03_วนบ.

การประชุมปฏิบัติการยกร่างงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และจัดทำเกณฑ์การจัดสรรงบแลกเป้าหมาย ภายใต้โครงการโรงเรียนประชารัฐ ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา กรุงเทพมหานคร

การประชุมปฏิบัติการยกร่างงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและจัดทำเกณฑ์การจัดสรรงบแลกเป้าหมาย ภายใต้โครงการโรงเรียนประชารัฐ ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา สุขุมวิท 5 กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกร่างงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาของโครงการโรงเรียนประชารัฐ และทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการศึกษา เพื่อยกร่างแบบสอบถามที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดทำกรอบและเกณฑ์การของบแลกเป้าหมาย พร้อมรายละเอียดสำหรับโรงเรียนประชารัฐ ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ

 

การประชุมปฏิบัติการสร้างกรอบวิจัยและร่างกรอบหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs) ระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ตัน จังหวัดสมุทรสงคราม

การประชุมปฏิบัติการสร้างกรอบวิจัยและร่างกรอบหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs) ระหว่างวันที่ 24 – 26 มกราคม พ.ศ. 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ตัน จังหวัดสมุทรสงคราม โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

    1. เพื่อจัดทำโครงร่างวิจัยเกี่ยวกับการบริหารสถานศึกษาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีความเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
    2. เพื่อร่างหลักสูตร การพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs)
    3. กำหนดแนวทางการบริหารจัดการโรงเรียนเพื่อส่งเสริมการใช้หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs)
    4. เพื่อรวบรวมคลังข้อมูลเกี่ยวกับ SDGs ให้เป็นแหล่งสืบค้นหลักและสามารถเชื่อมโยงเครือข่ายการเรียนรู้ร่วมกับหน่อยงานอิ่นๆได้

โดยการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญสำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. เป็นประธานในพิธีเปิด

 

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมจัดการแข่งขันโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษและการผลิตสื่อการเรียนการสอนกิจกรรมโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย ระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม 2563 ณ โรงแรมรอแยลเบญจา กรุงเทพมหานคร

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเตรียมจัดการแข่งขันโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษและการผลิตสื่อการเรียนการสอนกิจกรรมโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษในรูปแบบสื่อมัลติมีเดีย ระหว่างวันที่ 10-12 มกราคม 2563 ณ โรงแรมรอแยลเบญจา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงรายละเอียดการดำเนินงาน วางแผนจัดการแข่งขันประจำปี 2563 และวางแผนการผลิตสื่อการเรียนการสอนที่เป็นประโยชน์สำหรับครูทุกระดับชั้น ในการนำกิจกรรมโต้สาระวาทีสู่การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน ซึ่งได้รับเกียรติจาก ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญสำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. เป็นประธานในพิธีเปิด

พิธีรับมอบหนังสือสำหรับห้องสมุดโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ ธนาคารกรุงเทพฯ สำนักงานใหญ่

 

เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นตัวแทนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมในพิธีรับมอบหนังสือสำหรับห้องสมุดโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในวันอังคารที่ 17 ธันวาคม 2562 ณ ห้องประชุม ชั้น 30 ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ (สีลม )เวลา 10.00- 11.30 น. โดยมี เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ( นายอนุชา บูรพชัยศรี) เป็นประธาน

การประชุมปฎิบัติการยกร่างหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะและทักษะกระบวนการคิดขั้นสูง และการสื่ออสารผ่านกิจกรรมโต้วาที ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน – ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. จัดการประชุมปฎิบัติการยกร่างหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะและทักษะกระบวนการคิดขั้นสูงและการสื่ออสารผ่านกิจกรรมโต้วาที ระหว่างวันที่ ๒๙ พฤศจิกายน – ๑ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อระดมแนวคิดและยกร่างหลักสูตรการพัฒนาสมรรถนะและทักษะกระบวนการคิดชั้นสูงและการสื่อสารผ่านกิจกรรมการโต้สาระวาทีและเพื่อเตรียมการจัดการพัฒนานักเรียนตามหลักสูตร สำหรับนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๔ – ๖ ของโครงการโรงเรียนประชารัฐ
ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ

ประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติ

ร่วมประชุมคณะอนุกรรมการดำเนินการพิจารณาคัดเลือกเด็กและเยาวชนที่นำชื่อเสียงมาสู่ประเทศชาติในการจัดงานฉลองวันเด็กแห่งชาติ ประจำปี 2563 ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ กรุงเทพมหานคร

ขอเชิญโรงเรียนประชารัฐ รุ่น 2 ร่วมทำแบบแบบสำรวจความต้องการจำเป็นรายการปรับปรุ่งซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่น

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดการเสนอขอตั้งงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบลงทุน ค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง รายการปรับปรุงซ่อมแซมอาคารเรียน อาคารประกอบและสิ่งก่อสร้างอื่นให้กับโรงเรียนประชารัฐ รุ่น 2 ตามประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกาศ ณ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2561
ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินการดังนี้

1. ตรวจสอบรายชื่อโรงเรียนประชารัฐที่จะเสนอขอรับงบประมาณ ในรายชื่อโรงเรียนประชารัฐรุ่น 2
2. มอบกลุ่มนโยบายและแผน ประสานกับโรงเรียนในการดำเนินการวิเคราะห์ความขาดแคลนจำเป็นด้านโครงสร้างพื้นฐาน

และจัดทำคำของบประมาณรายการที่ดินและสิ่งก่อสร้าง งบลงทุน ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 โดยให้พิจารณาจากข้อมูลความต้องการจำเป็นบนความขาดแคลนของโรงเรียนเป็นหลัก และไม่ซ้ำซ้อนกับการเสนอตั้งงบประมาณปี พ.ศ. 2564 ทาง http://pracharaths.inno.obec.go.th ภายในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2562 และขอให้จัดส่งเอกสารตามแบบฟอร์มที่เกี่ยวข้อง (ฉบับจริง) มายังสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ภายในวันที่ 15 พฤษจิกายน พ.ศ. 2562 เพื่อที่จะนำข้อมูลและเอกสารดังกล่าว ไปประกอบการพิจารณาการเสนอขอรับงบประมาณ รายการครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โทร 02281 7853

ขอเชิญโรงเรียนประชารัฐ รุ่น 1 ร่วมทำแบบสอบถามของงานวิจัยโครงการโรงเรียนประชารัฐ

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำกรอบงานวิจัยโครงการโรงเรียนประชารัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อการศึกษากระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินโครงการโรงเรียนประชารัฐ และเพื่อเสนอแนวทางในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จ มีจำนวน 2 เรื่อง คือ เรื่องที่ 1 ถอดบทเรียนความร่วมมือระหว่างรัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่ประสบความสำเร็จโครงการโรงเรียนประชารัฐ เรื่องที่ 2 วิจัยผลการดำเนินงานโรงเรียนประชารัฐ รุ่นที่ 1 โดยจะมีการเก็บข้อมูลประกอบงานวิจัยในหลายลักษณะ

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแจ้งโรงเรียนประชารัฐ รุ่น 1 ดำเนินการตอบแบบสอบถามของงานวิจัยเรื่องที่ 2 ผ่านลิงค์ http://bit.ly/2BNtw5B ให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 22 พฤจิกายน 2562 พร้อมกำกับติดตามการดำเนินให้แล้วเสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดดังที่ส่งมาด้วย

หากมีข้อสงสัย สามารถติดต่อได้ที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โทร 02281 7853

โรงเรียนประชารัฐ

โครงการโรงเรียนประชารัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการที่กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MoU) “สานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ” ร่วมกับภาคประชาสังคม และภาคเอกชนกว่า 25 องค์กรชั้นนำระดับประเทศ เพื่อยกระดับการจัดการศึกษาในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานนั้น กระทรวงศึกษาธิการได้เปิดรับสมัครโรงเรียนขนาดกลางหรือขนาดเล็ก (ระดับประถมศึกษา-ขยายโอกาส นักเรียน 80-600 คน, ระดับมัธยมศึกษา นักเรียน 120-600 คน) เข้าร่วมพัฒนาตามโครงการ ซึ่งมีโรงเรียนสนใจสมัครกว่า 10,000 โรงเรียน และมีโรงเรียนผ่านการคัดเลือกเป็นโรงเรียนต้นแบบโครงการโรงเรียนประชารัฐ ระยะที่ 1 จำนวน 3,342 โรงเรียน ที่จะได้รับการพัฒนาตามโครงการภายใต้การดูแลและให้ความช่วยเหลือของ School Partners จากภาคเอกชน 1,000 คน และมี School Sponsor จากภาครัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุนต่อไปด้วย

สิ่งที่จะได้รับจากการเป็นต้นแบบโรงเรียนประชารัฐ มีหลายประการ คือ 1) ครู ได้รับความรู้และประสบการณ์จากกระบวนการจัดการ ตลอดจนได้รับการพัฒนา-การเรียนรู้ต่างๆ 2) โรงเรียน ได้รับการเติมเต็มจากภาคเอกชน ทั้งในด้านโครงสร้างพื้นฐาน สื่อการเรียนการสอน ระบบฐานข้อมูล เป็นต้น 3) ผู้บริหาร ได้รับการพัฒนาคุณสมบัติและสมรรถนะความเป็นผู้นำและการบริหารจัดการ 4) ผู้ปกครอง ชุมชน ได้มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาและสนับสนุนการศึกษามากขึ้น

ที่มา https://data.bopp-obec.info/emis/news/news_view.php?ID_New=32363

โต้วาทีภาษาอังกฤษ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินกิจกรรมการพัฒนาบุคลากร ให้มีความพร้อมในการก้าวสู่ประชาคมอาเซียน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเติมขีดความสามารถ พัฒนาความรู้ ทักษะให้กับนักเรียนในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคปัจจุบัน และเห็นคุณค่าของการรวมตัว บนความหลากหลายของชาติพันธุ์ในประชาคมอาเซียน ตั้งแต่ปี 2552 โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้พัฒนานวัตกรรม “การโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษ และการพูดพาทีสร้างสรรค์” ซึ่งเป็นการนำกระบวนการแข่งขันทางวิชาการมาเป็นกิจกรรมเสริมเพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพของตนเอง ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ และการพัฒนาทักษะทางวิชาการในด้านอื่นๆ โดยมีรูปแบบการโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษที่เป็นไปตามการแข่งขันสากล คือ รูปแบบรัฐสภาเอเชีย (Asian Parliamentary) ในหัวข้อการแข่งขันที่เกี่ยวข้องกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน และการตระหนักถึงการเป็นพลเมืองโลก เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ และความเข้าใจในเชิงลึก เห็นคุณค่าของความหลากหลายทางวัฒนธรรม และสามารถอยู่ร่วมกันบนความแตกต่างได้อย่างเข้าใจ โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้พัฒนาบุคลากรทุกฝ่ายอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การพัฒนารูปแบบการแข่งขัน พัฒนานักเรียนที่มีศักยภาพทางภาษาสูง พัฒนาคู่มือการจัดการแข่งขัน พัฒนาหลักสูตร Building Skills for Debate และฝึกอบรมครูผู้สอนในการนำกิจกรรมลงสู่ชั้นเรียน ให้กับครูและผู้จัดการศูนย์ ERIC และ PEER จำนวน 6 จุดฝึกอบรมทั่วประเทศ ในช่วงเดือนเมษายน – พฤษภาคม 2559 เพื่อเป็นแกนนำในการเผยแพร่ ขยายผล ให้กับครูในพื้นที่ในการส่งเสริมทักษะ และกระบวนการของกิจกรรมโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษสู่การจัดกิจกรรม ทั้งในและนอกห้องเรียนให้นักเรียนได้เรียนรู้และพัฒนาความรู้และทักษะของตนเองตามความสนใจและความถนัดต่อไป  และยังได้พัฒนาผู้ตัดสินการโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษให้มีศักยภาพและเกณฑ์การตัดสินที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมทั้งเปิดเวทีการแข่งขันทั้งในระดับเขตพื้นที่การศึกษา ระดับภูมิภาค และระดับประเทศ

สำหรับการดำเนินงานในปีงบประมาณ 2562 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ดำเนินการขยายผลกิจกรรมลงสู่โรงเรียนตามภูมิภาคต่างๆ โดยมีวิทยากรแกนนำ สพฐ. เป็นผู้ดำเนินการจัดกิจกรรม จำนวน 2 กิจกรรมได้แก่ 1. จัดฝึกอบรมผู้ตัดสินโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษ ระดับ สพฐ. และ 2. จัดการแข่งขันโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษ ประจำปี พ.ศ. 2562 (The National OBEC English Debate Competition 2019) ภายใต้แนวคิด Thailand 4.0 and Globalization” โดยดำเนินการในช่วงวันเสาร์ – อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ ระหว่างเดือนพฤษภาคม – กันยายน 2562 มีวัตถุประสงค์ เพื่อขยายผลองค์ความรู้กิจกรรมโต้สาระวาทีภาษาอังกฤษให้เผยแพร่ในระดับภูมิภาคมากยิ่งขึ้น และเพื่อมีเวทีให้กับนักเรียนและครูได้แสดงความสามารถของการใช้ภาษาอังกฤษระดับสูง และการพัฒนาทักษะกระบวนการคิดวิเคราะห์ การอภิปรายในเชิงเหตุและผล ในหัวข้อที่จะช่วยพัฒนานักเรียนและครูซึ่งเป็นกำลังสำคัญของการพัฒนาประเทศชาติให้ก้าวสู่การเป็นพลเมืองโลกต่อไป