02_วนส.

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning ที่ตอบสนองสมรรถนะตามบริบท “AL Hero : Learning Community”

 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning ที่ตอบสนองสมรรถนะตามบริบท “AL Hero : Learning Community” ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 17 มีนาคม – 20 มีนาคม 2565 ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ่ รัชดา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเชื่อมโยงและบูรณาการด้าน Active Learning ใน สพฐ. และสร้างนวัตกรรม Active Learning ที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะของผู้เรียน ด้วยการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่าย (AL Innovation) โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานในพิธีเปิดและได้มอบแนวทาง พร้อมสร้างขวัญกำลังใจให้กับคณะทำงานเพื่อพัฒนาต่อยอดงานโครงการต่อไป

 

 

ทั้งนี้ ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ได้กล่าวถึง “กิจกรรม 12 สัปดาห์ พัฒนานวัตกรรม Active Learning” ที่ได้ดำเนินการเมื่อปี 2564 ที่ผ่านมา นับเป็นกิจกรรมในรูปแบบออนไลน์ที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ ครูและบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จึงควรจัดให้มีกิจกรรมเช่นนี้อีก

 

 

อ.ณัฐชยา เม็นไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้กล่าวถึงการดำเนินงานในปี 2565 โดยเน้นการพัฒนาชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Learning Community) ให้เป็นพื้นที่แลกเปลี่ยนนวัตกรรม Active Learning ที่หลากหลาย ใน Concept : AL Topia

 

ติดตามต่อได้ที่เพจ : OBEC Active Learning

 

 

12 เดือน Webinar เปิดโลกนวัตกรรมการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต

 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้กำหนด จัดกิจกรรม 12 เดือน Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคตสู่ความเป็นพลเมืองที่เข้มแข็ง โดยมีจุดประสงค์เพื่อให้ครูได้สร้างแนวคิดปรับเปลี่ยนวิธีการสอน หรือประยุกต์ใช้นวัตกรรมจัดการเรียนการสอน ที่สามารถบูรณาการร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายบูรณาการ และสร้างแนวทางการสนับสนุนโรงเรียน สำหรับการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ตามบริบท เชื่อมต่อความรู้ของครูสู่ชุมชน รายละเอียดเพิ่มเติมคลิกที่นี่

พิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 – 21 มกราคม 2565

พิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 – 21 มกราคม 2565

 

 

วันที่ 20 มกราคม 2565 ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา จากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ในรุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 20 -21 มกราคม 2565 ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรผู้ทรงวุฒิหลายท่าน ได้แก่ ว่าที่ร้อยเอกพลปชา  มณรัตนชัย อาจารย์สุพัชชา  ทัพสัพ  คุณพิชิตศึก  จันทนากูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจน์ศิรินทร์  ลิมปินันทน์  คุณปรัชญา  มาตรสงคราม และดร.ก้องเกียรติ  หิรัญเกิด ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Cloud Meeting

 

 

 

พิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 17 – 18 มกราคม 2565

พิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 17 – 18 มกราคม 2565

 

วันที่ 17 มกราคม 2565 ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา จากบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง 2 หน่วยงาน คือ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ ทั้งนี้ในรุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 17 – 18 มกราคม 2565 ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านวิทยากรผู้ทรงวุฒิหลายท่าน ได้แก่ ว่าที่ร้อยเอกพลปชา  มณรัตนชัย อาจารย์สุพัชชา  ทัพสัพ  คุณพิชิตศึก  จันทนากูล ผู้ช่วยศาสตราจารย์พจน์ศิรินทร์  ลิมปินันทน์  คุณปรัชญา  มาตรสงคราม และดร.ก้องเกียรติ  หิรัญเกิด ผ่านระบบออนไลน์ Zoom Cloud Meeting

 

 

การอบรมการใช้งานสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) และสื่อวิดีทัศน์ การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา ระหว่างวันที่ 24 – 27 มกราคม 2565

การอบรมการใช้งานสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) และสื่อวิดีทัศน์การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา ระหว่างวันที่ 24 – 27 มกราคม 2565

(ภายใต้บันทึกข้อตกลงความร่วมมือการผลิตชุดสื่อโครงการพัฒนาสื่อวิดีทัศน์และเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) สำหรับจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ)

ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมการใช้งานสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) และสื่อวิดีทัศน์การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ สำหรับเด็กปฐมวัยและประถมศึกษา ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โปรแกรม Zoom Cloud Meeting มีระยะเวลาการอบรมตั้งแต่วันที่ 24 – 27 มกราคม 256 ทั้งนี้ท่านได้มอบแนวคิดสำหรับการนำสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) และสื่อวิดีทัศน์ไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน โดยการอบรมได้แบ่งเป็นภูมิภาค จำนวน 7 รุ่น ครอบคลุมกลุ่มเป้าหมายโรงเรียนคุณภาพในระดับประถมศึกษา จำนวน 302 โรงเรียน ทั่วประเทศ ดังนี้ 1) ภาคตะวันตก และภาคตะวันออก : รุ่นที่ 1 ในวันที่ 24 มกราคม 2565 รุ่นที่ 2 และ รุ่นที่ 3 ในวันที่ 25 มกราคม 2565 2) ภาคเหนือ และภาคใต้ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ในวันที่ 26 มกราคม 2565 และ 3) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ในวันที่ 27 มกราคม 2565

 

 

โดยการอบรมเน้นการประยุกต์ใช้สื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) ที่เหมาะกับการนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน ระดับปฐมวัย (อนุบาล 2 ถึง อนุบาล 3) และระดับประถมศึกษา (ป.1 ถึง ป.3) สำหรับสื่อวิดีทัศน์การจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์วิถีใหม่ ในระดับประถมศึกษา (ป.4 ถึง ป.6)

ผลงานจากอาจารย์ผู้เข้าร่วมอบรม

 

การประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนดำเนินงาน Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต

การประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนดำเนินงาน Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต ผ่านระบบออนไลน์

 

 

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา และ ดร.เกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้เกียรติเป็นประธานการประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนดำเนินงาน Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต ในวันที่ 17 ธันวาคม 2564 เวลา 8.30 น. ผ่านระบบออนไลน์ทั้งช่วงเช้าและช่วงบ่ายนั้น ทั้งนี้ รองเลขาธิการ กพฐ. ได้ให้ข้อคิดและเล็งเห็นความสำคัญของการเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ โดยการนำสื่อเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการจัดการเรียนรู้ให้กับนักเรียน ผ่านการอบรมเป็นเวลา 12 เดือนด้วย Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต พร้อมทั้งได้ขอบคุณคณะทำงานและผู้เข้าร่วมประชุมในวันนี้

ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้รายงานถึงจุดประสงค์ในการประชุมวันนี้ว่า เพื่อสร้างความเข้าใจในแนวทางการขับเคลื่อนการดำเนินงาน Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการดำเนินงาน โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุม จำนวน 186 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ และครู ที่มีความเกี่ยวข้องในการจัดการเรียนการสอนด้านประวัติศาสตร์

 

 

นอกจากนั้น ได้มีหน่วยงานเครือข่ายภายนอก เป็นวิทยากรให้ความรู้ในการดำเนินงานกิจกรรมข้างต้นด้วยกัน 5 หน่วยงาน ได้แก่ ไมโครซอฟท์ (ประเทศไทย) พิพิธภัณฑ์การเรียนรู้มิวเซียมสยาม โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ ซึ่งจะเป็นพลังในการขับเคลื่อนการดำเนินงานให้ประสบความสำเร็จและเกิดประโยชน์สูงสุดกับนักเรียน ในด้านการสนับสนุนแหล่งเรียนรู้ ด้านนวัตกรรมการเรียนการสอน ด้านวิทยากรที่มีความสามารถ จึงนับได้ว่านี่เป็นจุดเริ่มต้นและพลังในการก้าวต่อไปของวิทยากรแกนนำอบรม 12 เดือน Webinar การเรียนรู้ประวัติศาสตร์วิถีใหม่ วิถีอนาคต

 

12 สัปดาห์ พัฒนานวัตกรรม Active Learning

สพฐ. เดินหน้ากิจกรรม 12 สัปดาห์ “ AL วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ” เรียนรู้วิถีใหม่ เต็มใจพัฒนา อาสาเปลี่ยนแปลง
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดกิจกรรม “12 สัปดาห์ พัฒนานวัตกรรม Active Learning “ AL วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ” โดยมีเป้าหมายในการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เป็นการศึกษาขั้นพื้นฐานวิถีใหม่ วิถีคุณภาพ ส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม มุ่งเน้นพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 มีสมรรถนะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์พร้อมทั้งสามารถเลือกพัฒนาตนเองได้ตามศักยภาพและความสนใจ เกิดการเรียนรู้เพื่อการอยู่รอด อยู่ร่วมอย่างปลอดภัยและมีความสุข ขับเคลื่อนโดยใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning ที่สอดคล้องกับความต้องการและบริบทพื้นที่เป็นฐาน รวมถึงการมีส่วนร่วมจากภาคีเครือข่ายและผู้เกี่ยวข้อง สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้ดำเนินโครงการยกระดับคุณภาพการศึกษาบนฐานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่ตอบสนองเป้าหมายตามบริบท “AL วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ”
ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. เปิดเผยว่า “วัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมโอกาสทางการศึกษาที่มีคุณภาพอย่างเท่าเทียม มุ่งเน้นพัฒนาและส่งเสริมผู้เรียนให้มีทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ด้วยการส่งเสริมให้โรงเรียนสามารถพัฒนาและใช้นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Active Learning เป็นฐานในการพัฒนาผู้เรียนได้อย่างสอดคล้องกับความต้องการและบริบทพื้นที่ โดยกำหนดการดำเนินกิจกรรมสำคัญในการขับเคลื่อนในลักษณะ “12 สัปดาห์ พัฒนานวัตกรรม Active Learning” มีเป้าหมายในการส่งเสริมและร่วมพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ของโรงเรียนกลุ่มเป้าหมายจำนวน 349 โรงเรียน นอกจากนั้นยังเป็นการพลิกโฉม (Transform) โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายให้สามารถสร้างสรรค์นวัตกรรมและจัดการเรียนรู้ได้อย่างเป็นระบบและมีคุณภาพ ตามความต้องการและเหมาะสมกับบริบท โดยจัดกิจกรรมพัฒนาการจัดการเรียนรู้ Active Learning ในรูปแบบออนไลน์ ร่วมพัฒนาระหว่าง สพฐ. สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน และผู้เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ โดยในวันเปิดตัวโครงการ มีสวนสนุกแห่งการเรียนรู้สำหรับผู้ที่สนใจเข้าไปศึกษาเรียนรู้ 5 ห้องด้วยกัน ประกอบด้วย ห้องที่หนึ่ง “ครูขอบอก” ห้องที่สอง “Tips Tricks Tools ห้องที่ 3 “ปั้นครูเป็น Youtuber” ห้องที่สี่ “Fab Lab นวัตกรน้อย” และห้องที่ห้า “ห้องเรียนเชิงบวก” รวมถึงต่อเนื่องแบบเข้มข้นกับกิจกรรมต่างๆอีก 12 สัปดาห์ ในการสร้างชุมชนนักปฏิบัติ Active Learning รูปแบบพื้นที่แลกเปลี่ยนเรียนรู้ออนไลน์ เพื่อให้เกิดความยั่งยืนในการพัฒนาคุณภาพการศึกษาในโอกาสต่อไป”

ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน ร่วมกับ สถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และได้จัดทำ QR – CODE คู่มือการใช้สื่อ AR คู่มือการอบรมสร้างสื่อ AR คลิปการใช้AR Application และคลิปการสร้างสื่อ AR

ในการนี้ เพื่อสร้างการรับรู้และขยายผลของการใช้สื่อเสมือนจริง (AR) ให้กับครูเพื่อนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้ทั่วประเทศ จึงเห็นควรประชาสัมพันธ์และเผยแพรให้กับครูผู้สอนประวัติศาสตร์ หรือครูสาระการเรียนรู้อื่นๆ จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสนับสนุน ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์แจ้งโรงเรียนให้มีการใช้ AR Appication และคู่มือตามสิ่งที่ส่งมาด้วย พร้อมทั้งรายงานผลการนำสื่อไปใช้ผ่านทาง e-mail : learning.obec@gmail.com ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564

ตอนที่ 1 QR – CODE เกี่ยวกับสื่อ AR

1. คู่มือการใช้สื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง

2. คู่มืออบรมสร้างเทคโนโลยีเสมือนจริง

3. วิดีโอสอนสร้างสื่อ

4. วิดีโอการใช้ Application

ตอนที่ 2 QR – CODE เกี่ยวกับสื่อ AR

แบบรายงานสภาพฯ ฉบับโรงเรียน

แบบรายงานสภาพฯ ฉบับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

แบบรายงานการใช้ฯ ฉบับโรงเรียน

แบบรายงานการใช้ฯ ฉบับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ร่วมเป็นเกียรติร่วมแจกเหรียญรางวัลสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ แคนาดา CMO (Canadian Mathematical Olympiad)

วันที่ 8 เมษายน 2564 เวลา 10.30 น. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา เข้าร่วมเป็นเกียรติร่วมแจกเหรียญรางวัลสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ แคนาดา CMO (Canadian Mathematical Olympiad) สำหรับนักเรียนในสนามสอบประเทศไทย จำนวน 43 คน ร่วมกับ ดร.ซาราห์ เทย์เลอร์ เอกอัครราชทูตแคนาดา ประจำประเทศไทย และนายพีรพล ไตรทศาวิทย์ นายกสมาคมนักเรียนเก่าแคนาดา ณ ห้องอับดุลราฮิม สมาคม ไว ดับยู ซีเอ กรุงเทพมหานคร