04_วพร.

ผู้แทนนักเรียนไทยคว้า 12 รางวัล ในประเภททีมและกลุ่มบุคคล และ 32 เหรียญ ในประเภทบุคคล จากการแข่งขันคณิตศาสตร์ ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2567 ณ เมืองลัคเนา สาธารณรัฐอินเดีย

Img 5160

เมื่อวันที่ 1 สิงหาคม 2567 เวลา 04.00 น. นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำผู้แทนนักเรียนไทย จำนวน 32 คน เดินทางกลับจากการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ
ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2567 : India International Mathematics Competition 2024 (InIMC 2024) ระหว่างวันที่ 26 – 31 กรกฎาคม 2567 ณ เมืองลัคเนา สาธารณรัฐอินเดีย โดยผลการแข่งขันปรากฎว่า นักเรียนไทยทั้ง 32 คน สามารถคว้ารางวัลจากการแข่งขันประเภททีม ประเภทกลุ่มบุคคล และประเภทบุคคลได้ดังนี้

ระดับชั้นประถมศึกษา ทีมละ 4 คน

Thailand A รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภททีม และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทกลุ่มบุคคล ประกอบด้วย

  1. เด็กชายนตตะวัน โตวัฒนกิจ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบูรพา (เหรียญทอง)
  2. เด็กชายปรรณ กาญจนารัณย์ โรงเรียนอำนวยศิลป์ (เหรียญเงิน)
  3. เด็กชายพชร เรามานะชัย โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 (เหรียญเงิน)
  4. เด็กชายปรกณ์ยศ ว่องสุวรรณเลิศ โรงเรียนธำรงวัฒนา พัฒนาเยาวชน (เหรียญทองแดง)

Thailand B รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทกลุ่มบุคคล ประกอบด้วย

  1. เด็กชายพลภัทร วัฒนาอุดม โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง (เหรียญทอง)
  2. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1 (เหรียญเงิน)
  3. เด็กชายเจษฎากร เพชรธีรภัทร โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเพชรบุรี (เหรียญทองแดง)
  4. เด็กชายศิวัตร์ กาลเนาวกุล โรงเรียนแสงทองวิทยา (เหรียญทอง)

Thailand C รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทกลุ่มบุคคล ประกอบด้วย

  1. เด็กชายเดชสิทธิ์ วิริยะสม โรงเรียนสุวรรณวงศ์ (เหรียญเงิน)
  2. เด็กชายธนนันท์ สุวรรณพันธุ์ โรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 (เหรียญเงิน)
  3. เด็กชายพุฒิพัทธ์ สิมมะโรจนกุล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา (รางวัลชมเชย)
  4. เด็กชายสิปปกร คงรัตน์ โรงเรียนบีคอนเฮาส์แย้มสะอาดรังสิต (เหรียญทองแดง)

Thailand D รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม ประกอบด้วย

  1. เด็กหญิงสิริลาวัลย์ นวลสนอง โรงเรียนสุวรรณวงศ์ (รางวัลชมเชย)
  2. เด็กชายศุภณัฐ อึ้งมณีประเสริฐ โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 (เหรียญเงิน)
  3. เด็กหญิงญาดา สุทธิวงษ์ โรงเรียนอนุบาลสุธีธร (รางวัลชมเชย)
  4. เด็กชายภูดิศ ทศานนท์ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครราชสีมา (เหรียญเงิน)

ระดับชั้นมัธศึกษา ทีมละ 4 คน

Thailand A รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภทกลุ่มบุคคล
ประกอบด้วย

  1. นายกรณ์พิศิษญ์ ปรีดาศักดิ์ โรงเรียนแสงทองวิทยา (เหรียญเงิน)
  2. นายสิงห์ศิลป์ อนุตรเศรษฐ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 (รางวัลชมเชย)
  3. เด็กชายยูเซ จารุพูนผล โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 (เหรียญเงิน)
  4. เด็กชายสรณิจ กิติเฉลิมเกียรติ โรงเรียนเซนต์ดอมินิก (เหรียญเงิน)

Thailand B รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภททีม ประกอบด้วย

  1. นายสตางค์ สิงห์ทวีศักดิ์ โรงเรียนแสงทองวิทยา (เหรียญทองแดง)
  2. เด็กชายกฤษฏ์ วิชัยพฤกษ์ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สงขลา สตูล (เหรียญทองแดง)
  3. นายธฤษณุธัช กริ่มใจ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 (เหรียญเงิน)
  4. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 (เหรียญทอง)

Thailand C รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม ประกอบด้วย

  1. เด็กชายภูรี ศรัทธาบุญ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม (เหรียญทองแดง)
  2. เด็กชายทัตพิชา จินต์จันทรวงศ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 (เหรียญทองแดง)
  3. นายศุภภเศรษฐ์ วศินวสุกุล โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง (รางวัลชมเชย)
  4. เด็กชายณัฐธนัตถ์ มุรธาธัญลักษณ์ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2 (เหรียญทองแดง)

Thailand D รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ประเภททีม และรางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ประเภทกลุ่ม   บุคคล
ประกอบด้วย

  1. นายอภิวิชญ์ ชาญณรงค์ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1 (เหรียญทอง)
  2. นางสาวฐิตาภา ลิขิตตาพงศ์ โรงเรียนธิดานุเคราะห์ (เหรียญทองแดง)
  3. เด็กชายจิระพัชร์ พุฒดี โรงเรียนเซนต์คาเบรียล (เหรียญทองแดง)
  4. เด็กชายธนกร ตั้งเจตน์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย (เหรียญเงิน)

ขอขอบพระคุณทุกท่านที่ร่วมส่งกำลังใจ และแรงเชียร์กลุ่มผู้แทนนักเรียนไทย ให้สามารถคว้าชัยชนะ และสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในเวทีโลกในครั้งนี้

Img 5022

S 3727574

S 3727578

S 3727580

Img 4281

Img 4290

Img 4591

Img 4440

Img 4486

518928027867152691

Img 5169

Img 5165

S 3727583

S 3727577

S 3727576

S 3727581

“สนก. นำทีมผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์ระหว่างประเทศ India International Mathematics Competition 2024 (InIMC 2024) ณ เมืองลัคเนา สาธารณรัฐอินเดีย“

Line Album ณ สนามบินสุวรรณภูมิ 240727 2

เมื่อวันที่ 25 กรกฎาคม 2567 เวลา 08.40 น. ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมเดินทางโดยสายการบิน Air India เพื่อนำทัพผู้แทนนักเรียนไทย จำนวน 32 คน (ระดับประถมศึกษา จำนวน 16 คน / ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 16 คน ) และคณะกรรมการผู้ดูแลนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขัน ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้น ประจำปี พ.ศ. 2567 : India International Mathematics Competition 2024 (InIMC 2024) ระหว่างวันที่ 26 – 31 กรกฎาคม 2567 ณ เมืองลัคเนา สาธารณรัฐอินเดีย

โดยมีรายชื่อผู้แทนนักเรียนไทยที่ผ่านการสอบคัดเลือกจากนักเรียนกว่า 150,000 คน และมีสิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขัน ดังนี้

ระดับประถมศึกษา

  1. เด็กชายนตตะวัน โตวัฒนกิจ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศบูรพา
  2. เด็กชายปรรณ กาญจนสรัณย์ โรงเรียนอำนวยศิลป์
  3. เด็กชายพชร เรามานะชัย โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กชายปรกณ์ยศ ว่องสุวรรณเลิศ โรงเรียนธำรงวัฒนา พัฒนาเยาวชน
  5. เด็กชายพลภัทร วัฒนาอุดม โรงเรียนโรจนวิทย์มาลาเบี่ยง
  6. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  7. เด็กชายเจษฎากร เพชรธีรภัทร โรงเรียนสารสาสน์วิเทศเพชรบุรี
  8. เด็กชายซิวัตร์ กาลเนาวกุล โรงเรียนแสงทองวิทยา
  9. เด็กชายเดชสิทธิ์ วิริยะสม โรงเรียนสุวรรณวงศ์
  10. เด็กชายธนนันท์ สุวรรณพันธุ์ โรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1
  11. เด็กชายพุฒิพัทธ์ สิมมะโรจน์กุล โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา
  12. เด็กชายสิปปกร คงรัตน์ โรงเรียนบีคอนเฮาส์แย้มสะอาดรังสิต
  13. เด็กหญิงสิริลาวัลย์ นวลสนอง โรงเรียนสุวรรณวงศ์
  14. เด็กชายศุภณัฐ อิ้งมณีประเสริฐ โรงเรียนอนุบาลอุดรธานี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1
  15. เด็กหญิงญาดา สุทธิวงษ์ โรงเรียนอนุบาลสุธีธร
  16. เด็กชายภูดิศ ทศานนท์ โรงเรียนสารสาสน์วิเทศนครราชสีมา

ระดับมัธยมศึกษา

  1. นายกรณ์พิศิษญ์ ปรีดาศักดิ์ โรงเรียนแสงทองวิทยา
  2. นายสิงห์ศิลป์ อนุตรเศรษฐ โรงเรียนเบญจมราชูทิศ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครศรีธรรรมราช
  3. เด็กชายยูเซ จารุพูนผล โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
  4. เด็กชายสรณิจ กิติเฉลิมเกียรติ โรงเรียนเซนต์ดอมินิก
  5. นายสตางค์ สิงห์ทวีศักดิ์ โรงเรียนแสงทองวิทยา
  6. เด็กชายกฤษฏ์ วิชัยพฤกษ์ โรงเรียนหาดใหญ่วิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา สงขลา สตูล
  7. นายธฤษณุธัช กริ่มใจ โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาน้อมเกล้า สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
  8. เด็กชายดรณ์ สว่างทรัพย์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒปทุมวัน
  9. เด็กชายภูรี ศรัทธาบุญ โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายมัธยม
  10. เด็กชายทัตพิชา จินต์จันทรวงศ์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1
  11. นายศุภภเศรษฐ์ วศินวสุกุล โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา พังงา ภูเก็ต ระนอง
  12. เด็กชายณัฐธนัตถ์ มุรธัญลักษณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2
  13. นายอภิวิชญ์ ชาญณรงค์ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 1
  14. นางสาวฐิตาภา ลิขิตตาพงศ์ โรงเรียนธิดานุเคราะห์
  15. เด็กชายจิระพัชร์ พุฒดี โรงเรียนเซนต์คาเบรียล
  16. เด็กชายธนกร ตั้งเจตน์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

โดยผลการแข่งขันจะประกาศในวันที่ 30 กรกฎาคม 2567 ขอให้ทุกท่านร่วมส่งกำลังใจ และแรงเชียร์กลุ่มผู้แทนนักเรียนไทย ให้สามารถคว้าชัยชนะ และสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศไทยในเวทีโลกอีกครั้ง

Line Album ณ สนามบินสุวรรณภูมิ 240727 4 มัธยม

Line Album ณ สนามบินสุวรรณภูมิ 240727 3  Line Album ณ สนามบินสุวรรณภูมิ 240727 4

ผู้แทนนักเรียนไทยคว้า 7 รางวัล 26 เหรียญ การแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ปี 2567 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง

Line Album 190767 ๒๔๐๗๒๐ 22

วันที่ 19 กรกฎาคม 2567 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ ร่วมต้อนรับและแสดงความยินดีกับคณะตัวแทนนักเรียนไทยที่ได้รับรางวัลในการแข่งขันคณิตศาสตร์โลกระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2567 : Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2024 (PMWC 2024) ระหว่างวันที่ 14 – 19 กรกฎาคม 2567 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวน 3 ทีม ทีมละ 4 คน รวมทั้งสิ้น 12 คน

นางสาวรัตนา กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โลกระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2567 : Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2024 (PMWC 2024) ระหว่างวันที่ 14-19 กรกฎาคม 2567 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งมีนักเรียนระดับประถมศึกษาจาก 12 ประเทศเข้าร่วมการแข่งขัน

ผลการแข่งขันปรากฎว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล รวมทั้งสิ้น 24 เหรียญ แบ่งเป็น 3 ทีม ได้แก่ ทีม A, B
และ C จำนวน 3 รางวัล 12 เหรียญ ประเภทกลุ่มบุคคล 1 รางวัล ประเภทเดี่ยว 11 รางวัล 3 เหรียญทอง
3 เหรียญเงิน และ 4 เหรียญทองแดง

ประเภททีม ทีมละ 4 คน รวมจำนวน 12 เหรียญ

เหรียญทอง 1 รางวัล ได้แก่ ทีม B ประกอบด้วย

  1. เด็กชายวรินทร เทพมังกร โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์)
  2. เด็กชายปุณณพัชร์ ลักษณ์สุวงศ์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  3. เด็กชายศรณปรัชญ์ ศิริอักษร โรงเรียนแสงทองวิทยา
  4. เด็กชายอภิชภัทร อรุณวิราม โรงเรียนกรพิทักษ์ศึกษา

เหรียญทองแดง 1 รางวัล ได้แก่ ทีม C ประกอบด้วย

  1. เด็กชายปริญ ส่งศรี โรงเรียนอนุบาลกระบี่
  2. เด็กชายกิตติยะ มณีรัตน์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏระนครศรีอยุธยา
  3. เด็กชายวิชสิทธิ์ วิรัชศิลป์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
  4. เด็กชายปริญญา สิงห์กัญญา โรงเรียนแสงทองวิทยา

ชมเชย 1 รางวัล ได้แก่ ทีม A ประกอบด้วย

  1. เด็กชายดลภวัต ศิริชัย โรงเรียนอนุบาลนครปฐม
  2. เด็กชายอนวัช เจียรจรูญศรี โรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
  3. เด็กชายพรภวิษย์ สิทธิสาร โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรณประสานมิตร
  4. เด็กหญิงวรฤทัย คงนคร โรงเรียนบูรณะรำลึก

ประเภทกลุ่มบุคคล

รางวัลชมเชย 1 รางวัล ประกอบด้วย

  1. เด็กชายปริญ ส่งศรี โรงเรียนอนุบาลกระบี่
  2. เด็กชายกิตติยะ มณีรัตน์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏระนครศรีอยุธยา
  3. เด็กชายวิชสิทธิ์ วิรัชศิลป์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย
  4. เด็กชายปริญญา สิงห์กัญญา โรงเรียนแสงทองวิทยา

ประเภทเดี่ยว รวม 12 เหรียญ

เหรียญทอง 3 รางวัล ประกอบด้วย

  1. เด็กชายศรณปรัชญ์ ศิริอักษร โรงเรียนแสงทองวิทยา
  2. เด็กชายกิตติยะ มณีรัตน์ โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยราชภัฏระนครศรีอยุธยา
  3. เด็กชายปริญญา สิงห์กัญญา โรงเรียนแสงทองวิทยา

เหรียญเงิน 3 รางวัล ประกอบด้วย

  1. เด็กชายปุณณพัชร์ ลักษณ์สุวงศ์ โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  2. เด็กชายอนวัช เจียรจรูญศรี โรงเรียนอนุบาลวัดปิตุลาธิราชรังสฤษฎิ์
  3. เด็กหญิงวรฤทัย คงนคร โรงเรียนบูรณะรำลึก

เหรียญทองแดง 4 รางวัล ประกอบด้วย

  1. เด็กชายพรภวิษย์ สิทธิสาร โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรณประสานมิตร
  2. เด็กชายวรินทร เทพมังกร โรงเรียนอนุบาลวัดนางใน (ละเอียดอุปถัมภ์)
  3. เด็กชายดลภวัต ศิริชัย โรงเรียนอนุบาลนครปฐม
  4. เด็กชายอภิชภัทร อรุณวิราม โรงเรียนกรพิทักษ์ศึกษา

รางวัลชมเชย 2 รางวัล ประกอบด้วย

  1. เด็กชายปริญ ส่งศรี        โรงเรียนอนุบาลกระบี่
  2. เด็กชายวิชสิทธิ์ วิรัชศิลป์ โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

 

1184131

Line Album 190767 ๒๔๐๗๒๐ 17 Line Album 190767 ๒๔๐๗๒๐ 16 Line Album 190767 ๒๔๐๗๒๐ 20 Line Album 190767 ๒๔๐๗๒๐ 12

Line Album 190767 ๒๔๐๗๒๐ 24

 

 

สนก. นำทีมผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โลกระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2567 : Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2024 (PMWC 2024) ระหว่างวันที่ 14 – 19 กรกฎาคม 2567 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

Line Album Hongkong 240716 70

เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 2567 สนก. นำทีมผู้แทนนักเรียนไทยจำนวน 12 คน เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โลกระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2567 : Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2024 (PMWC 2024) ระหว่างวันที่ 14 – 19 กรกฎาคม 2567 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

โดยดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ที่นำทีมนักวิชาการศึกษา ได้แก่ นายสพลกิตติ์ สังข์ทิพย์ นางสาวมณฑาทิพย์ ศิริสุมทุม และนางสาวปุณณภา เทพทุมมี เดินทางไปยังสนามบินสุวรรณภูมิ เพื่อที่จะนำทีมผู้แทนนักเรียนไทยเดินทางไปแข่งขันคณิตศาสตร์โลกระดับประถมศึกษา Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2024 (PMWC 2024) ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกงแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

รายชื่อผู้แทนนักเรียนไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โลกระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2567 : Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2024 (PMWC 2024)

1. เด็กชายดลภวัต ศิริชัย

2. เด็กชายอนวัช เจียรจรูญศรี

3. เด็กชายพรภวิษย์ สิทธิสาร

4. เด็กหญิงวรฤทัย คงนคร

5. เด็กชายวรินทร เทพมังกร

6. เด็กชายปุณณพัชร์ ลักษณ์สุวงศ์

7. เด็กชายศรณปรัชญ์ ศิริอักษร

8. เด็กชายอภิชภัทร อรุณวิราม

9. เด็กชายปริญ ส่งศรี

10. เด็กชายกิตติยะ มณีรัตน์

11. เด็กชายวิชสิทธิ์ วิรัชศิลป์

12. เด็กชายปริญญา สิงห์ภัญญา

Line Album Hongkong 240716 66Line Album Hongkong 240716 76  Line Album Hongkong 240716 81

Line Album Hongkong 240716 59

 

 

 

สพฐ. ร่วมกับ Education New Zealand นำร่องจัดการอบรมฯ พัฒนาครูภาษาอังกฤษ สพม. กทม.1 ภายใต้โครงการ LORDOBEC ในหัวข้อ ”Successful and engaging English language teaching and learning”

041a0032     041a0035

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2567 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ Education New Zealand จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการ ในหัวข้อ ”Successful and engaging English language teaching and learning” ณ โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โดยมีวัต วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาทักษะการเรียนการสอนและส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจที่มีต่อประเทศนิวซีแลนด์ ของครูและบุคลากรทางการศึกษาในประเทศไทยให้มากขึ้น

041a0178

โดยได้รับเกียรติจาก นายวันศักดิ์ คำแหง รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมกรุงเทพมหานคร เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิด  รวมถึง คุณช่อทิพย์ ประมูลผล ผู้อำนวยการประจำประเทศไทยและฟิลิปปินส์ หน่วยงานการศึกษานิวซีแลนด์ (Education New Zealand; ENZ) ประจำสถานเอกอัครราชทูตนิวซีแลนด์ นายประจวบ อินทรโชติ ผู้อำนวยการโรงเรียนสามเสนวิทยาลัย และ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ที่นำทีมนักวิชาการศึกษา ได้แก่ นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นางสาวสุภาพร ทองร้อยชั่ง และนายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดดังกล่าว

041a0061

การอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากวิทยากรผู้มากด้วยความรู้และประสบการณ์ Dr Karen Ashton   อาจารย์อาวุโสด้านภาษาศาสตร์ประยุกต์และการศึกษาภาษา, Massey University และอดีตประธาน ALANZ (สมาคมภาษาศาสตร์ประยุกต์แห่งนิวซีแลนด์) ที่เดินทางมาจากประเทศนิวซีแลนด์ เพื่อมาถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ ด้านการจัดการเรียนรู้ให้แก่ครูไทย ซึ่งเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือ ระหว่างเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ลงนามความร่วมมือทางวิชาการกับกับ Massey University ประเทศนิวซีแลนด์โดย Ms. Jan Thomas รองอธิการบดี ปฏิบัติหน้าที่เทียบเท่าอธิการบดีเป็นผู้แทนลงนาม โดยนี้มีนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายคริสโตเฟอร์ ลักซอน นายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ เป็นสักขีพยาน เมื่อวันที่ 17 เมษายน 2567 ณ ตึกสันติไมตรีหลังนอก ทำเนียบรัฐบาล พร้อมทั้งให้กำลังใจ และข้อคิดแก่คณะคุณครูและบุคลากรทางการศึกษา ให้นำเอาความรู้จากการอบรมสัมมนาฯ ครั้งนี้ นำไปปรับใช้บูรณาการหรือพัฒนาการบริหารจัดการชั้นเรียนให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อไป

041a0066

041a0154

041a0210

041a0203

041a0351

 

สพฐ. ร่วมมือกับองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่าย จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักเรียนเพื่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในระดับสากล พ.ศ. 2567 ระดับภูมิภาค

Line Album 22062576 240625 85

เมื่อวันที่ 15 – 23 มิถุนายน 2567 สพฐ. จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพนักเรียนเพื่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในระดับสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 สำหรับนักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาที่มีความสามารถพิเศษ โดยจัดการอบรมฯ ดังกล่าวจำนวน 3 ภูมิภาค กำหนดการ ดังนี้

  1. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน 2567 ณ โรงเรียนสีมาธานี จังหวัดนครราชสีมา
  2. ภาคเหนือ ในวันเสาร์ที่ 22 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมแกรนด์ ฮิลล์ รีสอร์ท แอนด์ สปา จังหวัดนครสวรรค์
  3. ภาคตะวันออก ในวันอาทิตย์ที่ 23 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมชลจันทร์ พัทยาบีช รีสอร์ท จังหวัดชลบุรี

โดยผู้เข้ารับการอบรมฯ ได้แก่ นักเรียนที่มีความสนใจด้านภาษาและเป้าหมายในการศึกษาต่อต่างประเทศ ภูมิภาคละ 150 คน จำนวน 3 ภูมิภาค รวมทั้งสิ้น 450 คน

Line Album 23667 ชลบุรี 240625 92 Line Album 23667 ชลบุรี 240625 90

ภายในงาน ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.)
ได้นำทีมนักวิชาการศึกษา ได้แก่ นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นางสาวสุภาพร ทองร้อยชั่ง นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ นายณัฐศาสตร์ ส่องแสง นายสหรัถ อินทรีย์เขียว และนายฐนปวรรธน์ แตงอ่อน ที่ปรึกษาโครงการ LORD OBEC ภาคเอกชน ร่วมกับองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่าย จัดการอบรมฯ โดยมี 3 กิจกรรมหลักที่เน้นการพัฒนาศักยภาพทางภาษาของนักเรียน พร้อมทั้งแนะแนวช่องทางการศึกษาต่อในต่างประเทศและการประกอบอาชีพในระดับสากล ดังนี้

  • จำลองการสอบ IELTS เสมือนจริง (IELTS Mock Test)
  • การประเมินความถนัดของผู้เรียนเพื่อการศึกษาต่อและการประกอบอาชีพในระดับสากล (Dream Finder Test)
  • นิทรรศการศึกษาต่อทางประเทศ “ค้นหาสาขาที่ใช่ เรียนในสิ่งที่ชอบ”

ซึ่งนักเรียนสมัครเข้าร่วมการอบรมฯ อย่างคับคั่ง ทุกคนมีความมุ่งมั่นตั้งใจที่จะเรียนรู้และพัฒนาตัวเองเพื่อพิชิตการสอบ IELTS และการประเมินความถนัดของผู้เรียน พร้อมทั้งให้ความร่วมมือและเข้าร่วมกิจกรรมที่ทีมวิทยากรจัดให้อย่างสนุกสนาน

Line Album 23667 ชลบุรี 240625 157 Line Album 22062576 240625 58 Line Album 23667 ชลบุรี 240625 180S 15310852 0 Line Album 22062576 240625 8 S 15310855 0 S 15310856 0 Line Album 23667 ชลบุรี 240625 226

 

สพฐ. ร่วมกับองค์กรเครือข่ายทางการศึกษา ร่วมประชุมถอดบทเรียน “แนวทางการขยายผลนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road

เมื่อวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาจัดการประชุม “สพฐ. ร่วมกับองค์กรเครือข่ายทางการศึกษา ร่วมประชุมถอดบทเรียน “แนวทางการขยายผลนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road” โดยมี ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้นำทีมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้แก่ 1) นางสาวปุณณภาเทพทุมมี นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ 2) นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ 3) นายณัฐศาสตร์ ส่องแสง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ 4) นายสหรัถ อินทรีย์เขียว เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ 5) นางสาวสุภาพร ทองร้อยชั่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ พร้อมทั้งมีองค์กรแห่งการเรียนรู้ MalishaEdu Thailand เป็นตัวแทนภาคเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่เข้าร่วมการประชุมและขับเคลื่อนภารกิจงานในครั้งนี้ ณ อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 ห้องประชุมที่ 2 กระทรวงศึกษาธิการ

“การอบรมเชิงปฏิบัติการนำร่องนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road)” เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ จัดขึ้นด้วยความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บริษัท MalishaEdu Thailand และสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ของประเทศไทย และสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการจัดกิจกรรมการพัฒนาและเตรียมความพร้อมนักเรียนไทยเพื่อการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย และการขอทุนการศึกษา โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากประเทศไทย และประเทศลาว ที่มีความสนใจจะไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีนักเรียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น กว่า 300 คน

การประชุมถอดบทเรียนสำคัญภายในงานวันดังกล่าวประกอบด้วย การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติเขียน Study Plan เพื่อสมัครเข้ามหาวิทยาลัย และขอทุนการศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน กิจกรรมแนะแนวการศึกษา ให้คำชี้แนะ และทดลองการสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย โดยผู้แทนมหาวิทยาลัยชั้นนำ จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวนมากกว่า 20 แห่ง และกิจกรรมการให้คำปรึกษา และการเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย MalishaEdu Thailand เพื่อต้องการให้นักเรียน สพฐ. ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศ เป็นการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งภายในงาน ได้แก่ การเปิดตัวนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และสร้างโอกาสในการต่อยอดสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพในระดับสากล ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่ร่วมกันคิดค้น และพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า นวัตกรรมด้านหลักสูตรการอบรม เป็นนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนในปี พ.ศ. 2566 เกิดประโยชน์กับนักเรียนและครูเป็นอย่างยิ่ง โดยมหาวิทยาลัยให้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนและขยายผลนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ในการประชุมได้ร่วมหารือแนวทางการขยายผลนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road) ที่คิดค้นขึ้นทั้ง 3 นวัตกรรม ดังนี้

1) TSEC : Thai Students Selection Exam for China University (นวัตกรรมด้านการวัดและประเมินผล) โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ สาธารณรัฐประชาชนจีน จะดำเนินการยกสนามสอบคัดเลือกนักเรียนมาจัดขึ้นในประเทศไทย เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนไทยในการเข้าถึงการสอบ และทุนการศึกษาอย่างทั่วถึง

2) Pathway Camp (นวัตกรรมด้านหลักสูตรการเรียนรู้) เป็นการเปลี่ยนโฉมหลักสูตรการเรียนระยะสั้นในต่างประเทศของนักเรียน ที่เคยจัดโดยมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนต่าง ๆ ให้กลายเป็นการเรียนระยะสั้นที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียน ด้วยการร่วมเรียนบางรายวิชาในชั้นเรียนจริง ของคณะ หรือสาขาที่นักเรียนสนใจ พร้อมโอกาสสำคัญในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในช่วงท้ายของการอบรมตามหลักสูตรโดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบ และพิจารณาเอกสาร Pre-Admission ให้กับนักเรียนที่ผ่านการสอบทันที

3) Preparation Program for Students and Teacher (นวัตกรรมด้านหลักสูตรการอบรม)

3.1) Integrated Training Program for Students นวัตกรรมหลักสูตรการอบรม
ที่บูรณาการกิจกรรมสำคัญ 2 กิจกรรม ได้แก่ (1) กิจกรรมการพัฒนานักเรียน (Preparation Program) ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมนักเรียน ตัวอย่างเช่น ความรู้และทักษะทางภาษา การเขียนเอกสารประกอบการขอทุน เป็นต้น โดยบูรณาการเข้ากับ (2) กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ (Education Fair) ที่จะช่วยให้นักเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง หลักสูตร การเรียนการสอน รวมถึงสภาพแวดล้อม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่นักเรียนและผู้ปกครองจะนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการตั้งเป้าหมายการเรียนต่อไป

3.2) Teacher Training : Educational Pathways in China (นวัตกรรมด้านหลักสูตร
การอบรม) ที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีหน้าที่หลักในการแนะแนวนักเรียน หรือมีความประสงค์เป็นผู้ให้คำปรึกษานักเรียนที่สนใจที่จะไปศึกษาต่อในประเทศต่าง ๆ โดยหลักสูตรนี้จะมีเนื้อหาครอบคลุมในทุกมิติ ยกตัวอย่างเช่น บริบทการศึกษาของแต่ละประเทศ สถาบันการศึกษาและสาขาที่น่าสนใจ สภาพแวดล้อม การตั้งเป้าหมายในการเรียน การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นภายใต้โครงการจำถูกนำไปขยายผลในโรงเรียนสังกัด สพฐ. อย่างกว้างขวางในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยความร่วมมือในการสนันสนุนและส่งเสริมโครงการอย่างเป็นรูปธรรมจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน Belt & Road Chinese Center (BRCC) และ MalishaEDU Thailand อย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่อง และยั่งยืน

สพฐ. ร่วมกับองค์กรเครือข่ายทางการศึกษา ร่วมประชุมถอดบทเรียน “แนวทางการขยายผลนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road)

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 2 มิถุนายน 2567 ณ โรงแรมสยามแกรนด์ อุดรธานี สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา “จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการนำร่องนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road)” โดยภายหลังพิธี คุณสวี่ หลัน (Ms. Xu Lan) อุปทูตที่ปรึกษาฝ่ายการศึกษา สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ให้เกียรติบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “แนวโน้มการศึกษาจีนสู่การศึกษาโลก” ต่อจากนั้น Dr. Mollah Maruf ผู้บริหาร BRCC และ MalishaEdu Guangzhou ขึ้นบรรยายพิเศษ ในหัวข้อ “ความร่วมมือทางการศึกษา OBEC One Belt One Road”

“การอบรมเชิงปฏิบัติการนำร่องนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road)” เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ จัดขึ้นด้วยความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บริษัท MalishaEdu Thailand และสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ของประเทศไทย และสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการจัดกิจกรรมการพัฒนาและเตรียมความพร้อมนักเรียนไทยเพื่อการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย และการขอทุนการศึกษา โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากประเทศไทย และประเทศลาว ที่มีความสนใจจะไปศึกษาต่อ
ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีนักเรียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น กว่า 300 คน

กิจกรรมสำคัญภายในงานประกอบด้วย การเรียนรู้และฝึกปฏิบัติเขียน Study Plan เพื่อสมัครเข้ามหาวิทยาลัย และขอทุนการศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน กิจกรรมแนะแนวการศึกษา ให้คำชี้แนะ และทดลองการสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย โดยผู้แทนมหาวิทยาลัยชั้นนำ จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวนมากกว่า 20 แห่ง และกิจกรรมการให้คำปรึกษา และการเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย MalishaEdu Thailand

นอกจากนี้ กิจกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งภายในงาน ได้แก่ การเปิดตัวนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และสร้างโอกาสในการต่อยอดสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพในระดับสากล ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่ร่วมกันคิดค้น และพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมี ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ขึ้นบรรยายและให้ข้อมูลเกี่ยวกับนวัตกรรมต่าง ๆ ดังนี้

1) TSEC : Thai Students Selection Exam for China University (นวัตกรรมด้านการวัดและประเมินผล) โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ สาธารณรัฐประชาชนจีน จะดำเนินการยกสนามสอบคัดเลือกนักเรียน
มาจัดขึ้นในประเทศไทย เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนไทยในการเข้าถึงการสอบ และทุนการศึกษาอย่างทั่วถึง

2) Pathway Camp (นวัตกรรมด้านหลักสูตรการเรียนรู้) เป็นการเปลี่ยนโฉมหลักสูตรการเรียนระยะสั้นในต่างประเทศของนักเรียน ที่เคยจัดโดยมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนต่าง ๆ ให้กลายเป็นการเรียนระยะสั้นที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียน ด้วยการร่วมเรียนบางรายวิชาในชั้นเรียนจริง ของคณะ หรือสาขาที่นักเรียนสนใจ พร้อมโอกาสสำคัญในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในช่วงท้ายของการอบรมตามหลักสูตรโดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบ และพิจารณาเอกสาร Pre-Admission ให้กับนักเรียนที่ผ่านการสอบทันที

3) Preparation Program for Students and Teacher (นวัตกรรมด้านหลักสูตรการอบรม)

3.1) Integrated Training Program for Students นวัตกรรมหลักสูตรการอบรม
ที่บูรณาการกิจกรรมสำคัญ 2 กิจกรรม ได้แก่ (1) กิจกรรมการพัฒนานักเรียน (Preparation Program) ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมนักเรียน ตัวอย่างเช่น ความรู้และทักษะทางภาษา การเขียนเอกสารประกอบการขอทุน เป็นต้น โดยบูรณาการเข้ากับ (2) กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ (Education Fair) ที่จะช่วยให้นักเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง หลักสูตร การเรียนการสอน รวมถึงสภาพแวดล้อม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่นักเรียนและผู้ปกครองจะนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการตั้งเป้าหมายการเรียนต่อไป

3.2) Teacher Training : Educational Pathways in China (นวัตกรรมด้านหลักสูตรการอบรม) ที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีหน้าที่หลักในการแนะแนวนักเรียน หรือมีความประสงค์เป็นผู้ให้คำปรึกษานักเรียนที่สนใจที่จะไปศึกษาต่อในประเทศต่าง ๆ โดยหลักสูตรนี้จะมีเนื้อหาครอบคลุมในทุกมิติ ยกตัวอย่างเช่น บริบทการศึกษาของแต่ละประเทศ สถาบันการศึกษาและสาขา
ที่น่าสนใจ สภาพแวดล้อม การตั้งเป้าหมายในการเรียน การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ภายหลังการอบรม สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้แทนบริษัท MalishaEdu Thailand และ ผู้แทนสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีนบางส่วน มีกำหนดเข้าร่วมการประชุมสรุปงาน และเตรียมความพร้อมในการนำนวัตกรรม TSEC Pathway Camp และ Preparation Program for Students and Teacher ไปเสนอแก่ผู้บริหารมหาวิทยาลัย พร้อมทั้งหารือแนวทางการร่วมขับเคลื่อน และขยายผลการใช้นวัตกรรมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในระยะต่อไป

 

สพฐ. ดำเนินการจัดสอบแข่งขันทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 (รอบสอง ระดับประเทศ)

วันที่ 18 พฤษภาคม 2567 สพฐ. ดำเนินการจัดสอบแข่งขันทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 (รอบสอง ระดับประเทศ) จำนวน 39 ศูนย์สอบ (สพป.20 เขต / สพม. 19 เขต) โดยมีนักเรียนจากทุกสังกัดเข้าร่วมกิจกรรมการสอบแข่งขันทางวิชาการฯ ในครั้งนี้จำนวน 18,711 คน

การจัดสอบแข่งขันทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ประจำปี
พ.ศ. 2567 (รอบสอง ระดับประเทศ) เพื่อพัฒนา ต่อยอด และคัดเลือกผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เข้าร่วมแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (โอลิมปิกวิชาการ
ระหว่างประเทศ) ซึ่งเป็นการพัฒนาความสามารถทางวิชาการของผู้เรียนผ่านกระบวนการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ด้านคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา ด้านวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา โดยมีเวทีแข่งขันทางวิชาการระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 ที่ สพฐ. เป็นเจ้าภาพหลักการ
ในการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนเข้าร่วมการแข่งขันจำนวน 3 เวที ดังนี้

1) การแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2024 (PMWC 2024) กำหนดแข่งขันเดือนกรกฎาคม 2567 ณ เขตบริหารพิเศษฮ่องกง
แห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

2) การแข่งขันคณิตศาสตร์ ระหว่างประเทศ International Mathematics Competition 2024 (IMC 2024) กำหนดการแข่งขันเดือนกรกฎาคม 2567 ณ เมืองลัคเนา ประเทศอินเดีย

3) การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา International Mathematics and Science Olympiad for Primary School 2024 (IMSO 2024) กำหนดการแข่งขันเดือนพฤศจิกายน 2567 ณ เมืองเวินโจว มณฑลเจ้อเจียง สาธารณรัฐประชาชนจีน

ทั้งนี้การจัดสอบแข่งขันทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 (รอบสอง ระดับประเทศ) ดำเนินการบริหารการจัดสอบอย่างสุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้ โดยทาง สพฐ. ได้กำหนดกรอบเนื้อหาหลักสูตร จัดทำเล่มแนวทางการสร้างแบบทดสอบ เล่มแนวทางปฏิทินการแข่งขันและเล่มแนวทางการปฏิบัติการจัดสอบแข่งขันทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 ไว้เป็นแนวทางปฏิบัติในการบริหารจัดการสอบไว้อย่างชัดเจน เพื่อการคัดเลือกผู้แทนนักเรียนที่มีความรู้ ความสามารถ และมีทักษะเพียงพอที่จะเป็นผู้แทนนักเรียนไทย ในการนำชัยชนะและความภาคภูมิใจกลับมาสู่ประเทศไทยต่อไป

สนก. เดินหน้าขับเคลื่อนโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล (LORD OBEC) ร่วมกับมหาวิทยาลัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีน

เมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2567 ผอ.รัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นประธานในพิธีการประชุมหารือพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล (LORD OBEC) โดยมี Prof. ZHANG LIQUN, President อธิการบดีมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University) นำทีมคณาจารย์จาก มหาวิทยาลัย Xi’an Jiaotong University สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้แก่ 1) Prof. WEN GUANGRUI, Dean, School of International Education 2) Prof. LIU WENFENG, Director, Department of International Cooperation and Exchanges 3) Ms. CHEN PING, Assistant Director, Department of International Cooperation and Exchanges 4) Ms. SUN XIANGZHE, Deputy Director of Confucius Institute Affairs Office , School of International Education ได้ขอนัดหมายผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล (LORD OBEC) โดยมี ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ นำทีมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้แก่ 1) นางสาวปุณณภา เทพทุมมี นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ 2) นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ 3) นายณัฐศาสตร์ ส่องแสง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ 4) นายสหรัถ อินทรีย์เขียว เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ 5) นางสาวสุภาพร ทองร้อยชั่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ และมีองค์กรแห่งการเรียนรู้ MalishaEdu Thailand เป็นตัวแทนภาคเอกชนที่เข้าร่วมการประชุมและขับเคลื่อนภารกิจงานในครั้งนี้ ณ ห้องประชุม สพฐ. 2 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษา

ในการประชุมหารือแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการต่อยอดนักเรียนไทยครั้งนี้สืบเนื่องมาจากทาง สนก. เดินทางไปหารือแนวทางการร่วมมือกับทางมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University) สาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายและพัฒนานวัตกรรมการศึกษาในระดับสากลและแนวทางการจัดหาทุนการศึกษาต่อในประเทศจีน มาให้นักเรียนในสังกัด สพฐ. โดยทางมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University) สาธารณรัฐประชาชนจีนมีเป้าหมายพร้อมทั้งแนวทางการจัดหาทุนการศึกษาต่อประเทศจีนมาให้นักเรียนในสังกัด สพฐ. เพื่อสนับสนุนความร่วมมือการพัฒนานวัตกรรมการศึกษาและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศ

ทั้งนี้ มหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University) สาธารณรัฐประชาชนจีน เป็นมหาลัยอันดับ 1 ในภาคกลางและภาคตะวันตกของประเทศจีน มีศักยภาพที่พร้อมให้การสนับสนุนในทุกด้านและสามารถพัฒนาขีดความสามารถของนักเรียนในสังกัด สพฐ. ให้พร้อมสู่ระดับสากล
โดยทางมหาวิทยาลัยซีอานเจียวทง (Xi’an Jiaotong University) จะเข้าร่วมโครงการนำร่องของทาง สนก. ในไตรมาสที่ 4 ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2567 เพื่อทดลองใช้และพัฒนานวัตกรรมการศึกษา ให้สอดคล้องกับแผนดำเนินงานโครงการทั้ง 3 มิติ ต่อไป

 

สพฐ. ปฏิบัติงานเชิงรุกลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบการแข่งขันทางวิชาการ ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา)

เมื่อวันที่ 17 มีนาคม พ.ศ. 2567 ท่านเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ ดร.รัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษา สพฐ. และคณะลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมสนามสอบแข่งขันทางวิชาการด้านคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ (รอบแรก)
ณ โรงเรียนพญาไท เพื่อเป็นขวัญกำลังใจให้กับนักเรียน และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงได้ข้อมูลการจัดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2567 (รอบแรก ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) จากสภาพจริง

โดยการแข่งขันในปีนี้มีนักเรียนจากทุกสังกัด ให้ความสนใจสมัครเข้าร่วมการแข่งขันเป็นจำนวนมากถึง 150,000 คน ซึ่งผลการสอบแข่งขันในรอบนี้ จะนำไปสู่การคัดเลือกนักเรียนในรอบสอง (ระดับศูนย์สอบ) ต่อไป

สนก. ร่วมกับองค์กรเครือข่ายและสถาบันการศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน นำร่องการใช้นวัตกรรมการวัดระดับผู้เรียนเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาสำหรับนักเรียนต่างชาติ

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2567 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับ China University of Petroleum (Beijing) Belt and Road Chinese Center (BRCC) และ Malisha Edu จัดกิจกรรมการสอบ “Entrance Examination Plan for International Students” ณ ห้องประชุมดวงเดือน พิศาลบุตร คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การนำร่องนวัตกรรมการวัดระดับผู้เรียนในครั้งนี้ เป็นการจำลองรูปแบบการสอบระดับนานาชาติที่สาธารณรัฐประชาชนจีนจะนำไปใช้ในการคัดเลือกนักศึกษาต่างชาติเพื่อเข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษา ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ในอนาคต โดยผลการสอบพบว่าจากนักเรียนที่เข้าสอบ จำนวน 87 คน นักเรียนไทยสามารถผ่านการสอบข้อเขียนในรายวิชาคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์ จำนวน 41 คน

ภายหลังการสอบสัมภาษณ์ โดยอาจารย์จาก China University of Petroleum (Beijing) มีนักเรียนในสังกัด สพฐ. จำนวน 5 คน ที่มีผลสอบอยู่ในระดับสูง และได้รับทุนการศึกษาระดับปริญญาตรี 100% (ค่าเรียน ค่าที่พัก ค่าประกันชีวิต) พร้อมเงินสนับสนุน 1,800 หยวนต่อเดือน จาก China University of Petroleum (Beijing) โดยเป็นนักเรียนจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จำนวน 2 คน โรงเรียนทวีธาภิเศก จำนวน 1 คน โรงเรียนศรีบุณยานนท์ จำนวน 1 คน โรงเรียนหอวัง จำนวน 1 คน และเป็นนักเรียนไทยที่เดินทางมาสอบจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 1 คน นอกจากนี้ยังมีนักเรียนอีก 30 คน ที่ผ่านการสอบข้อเขียน สัมภาษณ์ และมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาประเภทต่าง ๆ ลดหลั่นกันไป พร้อมเอกสารรับรองการเข้าศึกษาต่อ (Pre-Admission ) ณ China University of Petroleum (Beijing) สาธารณรัฐประชาชนจีน ได้ทันทีเมื่อจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ทั้งนี้ นวัตกรรมการวัดระดับผู้เรียนในรูปแบบดังกล่าว จะเริ่มต้นนำไปใช้ในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสาธารณรัฐประชาชนจีน ในพี พ.ศ. 2568 เพื่อการคัดเลือกนักเรียนต่างชาติที่มีคุณภาพเข้าสู่ระบบการศึกษาของประเทศต่อไป โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล จะเร่งรัดการสร้างความเข้าใจ และส่งเสริมให้นักเรียนไทยได้มีโอกาสเข้าถึงนวัตกรรมการสอบ อันจะนำไปสู่โอกาสในการรับทุนการศึกษา และการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาที่มีคุณภาพ ได้อย่างทั่วถึงและเท่าเทียม