04_วพร.

“สนก. ขยายเครือข่ายการศึกษาในแดนมังกร ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 “

นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) เดินทางสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน ระหว่างวันที่ 20 – 27 เมษายน 2566 เพื่อสร้างความร่วมมือกับโรงเรียน และมหาวิทยาลัยชั้นนำต่างๆ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

การเดินทางในครั้งนี้ ได้รับคำเชิญจากโรงเรียน และมหาวิทยาลัยต่างๆ ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เดินทางเข้าเยี่ยมชมและร่วมประชุมกับผู้บริหาร รวมทั้งหารือแนวทางการสร้างความร่วมมือทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียนไทย โดยมีเป้าหมายเพื่อวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการต่อยอดเยาวชนไทยสู่การศึกษาที่มีคุณภาพในระดับนานาชาติ

ทั้งนี้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรีและคณะ มีกำหนดการประชุมร่วมกับผู้บริหาร และเยี่ยมชมสถานศึกษา และหน่วยงานในมลฑลต่าง ๆ ดังนี้
– Changsha University of Science and Technology, Changsha, Hunan
– Central South University of Forestry and Technology, Hunan
– Guangxi Oversea Chinese School, Guangxi, Nanning
– MalishaEdu Office Guangzhou, Guangzhou

โดยเมื่อเสร็จสิ้นการเดินทาง สนก. จะดำเนินการขยายผลโครงการในโรงเรียนมัธยมศึกษาทั่วประเทศต่อไป

สนก. เฟ้นหานวัตกรรมแห่งอนาคตในมหกรรมเทคโนโลยีการศึกษาระดับโลก BETT London 2023 ณ ประเทศอังกฤษ

สนก. เฟ้นหานวัตกรรมแห่งอนาคตในมหกรรมเทคโนโลยีการศึกษาระดับโลก BETT London 2023 ณ ประเทศอังกฤษ

นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) เข้าร่วมงานมหกรรมเทคโนโลยีและการอบรมการศึกษา (The British Education Training and Technology : BETT 2023) ณ ประเทศอังกฤษ ตามคำเชิญของสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโครงการที่มุ่งเน้นการพัฒนานวัตกรรมการต่อยอดเด็กไทยที่มีศักยภาพสูงให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อและประกอบอาชีพทั้งใน และต่างประเทศ

มหกรรมเทคโนโลยีและการอบรมการศึกษา BETT 2023 ที่จัดขึ้น ณ ประเทศอังกฤษ ในครั้งนี้ มีหน่วยงานชั้นนำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษาจากทุกมุมโลก เข้าร่วมจัดนิทรรศการและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ กว่า 14,000 แห่ง โดยมีหน่วยงานจากประเทศไทยเพียง 2 หน่วยงานเท่านั้น ที่ได้รับเชิญเข้าร่วมงานภายใต้การดูแลของสถานทูตอังกฤษประจำประเทศไทยได้แก่ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และ SE-ED Academy

การเข้าร่วมมหกรรมเทคโนโลยีและการอบรมการศึกษา BETT 2023 ในครั้งนี้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษามีวัตถุประสงค์เพื่อเฟ้นหานวัตกรรมที่มีความแปลกใหม่ ทันสมัย และเหมาะสมกับการประยุกต์ใช้ในประเทศไทย รวมถึงสร้างความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับหน่วยงานระดับนานาชาติ ตามเป้าหมายโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ที่มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างบุคคล และหน่วยงานที่มีความเชี่ยวชาญ ควบคู่ไปกับการส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยกับประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก

 

 

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โสพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21ครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2566 ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 จุดที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น การอบรมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ในรูปแบบกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. และ CATS Global Schools ซึ่งเป็นหน่วยงานทางการศึกษา ที่มีเครือข่ายโรงเรียนชั้นนำ ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสพฐ. กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยจัดการอบรมฯ ใน 4 ภูมิภาค มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 656 คน ให้ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ เติมเต็มกระบวนการคิด และฝึกฝนทักษะด้านการสอนในรายวิชาของตนเอง เพื่อนำไปสู่การยกระดับการจัดการเรียนรู้ ที่ช่วยส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนที่มีศักยภาพสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวในพิธีเปิดว่า “สพฐ. ในฐานะองค์กรหลักที่มีหน้าที่จัดการศึกษาให้เยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้กำหนดนโยบายการพัฒนานักเรียนในสังกัดที่มีความเป็นเลิศทางภาษา และมีสมรรถนะที่เป็นเลิศ ให้มีโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายและมีคุณภาพ รวมถึงการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมายจากท่านเลขาฯ กพฐ. จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง และจุดเริ่มต้นของโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่จะช่วยพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความพร้อม มีทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต และมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง”

ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาได้มีนักเรียนในสังกัด สพฐ. และสังกัดอื่น ๆ ได้รับการพัฒนาและต่อยอดสู่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 เป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2566 จะเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นต่อไปเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป โดยสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://inno.obec.go.th/

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ม.เกษตรศาสตร์ และ CATS Global Schools พัฒนาครูภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. ร่วมกับ ม.สวนดุสิต ม.เกษตรศาสตร์ และ CATS Global Schools พัฒนาครูภาคเหนือ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ภาคเหนือ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

การอบรมฯ ครูภาคเหนือครั้งนี้ นับเป็นการอบรมจุดที่ 3 จาก 4 ภูมิภาค ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา
ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
– โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
– โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
– โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายมีเป้าหมายให้ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดในสาขาวิชาของตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์
ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

 

 

 

 

 

 

การประชุมปฏิบัติการตรวจทาน จัดฉบับแบบทดสอบ และจัดทำเฉลยแนวคิดแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ)

เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นายอัมพร  พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการตรวจทาน จัดฉบับแบบทดสอบ และจัดทำเฉลยแนวคิดแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ) ระหว่างวันที่28 กุมภาพันธ์ – 3 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานครโดยมีนายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเข้าร่วมการประชุมเพื่อพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ) จำนวน 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยมีกำหนดการสอบแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (รอบสอง ระดับประเทศ) พร้อมกันทั่วประเทศ ในวันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566

สพฐ. จับมือ CATS Global Schools ม.สวนดุสิต และ ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนาครูภาคใต้ ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. จับมือ CATS Global Schools ม.สวนดุสิต และ ม.เกษตรศาสตร์ พัฒนาครูภาคใต้ ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ภาคใต้ ณ โรงแรมไดมอนด์ สุราษฎร์ธานี โดยได้รับเกียรติจากนายสำรวย ภักดี รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุราษฎร์ธานี ชุมพร เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรม

โดยการอบรมฯ ครูภาคใต้ครั้งนี้ นับเป็นการอบรมจุดที่ 2 จาก 4 ภูมิภาค ที่จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายมีเป้าหมายให้ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ได้พัฒนาความรู้ ทักษะ กระบวนการคิดในสาขาวิชาของตนเอง และนำไปใช้ประโยชน์ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศไทย ตามยุทธศาสตร์ชาติต่อไป

ประกาศรายชื่อผู้ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566

 

โครงการการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ 3 โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  โดยจะมีการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการทั้ง 4 ภูมิภาคทั่วประเทศ

 

รายละเอียดผู้ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมดังเอกสารแนบ

ประกาศรายชื่อ

 

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครู 4 ภูมิภาค ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ประจำปี 2566 ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร

โดยการอบรมฯ ในภาคกลางและภาคตะวันออกครั้งนี้ นับเป็นจุดแรกจาก 4 ภูมิภาค ที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดขึ้นเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดให้แก่ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ในรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นการพัฒนาครูภาษาอังกฤษ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับ CATS Global Schools
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นการพัฒนาครูภาษาจีน ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิตและมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์
สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) เป็นการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ ภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. กับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดย สพฐ. และองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายทุกแห่งที่เข้าร่วมโครงการ มีความคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่า ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรทางการศึกษา ที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิด ที่ได้รับ กลับไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาตนเองและโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อการต่อยอดนักเรียนให้เต็มที่ตามศักยภาพและความต้องการที่หลากหลาย อันนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพทรัพยากรมนุษย์ และการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ต่อไป

สนก. ทดลองใช้การขับเคลื่อนโครงการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลเต็มรูปแบบภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและคู่มือการใช้ระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ระหว่างวันที่ วันที่ 7-10 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมเดอะพาลาซโซ กรุงเทพมหานคร

โดยผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษามอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ดำเนินการจัดประชุมผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจากหน่วยงานทุกภาคส่วนได้แก่ ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครู และบุคลากรทางการศึกษาจากทั่วประเทศ เพื่อจัดทำแนวทางและคู่มือการใช้ระบบแพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ที่พัฒนาขึ้นและจะถูกนำไปทดลองใช้ในการขับเคลื่อนโครงการย่อยของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จำนวน 3 โครงการ ได้แก่
1. โครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect)
2. โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1+2+1”
3. โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co – Creation Project)
โดยมุ่งเน้นการนำเข้า จัดเก็บ ประมวลผล และนำเสนอข้อมูลโครงการเพื่อใช้ในการประเมินผลสำเร็จ และการวิเคราะห์แนวทางในการขยายผลโครงการในปีงบประมาณต่อไป

ทั้งนี้ สนก. จะขยายผลการใช้แพลตฟอร์มดิจิทัล (Digital Platform) ในการสื่อสาร และประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารสำหรับผู้ที่สนใจและการให้ข้อมูลสะท้อนกลับแก่ผู้รับผิดชอบโครงการในโครงการอื่นๆ ในอนาคตต่อไป

 

 

 

 

การประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งรับผิดชอบกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ จัดการประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตรและสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ) ระหว่างวันที่ 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมบียอนด์สวีท กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา และวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา และจะตรวจทานและจัดทำข้อสอบเพื่อส่งให้กับศูนย์สอบทั่วประเทศต่อไป โดยการสอบแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (รอบสอง ระดับประเทศ) จะมีขึ้นในวันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566 พร้อมกันทั่วประเทศ

ลงทะเบียนเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ ๒๑ ประจำปี ๒๔๖๖

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนา องค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ ๒๑ ประจำปี ๒๔๖๖
ระหว่างวันที่ ๑๘ กุมภาพันธ์ – ๑๒ มีนาคม ๒๔๖๖ จานวน ๔ ภูมิภาค ดังนี้
๑. ภาคกลางและภาคตะวันออก ระหว่างวันที่ ๑๘ – ๑๙ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๖ ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร
๒. ภาคใต้ ระหว่างวันที, ๒๔ – ๒๖ กุมภาพันธ์ ๒๔๖๖ ณ โรงแรมไดมอนด์ สุราษฎร์ธานี จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๓. ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ ๔- ๔ มีนาคม ๒๔๖๖ ณ โรงแรมคุ้มภูคำ จังหวัดเชียงใหม่
๔. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ ๑๑ – ๑๒ มีนาคม ๒๔๖๖ ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น

เข้ากลุ่มไลน์เพื่อสอบถามการลงทะเบียนเพิ่มเติม
https://line.me/R/ti/g/nMs7SCEOhH

คู่มือการลงทะเบียนเข้าร่วมอบรมฯ

หนังสือแนบ

การประชุมปฏิบัติการตรวจทาน จัดฉบับแบบทดสอบ และจัดทำเฉลยแนวคิดแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ซึ่งรับผิดชอบกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ จัดการประชุมปฏิบัติการตรวจทาน จัดทำต้นฉบับแบบทดสอบ และจัดทำเฉลยแนวคิดแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ระหว่างวันที่ 25 – 28 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร จำนวน 3 วิชา คือ คณิตศาสตร์ระดับประถมศึกษา คณิตศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา และวิทยาศาสตร์ระดับประถมศึกษา เพื่อจัดส่งให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ โดยมีกำหนดการสอบแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) พร้อมกัน ในวันเสาร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ 2566 ซึ่งมีผู้สมัครสอบในครั้งนี้จำนวน 159,172 คน