ข่าวประชาสัมพันธ์

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 ณ โรงแรมน้ำทองน่าน จังหวัดน่าน

เมื่อวันที่ 16 และ 17 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตรพัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ ภายใต้โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน (น่าน และเชียงใหม่) โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาครูวิทยากรรักษ์พงไพรในระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบ

 

ทั้งนี้การประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ครูวิทยากรรักษ์พงไพรในครั้งนี้ด้วย

ทางด้านศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบศูนย์ สพป.เชียงใหม่ เขต 1 ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมการประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้ให้แนวคิดในการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่ายไว้ว่า แต่ละหน่วยงานมีความรู้ มีความชำนาญในเรื่องที่แตกต่างกัน การทำงานเป็นเครือข่ายจะทำให้สามารถนำองค์ความรู้มาบูรณาการและต่อยอดได้ ดังนั้นการทำงานเป็นเครือข่ายจึงเป็นเรื่องที่ดี

 

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าน่าน (นาน้อย) บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเชียงใหม่ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาน่าน (บ่อเกลือ) และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.เชียงใหม่ เขต 1 สพป.น่าน เขต 1 (เจ้าภาพ) โดยการสัมมนาดังกล่าวจะมีกิจกรรมหลักเป็นการแบ่งกลุ่มระดมพลังสมองเพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมและขยายผลในโรงเรียน รวมถึงแนวทางการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่าย และกิจกรรมเรียนรู้ 3 รักษ์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์)

จากนั้น ดร.สมพร สามทองกล่ำ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ น่าน ภายในศูนย์ประกอบไปด้วย โรงเลี้ยงไหม อุโมงค์หม่อนผลสด และนิทรรศการผ้าไหมไทย เป็นต้น

สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด และติดตามข่าวสารผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาและโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

วันที่ 16 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาและโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2563 ณ โรงแรม ทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวชั่น กรุงเทพมหานคร โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด ในการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รศ.ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทองดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน) และอาจารย์ประจำวิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
(ผศ.ดร.ประทุมทอง ไตรรัตน์ ดร.นิภาพร เฉลิมนิรันดร) มาเป็นวิทยากรในการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้

เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ  โดยการประชุมดังกล่าว จัดขึ้น เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนท์ ถนนกำแพงเพชร 6 กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ และนายสราวุธ ชีวะประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดประชุมและมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากส่วนราชการ รัฐวิสหกิจ สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานพยาบาล และกิจกรรมสุขภาพ และผู้สังเกตการณ์ กว่า 100 คน

ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามมาตราการประหยัดน้ำภาครัฐตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 โดยต้องรายงานผลให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบ และ สทนช. ได้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ สทนช. จัดเก็บข้อมูลการใช้น้ำภาคราชการให้เป็นปัจจุบันตามประเภทและขนาดของหน่วยงาน ให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำ ที่จะนำไปสู่การกำหนดมาตรการ วิธีการและแนวทางในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน (Road Map) ขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค กลยุทธ์ที่ 1.4 การประหยัดน้ำทุกภาคส่วน ให้กำหนดอัตราการใช้น้ำในภาคราชการ และพื้นที่ชุมชน ทั้งชุมชนเมือง ชนบท และแหล่งท่องเที่ยว และการส่งเสริมการประหยัดน้ำภาครัฐ ในเบื้องต้น สทนช. โดยกองนโยบายและแผนแม่บทได้ดำเนินการศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์การใช้น้ำสำหรับภาคราชการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับฟังการชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ ตลอดจนให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และร่วมกันกำหนดมาตรการและแนวทางการประหยัดน้ำภาครัฐ เพื่อที่ สทนช.จะได้นำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดเป็นมาตรการบังคับใช้ต่อไป นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการรายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 ตามตัวชี้วัด SDGs 6.4.1 การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการใช้น้ำทุกช่วงเวลา สำหรับรายงาน UN-WATER ในปี 2020 ที่กำหนดให้จัดทำข้อมูลตามศักยภาพของประเทศ ซึ่งการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำภาคบริการตามมาตรฐานอุตสาหกรรมสากลของ UNDP ในกลุ่มส่วนราชการ (O) สถานศึกษา (P) และโรงพยาบาล สถานพยาบาล และกิจกรรมสุขภาพ (Q) ต่อไป
ขอขอบคุณภาพและข่าวจาก https://www.facebook.com/onwrnews

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 2 ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก

เมื่อวันที่ 12 และ 13 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 2 (นครนายก สระบุรี จันทบุรี และชลบุรี) ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก นายพิเชษฐ์ นนท์พละ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูวิทยากรค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน กล่าวว่า การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย และการใช้สถานที่จริงเป็นแหล่งเรียนรู้นั้น จะทำให้ครูผู้สอน เกิดความเข้าใจ เข้าถึง และสามารถนำสิ่งแวดล้อมเป็นฐานเพื่อไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่สอนได้

ทางด้านบุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก กล่าวว่า การมีเครือข่ายทำให้สามารถที่จะประสานงานหรือพูดคุยกันได้ เป็นการระดมความคิด ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน เมื่อร่วมกันทำงานย่อมทำให้เกิดการบูรณาการในสิ่งใหม่ๆร่วมกัน

ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.จันทบุรี เขต 1 และ 2 สพป.ชลบุรี เขต 1 และ 3 และ สพป.นครนายก (เจ้าภาพ) รวมทั้งสิ้น 70 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ กิจกรรม “Craft From Nature”  กิจกรรมขยะเปลี่ยนชีวิต “ค่ายกล คนรักษ์โลก” กิจกรรมถอดบทเรียน “เล่าขาน…งานค่าย” สู่แนวปฏิบัติที่ดี และกิจกรรมล่องแก่งเพื่อศึกษาเส้นทางธรรมชาติ รวมถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์) เป็นต้น

 

สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด ผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

วันที่ 9 – 11 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ที่ดำเนินการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตร “พัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่” เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง เป็นไปตามพระราโชบายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ครูวิทยากรจาก สพป.กาญจนบุรี เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 1 และ 2 สพป.พิษณุโลก เขต 2 และสพป.นครสวรรค์ เขต 1 (เจ้าภาพ) รวม 61 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมรับอรุณ (ส่องนกท้องถิ่น) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 จังหวัด กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมเรื่องเล่าจากพงไพรฯ กิจกรรม 6 ฐาน (ฐานป่าไม้ในเมืองไทย ฐานนักสืบสายน้ำ : สำรวจโลกแห่งลำน้ำ ฐานโซ่อาหาร สายใยอาหารและระบบนิเวศ ฐาน Coding ฐานสร้างภาพจากธรรมชาติ ฐานรอยตีนสัตว์) เป็นต้น

เข้าร่วมการประชุม Kick off วันดินโลก “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน”

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมายให้บุคลากรกลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุม Kick off วันดินโลก “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมพัฒนาที่ดิน มีนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรดิน โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ในเรื่องทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งร่วมผลักดันเรื่องวันดินโลก ร่วมกับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำ สมาคมดินโลก และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยได้มีการจัดงานวันดินโลกในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี สำหรับในปี 2563 สมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก (Global Soil Partnership : GSP) ได้กำหนดหัวข้อการจัดงานวันดินโลก “Keep Soil Alive, Protect Soil Biodiversity : รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ระหว่างวันที่ 4 – 7 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งเอเชีย (CESRA) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นหัวข้อที่ให้ความสำคัญของนิเวศวิทยา และความหลากหลายทางชีวภาพในดินของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่

 

เข้าร่วมประชุมทางวิชาการเพื่อจัดข้อเสนอนโยบายทางการศึกษา (OEC Forum) ครั้งที่ 6

ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและนวัตกรรมการบริหาร ได้เข้าร่วมประชุมทางวิชาการเพื่อจัดข้อเสนอนโยบายทางการศึกษา (OEC Forum) ครั้งที่ 6 เรื่อง ยกกำลังสองการจัดการเรียนการสอนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิสาหกิจชุมชน ณ ห้องจามจุรี บอลลูม ชั้น M โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 10 ตุลาคม 2563 เป็นการประชุมที่นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวกับการสร้างระบบนิเวศทางการศึกษา  (Education Ecosystem)  ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา  พร้อมกับการนำเสนอแนวทางให้ชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน และองค์ความรู้ให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาคนและการศึกษา ผ่านวิทยากรชั้นนำ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ  ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา  ดร.เตือนใจ ดีเทศน์ ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา  นายพรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และนางสาวปาริสา สัทธินทรีย์ ประธานสภาผู้แทนนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น

บรรยากาศการจัดสอบคัดเลือกผู้มีสิทธิ์รับทุน รุ่นที่ 1 ประจำปี 2563 (THE C21 SCHOLASHIP (OBEC) Y2020/2021)

โครงการเปิดเวทีไทยก้าวไกลได้จัดสอบคัดเลือกผู้มีสิทธิ์รับทุนรุ่นที่ 1 ประจำปี 2563 (THE C21 SCHOLASHIP (OBEC) Y2020 / 2021) เพื่อรับทุนการศึกษาระดับ A – Level / Foundation / High Scool และมีสภาใน การศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษและอเมริกา

การสอบดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 5 เดือน 2563 ณ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยโดยมีนักเรียนในเครือสพฐ. จากโรงเรียนชั้นนำทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมการสอบกว่า 200 คน

**************************

 

ประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม”การจัดโครงการอัตลักษณ์คนไทย Kindniss Thainess”

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ,นางสาวเสาวนีย์ ทิพย์ฤกษ์,นางสาวจารุวรรณ กาบซ้อน และนางสาวทิฆัมพร มาลาล้ำ นักวิชาการศึกษา ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๓๐ น. ณ ห้องประชุม หมายเลข ๓๐๖ อาคารรัฐสภา (เกียกกาย)  เพื่อให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับพิจารณาแนวทางการจัดโครงการอัตลักษณ์คนไทย Kindniss Thainess  โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีอายุระหว่าง ๑๑ -๒๒ ปี GEN –Z นำเสนอเรื่องราวของความดีในท้องถิ่นของตนซึ่งที่ประชุมได้มีการนำเสนอรูปแบบกิจกรรมในครั้งนี้ คือ การจัดประกวดคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่นำเสนอความดี ตามอัตลักษณ์ของคนไทยทั้ง ๗๗ จังหวัด โดยผสมผสานระหว่างความดีและเผยแพร่การท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด ซึ่งได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ด้วยและในส่วนของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้นำเสนอโครงงานคุณธรรมของนักเรียน ซึ่งชนะการประกวดในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกับคณะอนุกรรมการฯ ทั้งนี้ โครงงานคุณธรรมของนักเรียน เป็นกิจกรรมการทำความดีภายในชุมชนของตนเอง และมีนักเรียนที่เข้าร่วมโครงงานคุณธรรมจากทุกจังหวัดของประเทศไทย และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรมจริยธรรม ได้แสดงความสามารถและเผยแพร่การทำความดีผ่านสื่อต่าง ๆคณะอนุกรรมาธิการฯ จึงได้รับข้อเสนอดังกล่าวไว้พิจารณาและนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป

  

กลุ่ม วคส. สนก.

เปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ยกระดับการเรียน-การสอนประวัติศาสตร์ไทย มุ่งพัฒนาจิตสำนึกรักชาติ

“ครูกัลยา” เปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ยกระดับการเรียน-การสอนประวัติศาสตร์ไทย มุ่งพัฒนาจิตสำนึกรักชาติ
—–
วันที่ 3 กันยายน 2563 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ดึงสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาจับมือวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มศว. สร้างและพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนสื่อร่วมสมัย ใช้เพลงแร็พ แหล่ หมอลำ นำสู่บทเรียน ยกระดับการเรียน-การสอนประวัติศาสตร์ไทย โดยมี นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้าร่วม ณ พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
.
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศธ. กล่าวว่า โครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ เพื่อมุ่งพัฒนาจิตสำนึกของความรักชาติให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน ตามนโยบายการอ่าน การเขียน การเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย หนึ่งในนโยบายหลัก ที่ช่วยปฏิรูปการศึกษาไปสู่ผู้เรียนโดยตรง
.
“ประวัติศาสตร์มีหลายมิติ สามารถเรียนรู้ได้อย่างสนุก ไม่ใช่แค่การท่องจำแบบในอดีต..ดิฉันให้ความสำคัญกับเรื่องการเรียนการสอนประวัติศาสตร์มาก เพราะจะทำให้ทั้งครูและผู้เรียน เข้าใจพื้นฐานของตนและได้เรียนรู้ความสำเร็จหรือข้อผิดพลาด เป็นการนำบทเรียนในอดีตมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในปัจจุบันตลอดจนก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในประวัติความเป็นมาของชาติตน และนำไปสู่การเกิดสำนึกความรักชาติ และมีความภูมิใจในความเป็นชาติไทย” คุณหญิงกัลยา กล่าว
.
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอนวัดและประเมินผล เพื่อการทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านทักษะความรู้ ความสามารถ และคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย การอ่าน การเขียน การเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย จะเป็นการยกระดับการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ให้นักเรียนได้เรียนประวัติศาสตร์ไทยด้วยความสนุก ผ่านรูปแบบสื่อที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชน
.
ทั้งนี้นโยบายการอ่าน การเขียน การเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย จะเน้นให้ครูช่วยกันปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และกระบวนการเรียนการสอนด้วยการมีนวัตกรรมและสื่อการสอนที่ทันสมัยให้นักเรียนเรียนประวัติศาสตร์ไทยด้วยความสนุก ผ่านรูปแบบสื่อที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชน ที่สอดคล้องตามบริบทท้องถิ่นของแต่ละแห่ง เช่น เพลงแร็พ แหล่ หมอลำ รวมทั้งการจัดทำคลิปวีดีโอนำเข้าสู่บทเรียนที่มีศิลปินนักแสดงที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กและเยาวชน
.
ด้าน นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมและประเมินคุณภาพผู้เรียน การสอนประวัติศาสตร์แบบสื่อออนไลน์เพื่อตอบสนอง สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 และโลกในศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ มีความเป็นไทย รักชาติ ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงเป็นพลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย มุ่งหวังให้ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอน ส่งผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้นในสาระประวัติศาสตร์ ปลูกฝังให้นักเรียนเรียนรู้ในความรักชาติ ผ่านการเรียนรู้ร่วมสมัยด้วยความสุข สนุก เปิดรับการเรียนรู้ด้วยมิติต่าง ๆ ในอดีตสู่ความร่วมสมัยในปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบาย การเรียนรู้ในทักษะศตวรรษที่ 21
.
สำหรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มีความพร้อมทั้งบุคลากร และองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย พร้อมสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้สื่อร่วมสมัย เพื่อให้ครูสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในยุคปัจจุบัน
.
ทั้งนี้จะมีกิจกรรมประกอบด้วย สร้างและพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนสื่อวิดีทัศน์เสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ จัดทำคู่มือการใช้สื่อวิดีทัศน์เสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมถึงขับเคลื่อนการใช้สื่อวีดิทัศน์เสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยตามนโยบายการอ่าน การเขียน เรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัยเพื่อใช้ประเมินการคิดวิเคราะห์การอ่าน การเขียนของผู้เรียน ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความร่วมสมัย อาทิ Youtube, Facebook, Tiktok, เพลงแร็พ และเผยแพร่ไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ ภายในกระทรวงศึกษาธิการ เช่น Obec center , OBEC Channel เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย
ที่มา : fb ประชาสัมพันธ์ สพฐ.

ชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อยอดขยายผลโครงการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0

 

วันนี้ (2 กันยายน 2563) กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ดำเนินการประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อยอดขยายผลโครงการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านการพัฒนานักคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (Creating Innovators) รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำโครงงานขยายผลของโครงการฯ ดังกล่าว เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานนวัตกรรมที่เน้นวิศวกรรม โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ดิน น้ำ อากาศ/ลม) และ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยบอร์ด KidBright ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษา ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณด้วย KidBright – IoT และการใช้ Fabrication Lab” จำนวน 40 คน (20 โรงเรียน)

ดร. นิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชุมผู้บริหารสำนัก ภายใต้การกำกับดูแล

วันที่ 28 สิงหาคม 2563
ดร. นิพนธ์  ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชุมผู้บริหารสำนัก ภายใต้การกำกับดูแล ประกอบด้วย สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักบริหารงานพื้นที่นวักรรม ศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน โดยได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและแผนการดำเนินงานต่อไปของโครงการ ซึ่งท่านได้มอบนโยบาย แนวคิดในการขับเคลื่อนเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบันและอนาคต แนะนำแนวทางในการดำเนินการแต่โครงการให้มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน