03_วนบ.

การประชุมปฏิบัติการกลั่นกรองผลงานการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

วันที่ 19 พฤษภาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) จัดประชุมปฎิบัติการกลั่นกรองผลงานการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 19-22 พฤษภาคม 2565 ณ โรงแรมริเวอร์ไรน์ เพลส จังหวัดนนทบุรี นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ เเก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพิจารณาคัดเลือกผลงานการประกวดนวัตกรรมการศึกษาของครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์ ที่สร้างสรรค์นวัตกรรมในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก และคัดเลือกผลงาน ก่อนทำการประกาศรายชื่อผู้ผ่านการคัดเลือกเพื่อเข้ารอบต่อไป โดยมีคณะทำงานที่เข้าร่วมการประชุม ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ ครู นักวิชาการศึกษา และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 35 ท่าน

การประชุมปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนผ่านกระบวนการคิดขั้นสูงและการสื่อสารเพื่อการเป็นพลเมืองโลกอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 27 – 29 เมษายน 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพฯ

วันที่ 27 เมษายน 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) จัดประชุมปฏิบัติการพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนผ่านกระบวนการคิดขั้นสูงและการสื่อสารเพื่อการเป็นพลเมืองโลกอย่างยั่งยืน ระหว่างวันที่ 27 – 29 เมษายน 2565 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท บางพลัด กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์การประชุมเพื่อจัดทำหลักสูตรและคู่มือการใช้หลักสูตรการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมกระบวนการคิดขั้นสูงและการสื่อสารเพื่อการเป็นพลเมืองโลกอย่างยั่งยืน ให้ครูสามารถประยุกต์ใช้กิจกรรมไปสู่การจัดการเรียนการสอนให้กับนักเรียนในชั้นเรียนได้ การประชุมครั้งนี้มีคณะทำงานเข้าร่วมจัดทำหลักสูตร ได้แก่ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้อำนวยการโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ และคณะครู จำนวน 30 ท่าน  ทั้งนี้หลักสูตรที่ได้จากการประชุมจะนำไป ขยายผลสู่การอบรมศึกษานิเทศก์แกนนำ และครูแกนนำ ต่อไป

ขอเชิญ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 เข้าเลือกโรงเรียนเครือข่ายในการดูแลของท่าน

****ขอเชิญ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ 2 เข้าเลือกโรงเรียนเครือข่ายในการดูแลของท่าน****
 
โดยท่านสามารถเข้าตรวจสอบรายชื่อโรงเรียนเครือข่ายที่ท่านสามารถดูแลได้ และรายชื่อผู้ดูแลโรงเรียนเครือข่ายในปัจจุบันตามด้านล่างนี้
<iframe referrerpolicy="no-referrer-when-downgrade" height="900px" width="100%" style="border:none;" src="https://view-awesome-table.com/-Mxqhg79Y4kZXt2WhEe2/view"></iframe>

หากท่านสามารถเลือกโรงเรียนของท่านได้แล้ว ท่านสามารถลงข้อมูลโรงเรียนเครือข่ายของท่านโดยการค้นหารายชื่อท่านได้ที่ด้านล้างนี้ (ไม่ต้องพิมพ์คำนำหน้า)

<iframe referrerpolicy="no-referrer-when-downgrade" height="500px" width="100%" style="border:none;" src="https://view-awesome-table.com/-Mxqh1_1U8o4vtUobeEh/view"></iframe>
ทั้งนี้ขอเรียนเพิ่มเติมว่า โรงเรียนแม่ข่าย คือ โรงเรียนที่มี ICT Talent ประจำอยู่แล้ว หรือเป็นโรงเรียนที่ตัวท่านเองทำงานอยู่ ซึ่งไม่มีความจำเป็นต้องเป็นเครือข่ายแต่อย่างใด และไม่สามารถเลือกเป็นโรงเรียนเครือข่ายได้
และโรงเรียนเครือข่าย คือโรงเรียนที่ท่านต้องดูแลควบคู่กับโรงเรียนแม่ข่าย (โรงเรียนที่ท่านประจำอยู่) ซึ่งห้ามเลือกซ้ำกับโรงเรียนที่มีสถานะเป็นแม่ข่ายโดยเด็ดขาด โดยขอให้ท่านเลือกโรงเรียนเครือข่าย ท่านละ 1 โรงเรียน และท่านต้องติดต่อประสานไปยังโรงเรียนเครือข่าย เพื่อรับการตอบรับในการเข้าสนับสนุนดูแลโรงเรียนเครือข่าย ในการอำนวยความสะดวกของการทำงานในอนาคต 

ทั้งนี้หากท่านมีข้อสงสัย หรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ท่านสามารถติดต่อได้ที่ เบอร์โทร 022885893 Line: @683ehwod หรือติดต่อที่แฟนเพจ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้โดยทันที

สพฐ. รับมอบหนังสือ ชุด “ชวนน้องรักษ์โลก รักษ์ชีวิต กับความพอเพียง” จาก แบงค์กรุงเทพ และประพันธ์สาส์น แก่โรงเรียน 400 โรงเรียน มูลค่า 8,000,000 บาท

วันที่ 28 มกราคม 2565 นายอัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) พร้อมกับนายอโณทัย ไทยวรรณศรี ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน และนายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้เข้าร่วมพิธีรับมอบหนังสือ ชุด “ชวนน้องรักษ์โลก รักษ์ชีวิต กับความพอเพียง” จาก ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด โดยมี นายชาติศิริ โสภณพนิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ กรรมการบริหาร ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) นายทวีลาภ ฤทธาภิรมย์ กรรมการผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ กรรมการบริหารกรรมการกำกับดูแลกิจการ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และนายอาทร เตชะธาดา กรรมการผู้จัดการสำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด ร่วมส่งมอบ เพื่อส่งต่อหนังสือให้แก่ห้องสมุดที่ขาดแคลนหนังสือทั่วประเทศ 400 โรงเรียน มูลค่า 8,000,000 บาท ณ ห้องประชุมบัวหลวง ชั้น 30 ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) สำนักงานใหญ่ รวมถึงคณะผู้บริหารโรงเรียน ครู บรรณารักษ์ จากโรงเรียนต่าง ๆ เข้าร่วมพิธี จำนวน 20 โรงเรียน และ ผ่านระบบออนไลน์ โปรแกรม ZOOM 380 โรงเรียน โดยพร้อมเพรียงกัน

สืบเนื่องจากการสำรวจโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศ พบว่า มีหนังสือประจำห้องสมุดในจำนวนที่น้อยมาก ไม่เพียงพอกับเด็ก ๆ ในการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โรงเรียนในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชน ได้เข้าถึงหนังสือที่มีประโยชน์ สร้างเสริมคุณค่าการอ่าน เพิ่มพูนความรู้ และเปิดประสบการณ์ ให้แก่เด็กและเยาวชน แม้จะอยู่ในช่วงการแพร่ระบาดของโควิด-19

ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) และบริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด สานต่อกิจกรรมเป็นปีที่ 13 ด้วยหัวข้อ “ชวนน้องรักษ์โลก รักษ์ชีวิต กับความพอเพียง” โดยใช้หนังสือเสริมประสบการณ์ชีวิต ผนวกกับจัดการแสดงละครเวทีเรื่อง “รักเรา…รักษ์โลก” จากน้อง ๆ หนู ๆ โรงเรียนอนุบาลแสง เพื่อกระตุ้นการรับรู้และร่วมกันรักษาสิ่งแวดล้อม รวมถึงสร้างความรู้ในการใส่ใจดูแลตัวเองท่ามกลางสถานการณ์โควิด-19 ขณะเดียวกันยังเสริมสร้างทักษะการอ่าน และการพูด ด้วยการมอบหนังสือที่มีคุณภาพทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ซึ่งปีนี้ได้คัดสรรหนังสือหลากหลายชุดด้วยกัน

เริ่มจาก หนังสือชุดที่ 1 “Cool Days Series” ซึ่งเป็นหนังสือเด็กและเยาวชน ที่บริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด จัดทำขึ้น โดยเนื้อเรื่องนำมาจากงานเขียนของ การ์เม โดลซ์ และวาดภาพประกอบโดย เอสเตอร์ เมนเดซ ซึ่ง “Cool Days Series” ประกอบด้วยหนังสือสี่สีจำนวน 5 เล่ม ที่บอกเล่าเรื่องราวต่างๆ รอบตัว และเห็นถึงการรักษ์โลกอย่างถูกวิธี ที่ทุกคนสามารถทำได้ รวมทั้งความประทับใจในตัวของพ่อ-แม่ ผู้เป็นต้นแบบของเด็ก ๆ ด้วย

หนังสือชุดที่ 2 “เรียนรู้ความพอเพียง” ประกอบด้วยการ์ตูนภาพสี่สีสวยงาม จำนวน 6 เรื่อง ได้แก่ แก๊งป่วนชวนเรียนรู้ สวนจิตรลดา เล่ม 1-2, แก๊งป่วนอยู่อย่างพอเพียง, แก๊งป่วนเรียนรู้เรื่องน้ำ, แก๊งป่วนเรียนรู้เรื่องดิน, แก๊งป่วนเรียนรู้เรื่องขยะ ซึ่งหนังสือการ์ตูนชุดนี้ล้วนเป็นสื่อการสอนสำหรับเด็ก ให้เรียนรู้ถึงแนวทางพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช หรือ “ในหลวง รัชกาลที่ 9” ซึ่งหนังสือการ์ตูนชุด “เรียนรู้ความพอเพียง” ทั้ง 6 เล่ม ไม่เพียงแต่มีสาระประโยชน์เท่านั้น หากยังเต็มไปด้วยเรื่องราวชวนอ่านให้เพลิดเพลิน พร้อมทั้งตัวการ์ตูนหลากหลาย สีสันสวยงาม เหมาะสำหรับเด็กและเยาวชนทุกคน เพื่อการเรียนรู้ถึงแนวทางการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

หนังสือชุดที่ 3 “เสริมประสบการณ์ชีวิต” จำนวน 25 รายการ ประกอบด้วยหนังสือที่มีเนื้อหาที่มีความคิดริเริ่มที่ดี ที่ผู้เขียนสอดแทรกไว้ในหนังสือ มีความคิด มุ่งให้ความรู้ เห็นคุณค่าของคุณธรรมความดีงาม ความถูกต้อง และอื่นๆ ผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน ให้เกิดประโยชน์ และความสุข ได้ตามความเหมาะสม

ทั้งนี้ หนังสือที่ผ่านการคัดสรรประมาณ 80,000 เล่ม จากบริษัท สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น จำกัด ตามโครงการที่ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เป็นผู้บริจาคหนังสือเข้าห้องสมุดโรงเรียนที่ขาดแคลนหนังสือ ในสังกัด สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ จำนวน 400 โรงเรียน

การประชุมสร้างความเข้าใจในการประเมินโรงเรียนภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ดำเนินการจัดประชุมออนไลน์สร้างความเข้าใจในการประเมินโรงเรียนภายใต้โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ในวันที่ 21 กรกฎาคม 2564 ผ่านระบบสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Google Meet) มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับคณะทำงานและผู้สนับสนุนโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) จำนวนรวม 65 คน การประชุมในครั้งนี้ได้รับเกียรติจาก ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานการประชุมดังกล่าว

ประกาศรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

     ขณะนี้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้ทำการตรวจเช็คเอกสารรายงานการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) ทั้งหมดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยท่านสามารถตรวจรายชื่อของท่านและเอกสารที่ท่านส่งตามกลุ่มด้านล่างนี้
     

หากท่านใดยังไม่ได้อัพโหลดเอกสารไฟล์นามสกุล .Word ,.PDF หรือ มีความต้องการแก้ไขเอกสารรายงานของตนเองเพิ่มเติม ท่านสามารถคลิกที่ “อัพโหลดเอกสารเพิ่มเติม” ได้โดยทันที โดยสามารถเพิ่มเติมเอกสารได้จนถึงวันที่ 20 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติมท่านสามารถติดต่อสอบถามได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-288-5893 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มวิจัยและพัฒนาการบริหาร

การอบรมออนไลน์ “ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ภาครัฐ” (OBEC ICT Talent) รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2564

เมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา CONNEXT ED จัดการอบรมออนไลน์ “ผู้นำด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ภาครัฐ” (OBEC ICT Talent) รุ่นที่ 1 ปีการศึกษา 2564 ผ่านโปรแกรม VRoom โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมศักยภาพผู้นำไอซีที เตรียมความพร้อมการนำองค์ความรู้ไปผลักดันให้ผู้บริหารสถานศึกษา คณะครูและนักเรียนในโรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี สามารถใช้สื่อดิจิทัลและเทคโนโลยีให้เกิดประโยชน์สูงสุดในการจัดการเรียนการสอน โดยการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ ดร.เนตรชนก วิภาตะศิลปิน กรรมการและเลขานุการ มูลนิธิสานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี เป็นประธานในการเปิดพิธีการเปิดพิธี และท่าน ดร. ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการศึกษา เป็นประธานในการปิดพิธีการอบรม

เลื่อนการประกาศรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

     ตามที่สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้จัดการประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs) โดยมีกำหนดการให้ส่งแบบรายงานเพื่อเข้าประกวดผ่านทาง 2 ช่องทางได้แก่ ทางไปรษณีย์และช่องทางเว็บไซต์ http://gg.gg/tb1ce โดยได้สิ้นสุดระยะเวลาการส่งแบบรายงานเข้าร่วมประกวดไปแล้วเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2564 โดยขั้นต่อไปเป็นการประกาศรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวดให้แก่ผู้เข้าร่วมประกวดทราบภายในวันที่ ในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 นั้น
     ในการนี้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ขอแจ้งผู้เข้าร่วมประกวดทุกท่านว่าขณะนี้ยังมีรายงานนวัตกรรมส่วนที่ส่งมาทางไปรษณีย์บางส่วนยังมาไม่ถึงสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ทำให้ไม่สามารถสรุปยอดผู้ส่งเอกสารเป็นจำนวนที่แน่นอนได้ จึงขอเลื่อนการประการรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวด จากเดิมวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 ทั้งนี้หากท่านมีข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 02-288-5893 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
     จึงเรียนมาเพื่อทราบ และขออภัยมา ณ โอกาสนี้

การประกวดนวัตกรรมการศึกษา เพื่อส่งเสริมการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลก ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (SDGs)

ความเป็นมาของการประกวด

การประกวดนวัตกรรมการศึกษา เป็นการพัฒนาบุคลากรทางการศึกษา ให้เป็นผู้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษาและพัฒนาทักษะกระบวนการคิดของนักเรียน สำหรับการเป็นพลเมืองไทยและพลเมืองโลก เป็นการยกระดับศักยภาพด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู การบริหารจัดการและสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนสนับสนุนกระบวนการนิเทศติดตามให้กับศึกษานิเทศก์ เพื่อเสริมสร้างความเข้มแข็งของศักยภาพตามบริบทของแต่ละบุคคล ผ่านการประกวดนวัตกรรมการศึกษา ตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals : SDGs) เพื่อให้ผู้เรียนมีสมรรถนะตามหลักสูตรและคุณลักษณะในศตวรรษที่ 21

วัตถุประสงค์การประกวด

  1. เพื่อส่งเสริมให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ ได้สร้างสรรค์นวัตกรรมทางการศึกษา ในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  2. เพื่อเผยแพร่ผลงานนวัตกรรมทางการศึกษาที่มีคุณภาพของครู ผู้บริหารสถานศึกษา และศึกษานิเทศก์สู่การปฏิบัติอย่างแพร่หลายในระดับชาติ (Thai Journal Citation Index Centre: TCI) ระดับอาเซียน (ASEAN Citation Index: ACI) หรือระดับนานาชาติ (International Citation Index: ICI)

ประเภทของนวัตกรรมที่ใช้ในการประกวดครั้งนี้

นวัตกรรมที่ใช้ในการประกวดครั้งนี้แบ่งออกเป็น 3 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้  

  1. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ หมายถึง รูปแบบ วิธีการ เทคนิคการจัดการเรียนรู้ หรือสื่อการเรียนรู้ที่มุ่งแก้ไขหรือพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนที่เหมาะสมตามบริบทของสถานศึกษา
  2. นวัตกรรมการบริหารและการจัดการ หมายถึง วิธีการ เทคนิคการบริหารและการจัดการ ของสถานศึกษา ที่มุ่งยกระดับสถานศึกษาให้มีคุณภาพที่เหมาะสมตามบริบทต่อการส่งเสริมศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
  3. นวัตกรรมการนิเทศการศึกษา หมายถึง รูปแบบ วิธีการ เทคนิคการนิเทศการศึกษาที่มุ่งยกระดับคุณภาพสถานศึกษา ที่เหมาะสมตามบริบทในพื้นที่รับผิดชอบในการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน

คุณลักษณะนวัตกรรมที่ใช้ในการส่งประกวด

  1. เป็นนวัตกรรมเชิงประจักษ์ที่ส่งผลต่อการพัฒนาคุณภาพของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับบริบทของสถานศึกษานั้น ๆ
  2. ไม่เป็นผลงานทางวิชาการเพื่อขอมีหรือเลื่อนวิทยฐานะ หรือเป็นส่วนหนึ่งของการศึกษาเพื่อรับปริญญาทุกระดับ
  3. นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดต้องเป็นผลงานที่ดำเนินการมาแล้วย้อนหลังไม่เกิน 3 ปีการศึกษา (ตั้งแต่ปีการศึกษา 2561 – 2563)
  4. นวัตกรรมที่ส่งเข้าประกวดต้องไม่เคยได้รับรางวัลในระดับประเทศหรือเทียบเท่ามาก่อน
  5. นวัตกรรมที่ได้รับการพิจารณาให้ผ่านเข้ารอบสุดท้ายจะได้รับการเผยแพร่สู่เวทีในระดับสากล

คุณสมบัติผู้ส่งผลงานเข้าประกวด

  1. เป็นครูและบุคลากรที่จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน
  2. เป็นผู้อำนวยการ และรองผู้อำนวยการสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  3. เป็นศึกษานิเทศก์ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
  4. ผู้ที่ส่งผลงานเข้าประกวดไม่สามารถสมัครเข้ารับการแต่งตั้งเป็นกรรมการประเมินได้

ระยะเวลาการส่งผลงานและการประกวด

  1.  การส่งผลงานเข้าประกวด

1.1 ประชาสัมพันธ์โครงการและรับสมัคร วันที่ 1 พฤษภาคม – 30 มิถุนายน 2564 โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชาสัมพันธ์ไปยังผู้สนใจผ่านสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
1.2 รายงานนวัตกรรม จำนวนไม่เกิน 15 หน้า ตามรูปแบบที่กำหนด (รายละเอียด แนบท้ายเอกสารนี้) โดยผลงานที่ส่งเข้าประกวดต้องได้รับการรับรอง ดังนี้ 1) ครูและบุคลากรที่จัดการเรียนรู้ในสถานศึกษา ต้องให้ผู้บริหารสถานศึกษาหรือผู้รักษาการในตำแหน่งรับรอง 2) ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ ต้องให้ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายรับรอง
1.3 ผู้สนใจต้องส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวดภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564 ผ่านทั้ง 2 ช่องทาง ดังนี้
1) ไปรษณีย์จำนวน 3 ชุด โดยถือวันประทับตราไปรษณีย์ต้นทางไม่เกินวันที่ 30 มิถุนายน 2564ส่งถึง กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ ถนนราชดำเนินนอก เขตดุสิต กทม. 10300 พร้อมข้อความ “ประกวดนวัตกรรมการศึกษา” ที่มุมล่างซ้ายของซอง
2) Google Form เป็นไฟล์ PDF และ Word โดยผ่าน URL http://gg.gg/tb1ce
1.4 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จะประกาศรายชื่อผู้ส่งผลงานเข้าประกวดทราบ ภายในวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 ทางwww.innoobec.com ผู้ที่ส่งผลงานเข้ารับการพิจารณาจะได้รับเกียรติบัตรเข้าร่วมการประกวดนวัตกรรมการศึกษา จากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

**แก้ไขเพิ่มเติม

ขอเลื่อนการประการรายชื่อผู้ส่งรายงานนวัตกรรมเข้าประกวด จากเดิมวันที่ 5 กรกฎาคม 2564 เป็นวันที่ 12 กรกฎาคม 2564 เนื่องจากรายงานนวัตกรรมบางส่วนยังมาไม่ถึงสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้ * *

 

 

หากมีความประสงค์ที่จะเข้าร่วมประกวด หรือศึกษารายละเอียดเพิ่มเติม หรือดำเนินการต่อที่ด้านล่างนี้

ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ
โทร. 0 2288 5893 หรือติดต่อ นายจักรพงษ์ คำมี ผู้รับผิดชอบโครงการ โทร. 08 9574 9966

การประชุมปฏิบัติการจัดทำร่างแบบประเมินและคู่มือสำหรับผู้ประเมิน โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 6- 8 เมษายน 2564

วันที่ 6-8 เมษายน 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้มอบหมายให้กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร นำโดย ดร.มัลลวีร์ รอสโฟล และทีมงาน ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการจัดทำร่างแบบประเมินและคู่มือสำหรับผู้ประเมิน โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 6- 8 เมษายน 2564 ณ โรงแรมบางกอกชฎา จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานการประเมินและออกแบบเครื่องมือสำหรับการลงพื้นที่เพื่อประเมินโรงเรียน รวมถึงจัดทำคู่มือการประเมินให้สอดคลัองกับบริบทของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 40 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารการศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณาจารย์จากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้แทนจากและตัวแทนจากภาคเอกชน ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ได้มอบหมายให้ ดร.อรนุช  มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานในการประชุมแทน

สพฐ.ร่วมกับภาคเอกชนจัดการประชุมปฎิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2564 ณ โรงแรมบางกอกชฎา กรุงเทพมหานคร

วันที่ 1 เมษายน 2564 สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ หน่วยงานองค์กรภาคเอกชนจากมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี (Connext ed) จัดการประชุมปฎิบัติการขับเคลื่อนการดำเนินงานของคณะกรรมการเพื่อการบริหารจัดการโรงเรียน ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2564 ระหว่างวันที่ 1-2 เมษายน 2564 ณ โรงแรมบางกอกชฎา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อชี้แจงบทบาทหน้าที่ของคณะกรรมการจากทุกภาคส่วน วางแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงาน จัดทำกรอบการปฏิบัติงานคณะทำงาน 3 ฝ่าย ได้แก่ คณะกรรมการกลั่นกรองแผนพัฒนาโรงเรียน คณะกรรมการด้านกรอบงานวิจัยของโครงการคอนเน็กซ์อีดี และคณะกรรมการติดตามการดำเนินงานโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี พร้อมทั้งจัดทำปฏิทินการปฏิบัติงาน ภายในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ซึ่งการประชุมในครั้งนี้ ประกอบด้วยคณะทำงานทั้งจากภาครัฐ ภาคเอกชน และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 86 คน  ทั้งนี้การประชุมดังกล่าวได้รับเกียรติจากว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงศ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการประชุม

สนก.ร่วมสรุปผลในการประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ผลและลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (โรงเรียนประชารัฐ)

วันที่ 17 มีนาคม 2564 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมด้วย นางอรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ และ นายสุดเขต สวยสม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุโขทัย ให้เกียรติเข้าร่วมรับฟังการรายงานผลการดำเนินงานการประชุมปฏิบัติการวิเคราะห์ผลและลงพื้นที่เก็บข้อมูลงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี (โรงเรียนประชารัฐ) ระหว่างวันที่ 16 – 19 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมศรีวิลัย สุโขทัย ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย โดยมีนางมัลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (วนบ.) หัวหน้าคณะทำงานวิจัย และคณะ ได้นำเสนอสรุปผลการสังเคราะห์ข้อมูลด้านการบริหารจัดการศึกษาของโรงเรียนประชารัฐจากการลงพื้นที่ศึกษาข้อมูลตามสภาพจริง และประเด็นที่ศึกษาเพื่อนำมาปรับหลักสูตรฯ โดยคณะท่านได้เติมเต็มประเด็นพร้อมข้อเสนอแนะเพื่อให้คณะวิจัยได้นำไปพัฒนาร่างหลักสูตรให้ครอบคลุมยิ่งขึ้น โดยผลการประชุมครั้งนี้ได้รับข้อสรุปเป็นไปด้วยดี