Author: วพร. สนก.

สนก.เปิดบ้านต้อนรับผู้แทนมหาวิทยาลัยชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน เพื่อหารือแนวทางความร่วมมือด้านการต่อยอดนักเรียนไทยที่มีศักยภาพสูงสู่การศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีนภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล

เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2566 ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาให้เกียรติเป็นประธานในการเปิดประชุมและกล่าวต้อนรับผู้แทนมหาวิทยาลัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 9 แห่ง ประกอบด้วย
1.Shanxi University
2.Northeast Forestry University
3.Zhejiang University of Technology
4.Huazhong University of Science and Technology
5.Changsha University of Science and Technology
6.Xi’an jiaotong university
7.Tianjin University
8.Yangzhou University
9.Huazhong University of Science and Technology

การประชุมหารือแนวทางความร่วมมือในการต่อยอดนักเรียนไทยที่มีศักยภาพสูงสู่การศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน จัดขึ้นภายใต้การดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อสร้างความเชื่อมั่นในการขับเคลื่อนโครงการระหว่างหน่วยงานเครือข่ายทั้งภาครัฐและเอกชน
รวมถึงการหารือเกี่ยวกับแนะแนวพิจารณาทุนการศึกษาจากมหาวิทยาลัยต่างๆสำหรับนักเรียนในสังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่มีความมุ่งมั่น ตั้งใจ และมีศักยภาพเพียงพอที่จะเดินทางไปศึกษาต่อ
ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานภาครัฐและภาคเอกชนที่มีความร่วมมือภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล โดยมติการประชุมได้กำหนดให้เพิ่มจำนวนมหาวิทยาลัยเข้าสู่โครงการและสรุปข้อมูลจำนวนและประเภททุนการศึกษาให้แล้วเสร็จภายในเดือน มกราคม 2567 ต่อไป

สนก.จับมือภาคีเครือข่ายเชิญมหาวิทยาลัยชั้นนำจากประเทศจีน ร่วมจัดกิจกรรมแนะแนวทุนการศึกษา China Education “One Belt One Road 2023” ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล

เมื่อวันพุธที่ 29 พฤศจิกายน 2566 ดร.ศุภสิน ภูศรีโสม ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ให้เกียรติ
เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมแนะแนวทุนการศึกษา China Education “One Belt One Road 2023” ภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทย
ในระดับสากล ซึ่งเป็นโครงการในแผนงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีงบประมาณ พ.ศ.2566  ณ ศูนย์พัฒนาการเรียนการสอนภาษาจีน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2

ภายในงานประกอบด้วยกิจกรรมการให้ความรู้เกี่ยวกับการศึกษาต่อสาธารณรัฐประชาชนจีน การเตรียมความพร้อมสำหรับการสอบพื้นฐานภาษาจีน HSK การประชาสัมพันธ์ทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนที่มีความประสงค์จะไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน รวมถึงการพูดคุยแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างครู นักเรียน และผู้แทนมหาวิทยาลัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งเดินทางมาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 9 แห่ง ได้แก่
1.Shanxi University
2.Northeast Forestry University
3.Zhejiang University of Technology
4.Huazhong University of Science and Technology
5.Changsha University of Science and Technology
6.Xi’an jiaotong university
7.Tianjin University
8.Yangzhou University
9.Huazhong University of Science and Technology
ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวนกว่า 300 คน จากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 จำนวน 19 โรงเรียน ภายหลังเสร็จสิ้นกิจกรรมข้างต้น ผู้แทนมหาวิทยาลัยจากสาธารณรัฐประชาชนจีนกำหนดแผนการเยี่ยมชมการจัดการศึกษาของโรงเรียนกรุงเทพมหานคร จำนวน 2 แห่ง ได้แก่ โรงเรียนฤทธิยะวรรณาลัยและโรงเรียนสตรีวิทยา เพื่อเตรียมขยายผลโครงการในระยะต่อไป

เด็กไทยสุดเจ๋ง คว้า 24 เหรียญ จากการเข้าร่วมแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โอลิมปิก ระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ : 20th International Mathematics and Science Olympiad for Primary School Students (IMSO 2023) ผ่านระบบออนไลน์

นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถ
เพื่อเข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 20
ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ : 20th International Mathematics and Science Olympiad for Primary School
Students (IMSO 2023) ระหว่างวันที่ 16-21 พฤศจิกายน 2566 ในรูปแบบออนไลน์ ซึ่งมีนักเรียนไทยเข้าร่วม
การแข่งขันทั้งสิ้นจำนวน 24 คน แบ่งออกเป็น 2 วิชา คือวิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน
และวิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 คน

ผลการแข่งขันปรากฎว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล รวมทั้งสิ้น 24 เหรียญ แบ่งเป็นเหรียญทอง 6 เหรียญ เหรียญเงิน 16 เหรียญ เหรียญทองแดง 2 เหรียญ

วิชาคณิตศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 เหรีญ ได้แก่

เหรียญทอง  2 รางวัล ได้แก่

1.เด็กชายฉัตรดนัย ลิ้มศิริรังสรรค์        โรงเรียนนานาชาติกระบี่

2.เด็กชายปรรณ กาญจนารัณย์           โรงเรียนอำนวยศิลป์

เหรียญเงิน 8 รางวัล ได้แก่

1.เด็กชายกรณ์ สิริธนกุล                      โรงเรียนกรุงเทพคริสเตียนวิทยาลัย

2.เด็กชายณกฤช ฤกษ์รัตนวราพร        โรงเรียนอำนวยศิลป์

3.เด็กชายณัฐพัชร์ พาชีรัตน์                 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4.เด็กชายธนนันท์ สุวรรณพันธุ์            โรงเรียนอนุบาลปราจีนบุรี

5.เด็กชายปริญญา สิงห์กัญญา            โรงเรียนแสงทองวิทยา

6.เด็กชายพชร เรามานะชัย                  โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา

7.เด็กชายวัชรวีร์ ตันธนพิพัฒน์            โรงเรียนสารสาสน์วิเทศร่มเกล้า

8.เด็กชายศิวัตร์ กาลเนาวกุล                โรงเรียนแสงทองวิทยา

เหรียญทองแดง 2 รางวัล ได้แก่

1.เด็กหญิงวรฤทัย คงนคร                    โรงเรียนบูรณะรำลึก

2.เด็กชายอัสรัน พงศ์พิมล                    โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่น

วิชาวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา จำนวน 12 เหรีญ ได้แก่

เหรียญทอง  4 รางวัล ได้แก่

1.เด็กหญิงณัฐธยาน์ ฉายวิริยะ            โรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช ณ ราชอุทิศ

2.เด็กชายปุญญพัฒน์ ฉัตรพรจรัส       โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

3.เด็กชายพงศ์ฤทธิ์ พงส์เผ่าทอง        โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

4.เด็กชายภัทรวุฒิ บางอ้น                    โรงเรียนสัมชัญแผนกประถม

เหรียญเงิน 8 รางวัล ได้แก่

1.เด็กชายการิน หุนศิริ                          โรงเรียนราชวินิต

2.เด็กชายเกื้อ เรืองเกียรติกุล                โรงเรียนอนุบาลศรีสะเกษ

3.เด็กชายแทนคุณ กังแฮ                      โรงเรียนแสงทองวิทยา

4.เด็กชายบารเมษฐ์ เจริญชัยสมบัติ      โรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ฝ่ายประถม

5.เด็กชายบูรพ์ ตันตระกูล                    โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

6.เด็กชายปณิธิ สุนันท์กิ่งเพชร             โรงเรียนเซนต์คาเบรียล

7.เด็กชายวริศ สุวรรณชาตรี                 โรงเรียนแสงทองวิทยา

8.เด็กชายศุภกร อุไรพันธ์                      โรงเรียนแสงทองวิทยา

การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 20 ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ : 20th International Mathematics and Science Olympiad for Primary School Students (IMSO 2023) ผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 17 พฤศจิกายน 2566 เวลา 09.00 น. นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้ นายนิยม ไผ่โสภา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน พร้อมกล่าวต้อนรับ ปฐมนิเทศ และชี้แจงเกณฑ์แนวทางการแข่งขันแก่คณะผู้แทนนักเรียนไทย การแข่งขันคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์โอลิมปิกระหว่างประเทศ ระดับประถมศึกษา ครั้งที่ 20  ประจำปี พ.ศ. ๒๕๖๖ : 20th International Mathematics and Science Olympiad for Primary School Students (IMSO 2023) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 16 – 21 พฤศจิกายน 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง สพม.กรุงเทพมหานคร เขต 1 และโรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

“กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ร่วมกับองค์กรเครือข่าย จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “How to Increase Your Chances of Getting Into a Top UK University” ภายใต้โครงการทุนการศึกษา iConnect OBEC Schorlarship ประจำปี 2567”

วันที่ 15 พฤศจิกายน 2566 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) โดยโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ร่วมกับ CATS Global Schools และ ConnectED จัดงานสัมมนาในหัวข้อ “How to Increase Your Chances of Getting Into a Top UK University” (ทำอย่างไรจึงจะเพิ่มโอกาสในการเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหราชอาณาจักร)
ณ Event space 37th Floor JustCo One City Centre งานสัมมนาในครั้งนี้ มีเป้าหมายเพื่อการให้ความรู้
และประสบการณ์แก่นักเรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่สนใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างระบบการศึกษาในโรงเรียนมัธยมของประเทศไทย และสหราชอาณาจักร รวมถึงเทคนิคการเตรียมความพร้อมสำหรับนักเรียนที่ต้องการไปศึกษาต่อ
ในมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงในระดับนานาชาติ โดยมี ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กร
แห่งการเรียนรู้ ในฐานะผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล คุณเกล็ดเพชร สุมนพันธุ์ ผู้แทนจาก CATS Global Schools
และคุณพศิษฐ์ พิพิธดิศพงษ์ ผู้แทนจาก ConnectED ให้เกียรติบรรยายเกี่ยวกับความเป็นมาของโครงการ
จำนวนทุนการศึกษา และแนวทางการขับเคลื่อนโครงการในปี พ.ศ. 2567 นอกจากนี้ยังได้รับเกียรติ
จาก Mr.Phil Harwood รองผู้อำนวยการโรงเรียน CATS Cambridge ซึ่งเดินทางมาจากสหราชอาณาจักร เพื่อให้ข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอน การส่งเสริมและพัฒนานักเรียนเป็นรายบุคคล รวมถึงการดูแลชีวิตความเป็นอยู่
ของนักเรียนภายใต้โครงการ เพื่อสร้างความเชื่อมั่น และความไว้วางใจให้แก่ผู้ปกครองและนักเรียน ที่กำลังจะเข้าสู่โครงการในปี 2567 โดยโครงการทุนการศึกษา iConnect OBEC Scholarship ประจำปี 2567 ได้เริ่มเปิดรับสมัครนักเรียนเพื่อเข้าร่วมโครงการแล้วตั้งแต่วันนี้ – มีนาคม 2567 และทำการสอบคัดเลือก พร้อมทั้งประกาศรายชื่อนักเรียนทุนในช่วงเดือนเมษายน 2567 ต่อไป

กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ร่วมกับองค์กรเครือข่าย เดินหน้าพัฒนาศักยภาพด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษเพื่อการต่อยอดเยาวชนไทยสู่สากล ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI)

วันที่ 6 พฤศจิกายน 2566 ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ และนักวิชาการศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประกอบด้วย นางสาวธัญชนก ชวาลวณิชชัย นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ และนายณัฐศาสตร์ ส่องแสง เข้าร่วมการประชุมเพื่อเปิดตัว

“โครงการประเมินและพัฒนาศักยภาพทางด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษ ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์” ซึ่งเป็นโครงการที่นำเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ (AI) เข้ามาใช้ในการแก้ไขปัญหาด้านการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียนไทยที่นำเสนอบทเรียนและกิจกรรมผ่านแอพพลิเคชั่นที่เข้าใจง่ายและสนุกสนาน เพื่อให้ผู้เรียนได้ฝึกพูดและโต้ตอบเป็นภาษาอังกฤษ ในหัวข้อเนื้อหาที่ตรงตามมาตรฐานสากลยุโรป CEFR พร้อมรับคำชี้แนะแบบรายบุคคลจากผู้ช่วยปัญญาประดิษฐ์ (Edsy AI Speaking Coach) จนมีพัฒนาการที่เห็นผลได้อย่างชัดเจน

การประชุมดังกล่าวจัดขึ้นในรูปแบบออนไลน์ และมีผู้แทนจากองค์กรเครือข่ายที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม ได้แก่ สำนักการศึกษากรุงเทพมหานคร เขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดระยอง นักวิชาการจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ และผู้บริหารเอ็ดดูเคชั่น อีซี่ (ไทยแลนด์) ซึ่งเป็นสตาร์ทอัพด้านการศึกษาภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (depa) และกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานดังกล่าว สอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ของกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ที่มุ่งส่งเสริมการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเพื่อยกระดับระบบสนับสนุนที่เหมาะสมต่อการขับเคลื่อนองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัย สถานศึกษาที่มีคุณภาพ และสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม

ทีมวิจัยและพัฒนาของในครั้งนี้ นำโดย ดร.ณพล รัชตสัมฤทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านปัญญาประดิษฐ์และเทคโนโลยีการศึกษา (AI in Education) จาก Human-Computer Interaction Institute (HCII) ของมหาวิทยาลัย Carnegie Mellon ประเทศสหรัฐอเมริกา ที่ได้พัฒนาเครื่องมือวัดระดับทักษะการพูดภาษาอังกฤษ “EdSpeak” ผ่านการบันทึกเสียงตอบคำถามของนักเรียนเพื่อนำมาวิเคราะห์ด้วยปัญญาประดิษฐ์ โดยอ้างอิงงานวิจัยจากสถาบันและองค์กรชั้นนำในระดับโลกที่เชี่ยวชาญเรื่องเทคโนโลยีการศึกษา ทั้งยังร่วมมือกับทีมนักวิจัยจากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และศูนย์ภาษามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (LITU) เพื่อปรับโมเดลปัญญาประดิษฐ์ในการวิเคราะห์ผลให้เหมาะสมกับลักษณะการสื่อสารของคนไทย ซึ่งในระยะเริ่มต้นโครงการจะมีกลุ่มโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่ร่วมเป็นโรงเรียนต้นแบบในการทดลองใช้นวัตกรรม ระหว่างภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๖ จำนวน 9 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย นนทบุรี โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย โรงเรียนยุพราชวิทยาลัย โรงเรียนวัฒโนทัยพายัพ โรงเรียนวัดอมรินทราราม และโรงเรียนอนุบาลเชียงราย โรงเรียนชำนาญสามัคคีวิทยา โรงเรียนวัดช้างชนราษฏร์บำรุง และโรงเรียนบ้านหนองม่วง

ทั้งนี้ ภายหลังการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมในระยะแรกเสร็จสิ้นเป็นที่เรียบร้อย องค์กรเครือข่ายต่าง ๆ จะร่วมกันการขยายผลการใช้นวัตกรรมเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของนักเรียน และครู ในโรงเรียนอื่น ๆ ต่อไป

“กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เปิดตัวโครงการ The Bridge ในงานมหกรรมการศึกษาต่อ ณ ไบเทค บางนา”

วันที่ 7 ตุลาคม 2566 เวลา 11.00 น. กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้เข้าร่วมมหกรรมการศึกษา DekDee study aboard fair และ Dek-D’s TCAS Fair ที่จัดขึ้นเพื่อเตรียมความพร้อมแก่นักเรียนและผู้ปกครองในการเข้าศึกษาต่อระดับอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ โดยภายในงานมีนิทรรศการ
จากมหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา และบริษัทเอกชน จำนวนกว่า 100 นิทรรศการ และมีการบรรยายรวมถึงการ
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการศึกษาต่อจากอดีตนักเรียนทุน ผู้เชี่ยวชาญ และหน่วยงานต่าง ๆ เป็นจำนวนมาก

โดย ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ได้รับเชิญให้กล่าวถึงการดำเนินงานโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ซึ่งเป็นโครงการตามแผนงาน
ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ที่สามารถต่อยอดนักเรียนไทยที่มีศักยภาพและมีความพร้อม ให้ได้รับทุนจากสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อไปศึกษาต่อในต่างประเทศ ภายใต้การส่งเสริม สนับสนุน และติดตามดูแลจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน อย่างเป็นระบบ

ภายในงานดังกล่าว รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้กล่าวเปิดตัวโครงการ “The Bridge” ซึ่งเป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อลดช่องว่างในการต่อยอดจากระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานของระบบการศึกษา
ในประเทศไทยไปสู่ระดับอุดมศึกษาในประเทศอังกฤษ โดยมุ่งเน้นการรวบรวมทุนการศึกษาสำหรับนักเรียนชั้น ม.6
ในการศึกษาต่อระดับปริญญาตรี ณ ประเทศอังกฤษ โดยไม่จำเป็นต้องผ่านการเรียนหลักสูตร foundation หรือ A-Level ซึ่งอาจทำให้นักเรียนต้องใช้เวลาในการเรียนเพิ่มมากขึ้น

โครงการ “The Bridge” เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือของ กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และ มหาวิทยาลัยต่าง ๆ อาทิ University of Northampton, DE Montfort University University of Greenwich และ University of Roehampton ภายใต้การสนับสนุนความร่วมมือระหว่างประเทศจากสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย และการประสานงานจาก iStudyUK โดยหลังจากนี้จะมีการประชาสัมพันธ์โครงการไปยังโรงเรียนต่าง ๆ ในช่วงเปิดเทอมเดือนพฤศจิกายนต่อไป

“สนก. นำเสนอนวัตกรรมการต่อยอดผู้เรียนในมหกรรมการศึกษาระดับนานาชาติ BETT Asia 2023”

วันที่ 4 ตุลาคม 2566 ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้รับเชิญเป็น Speaker ในงาน Bett Asia 2023 ซึ่งเป็นมหกรรม
การศึกษาระดับภูมิภาคที่มุ่งเน้นการรวบรวมรัฐมนตรี ผู้นำ และผู้สร้างความเปลี่ยนแปลงในแวดวงการศึกษาระดับนานาชาติ เพื่อแบ่งปันความรู้ แนวปฏิบัติที่ดีที่สุด และแนวคิดที่สร้างผลกระทบอย่างแท้จริงและมีความหมายต่ออนาคตของภาคเทคโนโลยีการศึกษาในเอเชีย

โดยภายในงาน ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานเครือข่าย ได้แก่ ดร.พันธุ์ปิติ โพธิ์วิจิตร Director, British Academic Center (BAC) คุณฐนปวรรธน์ แตงอ่อน ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิเคราะห์และพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการศึกษา และคุณนันทมาศ ฉัตราภรณ์ Trade Manager- Education, Department for Business and Trade (DBT), British Embassy Bangkok ได้ร่วมกันบรรยาย ในหัวข้อ “Towards Internationalisation: Innovation development projects for Thai students” ซึ่งมีเนื้อหาครอบคลุมการเตรียมความพร้อมโครงการ 1.5 plus Dual Degree โดย สพฐ. NCUK และ British Academic Center ที่มุ่งเน้นการพัฒนาหลักสูตรการเรียนการสอน foundation
ในรูปแบบ Hybrid Learning ที่ไม่จําเป็นต้องลาออกจากโรงเรียนเดิม และมีความสอดคล้องกับบริบทและความต้องการของเยาวชนไทยทั้งในและนอกระบบ

นอกจากนี้ยังกล่าวถึงแนวทางในการขับเคลื่อนโครงการซึ่งมีทั้งรูปแบบรายบุคคล และรายห้องเรียนหรือโรงเรียน
โดยนักเรียนที่เข้าสู่โครงการจะจําแนกออกเป็น 3 สายการเรียน ได้แก่ สาย Business Engineer และ Science
ที่สอดคล้องกลับระบบการศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยของประเทศอังกฤษ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลีย
โดยใช้ระยะเวลาในการจัดการเรียนการสอน 1.5 ปี ควบคู่กับการเรียนในโรงเรียนปกติ และเมื่อนักเรียนจบการศึกษาแล้วจะได้รับวุฒิการศึกษา ม.6 จากโรงเรียนเดิมพร้อมกับวุฒิ Foundation ที่การันตีที่เรียนและทุนการศึกษา
จากมหาวิทยาลัยเครือข่ายในประเทศอังกฤษ นิวซีแลนด์ และออสเตรเลียได้ทันที

“สนก. ส่งนักเรียนทุน iConnect OBEC Scholarship ไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา”

ตามที่ สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) อนุมัติให้สํานักพัฒนานวัตกรรม การจัดการศึกษา (สนก.)
ดําเนินโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล ที่มุ่งการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนไทยที่มีศักยภาพสูง ให้ได้รับทุนการศึกษาในหลักสูตร Foundation/ A-Level/ High School จากกลุ่มโรงเรียนในเครือข่าย CATS Global Schools

โดย CATS Global Schools ได้เชิญผู้รับผิดชอบโครงการ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมเดินทางพร้อมกับนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาในปี 2566 – 2567 ที่มีกำหนดการเดินทางไปศึกษาต่อ ณ ประเทศสหรัฐอเมริกา ช่วงต้นเดือนกันยายน ซึ่ง ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี ได้นำนักเรียนทุน และผู้ปกครอง เข้าร่วมประชุมกับผู้บริหารโรงเรียน เพื่อติดตาม และประเมินผลการดําเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล รุ่นที่ 1 รวมถึงเยี่ยมชมการจัดการเรียนการสอนของโรงเรียน ระหว่างวันที่ 6 – 21 กันยายน 2566 ณ CATS Academy Boston เมืองบอสตัน รัฐแมสซาชูเซต ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยภายหลังการเดินทาง ได้ดำเนินการสรุปและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อจัดทำรายงานนำเสนอต่อผู้บริหารระดับสูง ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) เพื่อปรับปรุง พัฒนา และต่อยอดโครงการในรุ่นต่อไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประสิทธิผลสูงสุด

สพฐ. ร่วมแสดงความยินดีกับนักเรียนทุนโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ ประจำปี 2566

วันที่ 25 กรกฎาคม 2566 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) มอบหมายให้ นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (ผอ.สนก.) พร้อมด้วย นายฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (วพร.สนก.) ร่วมแสดงความยินดีกับนักเรียนทุนโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) ก่อนเดินทางไปศึกษาต่อ ประจำปี 2566 โดยมี นางสาวนันทมาศ ฉัตราภรณ์ ผู้แทนจาก สถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย นางสาวเกล็ดเพชร สุมนพันธุ์ ผู้แทนจาก CATS Global Schools นายพศิษฐ์ พิพิธดิศพงษ์ ผู้ประสานข้อมูลนักเรียน ผู้แทนจาก คอนเน็ค เอ็ด (ConnectED) นักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษา และผู้ปกครอง เข้าร่วม ณ ห้องประชุม สพฐ. 2 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้อนุมัติให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ดำเนินงานโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานให้เท่าเทียมกับการจัดการศึกษาในระดับนานาชาติและต่อยอดนักเรียนที่มีความรู้ ทักษะ และมีสมรรถนะสูง สู่การศึกษาต่อในสถาบันที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ

สำหรับการเข้าพบผู้บริหาร สพฐ. ครั้งนี้ มีขึ้นเพื่อให้นักเรียนผู้ได้รับทุนการศึกษา ในโครงการของ สพฐ. ทั้ง 3 รุ่น ทั้งนักเรียนทุนที่จบการศึกษาจากโครงการต้นแบบ และโครงการพัฒนานวัตกรรมยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarship) ประจำปี 2565 รวมถึงตัวแทนนักเรียนทุนฯ ประจำปี 2566 ที่กำลังจะเดินทางในปีนี้ เข้ารายงานผลการศึกษาและรับโอวาทจากผู้บริหาร สพฐ.

ทั้งนี้ นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผอ.สนก. กล่าวแสดงความยินดีกับนักเรียนทุนฯ ทั้งที่จบการศึกษา และกำลังจะเดินทางไปศึกษาต่อ พร้อมอวยพรให้ประสบความสำเร็จตามที่มุ่งหวัง อีกทั้งขอบคุณในความร่วมมือจากทุกหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นสถานเอกอัครราชทูตอังกฤษประจำประเทศไทย แคทส์ โกลบอล สคูล (CATS Global Schools) คอนเน็ค เอ็ด (ConnectED) และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ที่สนับสนุนให้นักเรียนมีโอกาสในการเปิดโลกทัศน์ และพัฒนาตนเองได้อย่างเต็มที่ ในต่างประเทศ พร้อมที่จะนำความรู้ที่ได้มาพัฒนาประเทศต่อไป

 

 

 

นักเรียนไทยสุดยอด! คว้า 15 รางวัล 24 เหรียญ จากการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ส่งผู้แทนนักเรียนไทยที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์ เข้าร่วมการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics 2023 (PMWC 2023) สำหรับการแข่งขันครั้งนี้มีประทศที่เข้าร่วมการแข่งขันจำนวนทั้งสิ้น 12 ประเทศ 36 ทีม 144 คน ซึ่งจัดการแข่งขันในรูปแบบออนไลน์ เมื่อวันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง กรุงเทพมหานคร ร่วมกับประเทศเจ้าภาพสาธารณรัฐประชาชนจีน และประเทศที่เข้าร่วมการแข่งขัน ได้แก่ ประเทศ ไต้หวัน ไทย บัลแกเรีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย มาเก๊า สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย แอฟริกาใต้ เวียดนาม และฮ่องกง โดยมีผู้แทนนักเรียนไทยเข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนทั้งสิ้น 12 คน แบ่งเป็น 3 ทีม ทีมละ 4 คน ผลการแข่งขันปรากฏว่า นักเรียนไทยสามารถคว้ารางวัล และเหรียญรวมทั้งสิ้น 15 รางวัล 24 เหรียญ ดังนี้

ประเภทบุคคล Individual ได้รับรางวัลรวม 12 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 2 เหรียญทอง 5 เหรียญเงิน 5 เหรียญทองแดง ดังนี้
เหรียญทอง 2 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายสุรชัช เดชพิชัย     โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)     กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
  2. เด็กหญิงอรณิชชา ราญฎร     โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

เหรียญเงิน 5 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายนฤเบศวร์ หิรัญเพิ่มพูน     โรงเรียนราชวินิต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
  2. เด็กหญิงปุณิกา แสงสว่าง     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  3. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา     โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. เด็กชายพีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์     โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม
  5. เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร     โรงเรียนอนุบาลนครปฐม     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1

เหรียญทองแดง 5 รางวัล ได้แก่

  1. เด็กชายเขมทิน อึ้งภูรีเสถียร     โรงเรียนแสงทองวิทยา     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายจิรัฏฐ์ เลี่ยมเพชร     โรงเรียนสหวิทย์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  3. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กชายณภัทร ชัยกมลภัทร     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล    สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  5. เด็กชายปุญญกรณ์ แสงสกุล     โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1

 ประเภททีม Team Prize ได้รับรางวัลรวม 3 รางวัล (12 เหรียญ) แบ่งเป็น 4 เหรียญทอง 4 เหรียญทองแดง และ 4 เหรียญชมเชย ดังนี้
เหรียญทอง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team C

  1. เด็กหญิงชนัญชิดา โชคชัยทวีลาภ     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  2. เด็กชายณภัทร ชัยกมลภัทร     โรงเรียนเซนต์คาเบรียล     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  3. เด็กชายภูมิพัฒน์ คีรีวิเชียร     โรงเรียนอนุบาลนครปฐม      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1
  4. เด็กชายสุรชัช เดชพิชัย     โรงเรียนเทศบาล 8 (อนุบาลฝันที่เป็นจริง)     กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

เหรียญทองแดง 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team A

  1. เด็กชายเขมทิน อึ้งภูรีเสถียร      โรงเรียนแสงทองวิทยา      สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายปุญญกรณ์ แสงสกุล      โรงเรียนวัดดอนไก่เตี้ย      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 1
  3. เด็กชายปุณณวิช อรุณศิริวัฒนา      โรงเรียนธิดาแม่พระ     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  4. เด็กชายพีรวิชญ์ เหล่าเราวิโรจน์      โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยขอนแก่นฝ่ายประถมศึกษา (ศึกษาศาสตร์)     กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม

เหรียญชมเชย 1 รางวัล (4 เหรียญ) ได้แก่ Team B

  1. เด็กชายจิรัฏฐ์ เลี่ยมเพชร     โรงเรียนสหวิทย์     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน
  2. เด็กชายนฤเบศวร์ หิรัญเพิ่มพูน     โรงเรียนราชวินิต     สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร
  3. เด็กหญิงปุณิกา แสงสว่าง     โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา      สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 1
  4. เด็กหญิงอรณิชชา ราญฎร      โรงเรียนบูรณะรำลึก     สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน

การแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary
Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์

วันที่ 13 กรกฏาคม 2566 เวลา 09.00 น. นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขัน พร้อมกล่าวต้อนรับคณะผู้แทนนักเรียนไทย และได้รับเกียรติจาก นายกิตติศักดิ์ ศรีปทุมานุรักษ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมัธยมวัดนายโรง ร่วมพิธีเปิดการแข่งขันคณิตศาสตร์โลก ระดับประถมศึกษา ประจำปี พ.ศ. 2566 Po Leung Kuk Primary Mathematics World Contest 2023 (PMWC 2023) ผ่านระบบออนไลน์ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 12 – 17 กรกฎาคม 2566 ณ โรงเรียนมัธยมวัดนายโรง และโรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร เพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนได้พัฒนาด้านการคิดวิเคราะห์ และส่งเสริมอัจฉริยภาพนักเรียนที่มีความสามารถด้านคณิตศาสตร์อย่างเต็มตามศักยภาพ ได้แลกเปลี่ยนการเรียนรู้สู่เวทีวิชาการ ระดับนานาชาติ โดยมี นายปราโมทย์ ขจรภัย ที่ปรึกษาโครงการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ได้ให้เกียรติร่วมพิธีเปิดการแข่งขัน ให้คำปรึกษา และแนะนำแนวทางการดำเนินการจัดการแข่งขันดังกล่าว