Author: admin

การประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตร “การพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา ภายใต้โครงการ คอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์เทาว์เวอร์อินท์ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 6 สิงหาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร นำทีมโดย ดร.ธัญญานันท์ แก้วเกิด ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตร “การพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา” ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย ระหว่างวันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ เทาว์เวอร์อินท์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ปรับปรุงหลักสูตร “การพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา” ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดีให้เป็นรูปธรรม และส่งต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. จัดทำสรุปงานวิจัยตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ 3. จัดทำสรุปงานวิจัยรูปแบบการพัฒนาบริษัทภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย  ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

ประกาศผลการคัดเลือกวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี

การประชุมปฏิบัติการจัดทำ Best Practice ของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)

วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(วนบ.) นำทีมโดย ดร.ธัญญานันท์ แก้วเกิด ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการจัดทำ Best Practice ของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 9 – 11 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรม บางกอกชฎา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของผู้ที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 จำนวน 50 โรงเรียน โดยผู้สนับสนุน 12 หน่วยงาน เพื่อนำมาเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นได้นำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ต่อไป โดยการประชุมครังนี้ได้รับเกียรติจาก รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เป็นประธานเปิดการประชุม และมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้สนับสนุนโรงเรียนร่วมพัฒนาจากภาคเอกชน ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน

การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ผ่านระบบออนไลน์

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แจ้งผลการคัดเลือกข้อเสนอโครงการผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่และแจ้งนักเรียนเจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการคัดเลือกได้พัฒนาและจัดทำผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้เสร็จสมบูรณ์ พร้อมที่จะนำไปจัดแสดง และนำเสนอต่อคณะกรรมการผ่านระบบออนไลน์ (Video Conference) เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดในเวทีระดับนานาชาติ 2022 IEYI World Contest ทางระบบออนไลน์ (Virtual Contest) ผ่านคลิปวิดีโอ ในช่วงเดือนกันยายน 2565 ณ ประเทศไต้หวัน นั้น

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดการจัดประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ (Video Conference) ระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2565 เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับประเทศเข้าร่วมการประกวดในเวทีระดับนานาชาติ 2022 IEYI World Contest ณ ประเทศไต้หวัน ขอให้โรงเรียนในสังกัดที่มีนักเรียนเจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ดำเนินการ ดังนี้

1. นักเรียนเจ้าของผลงานข้อเสนอโครงการที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 59 ผลงาน แจ้งยืนยันสิทธิ์การเข้าร่วมการประกวดและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ผ่านระบบออนไลน์ที่ https://inno.obec.go.th/inventor/younginventor 2022 ภายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ไม่เกินเวลา 16.30 น.

2. ทีมผู้เข้าร่วมประกวดและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ต่อคณะกรรมการ ในวันประกวดผ่านระบบออนไลน์ กำหนดการจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

3. ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ทดสอบระบบการใช้งานระบบ (Video Conference)ระหว่างเวลา 13.00 – 16.00 น. ทั้งนี้ จะแจ้ง URL ในการเข้าใช้งานผ่านทาง E-mail หรือกลุ่ม Line รายละเอียดสิ่งที่ส่งมาด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะประกาศผลการนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 และผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัดการประชุมหารือการดำเนินงานโครงการร่วมกันในอนาคต

ในวันที่ 6 มิถุนายน 2565  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.อัมพร พินะสา พร้อมด้วย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และ ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร ในฐานะผู้ขับเคลื่อนโครงการคอนเน็กอีดี ภาครัฐ ร่วมประชุมหารือกับ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำโดย ดร. เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และคณะ ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานความก้าวหน้า พร้อมหารือแนวทางการดำเนินโครงการในอนาคต ดังต่อไปนี้

  1. การดำเนินการสนับสนุนของ สพฐ. ในการจัดทางานวิจัยรูปแบบการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี กรณีศึกษา OTOP Junior ผู้ประกอบการน้อย ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จากัด (มหาชน)
  2. รายงานความก้าวหน้าของ โครงการ partnership ในส่วนการดำเนินการของ สพฐ.
  3. การดำเนินประกวด Win Win WAR วัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนนักเรียน อายุระหว่าง 9 – 14 ปี ที่มีความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้และนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ เข้าร่วมการประกวด เพื่อชิงทุนการศึกษา

ทั้งนี้ ผลการหารือร่วมกันระหว่าง สพฐ. และ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จะได้รับการสานต่อเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านโครงการคอนเน็กซ์อีดีต่อไป

ขอเปลี่ยนแปลงวันประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกทีมวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี

การอบรมเชิงปฎิบัติการจัดทำกรอบการวิจัยเพื่อการศึกษารูปแบบการยกระดับการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี วันที่ 15 -17 มิ.ย. 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยการดำเนินการของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี จัดการอบรมเชิงปฎิบัติการจัดทำกรอบเพื่อนำผลวิจัยการใช้รูปแบบองค์ความรู้ทั้บการวิจัยเพื่อศึกษารูปแบบการยกระดับการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี วันที่ 15 -17 มิ.ย. 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ส่งเสริมงานวิจัยและถอดบทเรียนองค์ความรู้รูปแบบการพัฒนาของบริษัทภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (Best Practices) จำนวน 17 รูปแบบ มาศึกษาเพื่อสร้างนวัตกรรมที่เหมาะสม และขยายผลให้กับโรงเรียนใน สพฐ. อื่นๆทั่วประเทศ โดยให้มีกำหนดการแล้วเสร็จ 2565 เพื่อนำผลการวิจัยการใช้รูปแบบองค์ความรู้ทั้ง 17 รูปแบบ ไปใช้พัฒนาเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยต่อไป ทั้งนี้การอบรมดังกล่าวมีคณะทำงานประกอบไปด้วย ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา คณะผู้แทนจากบริษัทภายใต้มูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี  และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 80 คน โดยมี ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. เป็นประธานเปิดการอบรมในครั้งนี้

การอบรมผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 รอบเพิ่มเติม ระหว่างวันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2565

เมื่อวันที่ 8 – 9 มิถุนายน 2565 – สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี  จัดอบรมออนไลน์หลักสูตรผู้นําด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent ภาครัฐ ปี 2565 ให้แก่ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 (รอบเพิ่มเติม) นำโดย ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวเปิดการอบรม และ ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. กล่าวชี้แจงบทบาทหน้าที่ ICT Talent ภาครัฐ เพื่อแนะนำแนวทางการปฏิบัติหน้าที่ พร้อมด้วยคุณกรกช นาวานุเคราะห์ ผู้ช่วยเลขานุการ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี กล่าวภาพรวมในการดำเนินงานของมูลนิธิฯ และคณะทำงานมูลนิธิฯ กล่าวถึงภาพรวมโครงการผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent ภาครัฐ และแนะนำระบบ School Management System

โดยการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากทีมวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ มาร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ว่าที่ ICT Talent ภาครัฐ เพื่อนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่และต่อยอดในการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้บริหารสถานศึกษา และคุณครูในโรงเรียน โดยมีหัวข้อการอบรม อาทิ
• สื่อและแพลตฟอร์ม ICT เพื่อการศึกษา : คุณศักดิ์สิทธิ์ ปิติพงศ์สุนทร
ผู้อำนวยการอาวุโส ผู้บริหารฝ่าย CSR Project ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และคุณสุธีรา ทันสมัย ผู้เชี่ยวชาญด้านสื่อทรูปลูกปัญญา บมจ.ทรู คอร์ปอเรชั่น
• ความสำคัญของวิทยาการคำนวณในโรงเรียน : รศ.ธีรวัฒน์ ประกอบผล อาจารย์ประจำภาควิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
• การใช้ Technology ในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมกับ Active Learning : อาจารย์จิรัฏฐ์ แจ่มสว่าง ครูรางวัลเจ้าฟ้าสมเด็จมหาจักรีฯ

อีกทั้ง ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ร่วมกล่าวปิดการอบรมในครั้งนี้ ทั้งนี้ว่าที่ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 ที่ผ่านการอบรม จะมีการประกาศแต่งตั้งจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ในอนาคตต่อไป

 

การประชุมปฏิบัติการกลั่นกรองผลงานการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) จัดประชุมปฎิบัติการกลั่นกรองผลงานการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 19-22 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมริเวอร์ไรน์ เพลส จังหวัดนนทบุรี นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ เเก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานการประกวดนวัตกรรมการศึกษาของครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก และคัดเลือกผลงาน ก่อนทำการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้ารอบต่อไป โดยมีคณะทำงานที่เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครู นักวิชาการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 35 ท่าน