02_วนส.

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จับมือ สพฐ. ดำเนินโครงการสร้างสรรค์ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในฝัน สร้างสรรค์ออกแบบและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในฝัน เพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อเยาวชน

ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. จับมือ สพฐ. ดำเนินโครงการสร้างสรรค์ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในฝัน สร้างสรรค์ออกแบบและพัฒนาแหล่งเรียนรู้ในฝัน เพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อเยาวชน

เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2567 นางสาวรัตนา แสงบัวเผื่อน ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. คณะผู้บริหาร กฟผ. พร้อมทั้งเครือข่ายแหล่งเรียนรู้ ได้แก่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าพระนครเหนือ และบริษัท ป่าใหญ่ ครีเอชั่น จำกัด ร่วมเสวนาในหัวข้อ “Spark your dream จุดประกายสร้างฝัน เติมพลังการเรียนรู้” ณ โรงแรมเบลล่า บี กรุงเทพมหานคร ในโครงการสร้างสรรค์ พัฒนาแหล่งเรียนรู้ในฝัน ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. มีจุดประสงค์เพื่อเปิดโลกทัศน์ จุดประกาย สร้างแรงบันดาลใจให้กับครูและนักเรียนในการเข้าถึงแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานไฟฟ้าและสิ่งแวดล้อมที่ทันสมัย ต่อยอดสู่การพัฒนาการพัฒนากระบวนการคิดและวางแผนการเรียนการสอนของครูโดยใช้แหล่งเรียนรู้ ประสานงานร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายด้านการศึกษา สร้างสรรค์ออกแบบและพัฒนาแหล่งเรียนรู้สู่อาชีพในฝัน เพิ่มประสบการณ์การเรียนรู้นอกห้องเรียนเพื่อเยาวชน พร้อมจุดประกายสร้างแรงบันดาลใจแก่เยาวชน ในการค้นหาตนเองผ่านการเรียนรู้
นอกห้องเรียน (Active Learning) โดยนำผู้แทนจากคณะครูและนักเรียน ในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น (ม.1-3) จากโครงการห้องเรียนสีเขียว และโรงเรียนโดยรอบศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. 8 แห่งทั่วประเทศ เข้าร่วมกิจกรรมและออกแบบแหล่งเรียนรู้ที่มีความหมาย เหมาะกับบริบทชุมชนและตอบโจทย์การค้นหาอาชีพ และสร้างเด็กที่มีคุณภาพของสังคมในอนาคต

29062567 Egat Spark Your Dream 93

29062567 Egat Spark Your Dream 124

29062567 Egat Spark Your Dream 116

29062567 Egat Spark Your Dream 112

29062567 Egat Spark Your Dream 99

29062567 Egat Spark Your Dream 102

696126

696125

696124

696127

ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบ (Prototype) นวัตกรรมนิเวศการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง

สพฐ.ประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบ (Prototype) นวัตกรรมนิเวศการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง

เมื่อวันที่ 3 เมษายน 2567 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานเปิดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบ (Prototype) นวัตกรรมนิเวศการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง พร้อมมอบแนวทางการปฏิบัติงานเพื่อพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ในระดับพื้นที่ทั้งระบบ ภายใต้จุดเน้นเชิงนโยบายของ สพฐ. รวมถึงเน้นย้ำให้เกิดผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของยุคสมัย เพื่อนำไปขับเคลื่อนงานเชิงนโยบายให้ประสบผลสำเร็จ นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้ทรงคุณวุฒิกระทรวงศึกษาธิการ เป็นที่ปรึกษาโครงการฯ ในครั้งนี้ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุม เป็นผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร และคณะทำงานบุคลากรของ สพฐ. ทั้งหมด 55 คน  ณ โรงแรมปริ๊นส์ตั้น กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สู่ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน มุ่งพัฒนากลไกเชิงระบบที่เสริมสร้างให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้เกี่ยวข้อง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา สามารถพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และเป็นนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer) เพื่อสร้างห้องเรียนประสิทธิภาพสูง (High Functioning Classroom) และการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Learning) ที่ส่งเสริมศักยภาพและสมรรถนะผู้เรียนได้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจ สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้ เหมาะสมกับสภาพบริบทสถานศึกษา เพื่อพัฒนานวัตกรรมและขับเคลื่อนจุดเน้นการปรับกระบวนการจัดการเรียนรู้ ให้มีคุณภาพ ทันสมัย และหลากหลายได้อย่างเป็นระบบ เกิดผลลัพธ์ที่มีคุณค่าได้อย่างเป็นรูปธรรม จึงได้ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต้นแบบ (Prototype) นวัตกรรมนิเวศการเรียนรู้ ที่เสริมสร้างครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง ในครั้งนี้ ระหว่างวันที่ 3 – 6 เมษายน 2567

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายผู้นำนิเวศการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายผู้นำนิเวศการเรียนรู้สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สู่ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน มุ่งพัฒนากลไกเชิงระบบที่เสริมสร้างให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ และผู้เกี่ยวข้อง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงคุณภาพการศึกษา สามารถพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้และเป็นนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer) เพื่อสร้างห้องเรียนประสิทธิภาพสูง (High Functioning Classroom) และการเรียนรู้อย่างมีความสุข (Happy Learning) ที่ส่งเสริมศักยภาพและสมรรถนะผู้เรียนได้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจ สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้ เหมาะสมกับสภาพบริบทสถานศึกษา

โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุญยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้มอบหมายให้ ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนัก

พัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สพฐ. เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมและมอบแนวทางการดำเนินงาน นอกจากนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้ทรงคุณวุฒิและที่ปรึกษาของโครงการ ได้บรรยายพิเศษถึงการสร้างนิเวศการเรียนรู้และมอบแนวทางในการดำเนินงานโครงการในปี 2567

เป้าหมายของการประชุมครั้งนี้เพื่อพัฒนาศักยภาพการเป็นผู้นำ (Master) ด้านการเสริมสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง รวมถึงพัฒนาเครือข่ายผู้นำนิเวศการเรียนรู้ สู่ห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูง เพื่อการต่อยอดขยายผลแบบร่วมมือรวมพลังในระดับพื้นที่ การสร้างระบบพี่เลี้ยงที่เข้มแข็งเพื่อขับเคลื่อนงานในระดับพื้นที่ได้อย่างต่อเนื่องการสร้างห้องเรียนแห่งความสุขประสิทธิภาพสูงต้นแบบ และการสร้างวัฒนธรรมการทำงานร่วมกันเชิงนิเวศการเรียนรู้โดยมีกระบวนการพัฒนาต่อเนื่อง คือ การฝึกปฏิบัติแบบเข้มข้น (Intensive Workshop) การฝึกปฏิบัติไปพร้อมการทำงานจริงในพื้นที่ (On the Job Training) และการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง (Collaborative Learning) ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community) ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา และคณะทำงาน รวม 60 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 18 – 21 มกราคม 2567 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ : ดร.อาร์ม วสันต์ สุทธาวาศ และคณะ
ผู้เขียนข่าว : อ.ธีมาพร แก่นคำ

ติดตามข่าวเพิ่มเติมได้ที่เพจ : OBEC Learning Design 

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Mentor of Learning Designer Program)

สพฐ. จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Mentor of Learning Designer Program) ระหว่างวันที่ 4 – 9 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมมิโด กรุงเทพมหานคร เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนานวัตกรรมชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) มุ่งสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้ (Learning Ecosystem) โดยใช้ระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) จากระดับพื้นที่เป็นฐานการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ให้สามารถขับเคลื่อนนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ สร้างโอกาสและความเสมอภาคทางการเรียนรู้ได้ตามบริบท

ซึ่งกิจกรรมหลัก มีดังนี้

1) การพัฒนาศักยภาพการเป็นพี่เลี้ยง (Mentor) ของผู้เกี่ยวข้อง เพื่อส่งเสริมการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้
::: ลักษณะกิจกรรม :::
ผู้เข้าอบรม จำนวน 38 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ และผู้อำนวยการโรงเรียนของครู TLD (Teacher as a Learning Designer Bootcamp)
เข้าร่วม Workshop กับวิทยากรมากความสามารถ อาทิ เช่น
– ผศ.นพ.พนม  เกตุมาน –> กับหัวข้อ “ทักษะพี่เลี้ยงกับการสร้าง Meaningful Classroom”
– อ.ศศรส  โกวิทพานิชกุล  –> “Growth Mindset กับพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้”
– อ.ดร.ณฐิณี  เจียรกุล –> “Classroom Management and Facilitator”
– อ.ศราวุธ  จอมนำ –> “ทักษะพี่เลี้ยงกับการออกแบบนิเวศการเรียนรู้”
– อ.ศิริวรรณ  บุญอนันต์ –> “ทักษะพี่เลี้ยงกับ Authentic Learning and Assessments”
และทีมกระบวนกร จาก สพฐ. นำโดย
– ดร.สมพร สามทองกล่ำ (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
– อ.พรพิมล ทักษะวรบุตร (ผู้ทรงคุณวุฒิ)
– อ.วงเดือน สุวรรณศิริ (รองผู้อำนวยการสำนักงานบริหารพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา)
– ดร.วสันต์ สุทธาวาศ (รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน)
– ผอ.สุรวุฒิ เอี่ยวสกุล (ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดสุวรรณคีรีวงก์ สพป.ภูเก็ต)
– อ.อังคาร อยู่ลือ (ศึกษานิเทศก์ สพป.เชียงราย เขต 3) และ
– อ.ธีรดา อุดมทรัพย์ (ครู โรงเรียนบ้านนาขนวน สพป.ศรีสะเกษ เขต 4)
2) การพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ เพื่อการต่อยอดขยายผลแบบมีส่วนร่วมในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ
3) การถอดบทเรียน ยกร่างวิจัย และจัดทำแนวทางพัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้
4) การทดลองนำร่องระบบพี่เลี้ยงเพื่อขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้
5) การพัฒนาแพลตฟอร์ม LC (Learning Community Platform)

ทั้งนี้  การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาเครือข่ายพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Mentor of Learning Designer Program) ได้รับเกียรติจาก ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล) เป็นประธานในพิธีเปิด และบรรยายพิเศษในหัวข้อ “ความสำคัญของชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้และพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้” นอกจากนี้ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง (ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน) เดินทางมาพบปะผู้เข้าร่วมอบรม MLD และให้กำลังใจคณะทำงานที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจในการดำเนินงานมาอย่างต่อเนื่อง

ทางด้าน ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. และเป็นที่ปรึกษาในโครงการนี้ ได้พบปะ พูดคุยกับพี่เลี้ยงนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (MLD) พร้อมมอบแนวทางในการดำเนินงานในระดับพื้นที่ร่วมกับครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (TLD) ให้เกิดผลสำเร็จ บรรลุวัตถุประสงค์ที่ร่วมกันตั้งไว้


ผู้รับผิดชอบโครงการฯ : ดร.อาร์ม วสันต์ สุทธาวาศ และคณะ
ผู้เขียนข่าว : อ.ธีมาพร แก่นคำ

ติดตามภาพเพิ่มเติมได้ที่เพจ : OBEC Learning Design 

การประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์นวัตกรรมการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Teacher as a Learning Designer) และชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์นวัตกรรมการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Teacher as a Learning Designer) และชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ ระหว่างวันที่ ๑๕ – ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ กรุงเทพมหานคร

โดยได้รับเกียรติจาก ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ. และรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการสังเคราะห์นวัตกรรมการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Teacher as a Learning Designer) และชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้

ซึ่งการประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ

๑) ถอดบทเรียนการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ (Learning Designer Bootcamp)

๒) สังเคราะห์รูปแบบการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Teacher as a Learning Designer) และชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้

๓) ยกร่างกระบวนการพัฒนาระบบพี่เลี้ยง (Mentoring System) เพื่อส่งเสริมการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ และชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้

และในวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๖๖ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง ได้รับฟังบรรยายพิเศษจากศาตราจารย์ ดร.อุทัย ดุลยเกษม ในหัวข้อ “การพัฒนาชุมชนนวัตการเรียนรู้ ด้วยฐานการวิจัยเชิงปฏิบัติการ” ซึ่งเป็นการบรรยายที่ทรงพลังและมีความหมายแก่คณะทำงานเป็นอย่างมาก นอกจากนี้ คณะทำงานยังได้รับความอนุเคราะห์จากผู้ทรงคุณวุฒิมากความสามารถเข้าร่วมการประชุม อาทิ เช่น ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิจัยทางการศึกษา สพฐ. และ อ.พรพิมล ทักษะวรบุตร อดีตศึกษานิเทศก์ ให้ข้อเสนอแนะในการดำเนินงานโครงการให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ : ดร.อาร์ม วสันต์ สุทธาวาศ และคณะ
ผู้เขียนข่าว : อ.ธีมาพร แก่นคำ
ติดตามภาพเพิ่มเติมได้ที่เพจ : OBEC Learning Community

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน อย่างสร้างสรรค์ (Learning Designer Bootcamp)

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียน

อย่างสร้างสรรค์ (Learning Designer Bootcamp)

ระหว่างวันที่ ๒๖ เมษายน – ๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรม ซัมเมอร์ ทรี กรุงเทพมหานคร

ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ครูในโครงการโรงเรียนคุณภาพและครูแกนนำในโครงการฯ ที่ได้รับการคัดเลือก
เข้าอบรมใน Bootcamp จำนวน ๖๐ คน รวมถึงผู้ทรงคุณวุฒิ วิทยากร และคณะทำงาน รวมทั้งสิ้น ๑๒๐ คน

วัตถุประสงค์

๑) พัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer)

๒) พัฒนาแนวทางการต่อยอดขยายผลในโรงเรียนอย่างต่อเนื่องและเป็นระบบ

๓) ถอดบทเรียนยกร่างวิจัย และจัดทำแนวทางพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) และ

๔) ทดลองนำร่องระบบและกลไกขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Innovative Learning Community)

เมื่อวันที่ ๒๖ เมษายน ๒๕๖๖ ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้รับมอบหมายจาก ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ (Learning Designer Bootcamp) และได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. พบปะ พูดคุยกับเหล่า Camper ครูแกนนำนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Teacher as a Learning Designer) รวมถึงให้ข้อเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานโครงการให้มีประสิทธิภาพตอบโจทย์การพัฒนาการศึกษาอย่างยั่งยืน

“Learning Designer Bootcamp”

สพฐ. จัดอบรมครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ด้วยหลักสูตรเข้มตลอด ๖ วัน จากวิทยากรมากความสามารถ อาทิ เช่น อ.ศศรส โกวิทพานิชกุล อ.ยงยศ โครตภูธร ผศ.ดร.ปกรณ์ สุปินานนท์ อ.ณฐิณี เจียรกุล รศ.ดร.สิทธิชัย วิชัยดิษฐ  และคณะวิทยากรจาก สพฐ. เพื่อสะท้อนสมรรถนะ ๕ ด้านของครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ ได้แก่ Classroom Management, Facilitating & Coaching, Adaptability, Assessment and Change Making และมีเป้าหมายในการขยายผลต่อในระดับพื้นที่ ด้วยการให้ครูแกนนำกลุ่มนี้ไปปฏิบัติงานในห้องเรียน โดยมีโค้ชและพี่เลี้ยง มาสะท้อนผล ๑ ภาคเรียน พร้อมทั้งแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ : ดร.อาร์ม วสันต์ สุทธาวาศ และคณะ
ผู้เขียนข่าว : อ.ธีมาพร แก่นคำ

ติดตามภาพเพิ่มเติมได้ที่เพจ : OBEC Learning Design 

เปิดค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2566

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.จรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เป็นประธานในพิธีเปิดค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2566 โดยมี ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน รวมถึงผู้บริหารภาคีเครือข่าย 13 องค์กร ผู้บริหารสถานศึกษาและนักเรียนสังกัด สพฐ. ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จำนวนกว่า 100 คน เข้าร่วมในพิธี ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

สำหรับ กำหนดการจัดค่ายในปี 2566 ของทั้ง 32 ศูนย์ จะจัดระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ – กรกฎาคม 2566 ศูนย์ละ 2 รุ่น ซึ่งค่ายแรกประจำปี 2566 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 24 – 26 กุมภาพันธ์ 2566 ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ แห่งนี้ โดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร เป็นผู้รับผิดชอบ ร่วมกับมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พร้อมทั้งคณะวิทยากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช พร้อมด้วยวิทยากรภาคีเครือข่ายส่วนกลาง มีนักเรียนเข้าร่วม 2 ค่าย จำนวน 120 คน และครูวิทยากรแกนนำ 30 คน เป้าหมายการจัดค่ายในปีนี้ จะมีนักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ 4 และ 5 ได้รับการพัฒนามากกว่า 3,840 คน ครู 960 คน และโรงเรียนนำกิจกรรมไปต่อยอดพัฒนา มากกว่า 384 โรงเรียน

นอกจากนี้ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนและบูรณาการโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๒๒ – ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคีเครือข่าย ผู้รับผิดชอบโครงการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณะทำงานของ สพฐ. และผู้เกี่ยวข้อง โดยได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. และผู้จัดการมูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหาจักรี พร้อมทั้ง ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มาพบปะผู้เข้าร่วมประชุมและมอบแนวทางการขับเคลื่อนโครงการค่ายฯ ประจำปี ๒๕๖๖ ซึ่งการประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้รักษ์พงไพรแบบบูรณาการ ๑๓ ภาคี ๒) ถอดบทเรียนและร่วมกันยกระดับแนวทางต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนสู่ความยั่งยืน และ ๓) เสริมสร้างเอกภาพและคุณภาพในการดำเนินงานร่วมกัน

   

รับชมภาพเพิ่มเติมได้ที่เพจ : รักษ์พงไพร 

ผู้รับผิดชอบโครงการฯ : ดร.อาร์ม วสันต์ สุทธาวาศ
ผู้เขียนข่าว : อ.ธีมาพร แก่นคำ

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม – ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ร่วมกับภาคีเครือข่าย สู่ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน มุ่งเน้นการเสริมสร้างให้ครูและผู้เกี่ยวข้อง สามารถออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมศักยภาพและสมรรถนะผู้เรียนได้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจ สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้และเหมาะสมกับสภาพบริบทสถานศึกษา รวมถึงได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เห็นคุณค่าในการเรียนรู้ และมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ โดยมีกลไกสำคัญในการสร้างความยั่งยืน คือ การสร้างชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) ที่เอื้ออำนวยให้ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ บนฐานการสร้างสรรค์นวัตกรรมและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) ที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน ภายใต้ระบบนิเวศทางการเรียนยุคใหม่ที่มีวิธีการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ที่หลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนรายบุคคล (Personalized Learning) ก้าวสู่การเป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ในมิติการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ รวมถึงสร้างพลังแห่งการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างมีพลวัตจากภายในชุมชนผู้ปฏิบัติเอง โดยมีวิสัยทัศน์ เจตนารมณ์ ความสุข เป้าหมายและภารกิจร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นประสิทธิผลและคุณค่าในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม – ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิด โดยได้เน้นย้ำถึงรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและบริบทของพื้นที่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งให้แนวทางและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะทำงานในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญในการดำเนินการขับเคลื่อนงานในภาพรวมของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดศึกษา และให้ข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางการสร้างและพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) ที่เน้นประโยชน์อันจะเกิดแก่ตัวเด็กเป็นสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ของการประชุมฯ มีดังนี้

๑. ขึ้นรูปการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

๒. จัดทำแนวทางการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer)

๓. พัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community)
ที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน

๔. ยกร่างคู่มือการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design)
สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

ติดตามต่อได้ที่ เพจ Learning OBEC

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมและระบบนิเวศการเรียนรู้ บนฐานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Learning Community

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมและระบบนิเวศการเรียนรู้ บนฐานนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ Learning Community ระหว่างวันที่ ๑๐ – ๑๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ

๑) พัฒนาระบบสารสนเทศแบบ Real Time และพื้นที่แลกเปลี่ยนแบ่งปันนวัตกรรม
การจัดการเรียนรู้ในรูปแบบออนไลน์

๒) พัฒนาระบบนิเวศการเรียนรู้และกลไกการต่อยอดขยายผลชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ Learning Community สู่การสร้างสรรค์นวัตกรรมที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน

๓) สร้างเครื่องมือในการสื่อสารเนื้อหาวิชาการ (Content) ด้านนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ในรูปแบบที่น่าสนใจและทันสมัยทางสื่อสังคมออนไลน์

๔) ออกแบบงานสัมมนาวิชาการด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้
ในศตวรรษที่ ๒๑ เชิงสร้างสรรค์ ทันสมัย และมีคุณค่า

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.อนันต์  พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมฯ และบรรยายพิเศษในหัวข้อ “การขับเคลื่อนนวัตกรรมการเรียนรู้ที่ตอบสนองบริบทเชิงพื้นที่ ภายใต้จุดเน้น สพฐ.” โดยได้กล่าวถึงประเด็นการจัดการเรียนรู้ให้ประสบผลสำเร็จว่า ครูคือบุคคลสำคัญในการขับเคลื่อนการศึกษา สพฐ. เล็งเห็นว่าการสร้างชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้สำหรับครู เป็นการสร้างพื้นที่ให้ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้รวมถึงแสดงศักยภาพ ครูได้นำสิ่งที่ได้จากประสบการณ์มาร่วมแบ่งปันซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่ดี  และเมื่อกล่าวถึงเรื่องนวัตกรรมการศึกษา ดร.อนันต์ พันนึก ได้ยกแนวคิดของ ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้เน้นย้ำถึงการพัฒนาการศึกษาโดยใช้พื้นที่เป็นฐาน และใช้นวัตกรรมในการขับเคลื่อนเชิงบริบทของพื้นที่ สพฐ. ไม่สามารถที่จะสร้างนวัตกรรมเพื่อตอบสนองทุกความแตกต่างของพื้นที่ได้ ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกภาคส่วน นวัตกรรมที่จะนำมาใช้ในการพัฒนาและขับเคลื่อนจึงต้องมาจากวิธีการที่แตกต่างกันและเหมาะสมตามบริบทพื้นที่นั้น ดังนั้น สพฐ. จึงดำเนินโครงการนี้ เพื่อเป็นเวทีให้คนเก่งที่มาจากบริบทที่ต่างกัน ได้มา Learn Care Share Shine เพื่อดึงครูที่มีศักยภาพมาขายความคิด และให้เพื่อนครูได้เสริมเติมต่อสิ่งดีๆ จากรุ่นสู่รุ่นต่อไป

FACEBOOK : OBEC Active Learning
FACEBOOK : Learning OBEC

สพฐ. เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565

สพฐ. เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ในวันที่ 25 พฤษภาคม 2565

 

วันที่ 25 พฤษภาคม 2565 ณ สวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ จตุจักร กรุงเทพมหานคร ว่าที่ร้อยตรี ดร.ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการ กพฐ. เข้าร่วมพิธีเปิดค่ายแรก โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2565 และกล่าวรายงานแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ต่อ นายจรัลธาดา กรรณสูต องคมนตรี ประธานกรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ ประธานในพิธีเปิดถึงภาพความสำเร็จและแนวทางในระยะต่อไปในการดำเนินงานโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ ที่ได้ริเริ่มตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ภายใต้ความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

 

หลังจากพิธีเปิดเสร็จสิ้น ในช่วงบ่ายเป็นกิจกรรมค่ายที่ภาคีเครือข่ายรับผิดชอบกิจกรรมในแต่ละฐาน โดยมีคณะครูและนักเรียนจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานครเข้าร่วมกิจกรรม ซึ่งกิจกรรมค่ายได้นำกระบวนการจัดการเรียนรู้ Active Learning มาบูรณาการในทุกกระบวนการเพื่อให้ครูและผู้เกี่ยวข้องได้เรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงจากแหล่งศึกษาธรรมชาติจริงในพื้นที่ และสามารถนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง โดยโครงการค่ายฯในระดับเขตพื้นที่จะมีขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม 2565

 

 

ติดตามข่าวสารได้ที่เพจ : รักษ์พงไพร

 

ทีม “AL Hero” เข้าร่วมการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022

การแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 การหานวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้
(Learning Loss)

 

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน
นำทัพทีม AL Hero เข้าร่วมการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022 เพื่อเฟ้นหา สร้างสรรค์ นวัตกรรม
เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2565
ณ โรงแรมรอยัล ริเวอร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร ซึ่งงานครั้งนี้จัดขึ้นโดยสำนักเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน
เรียกได้ว่าเป็นการจัดแข่งขันในรูปแบบใหม่ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้เข้าร่วมงานเป็นอย่างยิ่ง

 

 

ในวันแรกของการแข่งขัน MOE Mini Hackathon 2022
ได้รับเกียรติจาก ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการแข่งขัน
ซึ่งได้กล่าวถึงที่มาและความสำคัญของการจัดแข่งขันครั้งนี้ว่า
“นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มีความห่วงใยนักเรียน
ที่เกิดปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้หรือ Learning Loss
จากการเรียนออนไลน์ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 จึงมีนโยบายให้กระทรวงศึกษาธิการ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จับมือกับเครือข่ายครูรุ่นใหม่
และภาคเอกชนที่ให้ความ สำคัญเรื่องการศึกษา รวมถึงสตาร์ทอัพด้านการศึกษา (EdTech)
เพื่อเฟ้นหาหรือสร้างสรรค์นวัตกรรมเพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss
ที่สามารถนำไปขยายผลการทำงานร่วมกันในอนาคต”
โดยการใช้วิธีการ Hackathon ที่เป็นการสร้างนวัตกรรมแบบเร่งด่วน
ที่จะทำให้ได้คำตอบของปัญหาอย่างรวดเร็ว
นั่นคือ วิธีการแก้ปัญหาและการนำวิธีการแก้ปัญหาไปขยายผลสู่ความสำเร็จต่อไป

 

 

นอกจากนี้ผู้เข้าแข่งขันทุกคนจะได้รู้จักและเข้าใจปัญหา Learning Loss โดยใช้กระบวนการ Brainstorm เพื่อระดมความคิด การคิดอย่างสร้างสรรค์ ฝึกฝนการนำเสนอผลงาน  และการได้รับฟังไอเดียจากทีม Show case ทั้ง 12 ทีม รวมไปถึงได้รับชี้แนะจาก Mentor ที่มีความรู้ในด้านต่างๆ เพื่อนำไปประยุกต์ใช้กับการสร้างสรรค์นวัตกรรมของกลุ่มตนเองได้ และในการแข่งขัน Mini Hackathon 2022 มีผู้เข้าแข่งขันทั้งหมด 9 ทีม แบ่งย่อยเป็นประเด็นที่จะมาร่วมกัน Hack ดังนี้

  1. Family Engagement Track
  2. Knowledge Track
  3. Social-Emotional/Well Being Track

 

 

เมื่อเข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการแข่งขัน ผู้เข้าแข่งขันทั้ง 9 ทีม
ได้ใช้เทคนิคการ Pitching ในการนำเสนอนวัตกรรมของตนเอง
หลังจากการ Pitching จบลง คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิได้ซักถามผู้เข้าแข่งขันแต่ละทีม
พร้อมให้ข้อเสนอแนะในการต่อยอดไอเดียเพื่อสร้างนวัตกรรมให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

 

 

ทั้งนี้ นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ
ร่วมเป็นคณะกรรมการตัดสินและเป็นผู้มอบเงินรางวัลให้ทีมชนะเลิศ
รวมถึงกล่าวปิดการแข่งขัน “MOE Mini Hackathon 2022
การหานวัตกรรมสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหาภาวะถดถอยทางการเรียนรู้ หรือ Learning Loss” ในครั้งนี้

 

 

ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : OBEC Active Learning

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรและขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2565

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตร

และขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” ประจำปี 2565

ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 ณ ศูนย์ถ่ายทอดเทคโนโลยีการสหกรณ์ที่ 1 จังหวัดปทุมธานี ซึ่งเป็นความร่วมมือของภาคีเครือข่าย

จำนวน 13 หน่วยงาน ประกอบด้วย

– มูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ

– องค์การสวนสัตว์ ในพระบรมราชูปถัมภ์

– กรมพัฒนาที่ดิน

– กรมส่งเสริมการเกษตร

– กรมป่าไม้

– กรมส่งเสริมสหกรณ์

– กรมตรวจบัญชีสหกรณ์

– กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

– กรมหม่อนไหม

– สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร

– เครือเจริญโภคภัณฑ์

– บริษัททรู คอร์ปอเรชั่น

และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จุดประสงค์หลักการประชุมในครั้งนี้ เพื่อร่วมกันทบทวนและพัฒนาหลักสูตร รวมถึงบูรณาการการจัดการเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้สอดคล้องและเหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน โดยวันที่ 30 มีนาคม 2565 ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ
ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดและได้มอบแนวทางในการต่อยอดขยายผลโครงการในระยะต่อไป

 

ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก คุณหญิงปราณี วรรธนะกุล กรรมการมูลนิธิสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พร้อมคณะ ประชุมร่วมกัน โดยบรรยากาศในการประชุมนั้นอบอุ่นและเป็นกันเอง จากนั้นภาคีเครือข่าย 13 หน่วยงาน ได้นำเสนอแนวคิดและแนวทางในการดำเนินงานของตนเอง รวมถึงทำปฏิทินกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเป็นประโยชน์ในการบูรณาการความร่วมมือให้เกิดความเข้มแข็งและมีความยั่งยืน

 

นอกจากนี้ ผู้เข้าร่วมประชุมได้ร่วมรับฟังบรรยายในหัวข้อ “การออกแบบกระบวนการเรียนรู้ Active Learning” จากวิทยากรผู้มีความรู้ พร้อมทั้งได้ออกแบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง ถือว่าเป็นกิจกรรมที่บรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการนี้ ที่ต้องการให้การจัดกิจกรรมค่ายใช้กระบวนการเรียนรู้ Active Learning ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวนั้นได้รับการตอบรับจากผู้เข้าร่วมประชุมเป็นอย่างมาก

 

และในวันสุดท้ายของการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรฯ คณะทำงานมีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้รับเกียรติจาก นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ
ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีปิด ทั้งยังได้กล่าวขอบคุณและส่งมอบกำลังใจจาก พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี
ส่งถึงเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานที่ช่วยกันขับเคลื่อนสร้างการรับรู้ให้แก่เด็กและเยาวชนได้รับรู้และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณต่อสถาบันพระมหากษัตริย์
เข้าใจคุณค่าและประโยชน์ของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม การอยู่ร่วมกันระหว่างคน ป่าไม้และสัตว์ป่า การเกษตรและสหกรณ์
นอกจากนี้ ปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีได้ขอให้เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติได้จัดกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อไปอย่างต่อเนื่องและพัฒนาให้เด็กและเยาวชนช่วยกันเสริมสร้างเอกลักษณ์ของชาติ ส่งเสริมให้เป็นคนดี คนเก่ง คนกล้าและจิตอาสาเพื่อสังคม

 

 

ติดตามข่าวสารโครงการค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร ได้ที่ เพจ : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร