การอบรมเชิงปฏิบัติการเติมเต็มศักยภาพการประเมินบทความวิจัยวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา นำโดยนางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษาและคณะ ได้ดำเนินการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการเติมเต็มศักยภาพการประเมินบทความวิจัยวารสารการวิจัยทางการศึกษา เมื่อวันวันที่ 24 – 27  มีนาคม 2566 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร มีผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 32 คน ประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 16 คน ผู้บริหารโรงเรียนในสังกัด จำนวน 14  คน และข้าราชการบำนาญ 2 คน โดยการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเติมเต็มศักยภาพความรู้ความเข้าใจ ทักษะการเขียนบทความวิจัยและการประเมินบทความวิจัยให้กับบุคลากรในสังกัดที่มีความสนใจเป็นผู้ประเมินบทความวิจัยวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งกิจกรรมการประชุมประกอบด้วย การอภิปราย การบรรยายให้ความรู้ และการแบ่งกลุ่มฝึกปฎิบัติการเขียนบทความวิจัย และประเมินบทความวิจัย โดยได้รับเกียรติจากทีมวิทยากร 1) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.มาเรียม นิลพันธุ์ คณบดีคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร  2) อาจารย์ ดร.พรรณภัทร ปลั่งศรีเจริญสุข 3) รองคณบดีฝ่ายวิจัยและบริการวิชาการ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร 4) รองศาสตราจารย์ ดร.ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน อาจารย์ประจำภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร และ5) ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สายสุดา เตียเจริญ อาจารย์ประจำภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มาให้ความรู้เกี่ยวกับความสำคัญของการเขียนบทความวิจัย/การเผยแพร่บทความวิจัย การเขียนบทความวิจัย และการประเมินบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์ในวารสารวิชาการ และผู้เข้าอบรมได้เรียนรู้การใช้งานระบบบริหารจัดการข้อมูลวารสารออนไลน์ (Thai Journals Online : Thaijo) ในบทบาทของผู้ตีพิมพ์บทความวิจัย และผู้ประเมินบทความวิจัย วิทยากรโดย นายเจียมพล บุญประคม ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองบัวลำภู เขต 2 และนายภานุวัชร ปุรณะศิริ ศึกษานิเทศก์ชำนาญการพิเศษ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาบุรีรัมย์  ซึ่งการประชุมครั้งนี้ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมได้รับความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการเขียนบทความวิจัย การประเมินบทความวิจัยเพื่อตีพิมพ์เผยแพร่ในวารสารวิชาการ อีกทั้งยังได้ฝึกประสบการณ์ในการเขียนบทความวิจัย 4 ประเภท ประกอบด้วย 1) งานวิจัยเชิงทดลอง 2) งานวิจัยเชิงประเมินโครงการ 3) งานวิจัยเชิงสำรวจ และ4) งานวิจัย R&D และ/ฝึกปฏิบัติในการทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินบทความวิจัย เพื่อทำหน้าที่เป็นผู้ประเมินบทความวิจัยให้กับวารสารการวิจัยการศึกษาขั้นพื้นฐานต่อไป 

Message us