เมื่อวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร และคณะ ได้จัดการประชุมปฏิบัติการบรรณาธิการกิจเอกสารงานวิจัยการบริหารโรงเรียนประชารัฐที่ประสบความสำเร็จ ระหว่างวันที่ 30 กันยายน ถึง 2 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท ถนนจรัญสนิทวงศ์ เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรณาธิการกิจเอกสารงานวิจัย จำนวน 2 เล่ม คือ
1) เอกสารผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ รุ่น 1 และ
2) เอกสารการถอดบทเรียนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคม เพื่อสรุปผลงานตามกรอบงานวิจัยโครงการโรงเรียนประชารัฐ ในการศึกษากระบวนการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนประชารัฐ และเพื่อเสนอแนวทาง ในการสร้างความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนที่ประสบความสำเร็จ เผยแพร่ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
โดยการประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติ์จากนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานคณะทำงาน
Author: admin
โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์
ในวันที่ ๒๗ – ๒๘ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์ (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร) โดยได้รับเกียรติจาก รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาประจวบคีรีขันธ์เขต ๑ นายสุรวิทย์ ทับเหล็ก เป็นประธานในพิธีเปิด
ทั้งนี้ นางขนิษฐา จันทโชติ หัวหน้าศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้กล่าวถึงการจัดประชุมสัมมนาฯในครั้งนี้ว่า “การเกิดเครือข่ายขึ้นเป็นสิ่งที่ดีมากๆ เป็นการเติมเต็มซึ่งกันและกัน นักวิจัยและนักวิชาการป่าไม้ เราทำงานกับต้นไม้ทำกับสิ่งที่เรารู้เราจึงเข้าใจในความสำคัญ แต่ในเรื่องการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เรามีให้แก่เด็กๆเราจำเป็นต้องพึ่งครูแกนนำรักษ์พงไพรทุกๆคน”
การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคกลาง กลุ่มที่ ๓ ประจวบคีรีขันธ์ เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริประจวบคีรีขันธ์ บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริสวนศรีนครเขื่อนขันธ์ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี (สวนผึ้ง) บุคลากรจากสวนสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ (ประจวบคีรีขันธ์ ราชบุรี สมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร) โดยการประชุมสัมมนาฯมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๙ ฐาน ดังนี้ ๑.เรียนรู้ศาสตร์พระราชา ๒.พรรณพฤกษา กับ สัตวาภิธาน ๓.การจัดขยะเพื่อโลกสวย ๔.นานาสาระด้วยปุ๋ยหมัก ๖.เรียนรู้พรรณไม้ด้วยเทคโนโลยี ๗.การบัญชีและการสหกรณ์ ๘.ย้อนอดีตดอนยาง ๙.สร้างพลังรักษ์ สิ่งแวดล้อม เป็นต้น
ติดตามข่าวสารของ โครงการค่ายรักษ์พงไพร ได้ทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร
โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคใต้ กลุ่มที่ ๒ สุราษฎร์ธานี
ในวันที่ ๒๕ – ๒๖ กันยายน ๒๕๖๓ กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคใต้ กลุ่มที่ ๒ สุราษฎร์ธานี (สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช ตรัง ภูเก็ต) จัดขึ้นโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร โดยการจัดสัมมนามีการดำเนินงานในรูปแบบของ Active Learning โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียน และร่วมกันสร้างสรรค์เครือข่ายการต่อยอดขยายผลด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในระดับโรงเรียนและชุมชนได้อย่างสอดคล้องกับบริบทในพื้นที่ ตามวิถีการเรียนรู้รูปแบบใหม่ (New Normal) ในระดับพื้นที่ให้เกิดความยั่งยืน
การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคใต้ กลุ่ม ๒ จังหวัดสุราษฎร์ธานี เขต ๑ ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาช่อง บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาพระแทว บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครศรีธรรมราช และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ โดยการประชุมสัมมนาฯมีการแบ่งกิจกรรมออกเป็น ๖ ฐาน ดังนี้ ๑.นักสื่อความหมายธรรมชาติ ๒.Coding ๓.ป่าไม้ ๔.คุณค่าทรัพยากรป่าไม้ ๕.ห่วงโซ่อาหาร ๖.สัตว์ป่า เป็นต้น
โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพรฯ” (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 2 ตาก (แม่สอด)
ในวันที่ 24 – 25 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและติดตามการดำเนินการประชุมสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้เครือข่ายเชิงพื้นที่รักษ์พงไพร ภาคเหนือ กลุ่มที่ 2 ตาก (แม่สอด) จัดขึ้นโดย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต 2 ณ ศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดตาก (เหมืองผาแดง) โดยการจัดสัมมนามีการดำเนินงานในรูปแบบของ Active Learning ทั้งนี้เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง
การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ ๒ จังหวัดตาก ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดตาก (แม่สอด) บุคลากรจากศูนย์เรียนรู้เพื่อการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ตามแนวพระราชดำริจังหวัดแม่ฮ่องสอน บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าถ้ำน้ำลอด (ปางมะผ้า) และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ โดยการประชุมสัมมนาฯมีกิจกรรมดังนี้ กิจกรรมครูรักษ์พงไพร หัวใจยูทูบเบอร์ กิจกรรมนักสื่อความหมายรักษ์พงไพร และกิจกรรมสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ (3 รัก) เป็นต้น
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรม การวัดคุณธรรม จริยธรรมออนไลน์ สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาและโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการจัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรม
การวัดคุณธรรม จริยธรรมออนไลน์ สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษา
และโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระหว่างวันที่ 27 – 29 กันยายน 2563 ณ โรงแรมนารา แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
สพฐ. เดินหน้าสอบถามความคาดหวัง “ร่างยุทธศาสตร์โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จากภาคเอกชนและมูลนิธิการศึกษา
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal) ระหว่างวันที่ 19 – 23 กันยายน 2563 ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของโครงการฯ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท รวมถึงพัฒนานวัตกรรมการเสริมสร้างเยาวชนนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับขยายผลในระดับโรงเรียนและชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคีเครือข่าย คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง
โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 ณ โรงแรมน้ำทองน่าน จังหวัดน่าน
เมื่อวันที่ 16 และ 17 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตรพัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ ภายใต้โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน (น่าน และเชียงใหม่) โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาครูวิทยากรรักษ์พงไพรในระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบ
ทั้งนี้การประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ครูวิทยากรรักษ์พงไพรในครั้งนี้ด้วย
ทางด้านศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบศูนย์ สพป.เชียงใหม่ เขต 1 ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมการประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้ให้แนวคิดในการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่ายไว้ว่า แต่ละหน่วยงานมีความรู้ มีความชำนาญในเรื่องที่แตกต่างกัน การทำงานเป็นเครือข่ายจะทำให้สามารถนำองค์ความรู้มาบูรณาการและต่อยอดได้ ดังนั้นการทำงานเป็นเครือข่ายจึงเป็นเรื่องที่ดี
การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าน่าน (นาน้อย) บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเชียงใหม่ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาน่าน (บ่อเกลือ) และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.เชียงใหม่ เขต 1 สพป.น่าน เขต 1 (เจ้าภาพ) โดยการสัมมนาดังกล่าวจะมีกิจกรรมหลักเป็นการแบ่งกลุ่มระดมพลังสมองเพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมและขยายผลในโรงเรียน รวมถึงแนวทางการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่าย และกิจกรรมเรียนรู้ 3 รักษ์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์)
จากนั้น ดร.สมพร สามทองกล่ำ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ น่าน ภายในศูนย์ประกอบไปด้วย โรงเลี้ยงไหม อุโมงค์หม่อนผลสด และนิทรรศการผ้าไหมไทย เป็นต้น
สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด และติดตามข่าวสารผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร
โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์
กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่ม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์
เมื่อวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยได้รับเกียรติจาก นายยงยุทธ พรหมแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต1 เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาครูวิทยากรรักษ์พงไพร โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสมบูรณ์ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ห้วยกลุ่ม บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ลำปาว บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์อุบลราชธานี (น้ำยืน) บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษายโสธร ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.ยโสธร เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 สพป.อุบลราชธานี เขต 1 และสพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 (เจ้าภาพ) โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมฝายชะลอน้ำ ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมผืนป่าดงนา ภายใต้แนวคิด “เรียนรู้แนวคิดของพ่อ สานต่อคำของแม่” กิจกรรมเทียนบูรณาการ 3 รักษ์ (รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์)กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ/Nature Game กิจกรรมรักษ์พงไพร..หัวใจยูทูปเบอร์ กิจกรรมขยะเปลี่ยนชีวิต “ค่ายกล คนรักษ์โลก”พร้อมทั้งมีการเสวนาประสาคนรักษ์พงไพร เป็นต้น
สำหรับแนวคิดการขับเคลื่อนโครงการฯ ของเครือข่ายเชิงพื้นที่ (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์ มุ่งเน้นกิจกรรม 3 ด้าน คือ 1) กิจกรรม 3 รักษ์ (รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์) 2) กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และ3) กิจกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม เป็นหลัก แล้วนำส่วนอื่นๆ มาบูรณาการ โดยทั้งนี้กิจกรรมต่างๆ ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกส่วนงาน อาทิ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา บุคลากรจากเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือผู้แทนที่เคยเข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ ตั้งแต่ปีที่ 1-6 ซึ่งจะมีการประชุมวางแผนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ แบ่งส่วนการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจนสามารถต่องานกันได้ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปแนวทางเดียวกันและเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal)
ท้ายที่สุด ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “ใครเล่าจะรู้เท่าคนในพื้นที่เราเอง” นั่นคือ เราต้องเริ่มจากตัวเราเองที่รักและหวงแหนในทรัพยากรกรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ใกล้บ้านเรา ในชุมชนของเรา เริ่มจากจุดเล็กที่เราสามารถทำได้
การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาและโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.
วันที่ 16 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาและโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2563 ณ โรงแรม ทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวชั่น กรุงเทพมหานคร โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด ในการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รศ.ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทองดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน) และอาจารย์ประจำวิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
(ผศ.ดร.ประทุมทอง ไตรรัตน์ ดร.นิภาพร เฉลิมนิรันดร) มาเป็นวิทยากรในการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้
เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ โดยการประชุมดังกล่าว จัดขึ้น เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนท์ ถนนกำแพงเพชร 6 กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ และนายสราวุธ ชีวะประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดประชุมและมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากส่วนราชการ รัฐวิสหกิจ สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานพยาบาล และกิจกรรมสุขภาพ และผู้สังเกตการณ์ กว่า 100 คน
โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 2 ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก
เมื่อวันที่ 12 และ 13 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 2 (นครนายก สระบุรี จันทบุรี และชลบุรี) ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก นายพิเชษฐ์ นนท์พละ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูวิทยากรค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน
ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน กล่าวว่า การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย และการใช้สถานที่จริงเป็นแหล่งเรียนรู้นั้น จะทำให้ครูผู้สอน เกิดความเข้าใจ เข้าถึง และสามารถนำสิ่งแวดล้อมเป็นฐานเพื่อไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่สอนได้
ทางด้านบุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก กล่าวว่า การมีเครือข่ายทำให้สามารถที่จะประสานงานหรือพูดคุยกันได้ เป็นการระดมความคิด ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน เมื่อร่วมกันทำงานย่อมทำให้เกิดการบูรณาการในสิ่งใหม่ๆร่วมกัน
ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.จันทบุรี เขต 1 และ 2 สพป.ชลบุรี เขต 1 และ 3 และ สพป.นครนายก (เจ้าภาพ) รวมทั้งสิ้น 70 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ กิจกรรม “Craft From Nature” กิจกรรมขยะเปลี่ยนชีวิต “ค่ายกล คนรักษ์โลก” กิจกรรมถอดบทเรียน “เล่าขาน…งานค่าย” สู่แนวปฏิบัติที่ดี และกิจกรรมล่องแก่งเพื่อศึกษาเส้นทางธรรมชาติ รวมถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์) เป็นต้น
สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด ผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร