480086011751261174
Author: admin
สพฐ. ร่วมประชุมสามัญประจำปี 2568 มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เดินหน้าสานพลังความร่วมมือทุกภาคส่วนเพื่อยกระดับการศึกษาไทย
วันที่ 25 มิถุนายน 2568 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมด้วย นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. เข้าร่วมการประชุมสามัญประจำปี 2568 ของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี (CONNEXT ED Foundation) โดยมี พลเอก ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ องคมนตรี ในฐานะประธานที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ของมูลนิธิฯ เป็นประธานการประชุม และนายศุภชัย เจียรวนนท์ ประธานคณะกรรมการมูลนิธิฯ นำคณะผู้บริหารจาก 12 องค์กรผู้ร่วมก่อตั้งเข้าร่วม ณ อาคารทรูดิจิทัล พาร์ค กรุงเทพมหานคร
.
การประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันทบทวนผลการดำเนินงานในปีที่ผ่านมา กำหนดทิศทางการพัฒนาในอนาคต แลกเปลี่ยนวิสัยทัศน์ และร่วมวางแผนการขับเคลื่อนความร่วมมือจากทุกภาคส่วนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อส่งเสริมการศึกษาไทยให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกในศตวรรษที่ 21 โดยเฉพาะในด้านการสร้างเครือข่ายผู้นำรุ่นใหม่ พัฒนาศักยภาพครู สนับสนุนทรัพยากรและเทคโนโลยี ตลอดจนส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาสังคมและเอกชนในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนทั่วประเทศ โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ให้ความสำคัญกับการทำงานแบบมีส่วนร่วม และเชื่อมั่นว่าความร่วมมือผ่านกลไกของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี จะเป็นพลังสำคัญในการยกระดับคุณภาพการศึกษาขั้นพื้นฐานอย่างยั่งยืน เพื่อสร้างโอกาสที่เท่าเทียมทางการศึกษาสำหรับเด็กไทยทุกคน











ศธ.-สพฐ. จับมือ ซีพี ออลล์ฯ สานพลัง “โรงเรียนร่วมพัฒนา” สร้างคุณภาพการศึกษาอย่างทั่วถึง

วันที่ 4 มีนาคม 2568 ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือ โครงการ “โรงเรียนร่วมพัฒนา” (Partnership School Project) ระหว่าง สถานศึกษาในจังหวัดลพบุรี กับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) โดยมี พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมว.ศธ.) เป็นประธานในพิธี ร่วมด้วย นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล รองประธานกรรมการบริหาร บริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ผู้บริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษาพื้นที่จังหวัดลพบุรี และคณะทำงานบริษัท ซีพี ออลล์ จํากัด (มหาชน) ณ โรงเรียนพระนารายณ์ จังหวัดลพบุรี
.
พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ รมว.ศธ. กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีก่อให้เกิดการทำงานร่วมกันอย่างเป็นรูปธรรม “จับมือ” “ร่วมพัฒนา” และ “ขยายผล” จะสามารถยกระดับการศึกษาของประเทศได้ และเป็นต้นแบบที่สำคัญในการพัฒนาที่ครอบคลุม ยั่งยืน และเป็นพลังนำพาการศึกษาไทยให้ก้าวไปทัดเทียมนานาประเทศได้ ซึ่งจังหวัดลพบุรีนับเป็นจังหวัดที่สองต่อจากจังหวัดบุรีรัมย์ ที่มีการลงนามความร่วมมือในโครงการนี้ โดย บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) จะนำนวัตกรรมของสถาบันปัญญาภิวัฒน์ มาถ่ายทอดและดำเนินการช่วยการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนร่วมพัฒนาเหล่านี้ รวมถึงหากนักเรียนในโครงการนี้ประสงค์ที่จะศึกษาต่อในสถาบันปัญญาภิวัฒน์ ก็พร้อมสนับสนุนทุนการศึกษาตลอดจนจบระดับอุดมศึกษา หรือหากประสงค์จะประกอบธุรกิจ ก็จะมีการต่อยอดองค์ความรู้ด้านธุรกิจต่าง ๆ ให้ด้วยเช่นเดียวกัน
.
นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า ความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นความร่วมมือในการจัดทำทวิภาคี หากผู้เรียนประสงค์จะศึกษาต่อก็จะมีการส่งต่อไปที่สถาบันปัญญาภิวัฒน์ของ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งความร่วมมือดังกล่าวมีแผนการขับเคลื่อนเป็นระยะเวลา 3 ปี โดยจะมีการวางแผนการดำเนินงานกับภาคเอกชนที่เข้ามาร่วมมือในโครงการนี้ และจะสนับสนุนโรงเรียนในพื้นที่ดังกล่าวอย่างเต็มที่
.
ด้านนายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล รองประธานกรรมการบริหารบริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ทางบริษัทฯ เป็นภาคเอกชนที่ให้การสนับสนุนการศึกษามาโดยตลอด เพราะเรามีสถาบันการศึกษาเป็นของตัวเอง ซึ่งขอบคุณกระทรวงศึกษาธิการ ที่ดึงภาคเอกชนให้เข้ามาช่วยสนับสนุนการศึกษาด้วยการทำโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา เพื่อสร้างทรัพยากรมนุษย์ที่มีคุณภาพสู่การพัฒนาประเทศ โดยความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นการสร้างโอกาสทางการศึกษาทำให้ผู้เรียนจบแล้วมีงานทำ มีอนาคตที่ดีต่อไป
.
สำหรับความร่วมมือดังกล่าว มีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีความเป็นอิสระและคล่องตัว ด้วยการมีส่วนร่วมจากผู้สนับสนุนทุกภาคส่วน ทั้งนี้ สพฐ. ได้ดำเนินการทำความร่วมมือโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนามา จำนวน 3 รุ่น และ สพฐ. ได้รับการประสานจาก บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สนับสนุนโรงเรียนในโครงการแจ้งความประสงค์ขอสนับสนุนโรงเรียนในโครงการ 1 อำเภอ 1 โรงเรียนคุณภาพ ในพื้นที่จังหวัดลพบุรี จำนวน 22 โรงเรียน ประกอบด้วย โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 1 จำนวน 4 โรง โรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลพบุรี เขต 2 จำนวน 7 โรง และโรงเรียนในสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาลพบุรี จำนวน 11 โรง






ที่มา : ประชาสัมพันธ์ สพฐ.
เผยแพร่ผลงานวิชาการภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ศธ. บูรณาการต้านทุจริต จัดกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ โครงการโรงเรียนสุจริต ระดับประเทศ
วันที่ 6 ธันวาคม 2566 นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในพิธีเปิดกิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน การประกวดแข่งขันกิจกรรมการเรียนรู้ ภายใต้โครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ระดับประเทศ และกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล (9 ธันวาคม) ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพมหานคร โดย ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา รักษาราชการแทน เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มอบหมายให้ นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นผู้กล่าวรายงาน พร้อมด้วย นายทวิชาติ นิลกาญจน์ ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ นายสมพงษ์ ตะโกพ่วง ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมและติดตาม ต้านทุจริตศึกษา 2 สำนักต้านทุจริตศึกษา (สำนักงาน ป.ป.ช.) นายศุภสิน ภูศรีโสม ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นายจักรพงษ์ วงค์อ้าย นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งนักวิชาการศึกษาเชี่ยวชาญ (ด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้) รวมถึงข้าราชการและบุคลากรของกระทรวงศึกษาธิการ ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธี
นายสุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล รมช.ศธ. กล่าวว่า กระทรวงศึกษาธิการโดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาการทุจริต ซึ่งมีความจําเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องดําเนินการในทุกภาคส่วนของสังคม โดยเฉพาะภาคการศึกษา ที่มีบทบาทหน้าที่ในการให้ความรู้และปลูกฝังเด็กและเยาวชนให้เป็นพลเมืองดีของประเทศชาติในอนาคต โดยดําเนินกิจกรรมที่สอดคล้องกับแผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์ชาติ ประเด็น การต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ที่กําหนดเป้าหมายหลักให้ภาครัฐมีความโปร่งใส ปลอดการทุจริตและประพฤติมิชอบ ผ่านการพัฒนาคนและการพัฒนาระบบ โดยให้ความสําคัญกับการปรับและหล่อหลอมพฤติกรรม “คน” ทุกกลุ่มในสังคมให้มีจิตสํานึกและพฤติกรรมยึดมั่นในความซื่อสัตย์สุจริต
ทั้งนี้ การพัฒนาผู้เรียน นอกจากมุ่งเน้นการพัฒนาด้านความรู้ความเป็นเลิศทางด้านวิชาการแล้ว ควรต้องคำนึงถึงการพัฒนาผู้เรียนให้เป็นพลเมืองดีของชาติ โดยเสริมสร้างผู้เรียนให้มีความรักในสถาบันหลักของชาติ ยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มีทัศนคติที่ดีต่อบ้านเมือง มีหลักคิดที่ถูกต้อง เป็นพลเมืองดีของชาติ และพลเมืองโลกที่มีคุณธรรม จริยธรรม ซื่อสัตย์สุจริต มัธยัสถ์อดออม โอบอ้อมอารี มีวินัย และรักษาศีลธรรม ซึ่งการศึกษานั้นถือเป็นเรื่องของคนทุกคน ดังนั้น ความคาดหวังต่าง ๆ ที่กล่าวมานั้น ไม่สามารถเกิดขึ้นได้เพียงเพราะการดำเนินการของฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง แต่ต้องดำเนินการด้วยความร่วมมือจากทุกภาคส่วนในสังคม เพื่อสร้างคุณภาพการศึกษาให้เกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ภายใต้พลวัตรการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ เราต้องร่วมกันพัฒนาประเทศเพื่อให้เป็นไปตามเจตนารมณ์ของการปฏิรูปการศึกษาปัจจุบัน ร่วมกันยกระดับคุณภาพการศึกษาให้เจริญรุดหน้า ตามนโยบาย “เรียนดี มีความสุข” ของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (พลตำรวจเอก เพิ่มพูน ชิดชอบ) ด้วยแนวคิดการจัดการศึกษาเพื่อความเป็นเลิศ และการศึกษาเพื่อความมั่นคงของชีวิต
“เวทีแห่งนี้ถือเป็นเวทีนำเสนอผลงานที่แสดงถึงความมุ่งมั่นในการสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริต ผ่านการดำเนินโครงการโรงเรียนสุจริต ภายใต้สถานการณ์ความท้าทายของสังคมไทยในปัจจุบัน กับการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชันที่เกิดขึ้น ผมขอให้ทุกท่านใช้ประโยชน์จากเวทีแห่งนี้ ในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ถอดบทเรียนไปสู่การขับเคลื่อนโครงการที่มีเป้าหมายใหญ่ร่วมกันในอนาคต คือ การสร้างสังคมที่ไม่ทนต่อการทุจริตครับ” รมช.ศธ. กล่าว
ทางด้าน นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธํารง ผู้ช่วยเลขาธิการ กพฐ. ได้กล่าวรายงานว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา (โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อพัฒนานักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาของ สพฐ. ให้เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโครงการโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ โดยดำเนินการตามแนวทางของปฏิญญาโรงเรียนสุจริต ทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย ผ่านกิจกรรมที่หลากหลาย ได้แก่ กิจกรรมตามโครงการโรงเรียนสุจริต กิจกรรมสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานในสังกัด สพฐ. (ITA Online) และการขับเคลื่อนหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา เพื่อให้บรรลุตามเป้าหมายตัวชี้วัดของแผนบูรณาการป้องกันและปราบปรามการทุจริต
ทั้งนี้ กิจกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ฯ ในครั้งนี้มีกำหนดจัดขึ้น ระหว่างวันที่ 6-9 ธันวาคม 2566 ณ โรงแรมเอวาน่า กรุงเทพฯ โดยมีกิจกรรมภายในงาน ได้แก่ 1. กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การนำเสนอผลงาน และการประกวดแข่งขัน จำนวน 7 กิจกรรม ประกอบด้วย 1) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 2) กิจกรรมบริษัทสร้างการดี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 3) กิจกรรมถอดบทเรียน (Best Practice) นวัตกรรมการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษา 4) นวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนของครู 5) นวัตกรรมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนสุจริตของศึกษานิเทศก์ 6) นวัตกรรมการขับเคลื่อนโครงการของผู้รับผิดชอบโครงการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต 7) กิจกรรมการใช้และประเมินผลหลักสูตรต้านทุจริตศึกษา (1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม) นอกจากนี้ ยังมีกิจกรรมสื่อสร้างสรรค์ ภาพยนตร์สั้นต่อต้านการทุจริต กิจกรรมผลงานหนังสือเล่มเล็กจากผลการใช้หลักสูตรต้านทุจริตศึกษา ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รายวิชาเพิ่มเติม การป้องกันการทุจริต) กิจกรรมออกแบบบอร์ดเกม เพื่อส่งเสริมการต่อต้านการทุจริต (Anti-Corruption Board Game) และมีการจัดแสดงนิทรรศการ อาทิ นิทรรศการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสุจริต แสดงผลการดำเนินงาน และภาพความสำเร็จของการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาออนไลน์ (ITA Online) รวมถึงนิทรรศการพิพิธภัณฑ์ต้านโกงเสมือนจริง (Virtual Anti-Corruption Museum) ที่แสดงแหล่งการเรียนรู้เกี่ยวกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต วิวัฒนาการจากอดีต ปัจจุบัน เชื่อมไปสู่อนาคต และกิจกรรมเนื่องในวันต่อต้านคอร์รัปชันสากล เป็นต้น

























ที่มา : เว็บไซต์สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
คู่มือการจัดตั้งงบประมาณรายจ่าย ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568
การประชุมแนวทางความร่วมมือ 3 ภาคส่วนในการสนับสนุนการศึกษาไทย ประจำปี 2566” (CONNEXT ED CONFERENCE 2023) ณ แกรนด์ ฮอลล์ ชั้น 3 True Digital Park วันที่ 16 พฤศจิกายน 2566
สำนักพัฒนานวัตกรรมจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนการดำเนินงานโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567
สพฐ. จัดประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ต่อยอดสู่เวทีระดับนานาชาติ ในงาน Internation Exhibition for Young Inventors World Contest (IEYI – 2023)
วันที่ 18 กรกฎาคม 2566 นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-20 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดย สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มโครงการพิเศษ ได้จัดการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่เป็นกิจกรรมเพื่อบ่มเพาะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ และมีนวัตกรรมทางความคิดในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ มีเวทีและโอกาสในการจัดแสดงและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยมีผลงานที่ส่งมาพิจารณาคัดเลือก รวมทั้งสิ้น 273 ผลงาน คณะกรรมการได้พิจารณากลั่นกรองผลงานผ่านเข้าสู่รอบการประกวดผลงานระดับประเทศ จำนวน 41 ผลงาน เพื่อคัดเลือกและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์ไปร่วมประกวดในเวทีระดับนานาชาติ ในงาน Internation Exhibitional for Young Inventors World Contest (IEYI – 2023) ทางระบบออนไลน์ (Virtual Contest) ณ สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน) ในต้นเดือนกันยายน 2566 การจัดงานครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมงานในครั้งนี้ จำนวน 170 คน ประกอบด้วยนักเรียน 82 คน ครูที่ปรึกษา 41 คน และคณะกรรมการ คณะทำงาน 42 คน โดยมีผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ที่เข้าร่วมประกวดรวม 41 ผลงาน ใน 8 ประเภท ดังนี้
- เทคโนโลยีที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม จำนวน 7 ผลงาน
- อาหารและเกษตรกรรม จำนวน 10 ผลงาน
- ความปลอดภัยและสุขภาพ จำนวน 8 ผลงาน
- เทคโนโลยีสำหรับผู้ที่มีความต้องการพิเศษ จำนวน 4 ผลงาน
- การจัดการกับภัยพิบัติ จำนวน 4 ผลงาน
- การศึกษาและนันทนาการ จำนวน 5 ผลงาน
- เทคโนโลยีการบินและอวกาศ จำนวน 1 ผลงาน
- ปัญญาประดิษฐ์และระบบอัตโนมัติ จำนวน 2 ผลงาน
ในการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศในครั้งนี้ สพฐ. ได้รับเกียรติจากคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ จากหลายสถาบัน เป็นคณะกรรมการในการตัดสิน วิทยากร ครูที่เป็นแบบอย่างในการพัฒนานักเรียนจนได้สร้างผลงานสิ่งประดิษฐ์คว้ารางวัลจากหลายเวทีในระดับนานาชาติ ผู้ประกอบการที่ประสบความสำเร็จจากการนำนวัตกรรมไปใช้พัฒนาธุรกิจ มาเสวนาในหัวข้อ “เทคนิควิธีการก้าวสู่ความสำเร็จ” ให้กับครูและนักเรียน และวิทยากรจากสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (องค์การมหาชน) มาร่วมจัดกิจกรรมเชิงปฏิบัติการในหัวข้อ “STEAM4INNOVATOR” เพื่อสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนไทยสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ ๆ ในการพัฒนาผลงานสิ่งประดิษฐ์ต่อไป
นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กล่าว “การนำความคิด ริเริ่ม สร้างสรรค์ จัดทำเป็นสิ่งประดิษฐ์ โดยใช้หลักการทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาประยุกต์ ซึ่งสิ่งประดิษฐ์ที่สร้างขึ้นนั้น อาจเป็นนวัตกรรมใหม่ หรือเป็นการดัดแปลง หรือพัฒนาต่อยอดจากสิ่งที่มีใช้งานอยู่แล้ว ให้เป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ นับว่าเป็นการพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนให้เป็น “นักประดิษฐ์” ซึ่งจะเป็นทรัพยากรสำคัญต่อการพัฒนาประเทศในทุก ๆ ด้าน จึงขอชื่นชมในความร่วมมือของทุกฝ่าย ที่ให้มีเวที ที่เปิดโอกาสให้นักเรียนได้แสดงถึงศักยภาพความคิดสร้างสรรค์ ความกล้าคิด กล้าแสดงออกถึงความสามารถในการประดิษฐ์สิ่งประดิษฐ์โดยใช้หลักวิทยาศาสตร์ในการประดิษฐ์ เกิดการเรียนรู้ที่จะก้าวไปสู่การเป็นนักประดิษฐ์และนักวิทยาศาสตร์ของประเทศไทยต่อไปในอนาคต”
การวิจัยรูปแบบการพัฒนาของบริษัทรายกรณีศึกษาของบริษัท 17 เรื่อง ของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ตามที่สำนักงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมกับมูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี ดำเนินการส่งเสริมงานวิจัยและนวัตกรรมการบริหาร รวมทั้งพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือของทุกภาคส่วน ด้วยการวิจัยรูปแบบการพัฒนาของบริษัทรายกรณีศึกษาของบริษัท 17 เรื่อง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิจัยการดำเนินงานขอภาคเอกชนในรูปแบบต่างๆ เพื่อหานวัตกรรมนำไปขยายผลสู่โรงเรียนในสังกัด สพฐ. ต่อไป โดยมอบหมายให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในการดำเนินการศึกษาวิจัย ทั้ง 17 เรื่อง ทั้งนี้การศึกษาวิจัยดังกล่าวเสร็จสิ้นแล้ว และเพื่อเป็นประโยชน์ต่อโรงเรียนทั่วประเทศในสังกัด สพฐ. สนก.จึงดำเนินการเผยแพร่ผลการวิจัยทั้ง 17 เรื่อง เพื่อเปิดโอกาสให้โรงเรียนที่สนใจสามารถเข้าศึกษาเพื่อปรับเป็นแนวทางนำไปใช้ตามความเหมาะสม ดังต่อไปนี้
โมเดลที่ 1
โครงการ “Teacher as Coach เซ็นทรัลทำ เพื่อครูเป็นโค้ช”
โมเดลที่ 2
โครงการ STEEM EDUCATION 4.0
โมเดลที่ 3
OTOP JUNIOR
โมเดลที่ 4
โครงการผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ICT Talent
โมเดลที่ 5
โครงการบัวหลวงก่อการครู
โมเดลที่ 6
โครงการศูนย์การเรียนรู้ (Professional Learning School)
โมเดลที่ 7
โครงการศูนย์การเรียนรู้ธุรกิจค้าปลีก (BJC Mode)
โมเดลที่ 8
โครงการ TRAIN THE TRAINER BY PROFESSIONAL
โมเดลที่ 9
โครงการ Clicker นวัตกรรมการศึกษาเพื่อการเรียนรู้เชิงรุก
โมเดลที่ 10
โครงการ NOTEBOOK FOR EDUCATION
โมเดลที่ 11
โครงการต้นกล้าไร้ถัง
โมเดลที่ 12
โครงการ”ผอ.กล้าเปลี่ยน ครูกล้าปรับ” เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษา
โมเดลที่ 13
โครงการ WHOLE SCHOOL นวัดกรรมเชิงระบบเพื่อการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทย
โมเดลที่ 14
โครงการนวัดกรรมแผนพัฒนาโรงเรียน 4.0
โมเดลที่ 15
โครงการ Active Learning School
โมเดลที่ 16
โครงการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่แบบครบวงจร
โมเดลที่ 17
โครงการ LEARNING CENTER ศูนย์การเรียนรู้ชุมชน
