สพฐ. จัดอบรมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำสิ่งแวดล้อมศึกษา การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และโรงเรียนปลอดขยะ สพฐ. รุ่นที่ 1

เมื่อวันที่ 30 กันยายน - 2 ตุลาคม 2563 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมริเวอร์ไซต์ เขตบางพลัด กรุงเทพฯ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้จัดการอบรมปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำสิ่งแวดล้อมศึกษา (Environmental Education Officer) : การบริหารจัดการขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และโรงเรียนปลอดขยะ สพฐ. (OBEC Zero Waste School) รุ่นที่ 1 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย รุ่นที่  คือ นักวิชาการศึกษาและศึกษานิเทศก์ที่รับผิดชอบงานสิ่งแวดล้อมศึกษาและสภานักเรียนของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 40 คน จากเขตตรวจราชการ 19 เขต

สืบเนื่องจากรัฐบาลเห็นความสำคัญของปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศที่นับวันจะมีความรุนแรง มากยิ่งขึ้น  หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้วางระเบียบ กฎหมาย และมาตรการการบริหารจัดการขยะ อาทิ กระทรวงมหาดไทยจัดทำพระราชบัญญัติรักษาความสะอาดและความเป็นระเบียบเรียบร้อยของบ้านเมือง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2560 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำแผนแม่บทการบริหารจัดการ ขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ.2559 – 2564) ซึ่งหนึ่งในมาตรการของแผนแม่บทฯ คือ มาตรการส่งเสริมการบริหารจัดการขยะมูลฝอยและของเสียอันตราย ที่จะต้องดำเนินการรณรงค์ ประชาสัมพันธ์ให้ความรู้  สร้างจิตสำนึกและสร้างความตระหนักให้กับเยาวชน ส่งเสริมให้สถานศึกษาให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะมูลฝอย โดยพัฒนาหลักสูตรการจัดการขยะมูลฝอยในการเรียนการสอนทุกระดับ    กอปรกับการที่สภานักเรียนระดับประเทศ ได้เสนอเจตนารมณ์ เรื่อง การส่งเสริมให้นักเรียนไทย เลิกใช้ถุงพลาสติก ผ่านโครงการ Thailand Student Council : TSC ต่อนายกรัฐมนตรี (พลเอก ประยุทธ์  จันทร์โอชา) เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2563  ณ หอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร  กระทรวงศึกษาธิการ ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  เป็นหน่วยงานหลักในการขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ โดยการประสานพลังความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ร่วมมือกันวางแผนการดำเนินงานเพื่อแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ของประเทศใน ประเด็น ได้แก่ 1) การกำหนดนโยบายที่เกี่ยวข้อง 2) การพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนการสอน 3) การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมในโรงเรียน 4) การส่งเสริมการมีส่วนร่วมระหว่างโรงเรียน บ้าน และชุมชน  ให้เด็กและเยาวชนมีส่วนร่วมในการแก้ปัญหา เพื่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการดำรงชีวิตและการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักสูตรในการอบรมครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือในการพัฒนาหลักสูตร สนับสนุนเอกสารและสื่อ การเรียนรู้ รวมทั้งคณะวิทยากรจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม ได้แก่  กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ  Chula Zero Waste  สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย  PPP Plastic  สมาคมสร้างสรรค์ไทย (ตาวิเศษ)   Less Plastic  สถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม ชุมชนเกาะกลาง คลองเตย และวัดจากแดง สมุทรปราการ

การจัดอบรมในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาบุคลากร สพฐ. ให้เป็นวิทยากรแกนนำที่มีความรู้ ความเข้าใจและมีทักษะ ในการบริหารจัดการขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School)   เพิ่มทักษะในการวิเคราะห์ การสร้างความตระหนักถึงผลกระทบปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากปัญหาขยะมูลฝอย การมีส่วนร่วมในการดูแลรักษาสภาพแวดล้อม  สร้างเครือข่ายการเรียนรูกิจกรรมสิ่งแวดล้อมศึกษาให้ครอบคลุมทั่วประเทศ   และสนับสนุนให้มีการขยายผลการจัดการขยะในสถานศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน โดยการมีส่วนร่วมของสภานักเรียน 

สามารถติดตามข่าวสารความเคลื่อนไหวได้ทาง http://trainthetrainer.eesdobec.com/

 

 

วิดีโอบรรยากาศกิจกรรมการอบรม

Message us