โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่ม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยได้รับเกียรติจาก นายยงยุทธ พรหมแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต1 เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาครูวิทยากรรักษ์พงไพร โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสมบูรณ์ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ห้วยกลุ่ม บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ลำปาว บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์อุบลราชธานี (น้ำยืน) บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษายโสธร ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.ยโสธร เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 สพป.อุบลราชธานี เขต 1 และสพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 (เจ้าภาพ) โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมฝายชะลอน้ำ ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมผืนป่าดงนา ภายใต้แนวคิด “เรียนรู้แนวคิดของพ่อ สานต่อคำของแม่” กิจกรรมเทียนบูรณาการ 3 รักษ์ (รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์)กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ/Nature Game กิจกรรมรักษ์พงไพร..หัวใจยูทูปเบอร์ กิจกรรมขยะเปลี่ยนชีวิต “ค่ายกล คนรักษ์โลก”พร้อมทั้งมีการเสวนาประสาคนรักษ์พงไพร เป็นต้น

สำหรับแนวคิดการขับเคลื่อนโครงการฯ ของเครือข่ายเชิงพื้นที่ (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์ มุ่งเน้นกิจกรรม 3 ด้าน คือ 1) กิจกรรม 3 รักษ์ (รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์) 2) กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และ3) กิจกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม เป็นหลัก แล้วนำส่วนอื่นๆ มาบูรณาการ โดยทั้งนี้กิจกรรมต่างๆ ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกส่วนงาน อาทิ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา บุคลากรจากเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือผู้แทนที่เคยเข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ ตั้งแต่ปีที่ 1-6 ซึ่งจะมีการประชุมวางแผนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ แบ่งส่วนการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจนสามารถต่องานกันได้ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปแนวทางเดียวกันและเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal)

ท้ายที่สุด ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “ใครเล่าจะรู้เท่าคนในพื้นที่เราเอง” นั่นคือ เราต้องเริ่มจากตัวเราเองที่รักและหวงแหนในทรัพยากรกรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ใกล้บ้านเรา ในชุมชนของเรา เริ่มจากจุดเล็กที่เราสามารถทำได้

Message us