04_วพร.

สนก. ร่วมหารือกับหน่วยงานการศึกษาประเทศนิวซีแลนด์ (Education New Zealand) เพื่อสร้างนวัตกรรมความร่วมมือทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ต่อเด็กไทย

เมื่อวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2567 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) นำโดย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ร่วมประชุมกับ คุณช่อทิพย์ ประมูลผล ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) ประจำสถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ และคุณปิโยรจน์ งามวิไลกร ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ จากมหาวิทยาลัยลินคอล์น ประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในการพัฒนาและต่อยอดนวัตกรรมทางการศึกษาระหว่างประเทศไทยและประเทศนิวซีแลนด์ ในปีการศึกษา 2567 ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากการร่วมหารือในครั้งนี้ ได้มีการนำเสนอภาพรวมการจัดการศึกษาของประเทศนิวซีแลนด์ และนำเสนอกิจกรรมที่น่าสนใจเกี่ยวกับการพัฒนาและต่อยอดผู้เรียน โดยคุณเสริมชาติ สินธุบดี และ คุณสุพัตรา บุษส่ง ผู้จัดการฝ่ายต่างประเทศ บริษัท เอ็นแซด สตั๊ดดี้ (ประเทศไทย) จำกัด

โดยในการหารือครั้งนี้ มีบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ประกอบด้วย นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ นายณัฐศาสตร์ ส่องแสง นางสาวสุภาพร ทองร้อยชั่ง และนายสหรัถ อินทรีย์เขียว เข้าร่วมรับฟังข้อมูล แสดงความคิดเห็น รวมทั้งให้ข้อเสนอแนะอันเป็นประโยชน์เกี่ยวกับแนวทางการสร้างความร่วมมือทางการศึกษาและการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากลต่อไป

สนก. ระดมความคิดเห็นครู และผู้บริหาร เพื่อสรุปผลการวิจัยนวัตกรรมการฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial lntelligence : AI)

เมื่อวันที่ 13 มีนาคม พ.ศ. 2567 ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้แทนเปิดการประชุมระดมความคิดเห็นครูและผู้บริหารเพื่อการวิจัยนวัตกรรมการฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้วยปัญญาประดิษฐ์ (Artificial lntelligence : AI) ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล โดยมีผู้เข้าร่วมระดมความคิดเห็น ประกอบด้วย ทีมพัฒนานวัตกรรมจากบริษัท Edsy ผู้ริเริ่มการพัฒนาและการนำเครื่องมือปัญญาประดิษฐ์ AI English Speaking Coach มาทดลองใช้ในการยกระดับทักษะภาษาอังกฤษของนักเรียนในสังกัดต่าง ๆ ครู และผู้บริหารจากโรงเรียนในสังกัด สพฐ. จำนวน 15 โรงเรียน ที่นำร่องการทดลองใช้นวัตกรรมการฝึกทักษะภาษาอังกฤษด้วยปัญญาประดิษฐ์ในภาคเรียนที่ผ่านมา และ บุคลากรทางการศึกษา กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ได้แก่ นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ นายณัฐศาสตร์ ส่องแสง นางสาวสุภาพร ทองร้อยชั่ง และนายสหรัถ อินทรีย์เขียว ที่ร่วมจัดกิจกรรมระดมความคิดเห็นผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Zoom Meeting) ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ

ภายหลังการระดมความคิดเห็นในครั้งนี้ ทีมพัฒนานวัตกรรมจะนำผลสรุปและข้อเสนอแนะที่ได้รับ ไปใช้ในการพัฒนาประสิทธิภาพ และประสิทธิผลของนวัตกรรม รวมถึงวางแผนการขยายผลการใช้นวัตกรรมในวงกว้าง ให้นักเรียน ครู และโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ได้เข้าถึงโอกาสในการพัฒนาภาษาอังกฤษโดยใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของท่านรัฐมนตรีกระทรวงศึกษาธิการที่มุ่งเน้นการลดภาระการสอนของครู และส่งเสริมการเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา Anywhere Anytime โดยใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการจัดการเรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีประสิทธิภาพ

สพฐ. เดินหน้าจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะทางภาษา และเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อการต่อยอดด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพในระดับสากล ประจำปี 2567 จุดที่ 2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2567 ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นประธานเปิดพิธีการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะทางภาษา และเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อการต่อยอดด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพในระดับสากล ระดับภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงแรมสยามแกรนด์ จังหวัดอุดรธานี การอบรมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นใน 4 ภูมิภาค โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาภาษาจีนและภาษาอังกฤษให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับใช้ในการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษานานาชาติและนำเสนอทุนการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษานานาชาติ จำนวนภูมิภาคละ 200 คน

โดยบรรยากาศการอบรมฯ นักเรียนในจุดภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก มีนักเรียนสมัครเข้าร่วมการอบรมฯ อย่างคับคั่ง โดยนักเรียนทุกคนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียนรู้เทคนิคการสอบ IELTS และ HSK และร่วมกิจกรรมทีทีมวิทยากรจัดให้อย่างสนุกสนาน พร้อมทั้งได้รับการแนะนำทุนการศึกษาต่อต่างประเทศจากองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายที่เข้าร่วมจัดนิทรรศการในการอบรมฯ ครั้งนี้

สพฐ. เดินหน้าจัดอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะทางภาษา และเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อการต่อยอดด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพในระดับสากล ประจำปี 2567 จุดที่ 1 ภาคกลาง

เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
ได้เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะทางภาษา และเตรียมความพร้อมนักเรียนเพื่อการต่อยอดด้านการศึกษาและการประกอบอาชีพในระดับสากล ระดับภูมิภาค ณ โรงแรมเอวาน่า แกรนด์ คอนเวนชัน กรุงเทพมหานคร การอบรมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นใน 4 ภูมิภาคโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาภาษาจีนและภาษาอังกฤษให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายสำหรับใช้ในการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษานานาชาติและนำเสนอทุนการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษานานาชาติ จำนวนภูมิภาคละ 200 คน

โดย ท่านผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้เกียรติบรรยายพิเศษเกี่ยวกับนโยบายของ สพฐ. ในด้านการจัดการศึกษาของประเทศไทยในปัจจุบัน ที่ไม่ได้มุ่งเน้นให้คนมีความรู้ อ่านออก เขียนได้ เพียงเท่านั้น แต่ต้องคำนึงถึงการพัฒนาประเทศอย่างครอบคลุมในทุกมิติอีกด้วย

นอกจากนี้ คุณนันทมาศ ฉัตราภรณ์ ท่านผู้จัดการด้านการค้า ด้านการศึกษาและสุขภาพ สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย ขึ้นกล่าวในหัวข้อ “ความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างสหราชอาณาจักรและประเทศไทย”
คุณช่อทิพย์ ประมวลผล ท่านผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ สถานทูตนิวซีแลนด์ ประจำประเทศไทย ขึ้นกล่าวในหัวข้อ “ความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างประเทศนิวซีแลนด์และประเทศไทย และ Dr.Maruf Mollah Director of the Belt & Road Chinese Center (BRCC) ขึ้นกล่าวในหัวข้อ “ความร่วมมือทางการศึกษาระหว่าง สาธารณรัฐประชาชนจีนและประเทศไทย” โดยมีองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายต่าง ๆ  เข้าร่วมจัดงานและรับฟังการบรรยายพิเศษในครั้งนี้อย่างคับคั่ง

  

“วพร. สนก. จับมือหน่วยการศึกษา สถานทูตนิวซีแลนด์ ยกระดับการขับเคลื่อนโครงการพัฒนานวัตกรรมการ ยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประจำปี พ.ศ. 2567 (Lord Obec)”

เมื่อวันที่ 18 มกราคม 2567 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) นำโดย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นักวิชาการศึกษา นายฐนปวรรธน์ แตงอ่อน ที่ปรึกษาโครงการภาคเอกชน นส.ธัญชนก ชวาลวณิชชัย และนางสาวธัญญภัสร์ จำเริญบุญ เจ้าหน้าที่โครงการ ได้รับเชิญจากหน่วยงานการศึกษา สถานเอกอัคราชทูตนิวซีแลนด์ ให้เข้าร่วมการประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการต่อยอดนักเรียนไทยที่มีศักยภาพสูงสู่การศึกษาต่อ ณ ประเทศนิวซีแลนด์ ภายใต้การดำเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล (LORD OBEC)

การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนโครงการฯ ระหว่างหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐ และภาคเอกชน รวมถึงการวางแผนงานในการเตรียมความพร้อมนักเรียนให้มีศักยภาพเพียงพอที่จะเดินทางไปศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 – 2568 ต่อไป

กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ร่วมกับองค์กรเครือข่าย ประชุมขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการ ต่อยอดเยาวชนไทยสู่สากล ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

วันที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2567 ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และนักวิชาการศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทย ในระดับสากล ประกอบด้วย นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นางสาวธัญชนก ชวาลวณิชชัยนางสาวสุภาพร  ทองร้อยชั่ง นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ และนายณัฐศาสตร์ ส่องแสงเข้าร่วมการประชุมขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนาศักยภาพทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

ซึ่งเป็นโครงการที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยที่นำเสนอบทเรียนและกิจกรรมผ่านแอพพลิเคชั่นที่เข้าใจง่ายและสนุกสนาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกพูดและโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ ในหัวข้อเนื้อหาที่ตรงตามมาตรฐานสากลยุโรป CEFR พร้อมรับคำชี้แนะแบบรายบุคคลจากผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (Edsy AI Speaking Coach) จนมีพัฒนาการที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ นำทีมโดย ดร.ณพล รัชตสัมฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีการศึกษา (AI in Education) จาก Human-Computer Interaction Institute (HCII) ของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ประเทศสหรัฐอเมริกาและทีมวิจัยพัฒนาระบบแอพพลิเคชั่น โดยหารือวางแผนแนวทางนำร่องเริ่มใช้ แอพพลิเคชั่นที่พัฒนากับนักเรียนในสังกัด สพฐ. โดยกำหนดกลุ่มเป้าหมาย สิทธิการใช้งานและระยะเวลาการใช้งานในโครงการกี่ปี เพื่อเก็บข้อมูลการใช้งานและพัฒนาการของนักเรียนหลังจากใช้งานแอพพลิเคชั่น แล้วนำผลวิจัยและข้อเสนอแนะที่ได้มาพัฒนาระบบต่อไป

ทั้งนี้ ภายหลังการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในระยะแรกเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย องค์กรเครือข่ายต่าง ๆ จะร่วมกันการขยายผลการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน และครู ในโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป

สนก.ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันและการพิจารณากรอบหลักสูตรการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจำปี 2567 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร

เมื่อวันที่ 22 – 24 ธันวาคม พ.ศ. 2566  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
ภายใต้กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้ดำเนินจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทาง
การคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันและการพิจารณากรอบหลักสูตรการแข่งขันทางวิชาการ
ระดับนานาชาติ ประจำปี 2567 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร

การประชุมครั้งนี้ ดร.จักรพงษ์ วงศ์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
ได้มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้
เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน
และการพิจารณากรอบหลักสูตรการแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจำปี 2567

โดยผู้ทรงคุณวุฒิและคณะกรรมการดำเนินงานโครงการ ได้ร่วมกันจัดทำแผนดำเนินงาน
และแนวทางการคัดเลือกผู้แทนไทยเพื่อเข้าร่วมการแข่งขันทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
จากนั้นมีการประชุมผ่านระบบออนไลน์โดยผู้รับผิดชอบโครงการระดับเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อชี้แจง แนะนำ
และขอความคิดเห็น ในการพัฒนาแนวทางและกรอบการดำเนินงานที่ชัดเจนเพื่อประกอบการตัดสินใจ
และขับเคลื่อนโครงการแข่งขันทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567
อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุดต่อไป

 

สนก.เดินหน้าโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567

ดร.ศุภสิน ภูศรีโสม ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ระหว่างวันที่ 7 – 8 ธันวาคม พ.ศ 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

การประชุมครั้งนี้ มีผู้เข้าร่วมการประชุมประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ และคณะทำงานส่วนกลาง โดยผู้เข้าร่วมการประชุมได้ร่วมกันระดมความคิดเห็น และให้ข้อเสนอแนะในการพัฒนาแผนการดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ที่มีประสิทธิภาพ และสามารถนำไปใช้ในการดำเนินงานโครงการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้เกิดสิทธิผลสูงสุดในการเสริมสร้างและพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับนานาชาติ เพื่อการยกระดับศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยสู่การประกอบอาชีพและการศึกษาต่อในระดับสากลต่อไป

สนก.จับมือภาคีเครือข่ายเชิญมหาวิทยาลัยชั้นนำจากประเทศจีน ร่วมจัดกิจกรรมแนะแนวทุนการศึกษา China Education “One Belt One Road 2023” ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล

เมื่อวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ดร.ศุภสิน ภูศรีโสม ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้เกียรติ
เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมแนะแนวทุนการศึกษา China Education “One Belt One Road 2023” ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทย
ในระดับสากล ซึ่งเป็นโครงการในแผนงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566  ณ ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2

ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน การเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบพื้นฐานภาษาจีน HSK การประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความประสงค์จะไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างครู นักเรียน และผู้แทนมหาวิทยาลัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเดินทางมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 9 แห่ง ได้แก่
1.Shanxi University
2.Northeast Forestry University
3.Zhejiang University of Technology
4.Huazhong University of Science and Technology
5.Changsha University of Science and Technology
6.Xi’an jiaotong university
7.Tianjin University
8.Yangzhou University
9.Huazhong University of Science and Technology
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนกว่า 300 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 19 โรงเรียน ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมข้างต้น ผู้แทนมหาวิทยาลัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดแผนการเยี่ยมชมการจัดการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยและโรงเรียนสตรีวิทยา เพื่อเตรียมขยายผลโครงการในระยะต่อไป

เด็กไทยสุดเจ๋ง คว้า 24 เหรียญ จากการเข้าร่วมแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ : 20th International Mathematics and Science Olympiad for Primary School Students (IMSO 2023) ผ่านระบบออนไลน์

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถ
เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 20
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ : 20th International Mathematics and Science Olympiad for Primary School
Students (IMSO 2023) ระหว่างวันที่ 16-21 พฤศจิกายน 2566 ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งมีนักเรียนไทยเข้าร่วม
การแข่งขันทั้งสิ้นจำนวน 24 คน แบ่งออกเป็น 2 วิชา คือวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน
และวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน

ผลการแข่งขันปรากฎว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล รวมทั้งสิ้น 24 เหรียญ แบ่งเป็นเหรียญทอง 6 เหรียญ เหรียญเงิน 16 เหรียญ เหรียญทองแดง 2 เหรียญ

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 เหรีญ ได้แก่

เหรียญทอง  2 รางวัล ได้แก่

1.เด็กชายฉัตรดนัย ลิ้มศิริรังสรรค์        โรงเรียนนานาชาติกระบี่

2.เด็กชายปรรณ กาญจนารัณย์           โรงเรียนอำนวยศิลป์

เหรียญเงิน 8 รางวัล ได้แก่

1.เด็กชายกรณ์ สิริธนกุล                      โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

2.เด็กชายณกฤช ฤกษ์รัตนวราพร        โรงเรียนอำนวยศิลป์

3.เด็กชายณัฐพัชร์ พาชีรัตน์                 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4.เด็กชายธนนันท์ สุวรรณพันธุ์            โรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี

5.เด็กชายปริญญา สิงห์กัญญา            โรงเรียนแสงทองวิทยา

6.เด็กชายพชร เรามานะชัย                  โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา

7.เด็กชายวัชรวีร์ ตันธนพิพัฒน์            โรงเรียนสารสาสน์วิเทศร่มเกล้า

8.เด็กชายศิวัตร์ กาลเนาวกุล                โรงเรียนแสงทองวิทยา

เหรียญทองแดง 2 รางวัล ได้แก่

1.เด็กหญิงวรฤทัย คงนคร                    โรงเรียนบูรณะรำลึก

2.เด็กชายอัสรัน พงศ์พิมล                    โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 เหรีญ ได้แก่

เหรียญทอง  4 รางวัล ได้แก่

1.เด็กหญิงณัฐธยาน์ ฉายวิริยะ            โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ณ ราชอุทิศ

2.เด็กชายปุญญพัฒน์ ฉัตรพรจรัส       โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

3.เด็กชายพงศ์ฤทธิ์ พงส์เผ่าทอง        โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4.เด็กชายภัทรวุฒิ บางอ้น                    โรงเรียนสัมชัญแผนกประถม

เหรียญเงิน 8 รางวัล ได้แก่

1.เด็กชายการิน หุนศิริ                          โรงเรียนราชวินิต

2.เด็กชายเกื้อ เรืองเกียรติกุล                โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ

3.เด็กชายแทนคุณ กังแฮ                      โรงเรียนแสงทองวิทยา

4.เด็กชายบารเมษฐ์ เจริญชัยสมบัติ      โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

5.เด็กชายบูรพ์ ตันตระกูล                    โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

6.เด็กชายปณิธิ สุนันท์กิ่งเพชร             โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

7.เด็กชายวริศ สุวรรณชาตรี                 โรงเรียนแสงทองวิทยา

8.เด็กชายศุภกร อุไรพันธ์                      โรงเรียนแสงทองวิทยา

การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ : 20th International Mathematics and Science Olympiad for Primary School Students (IMSO 2023) ผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้ นายนิยม ไผ่โสภา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน พร้อมกล่าวต้อนรับ ปฐมนิเทศ และชี้แจงเกณฑ์แนวทางการแข่งขันแก่คณะผู้แทนนักเรียนไทย การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 20  ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ : 20th International Mathematics and Science Olympiad for Primary School Students (IMSO 2023) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 21 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 และโรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ร่วมกับองค์กรเครือข่าย เดินหน้าพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการต่อยอดเยาวชนไทยสู่สากล ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และนักวิชาการศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประกอบด้วย นางสาวธัญชนก ชวาลวณิชชัย นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ และนายณัฐศาสตร์ ส่องแสง เข้าร่วมการประชุมเพื่อเปิดตัว

“โครงการประเมินและพัฒนาศักยภาพทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” ซึ่งเป็นโครงการที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยที่นำเสนอบทเรียนและกิจกรรมผ่านแอพพลิเคชั่นที่เข้าใจง่ายและสนุกสนาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกพูดและโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ ในหัวข้อเนื้อหาที่ตรงตามมาตรฐานสากลยุโรป CEFR พร้อมรับคำชี้แนะแบบรายบุคคลจากผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (Edsy AI Speaking Coach) จนมีพัฒนาการที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ และมีผู้แทนจากองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ได้แก่ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และผู้บริหารเอ็ดดูเคชั่น อีซี่ (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านการศึกษาภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานดังกล่าว สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ของกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ที่มุ่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับระบบสนับสนุนที่เหมาะสมต่อการขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สถานศึกษาที่มีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ทีมวิจัยและพัฒนาของในครั้งนี้ นำโดย ดร.ณพล รัชตสัมฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีการศึกษา (AI in Education) จาก Human-Computer Interaction Institute (HCII) ของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้พัฒนาเครื่องมือวัดระดับทักษะการพูดภาษาอังกฤษ “EdSpeak” ผ่านการบันทึกเสียงตอบคำถามของนักเรียนเพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยอ้างอิงงานวิจัยจากสถาบันและองค์กรชั้นนำในระดับโลกที่เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งยังร่วมมือกับทีมนักวิจัยจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (LITU) เพื่อปรับโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ผลให้เหมาะสมกับลักษณะการสื่อสารของคนไทย ซึ่งในระยะเริ่มต้นโครงการจะมีกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ร่วมเป็นโรงเรียนต้นแบบในการทดลองใช้นวัตกรรม ระหว่างภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน 9 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ โรงเรียนวัดอมรินทราราม และโรงเรียนอนุบาลเชียงราย โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา โรงเรียนวัดช้างชนราษฏร์บำรุง และโรงเรียนบ้านหนองม่วง

ทั้งนี้ ภายหลังการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในระยะแรกเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย องค์กรเครือข่ายต่าง ๆ จะร่วมกันการขยายผลการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน และครู ในโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป