Author: admin

การประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ความเป็นมาของการประกวด

การประกวดนวัตกรรมการศึกษา เป็นการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษาและพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของนักเรียน สำหรับการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก เป็นการยกระดับศักยภาพด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู การบริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนสนับสนุนกระบวนการนิเทศติดตามให้กับศึกษานิเทศก์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของศักยภาพตามบริบทของแต่ละบุคคล ผ่านการประกวดนวัตกรรมการศึกษา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21

วัตถุประสงค์การประกวด

  1. เพื่อส่งเสริมให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา ในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. เพื่อเผยแพร่ผลงานนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีคุณภาพของครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์สู่การปฏิบัติอย่างแพร่หลายในระดับชาติ (Thai Journal Citation Index Centre: TCI) ระดับอาเซียน (ASEAN Citation Index: ACI) หรือระดับนานาชาติ (International Citation Index: ICI)

ประเภทของนวัตกรรมที่ใช้ในการประกวดครั้งนี้

นวัตกรรมที่ใช้ในการประกวดครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้  

  1. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ หมายถึง รูปแบบ วิธีการ เทคนิคการจัดการเรียนรู้ หรือสื่อการเรียนรู้ที่มุ่งแก้ไขหรือพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา
  2. นวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หมายถึง วิธีการ เทคนิคการบริหารและการจัดการ ของสถานศึกษา ที่มุ่งยกระดับสถานศึกษาให้มีคุณภาพที่เหมาะสมตามบริบทต่อการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  3. นวัตกรรมการนิเทศการศึกษา หมายถึง รูปแบบ วิธีการ เทคนิคการนิเทศการศึกษาที่มุ่งยกระดับคุณภาพสถานศึกษา ที่เหมาะสมตามบริบทในพื้นที่รับผิดชอบในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

คุณลักษณะนวัตกรรมที่ใช้ในการส่งประกวด

  1. เป็นนวัตกรรมเชิงประจักษ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษานั้น ๆ
  2. ไม่เป็นผลงานทางวิชาการเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาทุกระดับ
  3. นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ดำเนินการมาแล้วย้อนหลังไม่เกิน 3 ปีการศึกษา (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 – 2563)
  4. นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลในระดับประเทศหรือเทียบเท่ามาก่อน
  5. นวัตกรรมที่ได้รับการพิจารณาให้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจะได้รับการเผยแพร่สู่เวทีในระดับสากล

คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

  1. เป็นครูและบุคลากรที่จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
  2. เป็นผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. เป็นศึกษานิเทศก์ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  4. ผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดไม่สามารถสมัครเข้ารับการแต่งตั้งเป็นกรรมการประเมินได้

ระยะเวลาการส่งผลงานและการประกวด

  1.  การส่งผลงานเข้าประกวด

1.1 ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัคร วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2564 โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชาสัมพันธ์ไปยังผู้สนใจผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1.2 รายงานนวัตกรรม จำนวนไม่เกิน 15 หน้า ตามรูปแบบที่กำหนด (รายละเอียด แนบท้ายเอกสารนี้) โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องได้รับการรับรอง ดังนี้ 1) ครูและบุคลากรที่จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ต้องให้ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รักษาการในตำแหน่งรับรอง 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ ต้องให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรอง
1.3 ผู้สนใจต้องส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ผ่านทั้ง 2 ช่องทาง ดังนี้
1) ไปรษณีย์จำนวน 3 ชุด โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2564ส่งถึง กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม. 10300 พร้อมข้อความ “ประกวดนวัตกรรมการศึกษา” ที่มุมล่างซ้ายของซอง
2) Google Form เป็นไฟล์ PDF และ Word โดยผ่าน URL http://gg.gg/tb1ce
1.4 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จะประกาศรายชื่อผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทราบ ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ทางwww.innoobec.com ผู้ที่ส่งผลงานเข้ารับการพิจารณาจะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

**แก้ไขเพิ่มเติม

ขอเลื่อนการประการรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวด จากเดิมวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เนื่องจากรายงานนวัตกรรมบางส่วนยังมาไม่ถึงสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ * *

 

 

หากมีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมประกวด หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือดำเนินการต่อที่ด้านล่างนี้

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
โทร. 0 2288 5893 หรือติดต่อ นายจักรพงษ์ คำมี ผู้รับผิดชอบโครงการ โทร. 08 9574 9966

มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแห่งอนาคต

Morbi placerat elit fermentum, cursus tellus id, congue metus. Phasellus elementum sodales lacus, id facilisis justo. Nulla at blandit erat. Curabitur finibus at sem ut ultrices. Morbi tellus felis, consectetur ac mi sed, laoreet facilisis ipsum. Integer sit amet tortor finibus felis tristique congue eget eu massa. Suspendisse potenti. Aenean eu iaculis ex. Morbi accumsan turpis eu ligula auctor euismod. Nam sit amet imperdiet ipsum. Vestibulum cursus sapien ipsum, eu vestibulum tortor farer vulputate.

Aenean in diam nec odio blandit egestas et aliquam orci. Praesent vitae vestibulum nibh. Aliquam rutrum viverra ligula non placerat. Sed iaculis scelerisque velit ut lacinia. Vestibulum maximus quam ante, at efficitur mi vulputate non. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Proin eleifend neque sed nisl hendrerit dignissim. Pellentesque faucibus, mi eget tincidunt efficitur, libero tellus ullamcorper urna, ac vulputate arcu libero hendrerit neque. Fusce ac mauris ut nulla ornare viverra.

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Quisque sed mattis velit. Donec vehicula, lectus sit amet finibus scelerisque, leo mauris scelerisque ligula, eu luctus neque justo pulvinar sem. Morbi faucibus lobortis quam, sed egestas tellus imperdiet sed.

ประกาศผลการคัดเลือกข้อเสนอโครงการผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ และภาพวาดจินตนาการอนาคตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นวัตกรรมหุ่นยนต์สำหรับอวกาศ

Phasellus tellus lectus, viverra ac imperdiet at, mollis ut velit. Curabitur varius imperdiet lacinia. Curabitur vitae venenatis ex, in fermentum risus. Quisque in orci ac nisl pharetra egestas vitae quis tellus. Sed congue leo neque. Suspendisse porta, ante non tempus rhoncus, risus augue sodales tellus, sed commodo purus massa in ligula. Quisque finibus congue risus, quis semper quam iaculis ac. Sed quis congue tortor. Fusce in scelerisque elit, vitae vestibulum nibh. Nunc ut ex nec sem luctus sodales a eu ex. Pellentesque pretium nulla justo, ut tristique mi condimentum vitae. Maecenas iaculis dui aliquam felis vehicula dictum sit amet vel sapien. Quisque et fermentum nunc, vitae cursus tellus. Phasellus facilisis, nisi sed porta tempor, turpis lacus malesuada ligula, id malesuada augue ante sit amet arcu. Proin at felis nec lacus eleifend varius. Vestibulum ante ipsum primis in faucibus orci luctus et ultrices posuere cubilia Curae.

Quisque purus erat, pellentesque sit amet lacus eu, condimentum elementum nibh. Nullam at lectus sodales, ornare leo in, imperdiet lacus. Vestibulum aliquet augue nunc. Praesent vitae nibh ac erat fringilla varius. Vivamus nisi mi, suscipit vel nibh ac, tincidunt dictum dolor. Vivamus pharetra tincidunt tortor sit amet dignissim. Mauris dignissim risus ut risus volutpat rhoncus. Duis eget quam luctus, dignissim erat eu, consectetur tellus. Pellentesque nec risus ac justo bibendum tincidunt quis at enim. Duis convallis aliquet purus euismod finibus. Mauris sit amet ipsum eleifend, eleifend elit blandit, tempus augue. Duis porta risus ac eros tempus, id sollicitudin urna venenatis. Sed dapibus rhoncus sodales. In hac habitasse platea dictumst. In sed laoreet eros, eu mattis erat. Donec ut libero at velit porta porta ut et risus.

ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน ร่วมกับ สถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และได้จัดทำ QR – CODE คู่มือการใช้สื่อ AR คู่มือการอบรมสร้างสื่อ AR คลิปการใช้AR Application และคลิปการสร้างสื่อ AR

ในการนี้ เพื่อสร้างการรับรู้และขยายผลของการใช้สื่อเสมือนจริง (AR) ให้กับครูเพื่อนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้ทั่วประเทศ จึงเห็นควรประชาสัมพันธ์และเผยแพรให้กับครูผู้สอนประวัติศาสตร์ หรือครูสาระการเรียนรู้อื่นๆ จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสนับสนุน ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์แจ้งโรงเรียนให้มีการใช้ AR Appication และคู่มือตามสิ่งที่ส่งมาด้วย พร้อมทั้งรายงานผลการนำสื่อไปใช้ผ่านทาง e-mail : learning.obec@gmail.com ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564

ตอนที่ 1 QR – CODE เกี่ยวกับสื่อ AR

1. คู่มือการใช้สื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง

2. คู่มืออบรมสร้างเทคโนโลยีเสมือนจริง

3. วิดีโอสอนสร้างสื่อ

4. วิดีโอการใช้ Application

ตอนที่ 2 QR – CODE เกี่ยวกับสื่อ AR

แบบรายงานสภาพฯ ฉบับโรงเรียน

แบบรายงานสภาพฯ ฉบับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

แบบรายงานการใช้ฯ ฉบับโรงเรียน

แบบรายงานการใช้ฯ ฉบับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

เทคโนโลยีสมาร์ทออฟฟิศ

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Quisque sed mattis velit. Donec vehicula, lectus sit amet finibus scelerisque, leo mauris scelerisque ligula, eu luctus neque justo pulvinar sem. Morbi faucibus lobortis quam, sed egestas tellus imperdiet sed.

Morbi placerat elit fermentum, cursus tellus id, congue metus. Phasellus elementum sodales lacus, id facilisis justo. Nulla at blandit erat. Curabitur finibus at sem ut ultrices. Morbi tellus felis, consectetur ac mi sed, laoreet facilisis ipsum. Integer sit amet tortor finibus felis tristique congue eget eu massa. Suspendisse potenti. Aenean eu iaculis ex. Morbi accumsan turpis eu ligula auctor euismod. Nam sit amet imperdiet ipsum. Vestibulum cursus sapien ipsum, eu vestibulum tortor farer vulputate.

Aenean in diam nec odio blandit egestas et aliquam orci. Praesent vitae vestibulum nibh. Aliquam rutrum viverra ligula non placerat. Sed iaculis scelerisque velit ut lacinia. Vestibulum maximus quam ante, at efficitur mi vulputate non. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Proin eleifend neque sed nisl hendrerit dignissim. Pellentesque faucibus, mi eget tincidunt efficitur, libero tellus ullamcorper urna, ac vulputate arcu libero hendrerit neque. Fusce ac mauris ut nulla ornare viverra.

ร่วมเป็นเกียรติร่วมแจกเหรียญรางวัลสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ แคนาดา CMO (Canadian Mathematical Olympiad)

วันที่ 8 เมษายน 2564 เวลา 10.30 น. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา เข้าร่วมเป็นเกียรติร่วมแจกเหรียญรางวัลสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ แคนาดา CMO (Canadian Mathematical Olympiad) สำหรับนักเรียนในสนามสอบประเทศไทย จำนวน 43 คน ร่วมกับ ดร.ซาราห์ เทย์เลอร์ เอกอัครราชทูตแคนาดา ประจำประเทศไทย และนายพีรพล ไตรทศาวิทย์ นายกสมาคมนักเรียนเก่าแคนาดา ณ ห้องอับดุลราฮิม สมาคม ไว ดับยู ซีเอ กรุงเทพมหานคร

 

 

 

 

 

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 4 ภาคกลาง และภาคตะวันออก

         วันที่ 7 เมษายน 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 4 ประกอบด้วยภาคกลาง และภาคตะวันออก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2564 ณ โรงแรมคลาสสิก คามิโอ โฮเต็ล แอนด์ เซอร์วิช อพาร์ตเมนต์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) ประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวทางปฏิบัติเดียวกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 48 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 12 เขต โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวปุณญอุษา ผดุงหมาย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม

การประชุมปฏิบัติการจัดทำร่างแบบประเมินและคู่มือสำหรับผู้ประเมิน โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 6- 8 เมษายน 2564

วันที่ 6-8 เมษายน 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้มอบหมายให้กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร นำโดย ดร.มัลลวีร์ รอสโฟล และทีมงาน ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการจัดทำร่างแบบประเมินและคู่มือสำหรับผู้ประเมิน โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 6- 8 เมษายน 2564 ณ โรงแรมบางกอกชฎา จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานการประเมินและออกแบบเครื่องมือสำหรับการลงพื้นที่เพื่อประเมินโรงเรียน รวมถึงจัดทำคู่มือการประเมินให้สอดคลัองกับบริบทของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 40 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารการศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณาจารย์จากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้แทนจากและตัวแทนจากภาคเอกชน ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ได้มอบหมายให้ ดร.อรนุช  มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานในการประชุมแทน

สพฐ.ร่วมกับภาคเอกชนจัดการประชุมปฎิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2564 ณ โรงแรมบางกอกชฎา กรุงเทพมหานคร

วันที่ 1 เมษายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ หน่วยงานองค์กรภาคเอกชนจากมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี (Connext ed) จัดการประชุมปฎิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2564 ณ โรงแรมบางกอกชฎา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน วางแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน จัดทำกรอบการปฏิบัติงานคณะทำงาน 3 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการกลั่นกรองแผนพัฒนาโรงเรียน คณะกรรมการด้านกรอบงานวิจัยของโครงการคอนเน็กซ์อีดี และคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี พร้อมทั้งจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยคณะทำงานทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 86 คน  ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงศ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการประชุม