04_วพร.

นักเรียนไทยสุดยอด! คว้า 15 รางวัล 24 เหรียญ จากการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics 2023 (PMWC 2023) สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีประทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวนทั้งสิ้น 12 ประเทศ 36 ทีม 144 คน ซึ่งจัดการแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับประเทศเจ้าภาพสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ประเทศ ไต้หวัน ไทย บัลแกเรีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาเก๊า สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เวียดนาม และฮ่องกง โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 12 คน แบ่งเป็น 3 ทีม ทีมละ 4 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล และเหรียญรวมทั้งสิ้น 15 รางวัล 24 เหรียญ ดังนี้

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 12 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 2 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน 5 เหรียญทองแดง ดังนี้
เหรียญทอง 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายสุรชัช เดชพิชัย     โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)     กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  2. เด็กหญิงอรณิชชา ราญฎร     โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญเงิน 5 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายนฤเบศวร์ หิรัญเพิ่มพูน     โรงเรียนราชวินิต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
  2. เด็กหญิงปุณิกา แสงสว่าง     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  3. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา     โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. เด็กชายพีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  5. เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร     โรงเรียนอนุบาลนครปฐม     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

เหรียญทองแดง 5 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายเขมทิน อึ้งภูรีเสถียร     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายจิรัฏฐ์ เลี่ยมเพชร     โรงเรียนสหวิทย์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  3. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กชายณภัทร ชัยกมลภัทร     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  5. เด็กชายปุญญกรณ์ แสงสกุล     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1

 ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 3 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง 4 เหรียญทองแดง และ 4 เหรียญชมเชย ดังนี้
เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  2. เด็กชายณภัทร ชัยกมลภัทร     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  3. เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร     โรงเรียนอนุบาลนครปฐม      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
  4. เด็กชายสุรชัช เดชพิชัย     โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)     กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเขมทิน อึ้งภูรีเสถียร      โรงเรียนแสงทองวิทยา      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายปุญญกรณ์ แสงสกุล      โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  3. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา      โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. เด็กชายพีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์      โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เหรียญชมเชย 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team B

  1. เด็กชายจิรัฏฐ์ เลี่ยมเพชร     โรงเรียนสหวิทย์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายนฤเบศวร์ หิรัญเพิ่มพูน     โรงเรียนราชวินิต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
  3. เด็กหญิงปุณิกา แสงสว่าง     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กหญิงอรณิชชา ราญฎร      โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

การแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary
Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 13 กรกฏาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน พร้อมกล่าวต้อนรับคณะผู้แทนนักเรียนไทย และได้รับเกียรติจาก นายกิตติศักดิ์ ศรีปทุมานุรักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ร่วมพิธีเปิดการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 17 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และโรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์อย่างเต็มตามศักยภาพ ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้สู่เวทีวิชาการ ระดับนานาชาติ โดยมี นายปราโมทย์ ขจรภัย ที่ปรึกษาโครงการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ได้ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน ให้คำปรึกษา และแนะนำแนวทางการดำเนินการจัดการแข่งขันดังกล่าว

นักเรียนไทยสุดเจ๋ง! คว้า 43 รางวัล 79 เหรียญ จากการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีประทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวนทั้งสิ้น 31 ประเทศ โดยแบ่งทีมการแข่งขันออกเป็น คณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย 81 ทีม คณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น 80 ทีม รวมทั้งสิ้น 161 ทีม ซึ่งจัดการแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับประเทศเจ้าภาพสาธารณรัฐบัลแกเรีย และประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 32 คน แบ่งเป็นวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย จำนวน 4 ทีม ทีมละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน และวิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 4 ทีม ทีมละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 16 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล และเหรียญรวมทั้งสิ้น 43 รางวัล 79 เหรียญ ดังนี้

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 15 รางวัล (15 เหรียญ) แบ่งเป็น 3 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 4 เหรียญทองแดง และ 6 เหรียญชมเชย ดังนี้

เหรียญทอง 3 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายอีตั้น เชน      โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ศรีภัทราพันธุ์      โรงเรียนอนุบาลสุธีธร     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ     โรงเรียนอนุบาลตาก     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1

เหรียญเงิน 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายมนพล ตั้งทางธรรม     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน      โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1

เหรียญทองแดง 4 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายสาธุ มีแก้ว     โรงเรียนสุวรรณวงศ์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพลภัทร วัฒนาอุดม     โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพันธุ์ธัช อัดโดดดร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายฐิติวัฒน์ ศรีอรุณเรืองชัย     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชบุรี เขต 1

เหรียญชมเชย 6 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายภาคิน โอฬารรักษ์ธรรม     โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายปารทัต รักเกื้อ     โรงเรียนบูรณะรำลึก    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายชยพล ตั้งวิไลเสถียร      โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายศย ดำรงสุรสิน     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  1. เด็กชายนัธทวัฒน์ บูรณไมตรี     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายธนวินท์ เจษฏากานต์      โรงเรียนดรุณาราชบุรี     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 4 รางวัล (16 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญเงิน และ 12 เหรียญทองแดง ดังนี้

เหรียญเงิน 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กชายมนพล ตั้งทางธรรม     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน     โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
  1. เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ     โรงเรียนอนุบาลตาก     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
  1. เด็กชายพันธุ์ธัช อัดโดดดร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1

เหรียญทองแดง 3 รางวัล (12 เหรียญ) ได้แก่ Team A Team B และ Team D

  1. เด็กชายภาคิน โอฬารรักษ์ธรรม     โรงเรียนอัสสัมชัญสมุทรปราการ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายสาธุ มีแก้ว     โรงเรียนสุวรรณวงศ์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายชนาธิป ดีนวนพะเนา     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายอีตั้น เชน     โรงเรียนธิดาแม่พระ    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพลภัทร วัฒนาอุดม     โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายปารทัต รักเกื้อ     โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายชยพล ตั้งวิไลเสถียร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  1. เด็กชายศย ดำรงสุรสิน     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  1. เด็กชายนัธทวัฒน์ บูรณไมตรี     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น     ฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)
  1. เด็กชายธนวินท์ เจษฏากานต์     โรงเรียนดรุณาราชบุรี     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายฐิติวัฒน์ ศรีอรุณเรืองชัย     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชบุรี เขต 1
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน     โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1

ประเภทบุคคลรวม Group Prize ได้รับรางวัลรวม 1 รางวัล (4 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง ดังนี้

เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กชายมนพล ตั้งทางธรรม     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง (ฝ่ายประถม)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายพีรวิชญ์ ตาลาน     โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์)     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 1
  1. เด็กชายกวินกิตติ์ โอฬารกิจเจริญ     โรงเรียนอนุบาลตาก     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 1
  1. เด็กชายพันธุ์ธัช อัดโดดดร     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 16 รางวัล (16 เหรียญ) แบ่งเป็น 5 เหรียญทอง 2 เหรียญเงิน 7 เหรียญทองแดง และ 2 เหรียญชมเชย ดังนี้

เหรียญทอง 5 รางวัล ได้แก่

  1. นายณฐกร คุ้มมั่น      โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายธฤษณุธัช กริ่มใจ     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
  1. เด็กชายธนกร อรรถเวชกุล     โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายปัณณวิชญ์ พิธพรชัยกุล     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายเอกกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญเงิน 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายเกียรติภูมิ สิเจริญ     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญทองแดง 7 รางวัล ได้แก่

  1. นายอิทธิกร บุบผาสุวรรณ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
  1. เด็กหญิงภัทรานิษฐ์ แก้วมี     โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
  1. เด็กชายเมธัส มณีดำ     โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
  1. เด็กชายจิระพัชร์ พุฒดี     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายภัทรภณ ธนพิทักษ์     โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
  1. เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส     โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
  1. นางสาวมิยูกิ ซาโต้     โรงเรียนสุรนารีวิทยา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

เหรียญชมเชย 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์      โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายปัณณ์ เจนกุลประสูติ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 4 รางวัล (16 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง 8 เหรียญเงิน และ 4 เหรียญทองแดง ดังนี้

เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team B

  1. เด็กชายธฤษณุธัช กริ่มใจ     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า    สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
  1. เด็กชายปัณณ์ เจนกุลประสูติ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
  1. เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กหญิงภัทรานิษฐ์ แก้วมี     โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน

เหรียญเงิน 2 รางวัล (8 เหรียญ) ได้แก่ Team C และ Team D

  1. เด็กชายธนกร อรรถเวชกุล     โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายปัณณวิชญ์ พิธพรชัยกุล     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายเมธัส มณีดำ     โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
  1. เด็กชายเอกกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายจิระพัชร์ พุฒดี     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายภัทรภณ ธนพิทักษ์     โรงเรียนอุดรพิทยานุกูล     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี
  1. เด็กชายภัทรภูมิ สุกใส     โรงเรียนร้อยเอ็ดวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาร้อยเอ็ด
  1. นางสาวมิยูกิ ซาโต้     โรงเรียนสุรนารีวิทยา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครราชสีมา

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเกียรติภูมิ สิเจริญ     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายณฐกร คุ้มมั่น     โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. นายอิทธิกร บุบผาสุวรรณ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

ประเภทบุคคลรวม Group Prize ได้รางรับวัลรวม 3 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 8 เหรียญทอง และ 4 เหรียญทองแดง ดังนี้

เหรียญทอง 2 รางวัล (8 เหรียญ) ได้แก่ Team B และ Team C

  1. เด็กชายธฤษณุธัช กริ่มใจ     โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2
  1. เด็กชายปัณณ์ เจนกุลประสูติ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1
  1. เด็กชายพีรวินท์ อธิประยูร     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กหญิงภัทรานิษฐ์ แก้วมี     โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลำปาง ลำพูน
  1. เด็กชายธนกร อรรถเวชกุล     โรงเรียนนานาชาติแองโกลสิงคโปร์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายปัณณวิชญ์ พิธพรชัยกุล     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. เด็กชายเมธัส มณีดำ     โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาราชบุรี
  1. เด็กชายเอกกวิน วิศิษฏ์เกียรติชัย     โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเกียรติภูมิ สิเจริญ     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  1. นายณฐกร คุ้มมั่น     โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  1. นายอิทธิกร บุบผาสุวรรณ     โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1

การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 3 กรกฏาคม 2566 เวลา 14.00 น. นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้เกียรติลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบ ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร พร้อมให้โอวาทแก่คณะผู้แทนนักเรียนไทย เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจในการสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 7 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และโรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร และเป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์อย่างเต็มตามศักยภาพ ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้สู่เวทีวิชาการ ระดับนานาชาติ ต่อไป

การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 2 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้ นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน พร้อมกล่าวต้อนรับ ปฐมนิเทศ และชี้แจงเกณฑ์แนวทางการแข่งขันแก่คณะผู้แทนนักเรียนไทย การแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษาตอนปลาย และระดับมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2566 : Bulgaria International Mathematics Competition 2023 (BIMC 2023) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 1 – 7 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และโรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

ผู้แทน NCUK Thailand เข้าแสดงความยินดีกับผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ในวาระเข้ารับตำแหน่งใหม่

วันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 10.40 น. ผู้แทนจาก NCUK Thailand ในฐานะตัวแทนกลุ่มมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย เข้าแสดงความยินดีและร่วมหารือกับท่านฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ในโอกาสรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

โดยหลักสูตร NCUK เป็นหลักสูตรที่เกิดจากความร่วมมือของกลุ่มมหาวิทยาลัยในประเทศอังกฤษ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย ที่ร่วมกันก่อตั้งและคิดค้นหลักสูตร ที่เหมาะสมและสามารถช่วยให้นักเรียนจากทั่วทุกมุมโลกมีโอกาสได้ศึกษาต่อในสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำระดับโลก ซึ่งในประเทศไทยได้มีความร่วมมือระหว่าง NCUK Thailand by BAC และ สพฐ. ในการคิดค้นหลักสูตร Dual Degree สำหรับนักเรียนชั้น ม.ปลาย ภายใต้การสนับสนุนของสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษ และนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย ซึ่งจะช่วยเพิ่มโอกาสของเด็กไทยในการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลกต่อไป

ผู้แทนกลุ่มโรงเรียนในเครือ CATS Global Schools เข้าแสดงความยินดีกับผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ในวาระเข้ารับตำแหน่งใหม่

วันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 10.30 น. ผู้แทนจาก CATS Global Schools ที่มีกลุ่มโรงเรียนและสถาบันการศึกษาชั้นนำตั้งอยู่ในประเทศอังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศจีน เข้าแสดงความยินดีและร่วมหารือกับท่านฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ในโอกาสรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่ง CATS Global Schools เป็นหน่วยงานที่ร่วมขับเคลื่อนโครงการ iConnect OBEC Scholarship ซึ่งเป็นโครงการย่อยภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 มาอย่างต่อเนื่อง และได้มอบทุนการศึกษาแก่นักเรียนในโครงการไปแล้วกว่า 20 คน และยังคงมีเป้าหมายที่จะร่วมพัฒนาและต่อยอดเยาวชนไทย ให้มีโอกาสได้ศึกษาต่อ ณ สถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพในต่างประเทศ โดยในปีนี้ทีมผู้บริหารของ CATS Global Schools ได้มอบทุนการศึกษามูลค่าสูงสุด 100% แก่นักเรียนไทยในโครงการอีกด้วย

ผู้แทนคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าแสดงความยินดีกับผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ในวาระเข้ารับตำแหน่งใหม่

วันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 10.30 น. ผู้แทนจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม เกษเวชสุริยา ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายเสริมสร้างศักยภาพเยาวชน และ ดร.ศริญญา ไพศาลสมบัติ ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและกิจกรรมพิเศษ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าแสดงความยินดีและร่วมหารือกับท่านฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ในโอกาสรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ซึ่งคณะวิทยาศาสตร์เป็นหน่วยงานภายใต้บันทึกความร่วมมือของโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 มาอย่างต่อเนื่อง

โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาคัดเลือกโครงงานวิทยาศาสตร์ที่ครูและนักเรียนส่งเข้ามาจากทั่วประเทศเกือบ 400 โครงงาน เพื่อจัดแข่งขันในระดับประเทศต่อไป

ผู้แทนกระทรวงธุรกิจและการค้า สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย เข้าแสดงความยินดีกับผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ในวาระเข้ารับตำแหน่งใหม่

วันพุธที่ 21 มิถุนายน 2566 เวลา 10.30 น.
ผู้แทนกระทรวงธุรกิจและการค้า สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย (Department for Business and Trade (DBT), British Embassy Bangkok) นำโดยคุณรวิภา ช่วงเวฬุวรรณ (Department for Business and Trade (DBT), British Embassy Bangkok) คุณนันทมาศ ฉัตราภรณ์ (Trade Manager for Education and Retail)
และ คุณอามีรา ยะหริ่ง (Trade & Investment Officer) เข้าแสดงความยินดีและร่วมหารือกับท่านฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ในโอกาสรับตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.)

โดยสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย มีเป้าหมายที่จะสานต่อ รวมถึงขยายความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศอังกฤษและประเทศไทยให้ครอบคลุมทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานและระดับอุดมศึกษาให้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสอดคล้องกับการดำเนินงานโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาขับเคลื่อนมาอย่างต่อเนื่อง เป็นระยะเวลากว่า 4 ปี และหลังจากนี้มีแนวโน้มที่จะร่วมกันจัดทำบันทึกความร่วมมือด้านการศึกษา ระหว่างทั้งสองหน่วยงานอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป

สุดยอดนักเรียนไทยคว้า 2 รางวัล ในการแข่งขัน All-Russian Mathematical Olympiad ครั้งที่ 49

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
นำทีมผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันการแข่งขัน All-Russian Mathematical Olympiad ครั้งที่ 49
ร่วมกับทางเจ้าภาพ และประเทศอื่นๆ ระหว่างวันที่ 22-23 เมษายน 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร
การแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ โดยมีสหพันธรัฐรัสเซียเป็นประเทศเจ้าภาพ มีผู้แทนนักเรียนประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 4 ประเทศทั่วโลกคือ สหพันธรัฐรัสเซีย สาธารณรัฐอิสลามอิหร่าน สาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศไทย
รวมทั้งสิ้น 481 คน โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 6 คน แบ่งกิจกรรมการแข่งขันเป็น 3 ระดับ
ละ 2 คน (Grade 9-10) ดังนี้

1. การสอบแข่งขัน ARMO 49th Grade 9
2. การสอบแข่งขัน ARMO 49th Grade 10
3. การสอบแข่งขัน ARMO 49th Grade 11

ผลปรากฏว่าผู้แทนนักเรียนไทย ได้รับรางวัลจำนวน 2 รางวัล รายละเอียด ดังนี้

การสอบแข่งขัน ARMO 49th Grade 9 นักเรียนได้รับรางวัลจำนวน 1 คน

  1. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์  โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ปทุมวัน

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

การสอบแข่งขัน ARMO 49th Grade 10 นักเรียนได้รับรางวัลจำนวน 1 คน

  1. เด็กชายเอกกวิน วิเศษฏ์เกียรติชัย โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

สำนักงานคณะกรรมการการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

สนก. สร้างนวัตกรรมการประเมินความถนัดของผู้เรียนเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเพิ่อการพัฒนานวัตกรรมการประเมินความถนัดของผู้เรียน ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ระหว่างวันที่ 26 – 28 เมษายน 2566 ณ โรงเแรมโรยัลสวีท กรุงเทพมหานคร

การประชุมครั้งนี้ นำโดย นายวิทยา ศรีพันชาติ และ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ในการระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารโรงเรียน ครูศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และผู้แทนจากองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการประเมินความถนัดของผู้เรียน เพื่อค้นหาหลักสูตรที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนและวิเคราะห์แนวทางการศึกษาต่อต่างประเทศที่ช่วยลดปัญหาความล้มเหลวจากการศึกษาที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน

ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวจะถูกนำไปทดลองใช้ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ที่มีเป้าหมายเพื่อการต่อยอดนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ให้มีโอกาสศึกษาต่อในระบบศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ผ่านนวัตกรรมการต่อยอดผู้เรียนที่หลากหลายต่อไป

นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเพิ่อการพัฒนานวัตกรรมการประเมินความถนัดของผู้เรียน ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ระหว่างวันที่ 26 – 28 เมษายน 2566 ณ โรงเแรมโรยัลสวีท กรุงเทพมหานคร

การประชุมครั้งนี้ นำโดย นายวิทยา ศรีพันชาติ และ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ในการระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารโรงเรียน ครูศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และผู้แทนจากองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการประเมินความถนัดของผู้เรียน เพื่อค้นหาหลักสูตรที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนและวิเคราะห์แนวทางการศึกษาต่อต่างประเทศที่ช่วยลดปัญหาความล้มเหลวจากการศึกษาที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน

ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวจะถูกนำไปทดลองใช้ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ที่มีเป้าหมายเพื่อการต่อยอดนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ให้มีโอกาสศึกษาต่อในระบบศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ผ่านนวัตกรรมการต่อยอดผู้เรียนที่หลากหลายต่อไป

 

ประกาศผลการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ)

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

เรื่อง  ผลการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2566 (รอบสอง ระดับประเทศ)