Author: พรด. สพฐ.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขับเคลื่อนการประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดี รายด้าน ประจำปี ๒๕๖๖ ระดับประเทศ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๖

วันที่ ๒๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ เวลา ๑๐.๐๐ น. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน ประจำปี ๒๕๖๖ ระดับประเทศ ในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๖ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๗ – ๓๐ มิถุนายน  ๒๕๖๖  ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร  

โดยมี นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมในครั้งนี้

วัตถุประสงค์ เพื่อคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู ทั้ง ๖ ด้าน ประกอบด้วย ๑) ด้านโภชนาการและสุขภาพอนามัย ๒) ด้านการส่งเสริมคุณภาพการศึกษา ๓) ด้านการส่งเสริมอาชีพ ๔) ด้านการอนุรักษ์วัฒนธรรมท้องถิ่น ๕) ด้านคุณธรรมและจริยธรรม และ ๖) ด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การประชุมปฏิบัติการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน ประจำปี ๒๕๖๖ ระดับประเทศในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลายหน่วยงานในการตัดสินการประกวดผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านของครู ประกอบด้วย ข้าราชการบำนาญ กระทรวงศึกษาธิการ ข้าราชการบำนาญ กระทรวงสาธารณสุข อาจารย์มหาวิทยาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน ๕๔ คน และคณะทำงานส่วนกลาง สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน ๓๐ คน รวมทั้งสิ้น จำนวน ๘๔ คน

การคัดเลือกผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน จาก จำนวน ๑๙๕ โรงเรียนในโครงการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (กพด.) สังกัด ๔๘ เขตพื้นที่การศึกษา และเป็นตัวแทนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อนำเสนอผลงานในการประชุมวิชาการการพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๖ ในลำดับต่อไป

สพฐ.ขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร

ภายใต้โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย
“โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ประจำปี 2566

วันที่ 9 เมษายน 2566 เวลา 09.00 น. นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มอบหมายให้
นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานโรงเรียนแกนนำอารยเกษตรโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 9 – 11 เมษายน 2566  ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

โดยมี นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุม

วัตถุประสงค์โครงการ มีดังนี้

         1. เพื่อจัดทำแผนการดำเนินงานขับเคลื่อนโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร

         2. เพื่อพัฒนาโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร ให้เป็นต้นแบบ สามารถจัดกระบวนการเรียนรู้ อารยเกษตร ได้อย่างเข้าใจ

         3. เพื่อกำกับ ติดตาม วิจัย ประเมินผล การขับเคลื่อน โรงเรียนแกนนำอารยเกษตร

มีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบโครงการ จำนวน 14 โรงเรียน ศึกษานิเทศก์ หรือผู้รับผิดชอบระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จาก 12 เขตพื้นที่การศึกษา คณะทำงานส่วนกลาง
ทีมวิจัยและเก็บข้อมูล ทีมหลักสูตร และคณะวิทยากร จากศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน และศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง รวมทั้งสิ้น จำนวน 84 คน

การดำเนินงานในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจาก คณะวิทยากร ผู้มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์เป็นอย่างดียิ่ง ประกอบด้วย พลโท สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ สำนักงานนายปฏิบัติการพิเศษในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ผู้จดจัดตั้งศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง
อาจารย์เอื้อมพร ลอยประดิษฐ์ ผู้อำนวยการสำนักการประกอบการทางสังคม สถาบันอาศรมศิลป์ ทีมงานผู้ช่วยครู ศูนย์การเรียนกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง “ปูทะเลย์มหาวิชชาลัย” มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง ทีมวิจัย คณะทำงานส่วนกลาง ส่วนภูมิภาค และโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร จำนวน 14 โรงเรียน จาก 12 เขตพื้นที่การศึกษา
ที่เข้าร่วมโครงการ ได้จัดทำแผนการดำเนินงานโรงเรียนแกนนำอารยเกษตร เพื่อไปพัฒนาคุณภาพ
การจัดการเรียนการสอนอารยเกษตรสู่นักเรียนได้เป็นอย่างดี เป็นการขับเคลื่อนแผนการดำเนินงานเป็นรูปธรรม ขยายผลสู่โรงเรียนกลุ่มเป้าหมายทุกภูมิภาค ทุกโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป

สพฐ.ร่วมกับกลุ่มโรงเรียนร่มเกล้า ประชุมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากลุ่มโรงเรียน ร่มเกล้า

               นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษากลุ่มโรงเรียนร่มเกล้า ในระหว่างวันที่ 24 – 26 พฤศจิกายน 2565 ณ โรงเรียนร่มเกล้าเขาค้อ เพชรบูรณ์ อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยมี นายวัชรพล วิทยากร ผู้อำนวยการโรงเรียนร่มเกล้า 2 ประธานกลุ่มโรงเรียนร่มเกล้า กล่าวรายงานวัตถุประสงค์ในการจัดการประชุม เพื่อจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา
ระยะ 5 ปี (พ.ศ. 2566 – 2570) ของกลุ่มโรงเรียนร่มเกล้า ให้มีการบริหารจัดการศึกษาอย่างเป็นระบบ มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ซึ่งมีโรงเรียนที่เข้าร่วมการประชุม จำนวน 12 โรงเรียน ประกอบด้วย 1) โรงเรียนร่มเกล้า 2 (ประธานกลุ่ม)
2) โรงเรียนร่มเกล้ามุกดาหาร 3) โรงเรียนร่มเกล้าปางตองในโครงการตามพระราชดำริ 4) โรงเรียนร่มเกล้าบ้านชมเจริญ
5) โรงเรียนร่มเกล้าสระแก้ว 6) โรงเรียนร่มเกล้าหนองบัวลำภู 7) โรงเรียนร่มเกล้ากาญจนบุรี 8) โรงเรียนร่มเกล้านราธิวาส
9) โรงเรียนร่มเกล้าบุรีรัมย์ 10) โรงเรียนร่มเกล้าปราจีนบุรี 11) โรงเรียนร่มเกล้าเขาค้อ เพชรบูรณ์ 12) โรงเรียนร่มเกล้าสกลนคร ซึ่งมีนายประทาน หาดยาว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบูรณ์ ผู้บริหาร
ครูและบุคลากรทางการศึกษา จำนวน 70 คน

ทั้งนี้ คณะจากส่วนกลาง ได้แก่ นางวันดี จิตรไพวรรณ ผู้อำนวยการกลุ่มติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษา
ขั้นพื้นฐานภาคใต้ สำนักติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน นางเกศกัญญา อนุกูล นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษาช่วยราชการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และนายเตชินท์พัฒน์ โชติวัชรธนานนท์ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ด้วย

 

ดาวน์โหลด คู่มือการจัดตั้งงบประมาณปี 2567 งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง กลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ

คู่มือการจัดตั้งงบประมาณ ปี 2567 งบลงทุน โรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ

1. กรอบแนวทางการจัดตั้งครุภัณฑ์ 67 (น.1-14)

2. รายการครุภัณฑ์ ปี 2567 (น.15-21)

3. ใบแทรก_แบบคำขอตั้งฯ ครุภัณฑ์ (น.22)

4. คำชี้แจงการกรอกครุภัณฑ์ 67 (น.23-31)

5. แบบฟอร์มครุภัณฑ์ 67 (น.32-44)

6. กรอบแนวทางการจัดตั้งสิ่งก่อสร้าง ปี 2567 (น.45-66)

7. ลักษณะอาคารมาตรฐาน สิ่งก่อสร้าง ปี 2567 (น.67-91)

8. ตารางแบบสิ่งก่อสร้างและเงื่อนไข ปี 2567 (น.92-94)

9. ใบแทรก-สรุปแบบฟอร์มคำขอตั้งสิ่งก่อสร้าง (น.95-96)

10. แบบฟอร์มคำขอตั้งสิ่งก่อสร้าง (น.97-112)

11. แบบขอค่าขนส่งวัสดุ (น.113-114)

12. ตัวอย่าง รายละเอียดการซ่อมแซมอาคารทั่วไป (น.115-116)

12.1 ตัวอย่าง รายการซ่อมแซมอาคารทั่วไป (น.117-125)

12.2 ตัวอย่าง ประมาณราคาซ่อมแซมทั่วไป (น.126-130)

Continue reading

สพฐ. ร่วมกับกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ จัดการประชุมวิชาการขับเคลื่อนการน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษา สู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

                วันที่ 6 พฤศจิกายน 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้
นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิด
การประชุมวิชาการ เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนของกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

                นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้รับมอบหมาย
จาก นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) ให้เป็นประธาน
ในพิธีเปิด การประชุมวิชาการ และบรรยายพิเศษ เพื่อน้อมนำพระบรมราโชบายด้านการศึกษาสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน
ของกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ณ โรงเรียน ภ.ป.ร. ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ อำเภอสามพราน
จังหวัดนครปฐม โดยมีนายเทพฤทธิ์ ยอดใส ผู้อำนวยการโรงเรียนราชวินิตมัธยม ประธานกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดการประชุมวิชาการในครั้งนี้

               การประชุมวิชาการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก นายวิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ
ได้บรรยายและสร้างความรู้ความเข้าใจการดำเนินงานโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด
ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” แก่ผู้บริหารโรงเรียน คณะครู
ในกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์

                โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และพัฒนาแนวทางการน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาล
ที่ 10 ด้านการศึกษา สู่การปฏิบัติในสถานศึกษา ทั้ง 4 ด้าน ที่มุ่งสร้างพื้นฐานให้แก่ผู้เรียน คือ 1. มีทัศนคติ
ที่ถูกต้องต่อบ้านเมือง 2. มีพื้นฐานชีวิตที่มั่งคง – มีคุณธรรม 3. มีงานทำ – มีอาชีพ และ 4. เป็นพลเมืองที่ดี
สร้างโอกาสการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในประสบการณ์และแนวทางในการจัดการศึกษาระหว่างครูและบุคลากรทางการศึกษาภายในกลุ่มโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ประกอบด้วย 9 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนราชวินิตมัธยม
โรงเรียนราชวินิต โรงเรียนราชวินิตบางแก้ว โรงเรียนราชวินิตบางเขน โรงเรียนราชวินิตประถมบางแค
โรงเรียนราชวินิตบางแคปานขำ โรงเรียนราชวินิตนนทบุรี โรงเรียนราชวินิตสุวรรณภูมิ และโรงเรียน ภ.ป.ร.
ราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ซึ่งมีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม
รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานครปฐม รองศึกษาธิการจังหวัดนครปฐม ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบ
ผู้บริหารโรงเรียน และคณะครู เข้าร่วมการประชุม จำนวนทั้งสิ้น 820 คน

             ทั้งนี้ คณะจากส่วนกลาง ได้แก่ นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางเกศกัญญา อนุกูล นักวิชาการศึกษา
ชำนาญการพิเศษ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา ช่วยราชการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
นายทศวรรษ เกิดติ๋ง นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และนายเตชินท์พัฒน์
โชติวัชรธนานนท์ นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ด้วย

สพฐ. อบรมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน และผลงานทักษะวิชาการ ในการประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชน ในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕

               สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
จัดอบรมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน และผลงานทักษะวิชาการ ในการประชุมวิชาการ
การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕ ระหว่างวันที่ ๓๑ ตุลาคม – ๓ พฤศจิกายน ๒๕๖๕
ณ โรงแรมนูโว ซิตี้ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
               วันที่ ๓๑ ตุลาคม ๒๕๖๕ นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้
นายพัฒนะ พัฒนทวีดล รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการบรรณาธิการกิจผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้านและผลงานทักษะวิชาการ ในการประชุมวิชาการ
การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จ
พระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕
                นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  ได้มอบหมายให้
นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  สำนักงานคณะกรรมการการศึกษา
ขั้นพื้นฐาน กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้
                นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริและโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ ได้ชี้แจงแนวทางเพื่อจัดทำผลงาน และจัดทำเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ ผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน และผลงานทักษะวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า
กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕  จาก ๗ หน่วยงาน ประกอบด้วย
                ๑) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน
                ๒) สำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน
                ๓) สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ
                ๔) สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
                ๕) สำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร
                ๖) กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และ
                ๗) สำนักงานส่งเสริมการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
                 ผู้เข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ประกอบด้วย คณะวิทยากร ผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน ๖ คน   นายพิธาน
พื้นทอง  นายธัญญา เรืองแก้ว นางสาวลาวัณย์ ตรีเนตร นายสมโชค คุณสนอง  นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ และนางลำใย สนั่นรัมย์ และคณะกรรมการ จำนวน ๘๐ คน ได้แก่  คณะกรรมการฝ่ายจัดทำผลงานแนวปฏิบัติที่ดีรายด้าน  ๖ ด้าน ครูผู้สอน และ
เจ้าหน้าที่ผู้แทนจาก ๗ หน่วยงาน จำนวน ๓๙ คน คณะกรรมการฝ่ายจัดทำผลงานทักษะวิชาการ นักวิชาการศึกษา และ ครู จำนวน ๑๖ คน คณะทำงาน จากส่วนกลาง และส่วนภูมิภาค จำนวน ๒๕ คน รวมทั้งสิ้น ๘๖ คน
                 ผลการดำเนินงานครั้งนี้ จะนำเสนอในงานประชุมวิชาการ การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร
ตามพระราชดำริสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ประจำปี ๒๕๖๕ ต่อไป

การอบรมการใช้ระบบปฏิบัติการประกวดผลงานและแข่งขันในการประชุมวิชาการ”การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร ตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี”

ในวันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ.2565 รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา) เป็นประธานในพิธีเปิด และผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง) ร่วมเป็นเกียรติกล่าวรายงาน การอบรมการใช้ระบบปฎิบัติการประกวดผลงานและแข่งขันในการประชุมวิชาการ”การพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดารตามพระราชดำริ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ณ ห้องปฎิบัติการ DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (ระบบ Zoom Meeting)

ในการประชุมฯ ครั้งนี้ มีผู้ร่วมประชุมฯ ได้แก่ ศึกษานิเทศก์และผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนตามพระราชดำริ จาก 47 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เขตละ 2 คน รวม 94 คน และวิทยากรในการอบรมฯ และเจ้าหน้าที่
ผู้รับผิดชอบโครงการของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จำนวน 20 คน รวมทั้งสิ้น 114 คน

การประชุมฯ ในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อวัตถุประสงค์ 6 ประการ ได้แก่
1) ส่งเสริมโภชนาการและสุขภาพอนามัยของเด็กและเยาวชนตั้งแต่ในครรภ์มารดา
2) ส่งเสริมและสนับสนุนการเพิ่มโอกาสทางการศึกษาให้แก่เด็กและเยาวชน
3) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการเรียนรู้ทางวิชาการ
4) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนทางการอาชีพ
5) ปลูกฝังจิตสำนึกและพัฒนาศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
6) เสริมสร้างศักยภาพของเด็กและเยาวชนในการอนุรักษ์และสืบทอดวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านการจัดกิจกรรมการนำเสนอผลงานแนวปฏิบัติ รายด้าน

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการ กพฐ. ขับเคลื่อนการดำเนินงานการน้อมนำ พระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ

ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงาน การน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ พร้อมทั้งให้แนวคิดการขับเคลื่อนแนวทางการดำเนินงานลงสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม โดยไม่เพิ่มภาระงานใหม่ให้กับสถานศึกษา ครู นักเรียน แต่เป็นการปรับการดำเนินงานให้เป็นระบบยิ่งขึ้น ลงสู่การปฏิบัติ เพื่อให้เกิดพฤติกรรมเชิงบวก สร้างความรักและเทิดทูนต่อสถาบันพระมหากษัตริย์

ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีนโยบายขับเคลื่อนการดำเนินงานน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และผู้เรียน มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ มีอาชีพและเป็นพลเมืองดี ระหว่างวันที่ 21- 24 มิถุนายน 2565 การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้น  ณ ห้องประชุมสพฐ. 2 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9   สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ทั้งนี้ ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านติดตามตรวจสอบการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประธานคณะทำงานจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานการน้อมนำพระบรมราโชบายในหลวงรัชกาลที่ 10 สู่การปฏิบัติ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์การจัดการประชุมในครั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการขับเคลื่อนเป็นไปในทิศทางเดียวกัน บรรลุตามวัตถุประสงค์การจัดทำคู่มือแนวทางการดำเนินงานเป็นการน้อมนำพระบรมราโชบาย 4 ด้าน คือ มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีพื้นฐานชีวิตที่มั่นคง มีคุณธรรม มีงานทำ-มีอาชีพ และเป็นพลเมืองดี
ผ่านการปฏิบัติกิจกรรม วิถีคนดี คุณธรรมนำชีวิต หนึ่งนักเรียนหนึ่งอาชีพ  และจิตอาสาด้วยหัวใจ โดยจะลงสู่การปฏิบัติในโรงเรียนนำร่อง 588 โรงเรียนที่อยู่ในกลุ่มโรงเรียนพระราชดำริฯ  19 กลุ่มโรงเรียน ขับเคลื่อนผ่านเขตพื้นที่การศึกษา ร่วมกันถอดบทเรียนและค้นหาแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) เพื่อเป็นต้นแบบและขยายผล
กับโรงเรียนทั่วไป 29,265 โรงเรียน ในปีการศึกษาต่อไป

ผู้เข้าร่วมการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วย นายบุญเลิศ  ค่อนสะอาด ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานการศึกษา ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้  นางลำใย สนั่นรัมย์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครื่องมือวัดผล นางสาวพรเพ็ญ ทองสิมา ผู้เชี่ยวชาญด้านประเมินผลการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.สุวิทย์  บึงบัว ผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาหลักสูตรและสื่อสารการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยี ดร.วรัญญภรณ์ ชาลีรักษ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านติดตามตรวจสอบการดำเนินการบริหารจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายนพพร แสงอาทิตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มพัฒนาโรงเรียนในโครงการตามพระราชดำริ และโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา คณะทำงานจากส่วนกลาง นักวิชาการศึกษา คณะทำงานจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการกลุ่มนิเทศ ติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย และรองผู้อำนวยการโรงเรียน ตามลำดับ