การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม – ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดำเนินงานโครงการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบ Active Learning ร่วมกับภาคีเครือข่าย สู่ทักษะจำเป็นแห่งอนาคตของผู้เรียน มุ่งเน้นการเสริมสร้างให้ครูและผู้เกี่ยวข้อง สามารถออกแบบและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ที่ส่งเสริมศักยภาพและสมรรถนะผู้เรียนได้ตามความต้องการ ความถนัด และความสนใจ สอดคล้องกับระดับการเรียนรู้และเหมาะสมกับสภาพบริบทสถานศึกษา รวมถึงได้เรียนรู้อย่างมีความสุข เห็นคุณค่าในการเรียนรู้ และมีทักษะในศตวรรษที่ ๒๑ โดยมีกลไกสำคัญในการสร้างความยั่งยืน คือ การสร้างชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) ที่เอื้ออำนวยให้ครู บุคลากรทางการศึกษาและผู้เกี่ยวข้อง เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลงการจัดการเรียนรู้ที่มีคุณภาพ บนฐานการสร้างสรรค์นวัตกรรมและออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) ที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน ภายใต้ระบบนิเวศทางการเรียนยุคใหม่ที่มีวิธีการเรียนรู้ตามรูปแบบการเรียนรู้ (Learning Style) ที่หลากหลาย และสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนรายบุคคล (Personalized Learning) ก้าวสู่การเป็นพื้นที่ปฏิบัติการทางสังคม (Social Lab) ในมิติการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทั้งระบบ รวมถึงสร้างพลังแห่งการยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างมีพลวัตจากภายในชุมชนผู้ปฏิบัติเอง โดยมีวิสัยทัศน์ เจตนารมณ์ ความสุข เป้าหมายและภารกิจร่วมกันในการพัฒนาคุณภาพการจัดการเรียนรู้ที่เน้นประสิทธิผลและคุณค่าในการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นสำคัญ

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์ ระหว่างวันที่ ๓๑ มกราคม – ๓ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิด โดยได้เน้นย้ำถึงรูปแบบวิธีการจัดการเรียนรู้ของครูที่ต้องปรับเปลี่ยนไปตามยุคสมัยและบริบทของพื้นที่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้เรียน พร้อมทั้งให้แนวทางและร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับคณะทำงานในการประชุมครั้งนี้ นอกจากนี้ ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ ได้กล่าวถึงบทบาทสำคัญในการดำเนินการขับเคลื่อนงานในภาพรวมของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดศึกษา และให้ข้อเสนอแนะ รวมถึงแนวทางการสร้างและพัฒนาชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community) ที่เน้นประโยชน์อันจะเกิดแก่ตัวเด็กเป็นสำคัญ โดยวัตถุประสงค์ของการประชุมฯ มีดังนี้

๑. ขึ้นรูปการวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design) สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

๒. จัดทำแนวทางการพัฒนาครูนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Designer)

๓. พัฒนาระบบและกลไกขับเคลื่อนชุมชนนวัตกรรมการเรียนรู้ (Learning Community)
ที่ตอบสนองบริบทและสมรรถนะผู้เรียน

๔. ยกร่างคู่มือการพัฒนานวัตกรรมการออกแบบกระบวนการเรียนรู้ (Learning Design)
สู่การพัฒนาศักยภาพผู้เรียนอย่างสร้างสรรค์

ติดตามต่อได้ที่ เพจ Learning OBEC

Message us