02_วนส.

LEARNINGOBEC

การอบรมผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ในวันที่ 17  พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม

ดร.อรนุช  มั่งมีสุขศิริ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานพิธีเปิด จัดอบรมการผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์ ให้ครูมีความรู้ สามารถ สร้างสื่อและประยุกต์ใช้สื่อในการจัดการสอนประวัติศาสตร์

การอบรมแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 2 เป็นครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษา ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์  จำนวน  35 คน จาก 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นครพนม นราธิวาส พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่บนธนบัตรไทย ได้แก่  สพม. เขต 1  สพม. เขต 2  สพม. เขต 3   สพม. เขต 9   สพม.เขต 10   สพม.เขต 15   สพม.เขต 22   เขตละ 4 โรงเรียน  จังหวัดที่สนใจ คือ  สพป.ลำปาง เขต 2  สพป.ขอนแก่น เขต 3  และ สพป.แพร่  เขต 1  และบุคลากรของส่วนกลาง ได้แก่ สำนักทดสอบทางการศึกษาและสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  รวมทั้งสิ้น  จำนวน 50 คน ซึ่งครูที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ไปใช้ และพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนด้วยสื่อภาพเสมือนจริงนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป

 

 

การอบรมผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ในวันที่ 16  พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม

ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการที่ปรึกษาที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในการมอบเกียรติบัตรและพิธีปิด จัดอบรมการผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์ ให้ครูมีความรู้ สามารถ สร้างสื่อและประยุกต์ใช้สื่อในการจัดการสอนประวัติศาสตร์

การอบรมแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 เป็นครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์  จำนวน  35 คน จาก 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นครพนม นราธิวาส พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่บนธนบัตรไทย ได้แก่ สพป.กทม.  สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2  สพป.นครปฐม เขต 1 และ เขต 2   สพป. เพชรบุรี เขต 1 และเขต 2  สพป.นครพนม เขต 1 และ เขต 2  สพป.นราธิวาส เขต 1  เขต 2  และเขต 3  และบุคลากรของส่วนกลาง ได้แก่ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  สำนักติดตามและประเมินผลการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รวมทั้งสิ้น  จำนวน 50 คน ซึ่งครูที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ไปใช้ และพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนด้วยสื่อภาพเสมือนจริงนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป

 

 

การประชุม “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ”

กองทุนเพื่อความเสมอภาคได้จัดการประชุม “ยกระดับคุณภาพโรงเรียน เพื่อลดความเหลื่อมล้ำ” ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ในวันที่ ๑๔ – ๑๕ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ณ ห้องประชุมแกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูมศูนย์การประชุมอิมแพ็คฟอรั่ม กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานตามกรอบแนวคิดของโครงการฯ และการนำระบบสารสนเทศ (lnfo) มาใช้เป็นคู่มือในการพัฒนาคุณภาพการจัดการศึกษาให้แก่โรงเรียนในเป้าหมายทั้งรุ่นที่ ๑ และ ๒

โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ พร้อมคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมดังกล่าว พร้อมทั้งร่วมให้ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับบทบาทของหน่วยงานต้นสังกัดในพื้นที่อีกด้วย

 

ติดตามข่าวสาร เพิ่มเติมได้ที่ -> https://web.facebook.com/LearningOBEC/

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางการต่อยอดนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ได้ดำเนินโครงการวิจัยและต่อยอดนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน

โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
๑) ขับเคลื่อนการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นการต่อยอดไปสู่การใช้ยกระดับผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนและคุณภาพการศึกษาได้จริง ต่อเนื่อง และเหมาะสมกับเป้าหมายของพื้นที่
๒) ยกระดับ บ่มเพาะ และเร่งรัดคุณภาพนวัตกรรมการเรียนการสอน สำหรับเป็นพื้นฐานที่เข้มแข็งในการรองรับเป้าหมายการพัฒนาของแต่ละพื้นที่ทั่วประเทศ
๓) เชื่อมโยงเครือข่ายการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนทั้งในประเทศและต่างประเทศ รองรับระบบนิเวศนวัตกรรมในพื้นที่เป้าหมายพิเศษ และความต้องการใช้นวัตกรรมการเรียนการสอนในพื้นที่ต่างๆ จึงกำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางต่อยอดนวัตกรรมการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน
ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๓ ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ โดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนเป็นประธานในพิธีเปิด

การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านนวัตกรรมการเรียนการสอน และพัฒนาแนวทางการต่อยอดนวัตกรรม การเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐานสู่การปฏิบัติจริงในพื้นที่ ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคีเครือข่าย คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน Face book  เพจ : https://www.facebook.com/LearningOBEC/

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคใต้ กลุ่ม ๑ พัทลุง

ในวันที่ ๒๘ – ๒๙ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคใต้ กลุ่มที่ ๑ จังหวัดพัทลุง (พัทลุง สงขลา) ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย

 

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคใต้ กลุ่มที่ ๑ พัทลุง เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา พร้อมภาคีเครือข่ายจาก บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริสงขลา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าหาดใหญ่ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าทะเลน้อย บุคลากรศูนย์ศิลปาชีพบ้านหัวป่าเขียวจังหวัดพัทลุง และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ (สพป.สงขลา เขต ๑ และ ๒ และ สพป.พัทลุง เขต ๑) โดยการประชุมสัมมนาฯมีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมถอดรหัสลับขยับกาย (Coding) กิจกรรม Nature Game กิจกรรมเรียนรู้หัตถกรรม ตามรอยแม่ กิจกรรม brainstoming workshop “ปั้นครูให้เป็นยูทูบเบอร์” กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ กิจกรรมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (๓ รัก) เป็นต้น

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติม “ค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร” ได้ที่  https://web.facebook.com/rakpongpraiobec/

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์

ในวันที่ ๒๗ – ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์ (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร) โดยได้รับเกียรติจาก รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต ๑ นายสุรวิทย์ ทับเหล็ก เป็นประธานในพิธีเปิด

ทั้งนี้ นางขนิษฐา จันทโชติ หัวหน้าศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้กล่าวถึงการจัดประชุมสัมมนาฯในครั้งนี้ว่า “การเกิดเครือข่ายขึ้นเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เป็นการเติมเต็มซึ่งกันและกัน นักวิจัยและนักวิชาการป่าไม้ เราทำงานกับต้นไม้ทำกับสิ่งที่เรารู้เราจึงเข้าใจในความสำคัญ แต่ในเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เรามีให้แก่เด็กๆเราจำเป็นต้องพึ่งครูแกนนำรักษ์พงไพรทุกๆคน”

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริประจวบคีรีขันธ์ บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี (สวนผึ้ง) บุคลากรจากสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร) โดยการประชุมสัมมนาฯมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๙ ฐาน ดังนี้ ๑.เรียนรู้ศาสตร์พระราชา ๒.พรรณพฤกษา กับ สัตวาภิธาน ๓.การจัดขยะเพื่อโลกสวย ๔.นานาสาระด้วยปุ๋ยหมัก ๖.เรียนรู้พรรณไม้ด้วยเทคโนโลยี ๗.การบัญชีและการสหกรณ์ ๘.ย้อนอดีตดอนยาง ๙.สร้างพลังรักษ์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น

ติดตามข่าวสารของ โครงการค่ายรักษ์พงไพร ได้ทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคใต้ กลุ่มที่ ๒ สุราษฎร์ธานี

ในวันที่ ๒๕ – ๒๖ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคใต้ กลุ่มที่ ๒ สุราษฎร์ธานี (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ภูเก็ต) จัดขึ้นโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร โดยการจัดสัมมนามีการดำเนินงานในรูปแบบของ Active Learning โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน และร่วมกันสร้างสรรค์เครือข่ายการต่อยอดขยายผลด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับโรงเรียนและชุมชนได้อย่างสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ ตามวิถีการเรียนรู้รูปแบบใหม่ (New Normal) ในระดับพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคใต้ กลุ่ม ๒ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาช่อง บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาพระแทว บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครศรีธรรมราช และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ โดยการประชุมสัมมนาฯมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๖ ฐาน ดังนี้ ๑.นักสื่อความหมายธรรมชาติ ๒.Coding ๓.ป่าไม้ ๔.คุณค่าทรัพยากรป่าไม้ ๕.ห่วงโซ่อาหาร ๖.สัตว์ป่า เป็นต้น

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 2 ตาก (แม่สอด)

ในวันที่ 24 – 25 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคเหนือ กลุ่มที่ 2 ตาก (แม่สอด) จัดขึ้นโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดตาก (เหมืองผาแดง) โดยการจัดสัมมนามีการดำเนินงานในรูปแบบของ Active Learning ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ ๒ จังหวัดตาก ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดตาก (แม่สอด) บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดแม่ฮ่องสอน บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด (ปางมะผ้า) และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ โดยการประชุมสัมมนาฯมีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมครูรักษ์พงไพร หัวใจยูทูบเบอร์ กิจกรรมนักสื่อความหมายรักษ์พงไพร และกิจกรรมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (3 รัก) เป็นต้น