Author: คพศ. สนก.

การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง

การแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์

สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมกับ เขตอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ประเทศไทย (Software Park Thailand : SWP) และ คณะครุศาสตร์อุตสาหกรรมและเทคโนโลยี สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ได้ร่วมดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแนวทางการเรียนรู้ด้วยหุ่นยนต์เสมือนจริงและการฝึกอบรมและแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง  มีโรงเรียนในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง  ระดับพื้นฐาน เมื่อวันที่ 16 – 17 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา จำนวนทั้งสิ้น 137 โรงเรียน โดยโรงเรียนทั้งหมดจะได้รับสิทธิ์ในการอบรมต่อระดับสูง ในวันที่ 1 – 2 มิถุนายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์

โดยกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์กู้ภัยโดยใช้สถานการณ์จำลองเสมือนจริง เป็นการแข่งขันในลักษณะการจำลองสนามให้มีอุปสรรคกีดขวางระหว่างทางและหุ่นยนต์จะต้องหาผู้ประสบภัยจำลองได้โดยอัตโนมัติบนระบบออนไลน์ เป็นกิจกรรมที่ทำให้ผู้เรียนได้พัฒนาศักยภาพความรู้ความสามารถด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี และวิศวกรรมศาสตร์ ผ่านกระบวนการคิดวิเคราะห์ การลงมือทำ และการแก้ปัญหาในการประดิษฐ์หุ่นยนต์ ให้สามารถทำงานหรือใช้ประโยชน์ได้ตรงความต้องการ เพื่อต่อยอดไปสู่การพัฒนานวัตกรรมและเทคโนโลยี

ในการนี้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ยังได้จัดทำแนวทางการจัดทำแนวทางการจัดการเรียนรู้ด้วยหุ่นยนต์เสมือนจริง เพื่อเป็นแนวทางในการนำร่อง และขยายผลกิจกรรมนี้ไปใช้ในการปรับเปลี่ยนระบบการเรียนรู้ให้เอื้อต่อการพัฒนาทักษะสำหรับศตวรรษที่ 21 และเป็นเวทีให้ตัวแทนนักเรียนที่สนใจเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันที่ทำให้เรียนรู้ในหลายมิติทั้งในด้านความรู้ ทักษะ และสมรรถนะในการแก้ปัญหา ช่วยในการฝึกคิด วิเคราะห์ ทำให้เกิดการคิดสร้างสรรค์ที่นำไปสู่การสร้างนวัตกรรมใหม่ที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ ซึ่งสอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัดทั้งทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี รวมทั้งสมรรถนะพื้นฐานของผู้แข่งขัน ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดการนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันหรือการประกอบอาชีพในอนาคตต่อไป

รายละเอียดเพิ่มเติม https://inno.obec.go.th/robosim

การอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รุ่นที่ ๒

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รุ่นที่ ๒ อบรมครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัด สพป. และ สพม. ระหว่างวันที่ 9 – 11 พฤษภาคม 2566 จำนวน 300 คน ในรูปแบบออนไลน์ และได้รับเกียรติจาก ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และนางสาวพรรรัตน์ เพชรภักดี รองผู้อำนวยการใหญ่รักษาการผู้อำนวยการสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมดังกล่าวการอบรมครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงาน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยงาน ภายใต้ความร่วมมือ โครงการส่งเสริมการศึกษาด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ อย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้เกิดความตระหนัก มีองค์ความรู้เรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วภายหลังการบริโภคตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นกำลังในการวางรากฐานการศึกษาสู่เป้าหมายการสร้างสังคมแห่งการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน พัฒนานวัตกรรมการศึกษาด้านสื่อการเรียนรู้ และวิธีการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมและในส่วนที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยมีคณะทำงาน จำนวน 51 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เกี่ยวข้อง

         

การอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รุ่นที่ 1

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ดำเนินการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน รุ่นที่ 1 อบรมครูทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัด สพป. ระหว่างวันที่ 25 – 27 เมษายน 2566 จำนวน 300 คน ในรูปแบบออนไลน์ และได้รับเกียรติจาก ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมดังกล่าวการอบรมครั้งนี้ เกิดจากความร่วมมือของทั้ง 2 หน่วยงาน โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กับ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยงาน ภายใต้ความร่วมมือ โครงการส่งเสริมการศึกษาด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ อย่างยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้เกิดความตระหนัก มีองค์ความรู้เรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) เพื่อพัฒนาบุคลากรทางการศึกษาให้มีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องในด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วภายหลังการบริโภคตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อเป็นกำลังในการวางรากฐานการศึกษาสู่เป้าหมายการสร้างสังคมแห่งการผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน พัฒนานวัตกรรมการศึกษาด้านสื่อการเรียนรู้ และวิธีการจัดการเรียนการสอน ช่วยให้การศึกษาและการเรียนการสอนด้านสิ่งแวดล้อมและในส่วนที่เกี่ยวข้องมีประสิทธิภาพดียิ่งขึ้น โดยมีคณะทำงาน จำนวน 48 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เกี่ยวข้อง

   

ประชาสัมพันธ์โครงการนวัตกรรมรักษ์โลก ประจำปี ๒๕๖๖ ส่งคลิปประกวด ความยาวไม่เกิน ๓ นาที หัวข้อ “วันดูแลโลก : บ้านส่วนรวมของเรา” สามารถสมัครเข้าร่วมประกวดได้ที่ www.นวัตกรรมรักษ์โลก.com ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ถึง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖

ประชาสัมพันธ์โครงการนวัตกรรมรักษ์โลก ประจำปี ๒๕๖๖ โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ที่สนใจเข้าร่วมส่งคลิปประกวด ความยาวไม่เกิน ๓ นาที หัวข้อ “วันดูแลโลก : บ้านส่วนรวมของเรา” ทั้งนี้ สามารถสมัครเข้าร่วมประกวดได้ที่ http://www.นวัตกรรมรักษ์โลก.com ตั้งแต่วันที่ ๑ พฤษภาคม ถึง ๓๐ มิถุนายน ๒๕๖๖

ดาวโหลดหนังสือราชการ คลิกที่นี่

 

ประชาสัมพันธ์ โครงการห้องเรียนสีเขียวเชิญชวนเข้าร่วม กิจกรรม EGAT GREEN LEANING ACADEMY ประจำปี 2566 (เสริมสร้างพลังเยาวชนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน) 📍รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พฤษภาคม 2566

📢กฟผ. โครงการห้องเรียนสีเขียวเชิญชวนเข้าร่วม
กิจกรรม EGAT GREEN LEANING ACADEMY ประจำปี 2566 (เสริมสร้างพลังเยาวชนสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอน)
📍รับสมัครตั้งแต่วันนี้ ถึง 31 พฤษภาคม 2566
📌คุณสมบัติของทีมผู้สมัคร
ประเภทประถมศึกษา : นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 – 6 จำนวน 3 คน และครูที่ปรึกษา 2 คน
ประเภทมัธยมศึกษา : นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 4 – 6 จำนวน 3 คน และครูที่ปรึกษา 2 คน

👉ดูรายละเอียดเพิ่มเติม ได้ที่https://gls.egat.co.th/activities/304

ลิ้งค์สมัครเข้าร่วมประกวดกิจกรรมhttps://forms.gle/A8h89KFTn6S1qyGJ7

*ประกาศรายชื่อ* ผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (ผ่านระบบออนไลน์)

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดทำโครงการส่งเสริมการศึกษาด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน โดยจัดการอบรมรูปแบบออนไลน์ แบ่งเป็น ๒ รุ่น  สพฐ. ขอประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้าร่วมการอบบรม หนังสือราชการ คลิกที่นี่

https://drive.google.com/drive/folders/1Fx_ipXrIvDoaUTToY8oOEfsgh7pgr-7L?usp=sharing

รายละเอียดการเข้ารับการอบรม
รุ่นที่ 1
**1. รุ่นที่ 1 ยืนยันการเข้าร่วม ภายในวันที่ 21 เมษายน 2566 ผ่านระบบ ออนไลน์ที่ คลิกที่นี่ 

**2. เข้ากลุ่มไลน์ รุ่นที่ 1 สำหรับการติดต่อประสานงาน คลิกที่นี่

รุ่นที่ 2
** 1. รุ่นที่ 2 ยืนยันการเข้าร่วม ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ คลิกที่นี่

**2. เข้ากลุ่มไลน์ รุ่นที่ 2 สำหรับการติดต่อประสานงาน คลิกที่นี่

ประกาศผลการอบรม โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

เรียน คณะครูทุกท่าน ตามที่ สพฐ. ได้ ประชาสัมพันธ์โครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน การอบรมเป็นรูปแบบออนไลน์ แบ่งเป็น 2 รุ่น
**ตอนนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการเสนอท่าน เลขาธิการ กพฐ. ลงนามในประกาศ สพฐ. …. สนก. ขอประกาศรายชื่อ (ฉบับร่าง) อย่างไม่เป็นทางการก่อน
**ประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการคัดเลือกเข้ารับการอบรม ฯ คลิกที่นี่

รายละเอียดการเข้ารับการอบรม
รุ่นที่ 1
**1. รุ่นที่ 1 ยืนยันการเข้าร่วม ภายในวันที่ 21 เมษายน 2566 ผ่านระบบ ออนไลน์ที่ คลิกที่นี่ 

**2. เข้ากลุ่มไลน์ รุ่นที่ 1 สำหรับการติดต่อประสานงาน คลิกที่นี่

รุ่นที่ 2
** 1. รุ่นที่ 2 ยืนยันการเข้าร่วม ภายในวันที่ 1 พฤษภาคม 2566 ผ่านระบบออนไลน์ได้ที่ คลิกที่นี่

**2. เข้ากลุ่มไลน์ รุ่นที่ 2 สำหรับการติดต่อประสานงาน คลิกที่นี่

ทั้งนี้ สพฐ.จะดำเนินการจัดส่งหนังสือและประกาศฉบับจริงไปยังสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาของท่าน อีกครั้ง

การอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุ่นที่ 2

ในวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 10 – 11 เมษายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับโรงเรียนศูนย์แกนนำขยายเครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการอบรมดังกล่าว จำนวน 100 คน/รุ่น

และได้รับเกียรติจาก ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมการอบรม และให้ทราบถึงแนวนโยบายในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการแก่ผู้เรียน และสร้างผู้เรียนสู่ผู้ประกอบการ ภายใต้การบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ศูนย์ CEC ในระดับพื้นที่ นั้น

ทั้งนี้ การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ได้รับเกียรติวิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบ่มเพาะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนธุรกิจ โดยบูรณาการเข้ากับความรู้ความเข้าใจทางด้าน STEAM เพื่อให้นักเรียนสามารถประยุกต์และสร้างสรรค์ผลงานบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีมิติของการประกอบธุรกิจนวัตกรรมอยู่ด้วยอย่างสมบูรณ์ พัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบ่มเพาะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีประสบการณ์ด้านอาชีพ ในเรื่องการดำเนินการด้านธุรกิจในการเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณธรรม เหมาะสมกับวัย ต่อยอดการจัดการเรียนรู้งานอาชีพของครู โดยการสร้างแนวคิดใหม่และพัฒนารูปแบบการสอนงานอาชีพในโรงเรียนให้นักเรียนเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการ สามารถสร้างสรรค์ผลงานอย่างสร้างสรรค์ เชิงพาณิชย์ ผลิตเองได้ และขายได้อย่างครบวงจร พัฒนาขีดความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานต่อยอดผลิตภัณฑ์ของครูและนักเรียน โดยความร่วมมือกับเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาให้กับประเทศชาติ    

 

การอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุ่นที่ 1

ในวันจันทร์ที่ 3 เมษายน 2566  ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุ่นที่ 1  ระหว่างวันที่ 3 – 4 เมษายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับโรงเรียนศูนย์แกนนำขยายเครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการอบรมดังกล่าว จำนวน 100 คน/รุ่น

และได้รับเกียรติจาก ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมการอบรม และให้ทราบถึงแนวนโยบายในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการแก่ผู้เรียน และสร้างผู้เรียนสู่ผู้ประกอบการ ภายใต้การบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ศูนย์ CEC ในระดับพื้นที่  นั้น

ทั้งนี้ การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ได้รับเกียรติวิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบ่มเพาะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนธุรกิจ โดยบูรณาการเข้ากับความรู้ความเข้าใจทางด้าน STEAM เพื่อให้นักเรียนสามารถประยุกต์และสร้างสรรค์ผลงานบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีมิติของการประกอบธุรกิจนวัตกรรมอยู่ด้วยอย่างสมบูรณ์ พัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบ่มเพาะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีประสบการณ์ด้านอาชีพ ในเรื่องการดำเนินการด้านธุรกิจในการเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณธรรม เหมาะสมกับวัย ต่อยอดการจัดการเรียนรู้งานอาชีพของครู โดยการสร้างแนวคิดใหม่และพัฒนารูปแบบการสอนงานอาชีพในโรงเรียนให้นักเรียนเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการ สามารถสร้างสรรค์ผลงานอย่างสร้างสรรค์ เชิงพาณิชย์ ผลิตเองได้ และขายได้อย่างครบวงจร พัฒนาขีดความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานต่อยอดผลิตภัณฑ์ของครูและนักเรียน โดยความร่วมมือกับเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาให้กับประเทศชาติ

           

รับสมัครเข้ารับการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และ
รีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ได้จัดทำโครงการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืนตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อพัฒนาบุคลากร
ให้เกิดความตระหนัก มีองค์ความรู้เรื่องเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว
(Bio-Circular-Green Economy) แก้ปัญหาทรัพยากรเสื่อมโทรม ขยะล้นเมือง มุ่งแก้ไขปัญหามลพิษ
ลดผลกระทบต่อโลกอย่างยั่งยืน เพื่อเสริมสร้างศักยภาพและเติมขีดความสามารถพัฒนาทักษะความรู้ให้กับครู
ในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน และให้มีความรู้ ความเข้าใจ และทักษะในการบูรณาการกระบวนการสิ่งแวดล้อมศึกษากับหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนสู่การจัดการเรียนรู้ในชั้นเรียน โดยมีวิทยากร
จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย
และนวัตกรรมแห่งชาติ (สอวช.) และวิทยากรจากสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม (TIPMSE) การอบรมแบ่งเป็น ๒ รุ่น รุ่นที่ ๑ อบรมครูผู้สอน ทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัด สพป. ระหว่างวันที่ ๒๕ – ๒๗ เมษายน ๒๕๖๖
จำนวน ๓๐๐ คน รุ่นที่ ๒ อบรมครูผู้สอนทุกกลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัด สพม. ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๖๖ จำนวน ๓๐๐ คน

โดยสามารถสมัครเข้าร่วมโครงการ ในรุ่นที่ ๑ และรุ่นที่ ๒ ได้ที่ https://inno.obec.go.th ตั้งแต่บัดนี้ – ๑๑ เมษายน ๒๕๖๖

ดาวโหลดหนังสือราชการ 

ลงทะเบียนที่นี่ 

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ตัดสินการแข่งขันโต้สาระวาทีเพื่อพัฒนาทักษะการคิด เพื่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม – ๑ เมษายน ๒๕๖๖ ณ โรงแรม เอส ดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร

ในวันอังคารที่ ๒๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๖  สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) สพฐ. ได้รับเกียรติจาก
ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิดรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ตัดสินการแข่งขันโต้สาระวาทีเพื่อพัฒนาทักษะการคิด เพื่อสิ่งแวดล้อม ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” ระหว่างวันที่ ๒๘ มีนาคม – ๑ เมษายน ๒๕๖๖ ณ โรงแรม เอส ดี อเวนิว กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ร่วมกับ สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมลงนามบันทึกความเข้าใจความร่วมมือฯ ในการเสริมสร้างพื้นฐานวิธีคิดและทัศนคติการใช้ชีวิตในด้านการผลิตและการบริโภคอย่างเหมาะสม รวมถึงการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้วภายหลังการบริโภคได้อย่างถูกต้องอย่างเป็นระบบ และมีประสิทธิภาพตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ให้กับเด็กและเยาวชนทุกภาคส่วนของประเทศ โดยบูรณาการความรู้ด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ภายหลังการบริโภคอย่างถูกต้องเหมาะสม เข้าไปในสาระการเรียนรู้การศึกษาขั้นพื้นฐาน การอบรมครั้งนี้ เป็นการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ตัดสินการแข่งขันโต้สาระวาทีเพื่อพัฒนาทักษะการคิด เพื่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะมีการจัดการแข่งขัน ระหว่างเดือนพฤษภาคม – เดือนกันยายน ๒๕๖๖ จำนวน ๖ ภูมิภาค ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู จำนวน ๙๘ คน

      

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาหลักสูตรการอบรมผู้ตัดสินการแข่งขันโต้สาระวาทีเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ ๑๒ – ๑๕ มีนาคม ๒๕๖๖ ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

วันที่ 13 มีนาคม 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบนโยบายและแนวทาง การอบรมผู้ตัดสินการแข่งขันโต้สาระวาทีเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อม ระหว่างวันที่ 12-15 มีนาคม 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร

สำหรับการประชุมใครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดทำจัดทำร่างเนื้อหาหลักสูตรการอบรมผู้ตัดสินการแข่งขันโต้สาระวาทีเพื่อสิ่งแวดล้อม และมีการถ่ายทำตัวอย่างคลิปวิดีโอ รอบคัดเลือก เพื่อใช้ในการอบรมผู้ตัดสินโต้สาระวาทีเพื่อพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมครั้งต่อไป โดยมีคณะทำงาน จำนวน ๓๐ คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ นักวิชการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เกี่ยวข้อง