01_บท.

สพฐ. จับมือ ป.ป.ช. จัดทำคู่มือการประเมิน ITA Online ประจำปี 2567
ยกระดับความโปร่งใสของสำนักงานเขตพื้นที่และสถานศึกษา

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online: ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรจาก สำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นายภิญโญยศ ม่วงสมมุข และนายพงษ์พันธ์ โตสกุลไกร เจ้าพนักงานป้องกันการทุจริตชำนาญการ บรรยายให้ความรู้ใน เรื่อง“แนวทางการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสฯ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567” เพื่อให้คณะทำงานรับฟังเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินก่อนดำเนินการจัดทำคู่มือการประเมิน

ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อจัดทำคู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online: ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยร่วมกันวิเคราะห์เครื่องมือประเมินของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ประกอบด้วยแบบสำรวจ 3 แบบ : IIT, EIT และ OIT เพื่อปรับปรุงแก้ไข ตามบริบทของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำคู่มือการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online: ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 และดำเนินการจัดทำคู่มือแบบสำรวจ IIT, EIT และ OIT ในรูปแบบออนไลน์ ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา นำเสนอและวิพากษ์ ปรับปรุง แก้ไขคู่มือแบบสำรวจ IIT, EIT และ OIT ในรูปแบบออนไลน์ พร้อมทั้ง จัดทำคลิปวีดีโอ บรรยายรายละเอียดแต่ละตัวชี้วัดของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา

โดย นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ (ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้) ปฏิบัติหน้าที่ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) พบปะให้แนวทางการดำเนินงาน รับฟังแนวคิดจากคณะทำงาน ร่วมเสนอแนวทางการจัดทำเครื่องมือประเมินของปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ให้สอดคล้องกับหลักเกณฑ์และวิธีการประเมินก่อนดำเนินการจัดทำคู่มือการประเมิน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประกอบด้วยศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารการศึกษา และคณะทำงาน รวม จำนวน 45 คน จัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 20 มกราคม 2567 ณ โรงแรม ปริ๊นส์ตั้น กรุงเทพมหานคร

ศธ. บูรณาการต้านทุจริต จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการโรงเรียนสุจริต ระดับประเทศ

วันที่ 6 ธันวาคม 2566 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระดับประเทศ และกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (9 ธันวาคม) ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร โดย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายทวิชาติ นิลกาญจน์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นายสมพงษ์ ตะโกพ่วง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและติดตาม ต้านทุจริตศึกษา 2 สำนักต้านทุจริตศึกษา (สำนักงาน ป.ป.ช.) นายศุภสิน ภูศรีโสม ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ (ด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้) รวมถึงข้าราชการและบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี

 

นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการทุจริต ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดําเนินการในทุกภาคส่วนของสังคม โดยเฉพาะภาคการศึกษา ที่มีบทบาทหน้าที่ในการให้ความรู้และปลูกฝังเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติในอนาคต โดยดําเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่กําหนดเป้าหมายหลักให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ผ่านการพัฒนาคนและการพัฒนาระบบ โดยให้ความสําคัญกับการปรับและหล่อหลอมพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคมให้มีจิตสํานึกและพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต

 

ทั้งนี้ การพัฒนาผู้เรียน นอกจากมุ่งเน้นการพัฒนาด้านความรู้ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการแล้ว ควรต้องคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ โดยเสริมสร้างผู้เรียนให้มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้อง เป็นพลเมืองดีของชาติ และพลเมืองโลกที่มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย และรักษาศีลธรรม ซึ่งการศึกษานั้นถือเป็นเรื่องของคนทุกคน ดังนั้น ความคาดหวังต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงเพราะการดำเนินการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องดำเนินการด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อสร้างคุณภาพการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายใต้พลวัตรการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ เราต้องร่วมกันพัฒนาประเทศเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาปัจจุบัน ร่วมกันยกระดับคุณภาพการศึกษาให้เจริญรุดหน้า ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) ด้วยแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต

 

“เวทีแห่งนี้ถือเป็นเวทีนำเสนอผลงานที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ผ่านการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริต ภายใต้สถานการณ์ความท้าทายของสังคมไทยในปัจจุบัน กับการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้น ผมขอให้ทุกท่านใช้ประโยชน์จากเวทีแห่งนี้ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนไปสู่การขับเคลื่อนโครงการที่มีเป้าหมายใหญ่ร่วมกันในอนาคต คือ การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตครับ” รมช.ศธ. กล่าว

 

ทางด้าน นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อพัฒนานักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาของ สพฐ. ให้เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ โดยดำเนินการตามแนวทางของปฏิญญาโรงเรียนสุจริต ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต กิจกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด สพฐ. (ITA Online) และการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนบูรณาการป้องกันและปราบปรามการทุจริต

 

ทั้งนี้ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ในครั้งนี้มีกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพฯ โดยมีกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ 1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน และการประกวดแข่งขัน จำนวน 7 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 3) กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) นวัตกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 4) นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู 5) นวัตกรรมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนสุจริตของศึกษานิเทศก์ 6) นวัตกรรมการขับเคลื่อนโครงการของผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต 7) กิจกรรมการใช้และประเมินผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม) นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านการทุจริต กิจกรรมผลงานหนังสือเล่มเล็กจากผลการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต) กิจกรรมออกแบบบอร์ดเกม เพื่อส่งเสริมการต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption Board Game) และมีการจัดแสดงนิทรรศการ อาทิ นิทรรศการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต แสดงผลการดำเนินงาน และภาพความสำเร็จของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (ITA Online) รวมถึงนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ต้านโกงเสมือนจริง (Virtual Anti-Corruption Museum) ที่แสดงแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต วิวัฒนาการจากอดีต ปัจจุบัน เชื่อมไปสู่อนาคต และกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล เป็นต้น

 

ที่มา : เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

 

เลื่อนการประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาจิตสติรู้ตัว ปัญญารู้คิด สำหรับผู้บริหาร รุ่นที่ 2 เป็นภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2566

เนื่องจาก สพฐ. ได้ขยายเวลาในการเปิดรับสมัครผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาจิตสติรู้ตัว ปัญญารู้คิด สำหรับผู้บริหาร รุ่นที่ 2 โดยปิดรับสมัครเมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2566 เวลา 13.00 น. สพฐ. จึงขอ

เลื่อนการประกาศรายชื่อผู้เข้าร่วมโครงการพัฒนาจิตสติรู้ตัว ปัญญารู้คิด สำหรับผู้บริหาร รุ่นที่ 2

เป็นภายในวันที่ 23 พฤษภาคม 2566

โดยจะดำเนินยืนยันกลับไปยัง E-mail ที่จัดส่งข้อมูลการรับสมัครเข้ามา ทางโครงการต้องขอประทานอภัยมา ณ โอกาสนี้

การอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงาน
ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online)
ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
รุ่นที่ 1-2 ระหว่างวันที่ 8-13 มีนาคม 2566
ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

                      วันที่ 11 มีนาคม 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมรับฟังและบรรยายพิเศษในการอบรมเชิงปฏิบัติการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 รุ่นที่ 1-2 ระหว่างวันที่ 8-13 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร และได้รับความอนุเคราะห์วิทยากร นายอานนท์ วงศ์วิศิษฏ์รังสี ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ ผู้ทรงความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับวิธีการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ทุจริต

                      โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการสร้างความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับตัวชี้วัดการประเมินให้กับผู้รับผิดชอบโครงการในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ก่อให้เกิดความต่อเนื่องในการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment Online: ITA Online) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ซึ่งการประเมินดังกล่าว ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการของหน่วยงานภาครัฐในทางปฏิบัติอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งความตื่นตัวและหันมาให้ความสนใจต่อการพัฒนาแฟลตฟอร์มอิเล็กทรอนิกส์ของตนเองให้ทันสมัยและน่าสนใจมากขึ้น ส่งผลให้หน่วยงานมีการจัดการข้อมูลข่าวสารอย่างเป็นระบบระเบียบและเตรียมความพร้อมในการเปิดเผยข้อมูลต่อสาธารณะให้ได้รับทราบ ซึ่งผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย บุคลากรจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 245 เขต เขตละ 2 คน คือ ผู้รับผิดชอบการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดําเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 1 คน และผู้มีความชํานาญระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ จำนวน 1 คน รวมทั้งสิ้น 490 คน โดยแบ่งเป็น 2 รุ่น ดังนี้

                         รุ่นที่ 1 ระหว่างวันที่ 8 – 10 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร
ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย เขตตรวจราชการ 1– 9 และ 18 รวม 121 เขต ๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 242 คน

                         รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 11 – 13 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร
ผู้เข้ารับการอบรม ประกอบด้วย เขตตรวจราชการ 10 – 17 รวม 124 เขต ๆ ละ 2 คน รวมทั้งสิ้น 248 คน

วิทยากร และคณะกรรมการดำเนินงาน จำนวน 37 คน
รวมทั้งสิ้น 527 คน

การประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ละธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566

การประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม
และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต)

ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566
ระหว่างวันที่ 27 กุมภาพันธ์ – 2 มีนาคม 2566
ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร

——————-

วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๖ ระหว่างวันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ – ๒ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร โดยมี
ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมชี้แจงแนวทางการขับเคลื่อนโครงการฯ ในครั้งนี้ และได้รับความอนุเคราะห์วิทยากรผู้ทรงความรู้และประสบการณ์เกี่ยวข้องกับการต่อต้านการทุจริต จาก รองเลขาธิการ ป.ป.ช. วิทยากรจากสำนักประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส และสำนักต้านทุจริตศึกษา สำนักงาน ป.ป.ช. นักวิชาการอิสระ และ ผู้ทรงคุณวุฒิ
ต่าง ๆ

โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อให้เกิดความต่อเนื่องในการขับเคลื่อนโครงการของปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 และสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ ส่งผลในการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะสุจริต อีกทั้งเป็นการขยายผลให้โรงเรียนในสังกัด นำหลักสูตรต้านทุจริตศึกษาไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน รวมถึงเพื่อให้ผู้รับผิดชอบกิจกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต มีองค์ความรู้สำคัญที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงาน สามารถวิเคราะห์ ความเสี่ยงเกี่ยวกับการปฏิบัติงานที่อาจเกิดผลประโยชน์ทับซ้อน และสามารถจัดทำแผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริต ที่สอดคล้องกับบริบทของหน่วยงานตนเองได้ ผ่านการชี้แจงการขับเคลื่อนโครงการ 4 กิจกรรมหลัก คือ 1) โรงเรียนสุจริต ๒) สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต ๓) หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ๔) การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (Integrity and Transparency Assessment : ITA Online)

ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริตในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาละ 2 คน จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 245 แห่ง รวม 490 คน  และ 2) คณะวิทยากร คณะกรรมการดำเนินงานส่วนภูมิภาค และคณะกรรมการส่วนกลาง รวม 55 คน รวมบุคลากรทั้งสิ้น 545 คน

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


นายอัมพร พินะสา
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมนนทบุรี พาเลซ จังหวัดนนทบุรี

และได้รับเกียรติจาก นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นวิทยากร ชี้แจ้งแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ตามแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดการประชุม และแบ่งกลุ่มจัดทำแนวทางการดำเนินโครงการ ตามกิจกรรมหลัก ดังนี้
กลุ่มที่ 1 การขับเคลื่อนกิจกรรมโรงเรียนสุจริต
กลุ่มที่ 2 การขับเคลื่อนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต
กลุ่มที่ 3 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
กลุ่มที่ 4 การขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

ซึ่งการประชุมในครั้งนี้มีผลลัพธ์ที่คาดหวัง คือ (ร่าง) แผนบริหารจัดการความเสี่ยงของ สพท. (ร่าง) แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตของ สพท. และ (ร่าง) เอกสารแนวทางการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระดับประเทศ ที่จะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 6 – 9 ธันวาคม 2565 โรงแรมเอวาน่าฯ กรุงเทพมหานคร

สนก. ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ รักษาราชการแทนรองเลขาธิการ กพฐ.

>> สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) โดย ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่ม ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร.ธีร์ ภวังคนันท์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสรับตำแหน่ง รักษาราชการแทนรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รักษาราชการแทนรองเลขาธิการ กพฐ.)

สนก. ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร.อนันต์ พันนึก ในโอกาสได้รับการโอนย้ายเพื่อดำรงตำแหน่งผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ.

>>> สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) โดย ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย ผู้อำนวยการกลุ่ม ข้าราชการ พนักงานราชการ และลูกจ้าง ร่วมแสดงความยินดีกับ ดร.อนันต์ พันนึก รองเลขาธิการ คณะกรรมการข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา(รองเลขาธิการก.ค.ศ. ) สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ ในโอกาสได้รับการโอนย้ายเพื่อแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่ง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สพฐ. จับมือ ม.มหิดล เสริมศักยภาพโรงเรียนคุณภาพ โครงการนำร่อง OBEC-MUMT


วันที่ 25 ตุลาคม 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ โครงการนำร่อง OBEC-MUMT ระหว่าง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับ มหาวิทยาลัยมหิดล (คณะเทคนิคการแพทย์) โดยมี ศาสตราจารย์ ดร.ฉัตรเฉลิม อิศรางกูร ณ อยุธยา คณบดีคณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล รศ.ดร.วิจิตร วงค์ล่ำซำ รองคณบดีฝ่ายการศึกษาก่อนปริญญา ผศ.ดร.สินีวัลยา วิชิต ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายกิจการนักศึกษา รวมถึงนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และคณะทำงาน อาทิ นางสาวศศิภัสสร ภาศักดี นักวิชาการศึกษา ผู้ประสานงาน สพฐ. ร่วมในพิธี ณ ห้องประชุม สพฐ. 2 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในฐานะหน่วยงานหลักที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้กับเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพในอนาคต ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการพัฒนาการศึกษาที่สอดคล้องและต่อเนื่องจากระดับมัธยมศึกษาสู่ระดับอุดมศึกษา ส่งเสริมการผลิตนวัตกรสุขภาพสมรรถนะสูง เพื่อเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันทั้งในประเทศและเวทีโลก ซึ่งเป็นไปตามแผนการศึกษาแห่งชาติที่มีเป้าหมายในการผลิตและพัฒนากำลังคน การวิจัยและนวัตกรรมเพื่อสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณลักษณะและทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เพื่อพัฒนาคนไทยให้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ ภายใต้แผนแม่บทในยุทธศาสตร์ชาติ ปี พ.ศ. 2561-2580

สำหรับโครงการนำร่อง OBEC-MUMT เป็นความร่วมมือระหว่าง สพฐ. และมหาวิทยาลัยมหิดล (คณะเทคนิคการแพทย์) ซึ่งทาง สพฐ. ต้องการให้กลุ่มเป้าหมายที่เป็นนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาของสังกัด สพฐ. จำนวน 77 โรงเรียน ที่เข้าร่วมโครงการนำร่อง OBEC-MUMT ได้รับการส่งเสริมศักยภาพให้นักเรียนที่มีความสามารถพิเศษได้รับโอกาสการพัฒนาและศึกษาในระดับอุดมศึกษาตลอดหลักสูตร และส่งเสริมการศึกษาต่อ โดยเชื่อมโยงการขยายผลในเขตพื้นที่การศึกษาต่าง ๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้โอกาสนักเรียนที่มีความสามารถพิเศษ ศักยภาพสูง ที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกลได้สามารถต่อยอดสาขาการเรียนในคณะเทคนิคการแพทย์ ซึ่ง สพฐ. คาดหวังว่าการลงนามบันทึกบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการนำร่อง OBEC-MUMT ในครั้งนี้ จะส่งผลให้นักเรียนที่เข้าร่วมโครงการได้รับโอกาสในการพัฒนาตามศักยภาพ สามารถต่อยอดสาขาการเรียนในคณะเทคนิคการแพทย์ และส่งผลให้เกิดประโยชน์แก่ชาติบ้านเมืองอย่างสูงสุดต่อไป

ทั้งนี้ ความร่วมมือในการดำเนินงานตามบันทึกข้อตกลงฉบับนี้มีกำหนดระยะเวลา 5 ปี ตั้งแต่ปี 2565-2570

ขอขอบคุณ ภาพ/ข่าว : สำนักอำนวยการ

การประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565

 

โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) จัดกิจกรรมบรรณาธิการกิจเอกสารแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ประกอบด้วย

1) กิจกรรมสร้างสำนึกพลเมือง (Project Citizen)

2) กิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านทุจริต

3) กิจกรรมค่ายเครือข่ายผู้นำเยาวชนไทย หัวใจ Strong

4) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี

5) กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) ครู ผู้บริหารโรงเรียน ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนสุจริต ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

6) กิจกรรมนวัตกรรมการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

ให้เอกสารมีความสมบูรณ์ ครบถ้วน ชัดเจน และสามารถเผยแพร่ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษานำไป
เป็นแนวทางการจัดกิจกรรมและนำไปปฏิบัติได้ดียิ่งขึ้น

โดยทางโครงการโรงเรียนสุจริต ได้รับเกียรติจาก ท่านดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
เป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ การประชุมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจแนวทางการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต)
ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 22 – 24 มิถุนายน 2565 ณ โรงแรมนูโว ซิตี กรุงเทพมหานคร 

จากการประชุมครั้งนี้ ท่านดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ให้แนวทางในการขับเคลื่อน
กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาล
ในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปี
งบประมาณ พ.ศ. 2565

พร้อมทั้งทางโครงการได้เรียนเชิญ ดร.สรรเสริญ สุวรรณ์ ผู้ทรงคุณวุฒิโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษา
และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) มาเติมเต็มเนื้อหา องค์ประกอบ เกณฑ์การพิจารณาผลงานให้ครบถ้วนและสมบูรณ์

 

สพฐ. เดินหน้าโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง”

สพฐ. เดินหน้าโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เริ่มจุดแรกที่ภาคใต้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการประชุมปฏิบัติการโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” จุดภาคใต้ ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับเกียรติจาก พลโท สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ
ในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรรยาย เรื่อง แนวทางการปฏิบัติดำเนินการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฏีใหม่แบบชาวบ้านสู่การปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา สู่การศึกษาในโรงเรียน และ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ บรรยายเรื่องแผนปฏิรูปการศึกษาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงคณะวิทยากรประกอบด้วยผู้บริหาร คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย
.
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะองค์กรหลักที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคตนั้น โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านการเกษตร อีกทั้ง ได้นำหลักคิดการจัดการเรียนรู้แบบปูทะเลย์มหาวิชชาลัยที่มุ่งเน้นด้านการศึกษาควบคู่กับคุณธรรม ซึ่งผู้เรียนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ นำมาเป็นหลักคิดการบริหารจัดการโครงการ ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปลูกฝังให้เยาวชนได้ สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายพัฒนาผู้เรียน 4 ข้อ คือเป็นคนดี มีระเบียบวินัยพึ่งพาตนเองได้ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และกตัญญูกตเวที จึงได้จัดการประชุมปฏิบัติการโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย“โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ซึ่งการประชุมในจุดภาคใต้นี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม และศึกษานิเทศก์หรือผู้รับผิดชอบโครงการทั้งหมดในภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้นกว่า 200 คน
.
ด้านนายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. กล่าวว่า นอกจากนี้แล้วยังเป็นการบูรณาการความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับจังหวัดเพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และในระดับจังหวัดและการร่วมกิจกรรม Workshop ซึ่งเป็นการถ่ายทอดกระบวนการและวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย ในครั้งนี้อีกด้วย

แนวทางการดำเนินงานด้านสารบรรณด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-saraban)

วันที่ 5 เมษายน 2564 เวลา 13.30 น. ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายให้ข้าราชการและบุคลากร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการภายในสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การเป็นองค์กรราชการ 4.0