03_วนบ.

การประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ผลและลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (โรงเรียนประชารัฐ)

วันที่ 17 มีนาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรม โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) ได้มอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย จัดประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ผลและลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (โรงเรียนประชารัฐ) ระหว่างวันที่ 16 – 19 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมศรีวิลัย สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย มีวัตถุประสงค์เพื่อ

  1. ศึกษาสภาพปัจุบันของสมรรถนะของผู้บริหารโรงเรียนประชารัฐ
  2. พัฒนาหลักสูตรพัฒนาสมถรรนะของผู้บริหารโรงเรียน
  3. พัฒนาแพลตฟอร์มเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีประสิทธิภาพในลักษณะต่างๆ

โดยได้รับเกียรติจากนายสุดเขต สวยสม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย เป็นประธานในพิธีเปิด และนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมคณะทำงานและติดตามการประชุมดังกล่าว มีกลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ครู จำนวน 50 คน ได้ร่วมสะท้อนความคิดถึงร่างหลักสูตรฯ และนำเสนอข้อมูลการถอดประสบการณ์แลกเปลี่ยนเรียนรู้ด้านการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนมัธยมศึกษา 3 โรงเรียน โรงเรียนประถมศึกษา 4 โรงเรียน และคณะวิจัยมีการซักถามเพิ่มเติมประเด็น และสังเคราะห์ข้อมูล เพื่อเตรียมการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูล ณ โรงเรียนประชารัฐ ต่อไป

การประชุมเชิงปฎิบัติการปรับเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ 10 – 12 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมลักซ์ บูติค จังหวัดนนทบุรี

วันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. โดย ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร และคณะ จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการปรับเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ระหว่างวันที่ 10 – 12 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมลักซ์ บูติค ต. บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับเกณฑ์การประกวดและกำหนดแนวทางการรับสมัครการประกวดนวัตกรรมการศึกษาเพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ให้พร้อมสำหรับการจัดประกวดนวัตกรรมต่อไป

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมกับกลุ่ม ปตท. เปิดโครงการส่งเสริมสะเต็มศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นออนไลน์ประจำปี 2564

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการส่งเสริมสะเต็มศึกษาในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นออนไลน์ประจำปี 2564 โดยมี คุณดวงพร เที่ยงวัฒนธรรม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กำกับดูแลองค์กรและกิจการสัมพันธ์ ดร. พรสันต์ เลิศวิทยาวิวัฒน์ รองผู้อำนวยการโรงเรียนกำเนิดวิทย์ฝ่ายบริหาร ร่วมเป็นประธานในพิธีเปิด ในวันอาทิตย์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 2564 บนระบบออนไลน์ ZOOM ซึ่งโครงการดังกล่าวเป็นความร่วมมือระหว่างกลุ่มปตท. และโรงเรียนกำเนิดวิทย์ที่ให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมการศึกษาด้านและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาโดยตลอด มีวัตถุประสงค์ เพื่อเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและทักษะในการสอนและถ่ายทอดความรู้ให้กับครูด้านสะเต็มศึกษา โดยเฉพาะด้านการทำวิจัยและโครงงาน และสร้างแรงบันดาลใจและความรู้ในด้านสะเต็มศึกษาให้กับนักเรียน มีกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 8 โรงเรียนที่อยู่ในพื้นโรงเรียนกำเนิดวิทย์ โดยจะมีการดำเนินงานจำนวน 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ค่ายออนไลน์ ระยะที่ 2 ทำโครงงานออนไลน์ และระยะที่ 3 ค่ายปฏิบัติการ

สพฐ. เร่งพัฒนาการสอนด้านสเต็มศึกษาและภาษาอังกฤษ พร้อมสนับสนุนผู้ช่วยสอนและพนักงานธุรการ/ICT ภายใต้โครงการ Restart Thailand โดย กลุ่ม ปตท.

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้โอวาท และมอบนโยบายการศึกษาในการประชุมสร้างความเข้าใจและปฐมนิเทศผู้ช่วยสอนและพนักงานธุรการ/ICT ภายใต้โครงการ Restart Thailand (ผ่านระบบออนไลน์ Webex) พร้อมด้วยนายอรรถพล ฤกษ์พิบูลย์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และคณะ ในวันศุกร์ที่ 5 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 08.30 – 15.30 น. โดยกลุ่ม ปตท.ได้ร่วมสนับสนุนนโยบายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจและการจ้างงานจากผลกระทบของสถานการณ์โควิด-19 จ้างแรงงานและนักศึกษาจบใหม่ จัดสรรบุคลากรในตําแหน่งผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant) และพนักงานธุรการ/ICT เป็นระยะเวลา 1 ปี ให้กับโรงเรียนในสังกัดต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จำนวน 128 โรงเรียน สังกัดสํานักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จํานวน 2 โรงเรียน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น จํานวน 10 โรงเรียน และสังกัดสํานักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ จํานวน 2 โรงเรียน ด้วยมุ่งหวังให้บุคลากรดังกล่าว ช่วยสนับสนุนการพัฒนาการเรียนการสอนสะเต็มศึกษาและภาษาอังกฤษ รวมถึงลดภาระงานที่นอกเหนือจากการสอน ให้ครูสามารถจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่มากขึ้น ตอบสนองเป้าหมายของกระทรวงศึกษาธิการที่จะคืนครูสู่ห้องเรียน

การประชุมชี้แจงการดำเนินงานและทิศทางของ “โครงการคอนเน็กซ์อีดี” สำหรับคณะทำงานโครงการคอนเน็กซ์อีดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมาย นายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการประชุมชี้แจงการดำเนินงานและทิศทางของ “โครงการคอนเน็กซ์อีดี” สำหรับคณะทำงานโครงการคอนเน็กซ์อีดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผ่านระบบ Conference พร้อมทั้งผู้แทนจากภาคเอกชน นำโดย นางสาวกรกช นาวานุเคราะห์ จากบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) และคณะ ในวันพฤหัสบดีที่ 4 กุมภาพันธ์ 2564 เวลา 13.30 – 16.30 น. ชี้แจงเกี่ยวกับการดำเนินงาน และบทบาทหน้าที่ของคณะทำงานโครงการคอนเน็กซ์อีดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการกำกับ นิเทศ ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงานของโรงเรียน ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ตลอดจนการสนับสนุนการปฏิบัติงานร่วมกับผู้นำ (School Partner) หรือคณะทำงานจากภาคเอกชน เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการ

เข้าร่วมงานพิธีรับมอบหนังสือในโครงการ “หนังสือเพื่อชีวิตและจินตนาการ” โดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด โครงการงานมอบหนังสือเป็นตัวแทน

ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้กลุ่มงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร เข้าร่วมงานพิธีรับมอบหนังสือในโครงการ “หนังสือเพื่อชีวิตและจินตนาการ” โดย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด ร่วมมือกันจัดทำโครงการดังกล่าวขึ้น และได้บริจาคหนังสือชุด “Good Habits Series” เป็นนิทานสองภาษา (Bilingual) คือ ภาษาไทย และภาษาอังกฤษ เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชน และคัดสรรหนังสือชุด “บ้านเล็กในป่าใหญ่” เป็นวรรณกรรมเยาวชนยอดเยี่ยมตลอดกาล ซึ่งเป็นหนังสือที่มีคุณภาพที่ผลิตและสร้างสรรค์ขึ้นใหม่ให้กับโรงเรียนที่ขาดแคลนหนังสือในห้องสมุด สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 400 โรงเรียน มูลค่าแห่งละ 17,500 บาท รวมมูลค่า 7,000,000 บาท โดยมี ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการรับมอบหนังสือดังกล่าว พร้อมทั้งมีผู้อำนวยการโรงเรียน สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมเป็นเกียรติเข้าร่วมงานทาง online ผ่านระบบ ZOOM ในวันอังคารที่ 19 มกราคม 2564 เวลา 09.30 น. – 11.00 น. ณ ห้องประชุมชั้น 30 ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่ (สีลม)

การประชุมสังเคราะห์งานในระยะที่ 1 และพัฒนางานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 2

เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร และคณะ ได้จัดการประชุมสังเคราะห์งานในระยะที่ 1 และพัฒนางานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 16 – 18 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อสรุปผลการดำเนินงานของกิจกรรมในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และวางแผนการดำเนินงานกิจกรรมในปีงบประมาณ 2564

OBEC Young Leaders for SDGs การอบรมปฏิบัติการครูแกนนำการใช้หลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดาวน์โหลดรายชื่อผู้เข้ารับการอบรมและรายละเอียดต่างๆ “ที่นี่”

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” (ระยะที่ 2)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กำหนดการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนของโรงเรียน ที่มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล/มัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนขนาดเล็ก (จิ๋วแต่แจ๋ว) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี โรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของคุณลักษณะภายใต้การยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2563  และระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2563  โดยในระยะที่ 2 จะมีลงพื้นที่ฯ จำนวน 3 จุด คือ

จุดที่ 1 ณ จังหวัดสงขลา นำทีมโดย ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

จุดที่ 2 ณ จังหวัดอุดรธานี นำทีมโดย ดร.วสันต์ สุทธาวาศ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ”

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และคณะทำงาน กำหนดการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนของโรงเรียน ที่มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล/มัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนขนาดเล็ก (จิ๋วแต่แจ๋ว) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี โรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของคุณลักษณะภายใต้การยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2563  และระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2563  โดยในระยะที่ 1 จะมีลงพื้นที่ฯ จำนวน 3 จุด คือ

จุดที่ 1 ณ จังหวัดเชียงรายและพะเยา นำทีมโดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

จุดที่ 2 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา นำทีมโดย ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

จุดที่ 3 ณ จังหวัดนครปฐมและราชบุรี  นำทีมโดย ดร.สมพร  สามทองกล่ำ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

การประชุมคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E๕)และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) ครั้งที่ 2

การประชุมคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E๕) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) ครั้งที่2 เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน มีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนการดำเนินงานและกิจกรรมที่จะดำเนินการโครงการคอนเน็กซ์อีดีในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยมีนายณัฐฏพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ในวันที่ 12 พฤศจิกายน 2563 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
โดยสาระการประชุมจะเป็นหารือเกี่ยวกับแนวทางการพัฒนาตาม 5 ยุทธศาสตร์ ภายใต้มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์ อีดีและพิจารณาข้อเสนอแนะจากภาคเอกชน ในการสนับสนุนการสร้าง Value Chain ในหลักสูตรฐานสมรรถนะ(Competency-based) จากกรณีการถอดบทเรียนจากโครงการ Connext ED และ Partnership School

การวิเคราะห์ความเชื่อมโยงของระบบฐานข้อมูลของ สพฐ. กับ ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2563 เวลา 09.00 น. ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
เป็นประธานในการประชุมการวิเคราะห์ความเชท่อมโยงของระบบฐานข้อมูลของ สพฐ. กับ ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ณ อาคาร สพฐ. 5 ห้องประชุม 2 ชั้น 10 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยการประชุมดังกล่าวจัดขึ้นวิเคราะห์วิเคราะห์ความเชื่อมโยงของระบบฐานข้อมูลของ สพฐ. กับ ระบบฐานข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่กองทุนเพื่อความเสมอภาคและโครงการ Connext ed (SMS) ในการบูรณาการข้อมูลเพื่อการดำเนินงานต่อในอนาคต