04_วพร.

สนก. เดินหน้าพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digitral Platfrom) เพื่อการขยายเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

วันที่ 17 มกราคม 2566 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
มอบหมายให้ นายฐาปณัฐ อุดมศรี และ นายวิทยา ศรีพันชาติ รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้
จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) การบริหารจัดการโครงการพัฒนาองค์กร
แห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 17 – 20 มกราคม 2566 ณ โรงแรมเดอะพรรณราย จังหวัดอุดรธานี

การประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ ความเชี่ยวชาญในด้านดิจิทัลเทคโนโลยีเข้าร่วมเป็นคณะทำงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบบริหารการจัดการข้อมูลดิจิทัล และพัฒนาการดำเนินงานของโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษ ที่ 21 ประจําปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ให้มีประสิทธิภาพ และประสิทธิผลสูงสุด ตามเป้าหมายของโครงการย่อย ซึ่งประกอบด้วย

  1. โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships)
  2. โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” สำหรับการจัดการศึกษาระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน-อาเซียน
  3. โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co – Creation Projects)
  4. โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ผ่านกีฬาอิเล็กทรอนิกส์ (E-SPORTS)

ภายหลังจากการประชุมเสร็จสิ้นลง สนก. ได้กำหนดแผนการนำแพลตฟอร์มดิจิทัลที่พัฒนาขึ้น ไปสู่การปฏิบัติภายในไตรมาสที่ 2 ต่อไป

 

 

 

 

 

 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบ ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนครั้งนี้ และนางอังคณา เหว่าวิทย์ รองผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดประเด็น และชี้แจงความเป็นมาของการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผน เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและภารกิจที่เกี่ยวข้องและต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การจัดประชุมสัมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่สามารถดำเนินการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป

สนก. ขยายเครือข่ายนวัตกรรมการต่อยอดเยาวชนไทยสู่สากล ร่วมกับสถานฑูตอังกฤษ และ NCUK Thailand

วันที่ 11 มกราคม 2566 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) มอบหมาย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เข้าร่วมการประชุมกับผู้แทนจากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และ ผู้แทนจาก Northern Consortium of UK Universities (NCUK) ประเทศไทย ณ ห้องประชุม สพฐ. 2 กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อหารือแนวทางการสร้างความร่วมมือในการพัฒนานวัตกรรมการสร้างเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

การประชุมครั้งนี้ นับเป็นจุดเริ่มต้นของการพัฒนานวัตกรรมรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ในการต่อยอดผู้เรียนจากระบบการศึกษาไทยสู่ระบบการศึกษาที่มีมาตรฐานในระดับนานาชาติ โดยมุ่งเน้นการสร้างโอกาส และช่องทางการศึกษาที่หลากหลายให้แก่เยาวชน เพื่อเป็นต้นแบบของการจัดการศึกษาที่เหมาะสมกับผู้เรียนอย่างแท้จริงในอนาคต

การประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา)

เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2566 นายอัมพร  พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ระหว่างวันที่ 4 – 7 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมบียอนด์สวีท กรุงเทพมหานคร โดยมีนายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเข้าร่วมการประชุมเพื่อพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) จำนวน 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยมีกำหนดการสอบแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ส่งนักเรียนทุนจีน “1+2+1” รุ่นที่ 1 เดินทางไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน

วันที่ 21 ธันวาคม 2565 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) เดินทางไปให้กำลังใจและส่งนักเรียนทุนในโครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1” สำหรับการศึกษา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน รุ่นที่ 1 จำนวน 29 คน เดินทางไปศึกษาต่อ ณ มหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน

ดร.พรชณิตว์ แก้วเนตร รองอธิการบดีฝ่ายกิจการต่างประเทศและลูกค้าสัมพันธ์ รวมถึงคณาจารย์จากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต ผู้เป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า นักเรียนไทยทั้ง 29 คน ถือเป็นนักเรียนใหม่ ระดับปริญญาตรีกลุ่มแรก ที่ได้เดินทางเข้าสู่มณฑลกวางสี หลังจากที่มีการเปิดประเทศให้นักเรียน นักศึกษาสามารถเดินทางเข้าประเทศได้เป็นครั้งแรก ตั้งแต่สถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) ตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นมา ซึ่งกว่าการเดินทางครั้งนี้จะเกิดขึ้นได้ ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกฝ่ายต้องใช้ความพยายามในการประสานงานและการเตรียมความพร้อมนักเรียนอย่างดียิ่งตามข้อกำหนดของสาธารณรัฐประชาชนจีน

โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1” สำหรับการศึกษา ระดับปริญญาตรี หลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ ธุรกิจจีน – อาเซียน เป็นความร่วมมือระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และ มหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน ในการพัฒนานวัตกรรมการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่สากลโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อคัดเลือกนักเรียน ม.ปลาย ที่มีความเป็นเลิศด้านภาษาจีนและมีสมรรถนะการเป็นผู้ประกอบการ ให้มีโอกาสเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา พร้อมทั้งรับทุนการศึกษาระหว่างที่ศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาใช้ในการพัฒนาชุมชน สังคม และประเทศชาติให้เจริญก้าวหน้า โดยในเดือน มกราคม – เมษายน 2566 สพฐ. จะดำเนินการรับสมัครและคัดเลือกนักเรียนทุนรุ่นต่อไป

สนก. ติดตามผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect) ณ ประเทศอังกฤษ

สนก. ติดตามผลการดำเนินงานภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect) ณ ประเทศอังกฤษ

ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษามอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เดินทางไปติดตามผลการดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect) และแลกเปลี่ยนแนวทางการดำเนินงานกับ CEO และผู้บริหารโรงเรียนเครือข่าย ณ ประเทศอังกฤษ ระหว่างวันที่ 24 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2565

การติดตามผลการดำเนินโครงการในครั้งนี้ ได้รับการเชิญอย่างเป็นทางการจาก CEO และผู้บริหารโรงเรียนเครือข่ายจากประเทศอังกฤษ ให้ผู้แทนจากสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect) ร่วมเดินทางกับกลุ่มเครือข่ายผู้แทนจากประเทศต่างๆ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ มาเลเซีย พม่า เวียดนาม และฟิลิปปินส์ เพื่อร่วมประชุมกับ CEO และผู้บริหารเกี่ยวกับจำนวนทุนการศึกษาและแนวทางการต่อยอดนักเรียนจากประเทศต่างๆ เข้าสู่ระบบการศึกษาในประเทศอังกฤษ

ผู้แทนผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้เข้าเยี่ยมชมระบบการจัดการศึกษาและพูดคุยกับนักเรียนไทย ที่ได้รับทุนในโครงการ จำนวน 5 คน รวมถึงนักเรียนไทยที่กำลังศึกษาอยู่ในโรงเรียนต่างๆ ดังนี้

  1. Guildhouse School, London
  2. Stafford House, London
  3. Bosworth Independent College, Northampton
  4. CATS Cambridge, Cambridge
  5. Cambridge School of Visual & Performing Art (CSPVA), Cambridge
  6. Bournemouth Collegiate School, Bournemouth
  7. The Worthgate School, Canterbury

ภายหลังเสร็จสิ้นภารกิจในการเยี่ยมเยียนนักเรียนในโครงการ IConnect OBEC Scholarships ณ ประเทศอังกฤษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาจะดำเนินการถอดบทเรียน และวิเคราะห์แนวโน้มการเข้าสู่มหาวิทยาลัยชั้นนำของนักเรียนทุนในโครงการ เพื่อจัดทำฐานข้อมูลสำหรับขับเคลื่อนโครงการในรุ่นที่ 2 อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลตามเป้าหมายของโครงการ และเป้าหมายในการพัฒนาทรัพยากรบุคคลตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 24 รางวัล ในการแข่งขันคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา

สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 24 รางวัล ในการแข่งขันคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นำทีมผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia รหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ในรูปแบบการแข่งขันออนไลน์พร้อมกับทางเจ้าภาพ และประเทศอื่นๆ ซึ่งสาธารณรัฐอินโดนีเซียเป็นประเทศเจ้าภาพ
มีประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 17 ประเทศทั่วโลก โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 24 คน แบ่งออกเป็นวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน และวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน ได้รับรางวัล รวม 24 รางวัล

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 รางวัล

เหรียญทอง จำนวน 1 รางวัล

1.เด็กชายสุกฤต ประเสริฐโชค โรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์

เหรียญเงิน จำนวน 6 รางวัล

1.เด็กชายพีรวิชญ์ ศรีภัทราพันธุ์ โรงเรียนอนุบาลสุธีธร
2.เด็กชายณัฏฐชัย ตั้งทรงสวัสดิ์ โรงเรียนอุ่นรัก 2 ภาษา
3.เด็กชายวิรัฬพัชร์ สังข์ทิพย์ โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ
4.เด็กชายชัยวริษฐ์ ชัยพัฒน์ธนโชติ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
5.เด็กชายกฤตชพัฒน์ ดีประเสริฐวงศ์ โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
6.เด็กชายปีติคุน อภิชนกิจ โรงเรียนนานาชาติรักบี้

เหรียญทองแดง จำนวน 5 รางวัล

1.เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร โรงเรียนอนุบาลนครปฐม
2.เด็กชายศิริพงศ์ ชัยจิตติประเสริฐ โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง
3.เด็กชายฐิติวัฒน์ ศรีอรุณเรืองชัย โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย
4.เด็กชายบรมภัค หลาบหนองแสง โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
5.เด็กชายธรรมปพน สุขสุธรรมวงศ์ โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม

วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 รางวัล

เหรียญทอง จำนวน 3 รางวัล

1.เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ โรงเรียนอนุบาลตาก
2.เด็กหญิงณภัทร นรศาศวัต โรงเรียนอนุบาลนานาชาติตากสินระยอง
3.เด็กหญิงนันท์นภัส รัตนมณีพันธ์ โรงเรียนพลวิทยา ระบบสองภาษา

เหรียญเงิน จำนวน 8 รางวัล

1.เด็กชายปิติ ธรรมโกวิท โรงเรียนอัสสัมชัญแผนกประถม
2.เด็กชายปุญญพัฒน์ ฉัตรพรจรัส โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม
3.เด็กหญิงอรกัญญา อินเนียร โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
4.เด็กชายพรหมพิริยะ สุจิรัตน์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
5.เด็กชายปัณณธร เกษตรเสริมวิริยะ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา
6.เด็กชายภาวิช พิลาทอง โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
7.เด็กชายพงษ์พิชญ์ ประดิษฐผลเลิศ โรงเรียนอนุบาลชลบุรี
8.เด็กชายวริศ สุวรรณชาตรี โรงเรียนแสงทองวิทยา

เหรียญทองแดง 1 รางวัล

1.เด็กชายอรรณวิชญ์ จันทศ โรงเรียนอนุบาลนครพนม

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ตรวจเยี่ยมสนามสอบและให้กำลังใจนักเรียนการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia

เมื่อวันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจำรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการ
จัดการศึกษามอบหมายให้ ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตรวจเยี่ยมสนามสอบและให้กำลังใจนักเรียนการแข่งขันคณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia
ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้แทนนักเรียนไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้

การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักพัฒนานวัตกรรม
การจัดการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจากนายนิยม ไผ่โสภา
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และนายกิตติศักดิ์ ศรีปทุมานุรักษ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ร่วมพิธีเปิดและกล่าวต้อนรับผู้แทนนักเรียนในการแข่งขันคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และโรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างเต็มตามศักยภาพ ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้สู่เวทีวิชาการทางวิชาการระดับนานาชาติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านที่ได้รับการแต่งตั้งจากเวทีการแข่งขัน IMSO ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิด และให้คำปรึกษา และการแนะนำแนวทางการดำเนินการจัดการแข่งขันดังกล่าว

1. นางนิจวดี เจริญเกียรติบวร ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
2. นายปราโมทย์ ขจรภัย ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
3. นายกำจัด หนูภัย ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ

การมอบวุฒิบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ เทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างครูมืออาชีพ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สู่การต่อยอด ระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project)

การมอบวุฒิบัตรให้กับผู้ผ่านการอบรมออนไลน์ เทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างครูมืออาชีพ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สู่การต่อยอด ระดับสากล (STEAMs Co-Creation Project)

หนังสือ สพม.ว2927

ดาวน์โหลดวุฒิบัตร

ดาวน์โหลดเกียรติบัตร

เริ่มแล้ว!! การเฟ้นหาโครงงานวิทยาศาสตร์คุณภาพคับแก้ว ระดับประเทศ

วันที่ 22 พฤศจิกายน 2565 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้แทนกล่าวต้อนรับนักเรียนและคณะครู ในการแข่งขันโครงงานวิทยาศาสตร์ รอบชิงชนะเลิศ ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co – Creation Project) ระดับประเทศ ประจำปี พ.ศ. 2565 โดยได้รับเกียรติจาก ศาสตราจารย์ ดร.อรินทิพย์ ธรรมชัยพิเนต รองคณบดีฝ่ายวิจัยและวิเทศสัมพันธ์ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นประธานในพิธี ณ ห้องประชุมสุมินทร์ สมุทคุปติ์ อาคารวิทยาศาสตร์กายภาพ 45 ปี คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ โดยระหว่างวันที่ 22 – 23 พฤศจิกายน 2565 จะมีการเก็บคะแนนภาคการนำเสนอและภาคโปสเตอร์ เพื่อคัดเลือกโครงงานวิทยาศาสตร์ที่มีคุณภาพสูงสุดใน 4 สาขา ได้แก่
1. สาขาการเกษตรและอาหาร
2. สาขาสุขภาพและการแพทย์
3. สาขาพลังงานและวัสดุ
4. สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

โดยนอกจากนักเรียนที่ได้รับรางวัลชนะเลิศจะได้รับโล่ เกียรติบัตร และทุนการศึกษาแล้ว ยังมีสิทธิ์เข้าศึกษาต่อที่คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พร้อมรับทุนค่าเล่าเรียนเป็นระยะเวลา 4 ปี จากมหาวิทยาลัยอีกด้วย

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ด้วยระบบดิจิทัล

ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ นายวิทยา ศรีพันชาติ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาระบบบริหารจัดการโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ด้วยระบบดิจิทัล ระหว่างวันที่ 9 – 12 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมเอสตะวัน จังหวัดมหาสารคาม ในการประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการสถานศึกษา รองผู้อำนวยการสถานศึกษา ครู และคณะทำงานส่วนกลาง สพฐ. การจัดประชุมในครั้งมีวัตถุประสงค์ เพื่อออกแบบโครงสร้างพัฒนาระบบและจัดทำฐานข้อมูลโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และประมวลผลข้อมูล ที่มีประสิทธิภาพ สะดวก รวดเร็ว ในการดำเนินงานต่อไป