สพฐ. ร่วมกับองค์กรเครือข่ายทางการศึกษา ร่วมประชุมถอดบทเรียน “แนวทางการขยายผลนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road

เมื่อวันอังคารที่ 4 มิถุนายน 2567 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาจัดการประชุม “สพฐ. ร่วมกับองค์กรเครือข่ายทางการศึกษา ร่วมประชุมถอดบทเรียน “แนวทางการขยายผลนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road” โดยมี ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้นำทีมเจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบโครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ได้แก่ 1) นางสาวปุณณภาเทพทุมมี นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ 2) นายธัญญภัสร์ จำเริญบุญ เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ 3) นายณัฐศาสตร์ ส่องแสง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ 4) นายสหรัถ อินทรีย์เขียว เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ 5) นางสาวสุภาพร ทองร้อยชั่ง เจ้าหน้าที่ประสานงานโครงการ พร้อมทั้งมีองค์กรแห่งการเรียนรู้ MalishaEdu Thailand เป็นตัวแทนภาคเอกชนและสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน
ที่เข้าร่วมการประชุมและขับเคลื่อนภารกิจงานในครั้งนี้ ณ อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 ห้องประชุมที่ 2 กระทรวงศึกษาธิการ

“การอบรมเชิงปฏิบัติการนำร่องนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road)” เป็นกิจกรรมภายใต้โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การเสริมสร้างศักยภาพและต่อยอดเยาวชนไทยในระดับสากล ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567 ของ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  กระทรวงศึกษาธิการ จัดขึ้นด้วยความร่วมมือของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน บริษัท MalishaEdu Thailand และสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความร่วมมือทางการศึกษาระหว่างหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน ของประเทศไทย และสถาบันอุดมศึกษาชั้นนำจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ในการจัดกิจกรรมการพัฒนาและเตรียมความพร้อมนักเรียนไทยเพื่อการสมัครเข้ามหาวิทยาลัย และการขอทุนการศึกษา โดยการจัดกิจกรรมในครั้งนี้มีกลุ่มเป้าหมายได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายจากประเทศไทย และประเทศลาว ที่มีความสนใจจะไปศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีนักเรียนสมัครเข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น กว่า 300 คน

การประชุมถอดบทเรียนสำคัญภายในงานวันดังกล่าวประกอบด้วย การเรียนรู้และการฝึกปฏิบัติเขียน Study Plan เพื่อสมัครเข้ามหาวิทยาลัย และขอทุนการศึกษาจากสาธารณรัฐประชาชนจีน กิจกรรมแนะแนวการศึกษา ให้คำชี้แนะ และทดลองการสัมภาษณ์เข้ามหาวิทยาลัย โดยผู้แทนมหาวิทยาลัยชั้นนำ จากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวนมากกว่า 20 แห่ง และกิจกรรมการให้คำปรึกษา และการเตรียมความพร้อมในการศึกษาต่อ ณ สาธารณรัฐประชาชนจีน โดย MalishaEdu Thailand เพื่อต้องการให้นักเรียน สพฐ. ได้มีโอกาสศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในต่างประเทศ เป็นการพัฒนาศักยภาพของนักเรียน

นอกจากนี้ยังมีกิจกรรมที่ได้รับความสนใจเป็นอย่างยิ่งภายในงาน ได้แก่ การเปิดตัวนวัตกรรมที่จะช่วยพัฒนาศักยภาพของนักเรียน และสร้างโอกาสในการต่อยอดสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพในระดับสากล ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือขององค์กรภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ที่ร่วมกันคิดค้น และพัฒนาต่อยอดจนกลายเป็นนวัตกรรมที่สามารถนำมาใช้ได้จริงอย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า นวัตกรรมด้านหลักสูตรการอบรม เป็นนวัตกรรมที่ขับเคลื่อนในปี พ.ศ. 2566 เกิดประโยชน์กับนักเรียนและครูเป็นอย่างยิ่ง โดยมหาวิทยาลัยให้ข้อเสนอแนะในการขับเคลื่อนและขยายผลนวัตกรรมให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น

นอกจากนี้ ในการประชุมได้ร่วมหารือแนวทางการขยายผลนวัตกรรมเครือข่ายความร่วมมือเพื่อการต่อยอดทางการศึกษาจากประเทศไทยสู่สาธารณรัฐประชาชนจีน (OBEC One Belt One Road) ที่คิดค้นขึ้นทั้ง 3 นวัตกรรม ดังนี้

1) TSEC : Thai Students Selection Exam for China University (นวัตกรรมด้านการวัดและประเมินผล) โดยกลุ่มมหาวิทยาลัยชั้นนำ สาธารณรัฐประชาชนจีน จะดำเนินการยกสนามสอบคัดเลือกนักเรียนมาจัดขึ้นในประเทศไทย เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนไทยในการเข้าถึงการสอบ และทุนการศึกษาอย่างทั่วถึง

2) Pathway Camp (นวัตกรรมด้านหลักสูตรการเรียนรู้) เป็นการเปลี่ยนโฉมหลักสูตรการเรียนระยะสั้นในต่างประเทศของนักเรียน ที่เคยจัดโดยมหาวิทยาลัย และบริษัทเอกชนต่าง ๆ ให้กลายเป็นการเรียนระยะสั้นที่มุ่งเน้นการสร้างประสบการณ์ให้กับนักเรียน ด้วยการร่วมเรียนบางรายวิชาในชั้นเรียนจริง ของคณะ หรือสาขาที่นักเรียนสนใจ พร้อมโอกาสสำคัญในการสอบคัดเลือกเข้ามหาวิทยาลัยในช่วงท้ายของการอบรมตามหลักสูตรโดยทางมหาวิทยาลัยจะดำเนินการจัดสอบ และพิจารณาเอกสาร Pre-Admission ให้กับนักเรียนที่ผ่านการสอบทันที

3) Preparation Program for Students and Teacher (นวัตกรรมด้านหลักสูตรการอบรม)

3.1) Integrated Training Program for Students นวัตกรรมหลักสูตรการอบรม
ที่บูรณาการกิจกรรมสำคัญ 2 กิจกรรม ได้แก่ (1) กิจกรรมการพัฒนานักเรียน (Preparation Program) ในด้านที่เกี่ยวข้องกับการเตรียมความพร้อมนักเรียน ตัวอย่างเช่น ความรู้และทักษะทางภาษา การเขียนเอกสารประกอบการขอทุน เป็นต้น โดยบูรณาการเข้ากับ (2) กิจกรรมแนะแนวการศึกษาต่อ (Education Fair) ที่จะช่วยให้นักเรียนมีข้อมูลเกี่ยวกับบริบทของมหาวิทยาลัยแต่ละแห่ง หลักสูตร การเรียนการสอน รวมถึงสภาพแวดล้อม ซึ่งล้วนเป็นปัจจัยสำคัญที่นักเรียนและผู้ปกครองจะนำไปใช้ประกอบการตัดสินใจในการตั้งเป้าหมายการเรียนต่อไป

3.2) Teacher Training : Educational Pathways in China (นวัตกรรมด้านหลักสูตร
การอบรม) ที่จะช่วยเตรียมความพร้อมให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้มีหน้าที่หลักในการแนะแนวนักเรียน หรือมีความประสงค์เป็นผู้ให้คำปรึกษานักเรียนที่สนใจที่จะไปศึกษาต่อในประเทศต่าง ๆ โดยหลักสูตรนี้จะมีเนื้อหาครอบคลุมในทุกมิติ ยกตัวอย่างเช่น บริบทการศึกษาของแต่ละประเทศ สถาบันการศึกษาและสาขาที่น่าสนใจ สภาพแวดล้อม การตั้งเป้าหมายในการเรียน การเตรียมความพร้อมในด้านต่างๆ เป็นต้น

ทั้งนี้ นวัตกรรมที่คิดค้นขึ้นภายใต้โครงการจำถูกนำไปขยายผลในโรงเรียนสังกัด สพฐ. อย่างกว้างขวางในปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 โดยความร่วมมือในการสนันสนุนและส่งเสริมโครงการอย่างเป็นรูปธรรมจากสถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐประชาชนจีน ประจำประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน Belt & Road Chinese Center (BRCC) และ MalishaEDU Thailand อย่างเข้มแข็ง ต่อเนื่อง และยั่งยืน

Message us