สนก. สร้างนวัตกรรมการประเมินความถนัดของผู้เรียนเพื่อการศึกษาต่อต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเพิ่อการพัฒนานวัตกรรมการประเมินความถนัดของผู้เรียน ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ระหว่างวันที่ 26 – 28 เมษายน 2566 ณ โรงเแรมโรยัลสวีท กรุงเทพมหานคร

การประชุมครั้งนี้ นำโดย นายวิทยา ศรีพันชาติ และ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ในการระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารโรงเรียน ครูศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และผู้แทนจากองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการประเมินความถนัดของผู้เรียน เพื่อค้นหาหลักสูตรที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนและวิเคราะห์แนวทางการศึกษาต่อต่างประเทศที่ช่วยลดปัญหาความล้มเหลวจากการศึกษาที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน

ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวจะถูกนำไปทดลองใช้ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ที่มีเป้าหมายเพื่อการต่อยอดนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ให้มีโอกาสศึกษาต่อในระบบศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ผ่านนวัตกรรมการต่อยอดผู้เรียนที่หลากหลายต่อไป

นายฐณรินทร์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา มอบหมายให้กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) จัดการประชุมระดมความคิดเห็นเพิ่อการพัฒนานวัตกรรมการประเมินความถนัดของผู้เรียน ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ระหว่างวันที่ 26 – 28 เมษายน 2566 ณ โรงเแรมโรยัลสวีท กรุงเทพมหานคร

การประชุมครั้งนี้ นำโดย นายวิทยา ศรีพันชาติ และ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) ในการระดมความคิดเห็นจากผู้บริหารโรงเรียน ครูศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และผู้แทนจากองค์กรแห่งการเรียนรู้เครือข่ายต่าง ๆ เกี่ยวกับแนวทางการพัฒนานวัตกรรมการประเมินความถนัดของผู้เรียน เพื่อค้นหาหลักสูตรที่มีความเหมาะสมกับผู้เรียนและวิเคราะห์แนวทางการศึกษาต่อต่างประเทศที่ช่วยลดปัญหาความล้มเหลวจากการศึกษาที่ไม่เหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียน

ทั้งนี้ นวัตกรรมดังกล่าวจะถูกนำไปทดลองใช้ในโครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 ที่มีเป้าหมายเพื่อการต่อยอดนักเรียนระดับมัธยมศึกษา ให้มีโอกาสศึกษาต่อในระบบศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ผ่านนวัตกรรมการต่อยอดผู้เรียนที่หลากหลายต่อไป

 

Message us