Author: คพศ. สนก.

การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง RCJ Rescue Simulation (Webots-Erebus)

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประชาสัมพันธ์ทางเว็บไซต์ https://robocup.thairobot.in.th เชิญชวนให้โรงเรียนที่สนใจและสมัครเข้าร่วมการอบรมและแข่งขันรอบคัดเลือกผ่านระบบออนไลน์ เมื่อวันที่ 23 – 25 พฤษภาคม 2565 เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติ World RoboCup Junior 2022  คณะกรรมการ ได้คัดเลือกทีมนักเรียนหุ่นยนต์รอบคัดเลือกผ่านระบบออนไลน์เสร็จสิ้นแล้ว มีโรงเรียนที่สมัครเข้าร่วมอบรมและแข่งขันหุ่นยนต์รอบคัดเลือกผ่านระบบออนไลน์ จำนวน 106 ทีม ประกอบด้วย นักเรียน 212 คน ครูที่ปรึกษา 106 คน รวม 318 คน หลังจากกิจกรรมการอบรมและแข่งขันรอบคัดเลือกเรียบร้อยแล้ว มีนักเรียนเข้ารอบ จำนวน 10 ทีม ได้แก่

ที่ โรงเรียน ชื่อทีม จังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1 วัดป่าประดู่ WPRobot ระยอง สพม. ชลบุรี ระยอง
2 สุรวิทยาคาร SWK_ROBOT สุรินทร์ สพม. สุรินทร์
3 จักรคำคณาทร จังหวัดลำพูน CKK ROBOT ลำพูน สพม. ลำปาง ลำพูน
4 ราชวินิตบางแก้ว SMT04-Robot สมุทรปราการ สพม. สมุทรปราการ
5 ท่ามะกาวิทยาคม TMK Robotics กาญจนบุรี สพม. กาญจนบุรี
6 สตรีสมุทรปราการ SSP ROBOT สมุทรปราการ สพม. สมุทรปราการ
7 เบญจมราชูทิศ จังหวัดจันทบุรี BJ-ROBOT จันทบุรี สพม. จันทบุรี ตราด
8 สตรีวิทยา2 MCT กรุงเทพมหานคร สพม. กรุงเทพมหานคร เขต 2
9 กาญจนานุเคราะห์ KN กาญจนบุรี สพม. กาญจนบุรี
10 นายางกลักพิทยาคม NP ROBOTIC ชัยภูมิ สพม. ชัยภูมิ

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (The Young Entrepreneur Project : YEP)

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มโครงการพิเศษ ดำเนินการการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และคู่มือการตัดสินนวัตกรรม ระดับประเทศ ระหว่างวันที่ ๕ – ๗ พฤษภาคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ตามแผนงานยุทธศาสตร์พัฒนาคุณภาพการศึกษาและการเรียนรู้ โครงการเสริมสร้างระเบียบวินัย คุณธรรม และจริยธรรม และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ กิจกรรมหลัก ส่งเสริมกิจกรรมนักเรียนเพื่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม และลักษณะที่พึงประสงค์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ (The Young Entrepreneur Project : YEP)

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ สพฐ. ประจำปี พ.ศ. 2565

           สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ของ สพฐ. ประจำปี พ.ศ. 2565 ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2565 ณ โรงแรมเดอะพาลาสโซ่ รัชดา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเตรียมความพร้อมศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จำนวน 12 แห่งทั่วประเทศ

           สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ดำเนินโครงการพัฒนา  ศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม และสนับสนุนงบประมาณปี พ.ศ. 2564 ให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียน จัดตั้งศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 12 แห่ง ทั่วประเทศ มีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้การลดใช้พลังงาน การจัดการขยะ การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) นโยบายการจัดการศึกษาด้านการลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสการเข้ารับการศึกษาที่มีคุณภาพ เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเป็นพลเมืองดี ตามวิถีประชาธิปไตย ใส่ใจสิ่งแวดล้อม รวมทั้งเกิดการเรียนรู้ร่วมกันระหว่างนักเรียน ครู และผู้บริหารภายในโรงเรียนกับชุมชน

โดยกิจกรรมภายในการอบรม มีกิจกรรมสำคัญได้แก่

  • การบรรยาย เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ตามเป้าหมายโลก 17 ข้อ สู่การบูรณาการ โครงการสำคัญของ สพฐ. โดย ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ ด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ.
  • การนำเสนอผลงานปฏิบัติงานของศูนย์การเรียนรู้ลดใช้พลังงาน การจัดการขยะและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม จำนวน 12 แห่ง ทั่วประเทศ
  • การพัฒนาศูนย์การเรียนรู้ฯ กับการบริการจัดการ โครงการอารยเกษตร  สืบสาน รักษา ต่อยอดตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย   “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” โดย อ.กิตยาภรณ์  ประยูรพรหม นักวิชาการศึกษาชำนาญการ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา สพฐ.
  • การจัดทำเกณฑ์การประเมินตนเอง ศูนย์โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  • การจัดทำแผนงานโครงการประกอบการเสนอขอสนับสนุนงบประมาณ ปี พ.ศ. 2565

 

แบบประเมินมาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีนโยบายในการส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนพัฒนาไปสู่โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามยุทธศาสตร์ชาติ ข้อที่ 5 การจัดการศึกษาเพื่อเสริมสร้างคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม โดยมีเป้าหมายให้โรงเรียนมีการบริหารจัดการและการจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อม เพื่อให้นักเรียนเกิดความตระหนักมีเจตคติมีความรู้ มีทักษะและมีส่วนร่วมในการปฏิบัติตนต่อสิ่งแวดล้อม สามารถเปลี่ยนพฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและเติบดตขึ้นเป็นพลเมืองที่ใช้ชีวิตอย่างพอเพียงสู่สังคมและสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน

เพื่อให้การขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ดังกล่าวเป็นไปตามเป้าหมาย สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงได้จัดทำเกณฑ์การประเมินมาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนขึ้นสำหรับให้โรงเรียนนำแนวทางของเกณฑ์การประเมินไปใช้ประยุกต์ใช้ โดยเทียบเทียบเคียงให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดความมุ่งมั่นที่พัฒนาไปสู่โรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งจะส่งผลต่อคุณภาพนักเรียนตามวัตถุประสงค์ของสิ่งแวดล้อมศึกษา อันจะส่งผลต่อความร่วมมือในการใช้และดูแลทรัพยากรธรรมชาติให้มีเหลือไว้ใช้สำหรับคนรุ่นต่อไปในอนาคตด้วย โดยกำหนดโรงเรียนมีบทบาทหน้าที่ในการดำเนินการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ดังนี้

  1. สร้างความรู้ ความเข้าใจกับผู้บริหาร ครูผู้สอน บุคลากรทางการศึกษา และทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการและจัดการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน และการประเมินโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. โรงเรียนดำเนินการพัฒนาโรงเรียนตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
  3. โรงเรียนประเมินตนเองตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนโดยเทียบเคียง ผลการประเมินกับเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 ครั้ง

  4. นำผลการประเมินมาปรับปรุงและพัฒนาโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

จึงขอเชิญชวนโรงเรียนในสังกัด สพฐ. ร่วมทำแบบประเมินตนเอง ตามเกณฑ์มาตรฐานโรงเรียนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ที่ https://inno.obec.go.th/eesd/eneva/ ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 29 เมษายน 2565

ดาวน์โหลดเกียรติบัตร คณะวิจัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในประเด็นของการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564

 

ขั้นตอนการดาวน์โหลดเกียรติบัตร

1. ดาวน์โหลดเกียรติบัตรออนไลน์ได้ที่ https://inno.obec.go.th/cert/download.php?id=52

2. หากตรวจสอบรายชื่อไม่พบ สามารถกรอกข้อมูลทำเนียบผู้วิจัย

ได้ที่ https://inno.obec.go.th/eesd/?page_id=8513

3. กลุ่มไลน์ติดต่อเรื่องเกียรติบัตร

 

โครงการนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินงานโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อส่งเสริมให้โรงเรียนผลิต พัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ด้านงานอาชีพและผลิตภัณฑ์นักธุรกิจน้อย จึงกำหนดการคัดเลือกนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการและสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ด้านการพัฒนาทักษะการอาชีพ ส่งเสริมการจัดการศึกษาที่เน้นพัฒนาทักษะอาชีพของผู้เรียน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิต สร้างอาชีพและรายได้ที่เหมาะสมและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ โดยเปิดรับสมัครตั้งแต่บัดนี้ – 31 มีนาคม 2565

รายละเอียด
1.โครงการ
2.แนวทางและหลักเกณฑ์การคัดเลือก
3.ใบสมัคร
หนังสือราชการ

ตรวจสอบชื่อนวัตกรรมและใบสมัครที่ส่งเข้ามา

สมัครคลิกที่นี่!
*หมายเหตุ : จัดส่งเล่มผลงานนวัตกรรมฯ จำนวน 3 ชุด ตามที่อยู่ดังนี้ 
           กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา 
           (โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์)  
           เลขที่ 319 ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม. 10300

ประชาสัมพันธ์การแข่งขันเครื่องบินร่อนควบคุมด้วยวิทยุ ประจำปี 2565 ขยายเวลารับสมัครถึง 10 ก.พ. 65

      ด้วย วิทยาลัยอุตสาหกรรมการบินนานาชาติ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้กำหนดจัดการแข่งขันเครื่องบินร่อนควบคุมด้วยวิทยุ ประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 24 – 25 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ค่ายการบิน The Sky Airfield อำเภอแก่งกระจาน จังหวัดเพชรบุรี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีให้ตัวแทนนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันที่ทำให้เกิดการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ทางอากาศพลศาสตร์ โดยไม่เสียค่าสมัคร 

       ทั้งนี้ ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันและติดตามข่าวสารการแข่งขัน ได้ที่ https://bit.ly/3rhFddZ  ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 10 กุมภาพัน 2565 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Line : @063kbwbf 

ประชาสัมพันธ์การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. – สพฐ. ประจำปี 2565

      ด้วย สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น) ได้กำหนดจัดการแข่งขันหุ่นยนต์  ส.ส.ท. – สพฐ. ยุวชน ประจำปี 2565 ชิงถ้วยพระราชทานสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ระหว่างวันที่ 28 – 29 พฤษภาคม 2565 ณ ศูนย์การค้าเซียร์ รังสิต จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมเยาวชนให้มีการพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี รวมทั้งศาสตร์ทางด้านหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ โดยมีเกมการแข่งขันระดับมัธยมศึกษา 2 รายการ คือเกม การแข่งขันที่ 1 เกมการแข่งขัน Rescue Line และเกมการแข่งขันที่ 2 เกมการแข่งขัน Rescue Maze โดยไม่เสียค่าสมัคร 

ผู้สนใจสามารถสมัครเข้าร่วมการแข่งขันได้ที่ www.tpa.or.th/robot ตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป จนถึงวันที่ 28 มกราคม 2565  สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Email : robot@tpa.or.th หรือฝ่ายสื่อสารองค์การและสมาชิก โทร. 0 2258 0320 – 5 ต่อ 1111 และ 1113 (ในเวลาทำการ 08.00 – 17.00 น.) และติดตามข่าวสารการแข่งขันได้ทาง Facebook : TPA Robot 

รายละเอียดการรับสมัคร 🔻
https://www.tpa.or.th/robot/page.php?content=forms
สมัครที่🔻
🔸เกม Rescue Line : https://forms.gle/G6H4eA3FMvhhDkT17
🔹เกม Rescue Maze : https://forms.gle/gEWyD1ZnejGkpadA9

****************************
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่
☎โทร. 02-2580320 ต่อ 1111,1113 (วันทำการ จ. – ศ. เวลา 08.00 – 17.00 น.)
📧Email: robot@tpa.or.th

ประกาศสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เรื่อง กรอบมาตรฐานการจัดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานร่วมกับสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เห็นความสำคัญของกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ และการใช้กิจกรรมเกี่ยวกับหุ่นยนต์ในการส่งเสริมการเรียนรู้สาระต่าง ๆ อย่างหลากหลาย ทั้งสาระวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี และมีโอกาสได้พัฒนาทักษะ และสมรรถนะหลายด้าน ทั้งทักษะการคิดวิเคราะห์ การคิดสร้างสรรค์ การแก้ปัญหา สมรรถนะการสื่อสาร และการรวมพลังทำงานเป็นทีม เพื่อให้การจัดการแข่งขันหุ่นยนต์เกิดประโยชน์ต่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่ และเกิดการเชื่อมโยงกิจกรรมกับสาระการเรียนรู้ และนำไปสู่การพัฒนาทักษะและสมรรถนะของผู้เข้าร่วมการแข่งขันอย่างแท้จริง จึงได้กำหนดกรอบมาตรฐานการจัดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

1. เพื่อสร้างกรอบหรือเกณฑ์มาตรฐานในการจัดกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ที่สอดคล้องกับมาตรฐานตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้ ในแต่ละช่วงชั้น

2. เพื่อให้หน่วยงานภาครัฐ และเอกชนที่ต้องการจัดกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรมให้เป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน และ

3. เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่ต้องการร่วมสนับสนุนการจัดกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาจัดส่งผู้แทนหรือกรรมการเข้าร่วมตัดสินกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์

ดังนั้น สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จึงกำหนดกรอบมาตรฐานการจัดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์ ดังมีรายละเอียดแนบท้ายประกาศฉบับนี้

ประชาสัมพันธ์โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ปี 2565

เชิญชวนสถานศึกษาเข้าร่วม โครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)

กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้จัดทำโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ขึ้น เพื่อส่งเสริม สนับสนุนโรงเรียนให้มีการเรียนการสอน และกิจกรรมการจัดการขยะที่ต้นทาง

การรับสมัครเข้าร่วมโครงการ
– ศึกษาเอกสารรายละเอียดโครงการโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) ปี 2565 (เกณฑ์การตัดสิน, รูปแบบเล่มผลงานโรงเรียนปลอดขยะ, สื่อในโครงการ) ได้ทางเว็บไซต์ www.deqp.go.th และเพจ Facebook : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School
– จัดทำเล่มผลงานโรงเรียนปลอดขยะเพื่อพิจารณาคัดเลือกโรงเรียนผ่านเข้ารอบที่ 1
– จัดส่งที่ กลุ่มสื่อสิ่งแวดล้อมและกิจการพิเศษ ชั้น 2 กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม 49 พระราม 6 ซอย 30 แขวงพญาไท เขตพญาไท กรุงเทพฯ 10400 (ส่งเล่มผลงาน = การสมัครสมบูรณ์)
– สมัครวันนี้ ถึง วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 (ยึดตามวันที่ประทับตราส่งเอกสาร)
– ติดตามประกาศรายชื่อผู้สมัครสมบูรณ์ได้ที่ เพจ Facebook : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School
– รอพิจารณาผลการคัดเลือกโรงเรียนผ่านเข้ารอบที่ 1
ติดต่อสอบถามได้ที่ กลุ่มสื่อสิ่งแวดล้อมและกิจการพิเศษ โทรศัพท์ : 0 2298 5608, 0 2278 8400-9 ต่อ 1293 และ 1298
เพจ Facebook : โครงการโรงเรียนปลอดขยะ Zero Waste School เพื่อรับข้อมูลข่าวสารตอบข้อสงสัย

โครงการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และหุ่นยนต์ สพฐ. ประจำปี 2565

ขยายเวลาเปิดรับสมัครเพิ่มเติม จนถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรม การจัดการศึกษา ได้ดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และหุ่นยนต์ สพฐ. โดยมีจุดมุ่งหมาย เพื่อพัฒนาศักยภาพตามความถนัดและความสามารถของพหุปัญญาของเด็กและนักเรียนให้เป็นนักคิด  นักประดิษฐ์ โดยอาศัยความรู้ด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นพื้นฐานในการปฏิบัติ คิดค้น สร้างสรรค์ผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 จึงขอให้สำนักงานเขต พื้นที่การศึกษาได้ประชาสัมพันธ์ เผยแพร่ ส่งเสริมให้โรงเรียนที่สนใจในสังกัดใช้เป็นแนวทางในการจัดกิจกรรม เพื่อเข้าร่วมกิจกรรมโครงการพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์และหุ่นยนต์ สพฐ. ในปีการศึกษา 2565  ตามแผนปฏิบัติการดำเนินงาน กำหนดระยะเวลาในการเข้าร่วมกิจกรรมรายละเอียดเอกสารดังนี้

1. การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ภายใต้หัวข้อ Inventions for Sustainable Development Project

2. การประกวดภาพวาดจินตนาการอนาคตทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ภายใต้หัวข้อ Science for Sustainable Development

กฟผ. – สพฐ. มอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2020 ประกาศเกียรติคุณโรงเรียนทั่วประเทศที่ร่วมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโครงการห้องเรียนสีเขียว

กฟผ. และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2020 ให้กับโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมโรงเรียนสีเขียว อาคารเบอร์ 5 ในสถานศึกษา โรงเรียนคาร์บอนต่ำ และโรงเรียนคาร์บอนต่ำสู่ชุมชน เพื่อประกาศเกียรติคุณและสร้างกำลังใจให้แก่โรงเรียนที่เป็นแบบอย่างที่ดีและมีผลงานโดดเด่นในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียวปี 2563

 

เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2564 นายสุทธิพงษ์  เฉลิมเกียรติ ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารจัดการความยั่งยืน(ชยย.) และว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เป็นประธานในพิธีมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2020 เพื่อประกาศเกียรติคุณและสร้างกำลังใจให้แก่โรงเรียนในการเป็นแบบอย่างที่ดีและมีผลงานโดดเด่นในการสนับสนุนการดำเนินกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียวในปี 2563 ภายใต้แนวคิด EGAT for ALL กฟผ. เป็นของทุกคน และเพื่อทุกคน ในมิติของการดูแลสังคมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านระบบ Zoom Meeting และถ่ายทอดสดทางเพจเฟซบุ๊ก “ห้องเรียนสีเขียว กฟผ. Page”

นายสุทธิพงษ์  เฉลิมเกียรติ ชยย. กล่าวว่า กฟผ. ได้ดำเนินโครงการห้องเรียนสีเขียวอย่างต่อเนื่องเป็นเวลากว่า 20 ปี ผ่านกิจกรรมต่าง ๆ ที่มุ่งเน้นปลูกฝังให้เยาวชนมีองค์ความรู้ ทัศนคติที่ดี และมีพฤติกรรมด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม รวมถึงสนับสนุนให้เยาวชนเป็นผู้นำในการสร้างเครือข่ายพลังงาน เกิดเป็นพลังเยาวชนที่เข้มแข็ง สามารถสร้างสรรค์กิจกรรมหรือนวัตกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม และขยายผลจากโรงเรียนสู่ครัวเรือนตลอดจนชุมชนในบริเวณพื้นที่รอบโรงเรียน นำไปสู่การสร้างสังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียวที่มีการแบ่งปันองค์ความรู้และแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันอย่างยั่งยืน ซึ่งโครงการนี้จะช่วยลดการใช้พลังงาน รักษาสิ่งแวดล้อม และลดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้แก่ประเทศ สอดคล้องกับเป้าหมายระดับโลกในเรื่อง Carbon Neutrality

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ สพฐ. กล่าวว่า ขอขอบคุณ กฟผ. ที่สร้างสรรค์โครงการห้องเรียนสีเขียวซึ่งเป็นประโยชน์ต่อสังคม โดย สพฐ. มีความยินดีอย่างยิ่งที่ได้เห็นภาพความสำเร็จของทุกโรงเรียนที่มีความมุ่งมั่นตั้งใจและร่วมมือกันอย่างแท้จริงที่จะพัฒนาให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่ความรู้สู่ชุมชน และสร้าง “สังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียว” หรือ Green Learning Society โดยมุ่งหวังว่าความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้แก่ประเทศไทยต่อไป

สำหรับในปี 2563 มีโรงเรียนที่ได้ร่วมดำเนินกิจกรรมและประสบความสำเร็จใน 4 กิจกรรม ดังนี้

1)โรงเรียนสีเขียว ซึ่งเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม จำนวน 13

โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดโบสถ์) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดน้อยใน) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (วัดสุนทรสถิต) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ โรงเรียนอนุบาลนนทบุรี โรงเรียนบ้านทำนบ (เลิศสินอนุสรณ์) โรงเรียนแม่แตง โรงเรียนตราษตระการคุณ โรงเรียนอนุบาลวัดสระแก้ว โรงเรียนบ้านโจดหนองแกหนองสิม โรงเรียนบ้านหนองแวง โรงเรียนบ้านหนองถ่ม (คุรุราษฎร์อนุสรณ์) และโรงเรียนบ้านหนองหัวช้าง

2) อาคารเบอร์ 5 ในสถานศึกษา เป็นอาคารที่ใช้สำหรับการเรียนการสอนที่มีการบริหารจัดการพลังงานไฟฟ้าอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ จำนวน 11 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัฒนาวิทยาลัย (อาคาร 1919) โรงเรียนราชวินิตประถมบางแค (อาคารเทพรัตน์สิริปภา) โรงเรียนวัดดอนทอง (สุวัณณะศรี ตัณฑิกุล ราษฏร์ศึกษาลัย) (อาคาร 8) โรงเรียนเบญจมราชรังสฤษฎิ์ (อาคาร 8) โรงเรียนอนุบาลสิงห์บุรี (อาคาร MEP) โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) (อาคาร 7) โรงเรียนประชารัฐธรรมคุณ (อาคารวิทิตธรรมคุณ) โรงเรียนกาวิละวิทยาลัย (อาคารธรรมลังกา) โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม (อาคารเกษตรศิลป์) โรงเรียนบุรีรัมย์พิทยาคม (อาคารปัญญาวิวัตร) และโรงเรียนสุขานารี (อาคาร 8)

3) โรงเรียนคาร์บอนต่ำ ลดการใช้ไฟฟ้าที่โรงเรียน มีรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านลำทับ โรงเรียนบ้านโจดหนองแกหนองสิม โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) โรงเรียนอนุบาลวัดสระแก้ว โรงเรียนวัดควนวิเศษ โรงเรียนอนุบาลลำปาง (เขลางค์รัตน์อนุสรณ์) โรงเรียนบางละมุง โรงเรียนตราษตระการคุณ โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา โรงเรียนนครสวรรค์ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี และโรงเรียนปรินส์รอยแยลส์วิทยาลัย

4) โรงเรียนคาร์บอนต่ำสู่ชุมชน ลดการใช้ไฟฟ้าที่บ้านของนักเรียน โดยในปี 2563 โรงเรียนและบ้านของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสามารถลดการใช้ไฟฟ้าได้กว่า 5 ล้านหน่วย ลดค่าไฟฟ้าได้มากกว่า 25 ล้านบาท และลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้มากกว่า 3 พันตัน โดยมีรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ จำนวน 12 โรงเรียน ได้แก่โรงเรียนวัดเมธังกราวาส (เทศรัฐราษฎร์นุกูล) โรงเรียนวัดน้ำคบ โรงเรียนอนุบาลสมุทรสงคราม โรงเรียนอนุบาลชัยนาท โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์ โรงเรียนอนุบาลพะเยา โรงเรียนทีปังกรวิทยาพัฒน์ (มัธยมวัดหัตถสารเกษตร) ในพระราชูปถัมภ์ ฯ โรงเรียนบางละมุง โรงเรียนเบญจมราชานุสรณ์โรงเรียนพิริยาลัย โรงเรียนนครสวรรค์ และโรงเรียนกันทรลักษณ์วิทยา