ภารกิจผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญ สนก.

การประชุมเชิงปฏิบัติการปรับปรุงเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2566 ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย ดร.จักรพงษ์  วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบนโยบายและแนวทางการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวยั่งยืนให้กับคณะทำงานจัดทำและปรับปรุงเกณฑ์การประกวดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสีเขียวที่ยั่งยืน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 13 – 16 กุมภาพันธ์ 2566 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร

สำหรับการประชุมในครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดทำคู่มือการประกวดสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาที่ขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมเป็นต้นแบบ สร้างแรงบันดาลใจ ส่งต่อนโยบายให้โรงเรียนในสังกัด ทั้งนี้เกณฑ์การประกวดได้ถูกกำหนดขึ้นเพื่อใช้เป็นหลักเทียบเคียงในการส่งเสริม กำกับดูแล ติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลการดำเนินงานสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน เกณฑ์ประกวดสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืนประกอบด้วย หมวดที่ 1 การกำหนดนโยบายและการวางแผน หมวดที่ 2 การสื่อสารและสร้างจิตสำนึก หมวดที่ 3 การใช้ทรัพยากร พลังงาน และการจัดการของเสีย หมวดที่ 4 สภาพแวดล้อมและความปลอดภัย และหมวดที่ 5 ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น เพื่อหลอมรวมการมีส่วนร่วมและการสร้างเครือข่ายสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน และผลที่เกิดขึ้นกับผู้เรียน ครู โรงเรียน ตลอดจนชุมชน ทั้งนี้เพื่อเป็นการเชิดชูสำนักงานเขตพื้นที่สีเขียวที่ยั่งยืน ในการเป็นต้นแบบของการสร้างความเข้าใจอย่างถูกต้องและสร้างสรรค์ในประเด็นปัญหาสิ่งแวดล้อม มีกระบวนการคิดวิเคราะห์ และมีสมรรถนะในการปฏิบัติจริง ทั้งในด้านการคิด การตัดสินใจ การร่วมมือกันปฏิบัติงาน การใช้และบำรุงทรัพยากรธรรมชาติอย่างชาญฉลาด เป็นสังคมแห่งการเรียนรู้ สอดคล้องกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 “การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม”   โดยมีคณะทำงาน จำนวน 31 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ 12 คน นักวิชาการศึกษา 7 คน ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน ครู จำนวน 3 คน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 6 คน

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเปิดนิทรรศการแสดงผลงานทักษะวิชาการของนักเรียน ประจำปี 2565

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน
เป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเปิดนิทรรศการแสดงผลงานทักษะวิชาการของนักเรียน ประจำปี 2565
ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เสด็จพระราชดำเนินเป็นการส่วนพระองค์ ไปทรงเปิดนิทรรศการแสดงผลงานทักษะวิชาการของนักเรียน ภายใต้การประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ในวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566เวลา 09.00 น. ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร

โดยมีผู้เข้าเฝ้าฯ รับเสด็จ ได้แก่ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการผู้อำนวยการหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร และหัวหน้าส่วนราชการ ประกอบด้วย 1) ที่ปรึกษางานโครงการตามพระราชดำริ 2) เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 3) ผู้บัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 4) เลขาธิการสำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 5) เลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 6) ผู้อำนวยการสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 7) ผู้อำนวยการสำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 8) อธิบดีกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น นักเรียนที่ได้รับพระราชทานเกียรติบัตร และครูที่ปรึกษาแต่ละกิจกรรม

การจัดแสดงนิทรรศการผลงานทักษะวิชาการของนักเรียนในครั้งนี้ มีหน่วยงานที่ร่วมสนองพระราชดำริ จำนวน 7 หน่วยงาน ประกอบด้วย 1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน 4) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 5) สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร 6) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ 7) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน ผลงานชนะเลิศจาก 4 กิจกรรมประกอบด้วย 1) กิจกรรมการวาดภาพ 2) กิจกรรมการเขียนเรียงความภาษาไทย 3) กิจกรรมการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ และ 4) กิจกรรมโครงงาน/สิ่งประดิษฐ์ จำนวน 43 ผลงาน

และทรงพระราชทานเกียรติบัตรรางวัลชนะเลิศ กิจกรรมทักษะวิชาการของนักเรียน ทรงทอดพระเนตรนิทรรศการโครงงาน/สิ่งประดิษฐ์ ผลงานการวาดภาพ ผลงานการเขียนเรียงความภาษาไทยผลงานการเขียนเรียงความภาษาอังกฤษ นิทรรศการแสดงผลงานของนักเรียน จำนวน 7 หน่วยงาน และทรงฉายพระฉายาลักษณ์ร่วมกับ คณะนักเรียนที่ได้รับพระราชทางรางวัลระดับดีเด่น คณะผู้บริหารหน่วยงานด้านการศึกษา คณะผู้ปฏิบัติงานสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และคณะผู้ปฏิบัติงานสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

นิทรรศการแสดงผลงานดังกล่าวจะเปิดให้ประชาชนทั่วไปได้เข้าชมผลงานระหว่างวันที่ 10 – 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566 ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์กิจกรรมผลงานของนักเรียนในโครงการตามพระราชดำริต่อไป

ภาพโดย

กองงานส่วนพระองค์ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี สำนักพระราชวังและสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร

เลขาธิการ กพฐ. มอบ ผอ.สนก เป็นประธานในการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านดนตรี (Music Workshop) และการประกวดวงดนตรีนักเรียน โครงการพัฒนานวัตกรรม การเรียนการสอนวิชาดนตรีของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1 กลุ่มโรงเรียนทั่วไปที่มีความพร้อมทางด้านดนตรี ระหว่าง 13 – 15 มกราคม พ.ศ. 2566 และระหว่างวันที่ 27- 29 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ วิทยาลัยการดนตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา

 

วันที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) มอบ ดร.ภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ผอ.สนก) สำนักงานคณะกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านดนตรี (Music Workshop) และการประกวดวงดนตรีนักเรียน โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอนวิชาดนตรีของนักเรียนในระดับมัธยมศึกษาสู่ความเป็นเลิศ ปี พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 1 กลุ่มโรงเรียนทั่วไปที่มีความพร้อมทางด้านดนตรี จำนวน 18 โรงเรียนจัดโดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ระหว่าง 13 – 15 มกราคม พ.ศ. 2566 และระหว่างวันที่ 27 – 29 มกราคม พ.ศ. 2566 ณ วิทยาลัยการดนตรีมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อสร้างความเท่าเทียมกันในการเข้าถึงชั่วโมงการเรียนรู้ด้านดนตรีแม้นักเรียนที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล เพื่อให้นักเรียนสามารถเข้าถึงชั่วโมงการเรียนรู้ด้านดนตรีที่ทบทวนความรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา ผ่านสื่อดิจิทัล เพื่อส่งเสริมทักษะทางด้านดนตรีให้กับเด็กนักเรียนผ่านชั่วโมงการเรียนรู้ด้านดนตรีซึ่งช่วยให้สามารถบรรเทาความเครียดและเสริมสร้างภูมิคุ้มกันทางอารมณ์ให้กับนักเรียนทั้งในระดับมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย เพื่อคัดเลือกและค้นหานักร้องและนักดนตรีที่มีพรสวรรค์ที่สามารถพัฒนาต่อยอดสู่อาชีพได้ในอนาคต และเพื่อจัดทำหลักสูตรการเรียนรู้เพิ่มโอกาสในการเข้าถึงสื่อการเรียนรู้สามารถพัฒนาทักษะทางด้านดนตรีสู่ความเป็นเลิศ จึงได้มีการดำเนินการจัดการอบรม ดังนี้ 

วันที่ 13 – 15 มกราคม พ.ศ. 2566 กิจกรรมการอบรมเชิงปฏิบัติการด้านดนตรี (Music Workshop) จากวิทยากรผู้เชี่ยวชาญทางด้านการขับร้อง กีต้าร์ เบส กลองชุด และคีย์บอร์ด พร้อมทั้งรับชมการแสดงจากศิลปินรับเชิญสุดพิเศษ วง Heartless Knight  นำโดย คุณเอกกมล บุญโพธิ์ทอง (หมีเอก แชมป์ The Voice 2019) และคุณป๊อบ คเชนท์เจริญผลนภาลัย (แชมป์ Overdrive Guitar Contest No.2) 

วันที่ 27 – 29 มกราคม พ.ศ. 2566 กิจกรรมการประกวดวงดนตรีนักเรียนชิงถ้วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ และรับชมการแสดงจากศิลปินรับเชิญสุดพิเศษ วง THE SOUND OF SIAM  นำโดย คุณโก้ Mr.Saxman, คุณเศกพล อุ่นสำราญ และคุณปุ้ย ดวงพร 

นอกจากนี้ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการมอบรางวัลแก่วงดนตรีนักเรียนที่ได้รับรางวัล ดังนี้
รางวัลชนะเลิศ                          โรงเรียนภูเก็ตวิทยาลัย สพม.พังงา ภูเก็ต ระนอง

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 1      โรงเรียนบุญวาทย์วิทยาลัย สพม.ลำปาง ลำพูน

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 2      โรงเรียนกาญจนานุเคราะห์ สพม.กาญจนบุรี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 3      โรงเรียนเบญจมราชูทิศ สพม.ปัตตานี

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 4      โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา ภาคเหนือ  สพม.พิษณุโลก อุตรดิตถ์

รางวัลรองชนะเลิศอันดับที่ 5      โรงเรียนลือคำหาญวารินชำราบ สพม.อุบลราชธานี อำนาจเจริญ

รางวัลชมเชย : โรงเรียนเสนา “เสนาประสิทธิ์” สพม.พระนครศรีอยุธยา/โรงเรียนราชประชาสมาสัย ฝ่ายมัธยม รัชดาภิเษก ในพระบรมราชูปถัมภ์  สพม.สมุทรปราการ/โรงเรียนสมุทรสาครวุฒิชัย สพม.สมุทรสาคร/โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี สพม.สุราษฎร์ธานี/โรงเรียนบ้านสวน (จั่นอนุสรณ์) สพม.ชลบุรี ระยอง/โรงเรียนขลุงรัชดาภิเษก จังหวัดจันทบุรี สพม.จันทบุรี ตราด /โรงเรียนเชียงกลมวิทยา สพม.เลย หนองบัวลำภู/โรงเรียนพังโคนวิทยาคม สพม.สกลนคร/โรงเรียนจตุรมิตรวิทยาคาร สพม.ขอนแก่น/โรงเรียนพุทไธสง สพม.บุรีรัมย์/โรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ฯ พะเยา สพม.พะเยา/โรงเรียนกำแพงเพชรพิทยาคม สพม.กำแพงเพชร

 


ดำเนินการโดย : ศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566

เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบ ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 โดยมีนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นผู้กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนครั้งนี้ และนางอังคณา เหว่าวิทย์ รองผู้อำนวยการสำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดประเด็น และชี้แจงความเป็นมาของการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผน เพื่อสื่อสารทำความเข้าใจเกี่ยวกับนโยบายและภารกิจที่เกี่ยวข้องและต้องดำเนินการในปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 การจัดประชุมสัมนาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานและการจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานโรงเรียนที่มีความอิสระในการบริหาร และการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปี พ.ศ. 2566 ที่สามารถดำเนินการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลต่อไป

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมการประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาลเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดําริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจําปี 2565

วันที่ 13 ธันวาคม 2565 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงร่วมการประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาล เด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 โดยมี นางสาวตรีนุช เทียนทอง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ พร้อมด้วย นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางเกศทิพย์ ศุภวานิช รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายอนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ปรึกษางานโครงการตามพระราชดำริฯ หัวหน้าส่วนราชการ และข้าราชการ เฝ้าฯ รับเสด็จ ณ ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็ค เมืองทองธานี จ.นนทบุรี

โอกาสนี้พระราชทานเกียรติบัตรแก่พระภิกษุ และคณะครู ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศการประกวดแข่งขันแนวปฏิบัติที่ดี ทั้ง 6 ด้าน จำนวน 39 ราย พร้อมทั้งพระราชทานโล่รางวัลสถานศึกษาดีเด่น แก่ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 18 ราย จากนั้นทรงบรรยายพิเศษเรื่อง “42 ปี โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน สร้างความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยทรงเริ่มงานโครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน มาตั้งแต่ปี 2523 มีพระราชประสงค์เพื่อให้เด็กและเยาวชนมีภาวะโภชนาการที่ดีและมีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง เริ่มแรกทรงทดลองทำในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จำนวน 3 โรงเรียน และต่อมาได้ขยายผลในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนทั่วประเทศ ปัจจุบันดำเนินการโครงการในสถานศึกษาโครงการพัฒนาเด็กและเยาวชนทั้ง 7 สังกัด รวม 890 แห่ง โดยฝึกให้นักเรียนลงมือปฏิบัติทำการเกษตรที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการทำการเกษตรแบบยั่งยืน ทั้งการปลูกพืชผัก ไม้ผล การเพาะเห็ด รวมทั้งเลี้ยงสัตว์ อาทิ เลี้ยงไก่พันธุ์ไข่ ไก่เนื้อ เป็ด สุกร เลี้ยงปลา แล้วนำผลผลิตมาประกอบอาหารกลางวันให้นักเรียนรับประทาน รวมทั้งส่งขายผ่านระบบสหกรณ์โรงเรียน นอกจากนี้ยังฝึกให้นักเรียนขยายพันธุ์พืช และขยายพันธุ์สัตว์ สำหรับผลผลิตที่มีมากได้นำมาแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ทำให้นักเรียนมีความรู้และทักษะทางอาชีพ และสามารถนำไปประกอบอาชีพได้ในอนาคต รวมทั้งยังขยายผลจากโรงเรียนไปยังผู้ปกครองและชุมชน ทำให้สามารถผลิตอาหารได้มากขึ้น เด็กมีอาหารรับประทานอย่างต่อเนื่อง และมีภาวะโภชนาการที่ดี อันนำมาสู่ความมั่นคงทางอาหารและโภชนาการ ตลอดระยะเวลา 42 ปี โครงการเกษตรเพื่ออาหารกลางวัน ได้ทำให้เกิดการพัฒนาทั้งทางด้านอาหาร โภชนาการ สุขภาพอนามัย การศึกษา การงานอาชีพ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยโรงเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนรู้ ขยายการพัฒนาสู่ครอบครัวและชุมชน ทำให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน

จากนั้นทอดพระเนตรนิทรรศการผลงานทางวิชาการแนวปฏิบัติที่ดีของหน่วยงานสถานศึกษาในโครงการตามพระราชดำริ 7 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร และกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น รวมทั้งนิทรรศการนวัตกรรมการพัฒนาเด็กและเยาวชน ตามพระราชดำริของหน่วยงานสนับสนุน ได้แก่ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมประมง กรมปศุสัตว์ กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมตรวจบัญชีสหกรณ์ กรมอนามัย กรมควบคุมโรค และกรมสุขภาพจิต

สำหรับการจัดงานประชุมวิชาการฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 12-13 ธันวาคม 2565 มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่พระราชกรณียกิจด้านการศึกษาและการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ แก่สาธารณชน รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษาและผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนความคิดประสบการณ์ร่วมกัน โดยมีสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นเจ้าภาพหลัก ร่วมกับหน่วยงานสถานศึกษาในโครงการตามพระราชดำริทั้ง 7 หน่วยงาน และโครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ดำเนินการจัดงาน

ขอขอบคุณ
ข้อมูลจาก : โครงการส่วนพระองค์สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
ภาพจาก : ศตายุ วาดพิมาย นักประชาสัมพันธ์ชำนาญการ สพป.ตาก เขต 2

https://www.obec.go.th/archives/739323

สพฐ. จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียน ในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริฯ ประจำปี 2565

   
       สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 11 – 13 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ต จังหวัดปทุมธานี โดยได้รับเกียรติจาก ดร.สมเกียรติ ชอบผล ประจำสำนักพระราชวังพิเศษ ระดับ 10 สำนักงานโครงการสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ให้เกียรติบรรยายพิเศษเรื่อง การจัดการศึกษาตามโครงการพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี บทบาทของโรงเรียนในอดีต ความเข้มแข็งของโรงเรียนในการพัฒนาผู้เรียนตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน รวมไปถึงแนวทางในการพัฒนาและแนวปฏิบัติของโรงเรียน ในโครงการตามพระราชดำริ
จากนั้นมีพิธิเปิด โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธาน โดยกล่าวว่า “สพฐ. ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดำเนินงานโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร จึงมุ่งส่งเสริม สนับสนุนและติดตามการจัดการศึกษาและพัฒนาคุณภาพชีวิตนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามาอย่างต่อเนื่อง ตามวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่
       1) ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
       2) ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน
       3) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ
       4) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ
       5) ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
       6) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่น
ผ่านการจัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู และการประกวดแข่งขันกิจกรรมทักษะวิชาการของนักเรียน เพื่อคัดเลือกเข้าร่วมในการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี
       ในปีนี้ สพฐ. ได้รับมอบหมายให้เป็นเจ้าภาพหลักในการจัดงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านการศึกษาและการพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ แก่สาธารณชน รวมทั้งบุคลากรทางการศึกษา และผู้ปฏิบัติงานโครงการตามพระราชดำริ ได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนแนวคิด ประสบการณ์ร่วมกันและร่วมกันดำเนินงานให้บรรลุผลตามเป้าหมายของโครงการ” นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โดยมีศึกษานิเทศก์และผู้รับผิดชอบโครงการตามพระราชดำริ จำนวน 48 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ 2 คน และผู้อำนวยการโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จำนวน 194 คน และผู้ชนะเลิศกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จำนวน 6 ด้าน และคณะกรรมการ รวมจำนวนทั้งสิ้น 350 คน
       นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กล่าวถึงการจัดการประชุมครั้งนี้ว่า “เพื่อต้องการให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และโรงเรียนในโครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ปฏิบัติงานรวบรวมผลงานหรือองค์ความรู้ที่เกิดขึ้นจากประสบการณ์จริงของผู้ปฏิบัติงานที่ชนะเลิศกิจกรรมแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จำนวน 6 ด้าน และกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการเข้าร่วมการประชุมวิชาการ “42 ปี พระบารมีแผ่ไพศาลเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารเป็นสุข” การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี 2565 ในระหว่างวันที่ 12 – 13 ธันวาคม 2565 ณ อาคารอิมแพ็ค ฟอรั่ม อาคาร 4 ศูนย์แสดงสินค้าและการประชุม อิมแพ็คเมืองทองธานี อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี”
ทีมประชาสัมพันธ์งาน กพด. สพฐ. เรื่อง/ภาพ

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ตรวจเยี่ยมสนามสอบและให้กำลังใจนักเรียนการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia

เมื่อวันพุธ ที่ 30 พฤศจิกายน 2565 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจำรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการ
จัดการศึกษามอบหมายให้ ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตรวจเยี่ยมสนามสอบและให้กำลังใจนักเรียนการแข่งขันคณิตศาสตร์
และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia
ระหว่างวันที่ 30 พฤศจิกายน – 1 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง เพื่อสร้างขวัญและกำลังใจให้แก่ผู้แทนนักเรียนไทยที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566


นายอัมพร พินะสา
เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระหว่างวันที่ 27 – 29 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงแรมนนทบุรี พาเลซ จังหวัดนนทบุรี

และได้รับเกียรติจาก นายอุทิศ บัวศรี รองเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ เป็นวิทยากร ชี้แจ้งแนวทางในการขับเคลื่อนการดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ตามแผนงานบูรณาการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 โดยมี นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดการประชุม และแบ่งกลุ่มจัดทำแนวทางการดำเนินโครงการ ตามกิจกรรมหลัก ดังนี้
กลุ่มที่ 1 การขับเคลื่อนกิจกรรมโรงเรียนสุจริต
กลุ่มที่ 2 การขับเคลื่อนสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต
กลุ่มที่ 3 การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใส ในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา
กลุ่มที่ 4 การขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา

ซึ่งการประชุมในครั้งนี้มีผลลัพธ์ที่คาดหวัง คือ (ร่าง) แผนบริหารจัดการความเสี่ยงของ สพท. (ร่าง) แผนปฏิบัติการป้องกันการทุจริตของ สพท. และ (ร่าง) เอกสารแนวทางการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริต ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 พร้อมทั้งชี้แจงแนวทางการดำเนินงานการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ระดับประเทศ ที่จะจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 6 – 9 ธันวาคม 2565 โรงแรมเอวาน่าฯ กรุงเทพมหานคร

การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia

วันที่ 28 พฤศจิกายน 2565 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) สำนักพัฒนานวัตกรรม
การจัดการศึกษา ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด และได้รับเกียรติจากนายนิยม ไผ่โสภา
ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 และนายกิตติศักดิ์ ศรีปทุมานุรักษ์
ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ร่วมพิธีเปิดและกล่าวต้อนรับผู้แทนนักเรียนในการแข่งขันคณิตศาสตร์ และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2565 : 19th International Mathematics and Science Olympiad (IMSO) for Primary School Students (Virtual Edition) Indonesia ระหว่างวันที่ 27 พฤศจิกายน – 4 ธันวาคม 2565 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และโรงแรมเอสดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์อย่างเต็มตามศักยภาพ ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้สู่เวทีวิชาการทางวิชาการระดับนานาชาติ โดยมีผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 3 ท่านที่ได้รับการแต่งตั้งจากเวทีการแข่งขัน IMSO ให้เกียรติเข้าร่วมพิธีเปิด และให้คำปรึกษา และการแนะนำแนวทางการดำเนินการจัดการแข่งขันดังกล่าว

1. นางนิจวดี เจริญเกียรติบวร ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
2. นายปราโมทย์ ขจรภัย ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ
3. นายกำจัด หนูภัย ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ

สพฐ.ร่วมกับกลุ่มโรงเรียนร่มเกล้า ประชุมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากลุ่มโรงเรียน ร่มเกล้า

               นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากลุ่มโรงเรียนร่มเกล้า ในระหว่างวันที่ 24 – 26 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงเรียนร่มเกล้าเขาค้อ เพชรบูรณ์ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี นายวัชรพล วิทยากร ผู้อำนวยการโรงเรียนร่มเกล้า 2 ประธานกลุ่มโรงเรียนร่มเกล้า กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดการประชุม เพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของกลุ่มโรงเรียนร่มเกล้า ให้มีการบริหารจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งมีโรงเรียนที่เข้าร่วมการประชุม จำนวน 12 โรงเรียน ประกอบด้วย 1) โรงเรียนร่มเกล้า 2 (ประธานกลุ่ม)
2) โรงเรียนร่มเกล้ามุกดาหาร 3) โรงเรียนร่มเกล้าปางตองในโครงการตามพระราชดำริ 4) โรงเรียนร่มเกล้าบ้านชมเจริญ
5) โรงเรียนร่มเกล้าสระแก้ว 6) โรงเรียนร่มเกล้าหนองบัวลำภู 7) โรงเรียนร่มเกล้ากาญจนบุรี 8) โรงเรียนร่มเกล้านราธิวาส
9) โรงเรียนร่มเกล้าบุรีรัมย์ 10) โรงเรียนร่มเกล้าปราจีนบุรี 11) โรงเรียนร่มเกล้าเขาค้อ เพชรบูรณ์ 12) โรงเรียนร่มเกล้าสกลนคร ซึ่งมีนายประทาน หาดยาว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ผู้บริหาร
ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 70 คน

ทั้งนี้ คณะจากส่วนกลาง ได้แก่ นางวันดี จิตรไพวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐานภาคใต้ สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางเกศกัญญา อนุกูล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาช่วยราชการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และนายเตชินท์พัฒน์ โชติวัชรธนานนท์ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย

 

การลงพื้นที่ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว “สระแก้วโมเดล”

ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มอบหมายให้ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และบุคลากรศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ดำเนินการลงพื้นที่ถอดบทเรียนการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว “สระแก้วโมเดล” ระหว่างวันที่ 9 – 11 พฤศจิกายน 2565 ณ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว เขต 2 และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสระแก้ว และลงพื้นที่ไปยังโรงเรียนคุณภาพในพื้นที่จังหวัดสระแก้วที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณในด้านต่าง ๆ เพื่อชี้แจงแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพ พร้อมถอดบทเรียน เพื่อนำมาปรับปรุง พัฒนา การดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพให้เกิดประสิทธิภาพและเกิดความต่อเนื่อง ตรงตามวัตถุประสงค์ของโครงการ

สพฐ. ร่วมกับกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการประชุมวิชาการขับเคลื่อนการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

                วันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้
นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิด
การประชุมวิชาการ เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

                นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้รับมอบหมาย
จาก นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) ให้เป็นประธาน
ในพิธีเปิด การประชุมวิชาการ และบรรยายพิเศษ เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ของกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอสามพราน
จังหวัดนครปฐม โดยมีนายเทพฤทธิ์ ยอดใส ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตมัธยม ประธานกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมวิชาการในครั้งนี้

               การประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
ได้บรรยายและสร้างความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด
ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” แก่ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู
ในกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์

                โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาแนวทางการน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาล
ที่ 10 ด้านการศึกษา สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ที่มุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน คือ 1. มีทัศนคติ
ที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่งคง – มีคุณธรรม 3. มีงานทำ – มีอาชีพ และ 4. เป็นพลเมืองที่ดี
สร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประสบการณ์และแนวทางในการจัดการศึกษาระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษาภายในกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกอบด้วย 9 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนราชวินิตมัธยม
โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โรงเรียนราชวินิตบางเขน โรงเรียนราชวินิตประถมบางแค
โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ โรงเรียนราชวินิตนนทบุรี โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ และโรงเรียน ภ.ป.ร.
ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม รองศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบ
ผู้บริหารโรงเรียน และคณะครู เข้าร่วมการประชุม จำนวนทั้งสิ้น 820 คน

             ทั้งนี้ คณะจากส่วนกลาง ได้แก่ นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางเกศกัญญา อนุกูล นักวิชาการศึกษา
ชำนาญการพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ช่วยราชการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
นายทศวรรษ เกิดติ๋ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และนายเตชินท์พัฒน์
โชติวัชรธนานนท์ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย