แนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2563

 

ด้วย กระทรวงมหาดไทย ได้ดำเนินการจัดทำแนวทางการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2562 โดยมีกรอบการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ จำนวน 3 ระยะ ได้แก่ ต้นทาง คือ การลดปริมาณขยะและการส่งเสริมการคัดแยกขยะที่ต้นทาง กลางทาง คือ การจัดทำระบบเก็บขนอย่างมีประสิทธิภาพ และปลายทาง คือ ขยะมูลฝอยได้รับการกำจัดอย่างถูกต้อง
ตามหลักวิชาการ โดยใช้หลักการ 3 ช : ใช้น้อย ใช้ซ้ำ และนำกลับมาใช้ใหม่ หรือ 3Rs : Reduce Reuse Recycle ทั้งนี้ กระทรวงมหาดไทย แจ้งว่าแผนปฏิบัติการดังกล่าวได้สิ้นสุดลงแล้ว จึงขอความร่วมมือเผยแพร่ประชาสัมพันธ์แผนปฏิบัติการฯ ให้แก่หน่วยงานในสังกัดทราบ เพื่อให้การจัดการขยะมูลฝอยของประเทศมีการปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง และเป็นไปตามเป้าหมายของแผนแม่บทการบริหารจัดการขยะมูลฝอยของประเทศ (พ.ศ. 2559 – 2564)
จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปีพ.ศ. 2563 ขึ้น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. กรอบการดำเนินงานภายใต้แผนปฏิบัติการฯ แบ่งการดำเนินงานออกเป็น 3 ด้าน ประกอบด้วย ด้านการจัดการขยะต้นทาง ด้านการจัดการขยะกลางทาง และด้านการจัดการขยะปลายทาง
2. เป้าประสงค์ คือ
2.1 ขยะมูลฝอยมีการนำกลับไปใช้ประโยชน์เพิ่มขึ้น
2.2 ขยะมูลฝอยตกค้างสะสมได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
2.3 ขยะมูลฝอยได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้น
2.4 ขยะอันตรายได้รับการกำจัดอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการเพิ่มขึ้น
2.5 ประชาชนในพื้นที่มีความตระหนักและความเข้าใจในการจัดการขยะที่ต้นทางเพิ่มขึ้น
2.6 การดำเนินการเพื่อสร้างความเป็นระเบียบเรียบร้อยและสุขภาวะที่ดีของท้องถิ่นและจังหวัด
3. ตัวชี้วัดเป้าประสงค์ ได้แก่
3.1 ด้านการจัดการขยะต้นทาง
3.1.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 100 ออกข้อบัญญัติ/เทศบัญญัติ
การจัดการขยะมูลฝอย
3.1.2 ครัวเรือน ร้อยละ 100 มีการบริหารจัดการขยะอินทรีย์
3.1.3 ครัวเรือน ร้อยละ 60 เข้าร่วมเครือข่าย “อาสาสมัครท้องถิ่นรักษ์โลก”
เพื่อส่งเสริมการจัดการขยะมูลฝอย

3.2 ด้านการจัดการขยะกลางทาง
3.2.1 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 100 มีภาชนะรองรับขยะมูลฝอย
แบบแยกประเภทในที่สาธารณะและหรือสถานที่ท่องเที่ยวทุกแห่ง
3.2.2 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 85 มีการวางระบบการเก็บขน
หรือมีประกาศ เก็บขนขยะมูลฝอยให้สอดคล้องกับพื้นที่
3.2.3 หมู่บ้าน/ชุมชน ร้อยละ 100 มีการจัดตั้ง “จุดรวบรวมขยะอันตรายชุมชน”
3.3 ด้านการจัดการขยะปลายทาง
3.3.1 ขยะมูลฝอยชุมชนที่เกิดขึ้นและเก็บขนได้ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2563
ร้อยละ 80 ได้รับการจัดการอย่างถูกต้องตามหลักวิชาการ
3.3.2 ขยะมูลฝอยตกค้างได้รับการจัดการอย่างถูกต้อง ร้อยละ 100
3.3.3 กลุ่มพื้นที่ในการจัดการมูลฝอย (Clusters) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ร้อยละ 100 ในแต่ละจังหวัดมีการจัดทำแผนการจัดการขยะมูลฝอย โดยผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการจัดการสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอยจังหวัด
รายละเอียดปรากฏตามสิ่งที่ส่งมาด้วย
ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ แผนปฏิบัติการจัดการขยะมูลฝอยชุมชน “จังหวัดสะอาด” ประจำปี พ.ศ. 2563
ให้กับโรงเรียนในสังกัดทราบต่อไป

 

โดยสามารถดาวน์โหลด เอกสาร ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

Message us