสังกัดทุกแห่งต่อไป

 

 

นักเรียนทุน “1+2+1” รุ่นที่ 1 รับโอวาทจาก เลขาฯ กพฐ. ก่อนเดินทางไปเรียนต่อ ณ ประเทศจีน

นักเรียนทุน “1+2+1” รุ่นที่ 1 รับโอวาทจาก เลขาฯ กพฐ. ก่อนเดินทางไปเรียนต่อ ณ ประเทศจีน

วันที่ 21 มิถุนายน 265 เวลา 13.00 น. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.อัมพร พินะสา เปิดโอกาสให้นักเรียนทุนโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1” สำหรับการศึกษา  ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน เข้าพบและรับโอวาท ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ ห้องปฏิบัติการ DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9

โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1” สำหรับการศึกษา  ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน เป็นความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ ม.สวนดุสิต และ ม.กวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยปีการศึกษา 2564 มีนักเรียนผ่านการพิจารณาเข้าร่วมโครงการ รุ่นที่ 1 จำนวน 35 คน โดยมีนักเรียนที่มีผลการเรียนเป็นเลิศ จำนวน 3 คน ได้รับการพิจารณาทุนการศึกษาเต็มจำนวนระหว่างศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ที่เข้าพบและรับโอวาท ดังนี้
1. นางสาวสุธาศิณี ชีวชิต โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ
2. นางสาวรัชชประภา พิมพ์ทอง โรงเรียนมหาสารคามพิทยาคม
3. นางสาวศิริยุภา นนทสี โรงเรียนหนอกกี่พิทยาคม

โครงการดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนระดับมัธยมปลายในสังกัด สพฐ. ที่มีความเป็นเลิศในด้านทักษะภาษาจีน และสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ให้ได้รับทุนการศึกษาต่อต่างประเทศ รวมทั้งนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้าต่อไป

ขณะนี้ สพฐ. อยู่ระหว่างรับสมัครนักเรียนเข้าร่วมโครงการในรุ่นที่ 2 โดยผู้ที่สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ 098-2946916 หรือ  www.tcas.dusit.ac.th

 

 

 

 

 

สพฐ. พัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships)

สพฐ. พัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships)

วันเสาร์ที่ 18 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ กรุงเทพมหานคร ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ปฏิบัติหน้าที่แทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสร้างความเข้าใจและการขยายเครือข่ายโรงเรียนในโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล ที่มุ่งเน้นการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เท่าเทียมกับการจัดการศึกษาในระดับนานาชาติและต่อยอดนักเรียนที่มีความรู้ ทักษะ และมีสมรรถนะสูงสู่การศึกษาต่อในสถาบันที่มีคุณภาพ ทั้งในและต่างประเทศ

โดยมีผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และผู้แทนจากสถาบันการศึกษาจากประเทศอังกฤษ รวมถึงผู้บริหารสถานศึกษาชั้นนำของประเทศไทยมากกว่า 70 โรงเรียน เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ โดยการประชุมดังกล่าวได้เปิดตัวโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) และกล่าวถึงความร่วมมือในการพัฒนาและการให้ทุนการศึกษาสำหรับ นักเรียน ครู ผู้บริหาร รวมถึงโรงเรียนในทุกสังกัด ซึงผู้สนใจสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมและสมัครเข้าร่วมโครงการได้ที่ Line@ : @iconnect ตั้งแต่วันนี้ ถึงวันที่ 8 กรกฎาคม 2565

 

สพฐ. เดินหน้าเฟ้นหา “นวัตกรรมคณิตคิดเร็ว” สู่การต่อยอดนวัตกรรมคุณภาพแห่งอนาคต

สพฐ. เดินหน้าเฟ้นหา “นวัตกรรมคณิตคิดเร็ว” สู่การต่อยอดนวัตกรรมคุณภาพแห่งอนาคต

     สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอนด้านคณิตศาสตร์ ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์เชิงบูรณาการ (คณิตคิดเร็ว) เมื่อวันที่ 10 – 12 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมเบลล่า บี จังหวัดนนทบุรี

     การประชุมดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาและพิจารณา นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอนด้านคณิตศาสตร์ ภายใต้โครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมคณิตศาสตร์เชิงบูรณาการ (คณิตคิดเร็ว) ซึ่งมีผู้บริหารสถานศึกษา ครู ให้ความสนใจส่งนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และสื่อการสอนด้านคณิตศาสตร์เข้าร่วมการพิจารณา จำนวนถึง 314 นวัตกรรม

    โดยคณะกรรมการได้จำแนกระดับคุณภาพของนวัตกรรมฯ ออกเป็นนวัตกรรมฯ ระดับยอดเยี่ยม ระดับดีเด่น และระดับดี เพื่อมอบเกียรติบัตร และต่อยอดสู่การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมฯ ในอนาคต รวมถึงการสร้างคลังนวัตกรรมออนไลน์เพื่อการเผยแพร่องค์ความรู้ อันนำไปสู่การยกระดับการเรียนการสอนคณิตศาสตร์อย่างมีประสิทธิภาพ ต่อไป

 

โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เดินหน้าเต็มที่ หลังโควิด – 19 ผ่านการอบรมเชิงปฏิบัติการทีมขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด่วนพิเศษ (EMS) และทีมเคลื่อนที่เร็ว (RT) โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์ความรู้สำหรับ ทีมขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด่วนพิเศษ (Express Moral Service : EMS) และทีมเคลื่อนที่เร็ว (Roving Team : RT) โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 31 พฤษภาคม –
2 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร โดยมีว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมการอบรมซึ่งประกอบด้วย ทีมขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด่วนพิเศษ (EMS) จำนวน 30 คน ทีมเคลื่อนที่เร็ว (RT) โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ 1 คน รวมจำนวน 245 คน

รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในช่วงเวลา 2 – 3 ปีที่ผ่านมา ที่ส่งผลให้โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เป็นหนึ่งในโครงการที่ได้รับผลกระทบอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้และการดำเนินงานหลายกิจกรรมของโครงการต้องหยุดชะงัก การอบรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยให้ผู้รับผิดชอบโครงการเดิมและผู้รับผิดชอบโครงการใหม่ที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้ง ซึ่งมีจำนวนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 60 ของผู้รับผิดชอบโครงการทั้งหมด ได้มีโอกาสพัฒนาทักษะเดิม (Upskill) และเพิ่มเติมทักษะใหม่ (Reskill) รวมถึงเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างความเข้มแข็งให้แก่ทีมเคลื่อนที่เร็ว (RT) โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. โดยมีทีมขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด่วนพิเศษ (EMS) เป็นหน่วยสนับสนุน เป็นแรงกำลังสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนโครงการในระดับพื้นที่ให้เกิดผลเชิงประจักษ์ และเป็นรูปธรรม

การอบรมในครั้งนี้แบ่งเนื้อหาการอบรมออกเป็น 4  ช่วงดังต่อไปนี้

ช่วงที่ 1 การบรรยายพิเศษ “ความเป็นมาและนโยบายการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.” ได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

ช่วงที่ 2 การบรรยาย “แนวทางการใช้นวัตกรรมการวัดคุณธรรมสำหรับนักเรียน ครู ผู้บริหาร ภายใต้โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.” โดย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรมออนไลน์ โดยนายวิทยา ศรีพันชาติ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

ช่วงที่ 3 การบรรยายและฝึกปฏิบัติ “การพัฒนาโครงงานคุณธรรมในโรงเรียน และกิจกรรมส่งเสริมความดีในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา” โดย ดร.ศานติกรศิ์ วงค์เขียว นายสามารถ สุทะ นางวราภรณ์ สว่างการ นางสุชาวดี ขันโท และนายวันเฉลิม วุฒิวิศิษฎ์สกุล วิทยากรอาสาจากมูลนิธิยุวพัฒน์ ทีมวิทยากร

ช่วงที่ 4 การบรรยายและตอบข้อซักถาม “การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566” โดย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

การประชุมครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ตั้งเป้าหมายให้ทีมขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด่วนพิเศษ (EMS) และทีมเคลื่อนที่เร็ว (RT) โรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ได้ขยายองค์ความรู้ และขับเคลื่อนโครงการอย่างมีประสิทธิภาพ เป็นระบบและต่อเนื่อง เพื่อสานต่อพระราชดำรัสของในหลวงรัชกาลที่ 9 ในการสร้างคนดีให้บ้านเมือง อันเป็นหลักสำคัญและเป็นหัวใจของโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. สืบไป

การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.” ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 8 พฤษภาคม 2565 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้เกียรติเป็นประธานพิธีเปิด การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณาคัดเลือกคุรุชนคนคุณธรรมและนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ของผู้บริหาร ครูและบุคลากรทางการศึกษา “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.” ระดับประเทศ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 และบรรยายพิเศษให้กับคณะกรรมการฯ เข้าร่วมการประชุม ระหว่างวันที่ 8 – 12 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมไมด้า งามวงศ์วาน จังหวัดนนทบุรี

การประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2565 (รอบสอง ระดับประเทศ) ระหว่างวันที่ 4 – 7 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพฯ

วันที่ 4 พฤษภาคม 2565  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียน
จัดการประชุมปฏิบัติการ พิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ
ประจำปี พ.ศ. 2565(รอบสอง ระดับประเทศ) ระหว่างวันที่ 4 – 7 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพฯ

การประชุมชี้แจงผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ ZOOM Meeting)

วันที่ 25 มีนาคม 2565 เวลา 09.30 – 16.00 น. สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ได้ประชุมเตรียมความพร้อมผู้รับผิดชอบและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ ZOOM Meeting)

การประชุมชี้แจงการดำเนินงานในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. จักรพงษ์ วงค์อ้าย  รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานการประชุม ทั้งนี้กลุ่มเป้าหมายในการประชุมดังกล่าว ประกอบด้วย ผู้รับผิดชอบโครงการในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 62 เขต เพื่อให้ทราบแนวทางการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม และประสานความร่วมมือให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันบรรลุตามวัตถุประสงค์การขับเคลื่อนโครงการได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อไป