Author: admin

โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในงานวันพ่อแห่งชาติ

โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา สพม.เขต 9 จ.นครปฐม และโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี สพม.เขต 10 จ.เพชรบุรี ร่วมออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในงานวันพ่อแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1-6 ธันวาคม 2563 ณ มิวเซียมสยาม ถ.สนามไชย กรุงเทพมหานคร

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ covid 19 ของ รร.คุณภาพประตำบลสู่การปฏิบัติ

วันที่ 6 ธันวาคม 2563 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ covid 19 ของ รร.คุณภาพประตำบลสู่การปฏิบัติ ณ โรงแรมแคนทารี พระนครศรีอยุธยา

 

 

OBEC Young Leaders for SDGs การอบรมปฏิบัติการครูแกนนำการใช้หลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดาวน์โหลดรายชื่อผู้เข้ารับการอบรมและรายละเอียดต่างๆ “ที่นี่”

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” (ระยะที่ 2)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กำหนดการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนของโรงเรียน ที่มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล/มัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนขนาดเล็ก (จิ๋วแต่แจ๋ว) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี โรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของคุณลักษณะภายใต้การยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2563  และระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2563  โดยในระยะที่ 2 จะมีลงพื้นที่ฯ จำนวน 3 จุด คือ

จุดที่ 1 ณ จังหวัดสงขลา นำทีมโดย ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

จุดที่ 2 ณ จังหวัดอุดรธานี นำทีมโดย ดร.วสันต์ สุทธาวาศ นักวิชาการศึกษาชำนาญการ  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

โครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 2

 

เมื่อวันที่ 20 -22 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (วคส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการจัดการศึกษา นำโดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และคณะฯ พร้อมทั้งคณะทำงานจากธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ร่วมจัดโครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2563 เป็นหลักสูตรนับชั่วโมงได้ จัดอบรมฟรีให้กับครูผู้สอนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ณ โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานีโดยในงานนี้ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 12 คุณสุนันท์ สุทธิบรรจง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วยคณะจากธนาคารออมสินเขตอุบลราชธานี เข้าร่วมด้วย และโครงการนี้ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานจากธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมในการอบรบจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ครูผู้สอนที่มีคุณธรรมจริยธรรม ได้เรียนรู้ด้านกระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงในรูปแบบactive learning เพื่อต่อยอดสู่การนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียน เพิ่มทักษะและเทคนิคในเรื่องของการสอนวิชา GAT เชื่อมโยง ซึ่งส่งผลให้ครูสามารถพัฒนาการสอนในวิชา GAT เชื่อมโยงและถ่ายทอดไปสู่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะความรู้และนำไปใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันต่างๆ ได้

โครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 1

 

เมื่อวันที่ 13 -15 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (วคส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการจัดการศึกษา นำโดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และคณะฯ พร้อมทั้งคณะทำงานจากธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ร่วมจัดโครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 1 ประจำปี พ.ศ.2563 เป็นหลักสูตรนับชั่วโมงได้ จัดอบรมฟรีให้กับครูผู้สอนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 ณ โรงแรมสองพันบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี โดยในงานนี้ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการธนาคารออมสินเขตสุพรรณบุรี  คุณนิภาวรรณ ทองนวล เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และมีธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่เป็นผู้สนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงาน มีผู้เข้าร่วมในการอบรบจำนวนทั้งสิ้น 102 คน ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ครูผู้สอนที่มีคุณธรรมจริยธรรม ได้เรียนรู้ด้านกระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงในรูปแบบactive learning เพื่อต่อยอดสู่การนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียน เพิ่มทักษะและเทคนิคในเรื่องของการสอนวิชา GAT เชื่อมโยง ซึ่งส่งผลให้ครูสามารถพัฒนาการสอนในวิชา GAT เชื่อมโยงและถ่ายทอดไปสู่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะความรู้และนำไปใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันต่างๆ ได้

การประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตร และสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา)

วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้  โดย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตร และสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร

การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ”

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำทีมโดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และคณะทำงาน กำหนดการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนของโรงเรียน ที่มีการจัดการเรียนรู้ในรูปแบบที่หลากหลาย ได้แก่ โรงเรียนอนุบาล/มัธยมประจำจังหวัด โรงเรียนขนาดเล็ก (จิ๋วแต่แจ๋ว) และโรงเรียนที่มีความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในลักษณะต่างๆ ได้แก่ โรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี โรงเรียนร่วมพัฒนา เป็นต้น มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อสัมภาษณ์นักเรียนเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของคุณลักษณะภายใต้การยกร่างยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” จำนวน 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ระหว่างวันที่ 25 – 28 พฤศจิกายน 2563  และระยะที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 – 4 ธันวาคม 2563  โดยในระยะที่ 1 จะมีลงพื้นที่ฯ จำนวน 3 จุด คือ

จุดที่ 1 ณ จังหวัดเชียงรายและพะเยา นำทีมโดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการการจัดการศึกษา

จุดที่ 2 ณ จังหวัดฉะเชิงเทรา นำทีมโดย ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

จุดที่ 3 ณ จังหวัดนครปฐมและราชบุรี  นำทีมโดย ดร.สมพร  สามทองกล่ำ รักษาการผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา และคณะทำงานของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา

การแข่งขันหุ่นยนต์พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยด้านหุ่นยนต์ ครั้งที่ 1

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2563

ดร.อโณทัย   ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ผู้แทนเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิดการแข่งขันหุ่นยนต์พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยด้านหุ่นยนต์ ครั้งที่ 1 โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ 20-22 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงเรียนหนองบัว สพม.เขต 42 จังหวัดนครสวรรค์ โดยความร่วมมือระหว่าง International Robot Olympiad Committee ประเทศเกาหลีใต้ Hong Kong Robotic Olympic Association (HKROA) เขตปกครองพิเศษฮ่องกง ชมรมครูหุ่นยนต์ไทย และภาคีเครือข่ายด้านหุ่นยนต์ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน ได้ร่วมจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับประเทศในรายการแข่งขันหุ่นยนต์พัฒนาศักยภาพเยาวชนไทยด้านหุ่นยนต์ ครั้งที่ 1 หรือรายการ Thailand Robot & Robotic Olympiad 2020  ภายในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กิจกรรม คือ กิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ Thailand Robot & Robotic Olympiad 2020 และกิจกรรมการประกวดการคัดเลือกนวัตกรรม/วิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ (Best Practices) การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้านหุ่นยนต์ Best Practices Robotic Awards

การอบรมผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ในวันที่ 17  พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม

ดร.อรนุช  มั่งมีสุขศิริ รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านนวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานพิธีเปิด จัดอบรมการผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี ราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์ ให้ครูมีความรู้ สามารถ สร้างสื่อและประยุกต์ใช้สื่อในการจัดการสอนประวัติศาสตร์

การอบรมแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 2 เป็นครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษา ในวันที่ 17 พฤศจิกายน 2563 ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์  จำนวน  35 คน จาก 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นครพนม นราธิวาส พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่บนธนบัตรไทย ได้แก่  สพม. เขต 1  สพม. เขต 2  สพม. เขต 3   สพม. เขต 9   สพม.เขต 10   สพม.เขต 15   สพม.เขต 22   เขตละ 4 โรงเรียน  จังหวัดที่สนใจ คือ  สพป.ลำปาง เขต 2  สพป.ขอนแก่น เขต 3  และ สพป.แพร่  เขต 1  และบุคลากรของส่วนกลาง ได้แก่ สำนักทดสอบทางการศึกษาและสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  รวมทั้งสิ้น  จำนวน 50 คน ซึ่งครูที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ไปใช้ และพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนด้วยสื่อภาพเสมือนจริงนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป

 

 

การอบรมผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ในวันที่ 16  พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม

ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการที่ปรึกษาที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในการมอบเกียรติบัตรและพิธีปิด จัดอบรมการผลิตสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง  ( Augmented Reality : AR ) สำหรับครูผู้สอนในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้สำหรับนักเรียน ระหว่างวันที่ 16 – 17 พฤศจิกายน 2563 ณ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ วิทยาเขตศาลายา จังหวัดนครปฐม ซึ่งจัดขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักนวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ สถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรมมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ มีวัตถุประสงค์ ให้ครูมีความรู้ สามารถ สร้างสื่อและประยุกต์ใช้สื่อในการจัดการสอนประวัติศาสตร์

การอบรมแบ่งเป็น 2 รุ่น รุ่นที่ 1 เป็นครูผู้สอนในระดับประถมศึกษาในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563ประกอบด้วย  ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์  จำนวน  35 คน จาก 6 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นครพนม นราธิวาส พระนครศรีอยุธยา และจังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ปรากฏอยู่บนธนบัตรไทย ได้แก่ สพป.กทม.  สพป.พระนครศรีอยุธยา เขต 1 และ เขต 2  สพป.นครปฐม เขต 1 และ เขต 2   สพป. เพชรบุรี เขต 1 และเขต 2  สพป.นครพนม เขต 1 และ เขต 2  สพป.นราธิวาส เขต 1  เขต 2  และเขต 3  และบุคลากรของส่วนกลาง ได้แก่ สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา  สำนักติดตามและประเมินผลการศึกษา ขั้นพื้นฐาน และสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รวมทั้งสิ้น  จำนวน 50 คน ซึ่งครูที่ผ่านการอบรมจะนำความรู้ไปใช้ และพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนด้วยสื่อภาพเสมือนจริงนำไปใช้ในการจัดการเรียนการสอนต่อไป