Month: สิงหาคม 2022

ทำแบบประเมินและดาวน์โหลดเกียรติบัตร

ทำแบบประเมินและดาวน์โหลดเกียรติบัตร สำหรับนักเรียน

ทำแบบประเมินและดาวน์โหลดเกียรติบัตร สำหรับครูที่ปรึกษา

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 รุ่นที่ 1

วันที่ 27 สิงหาคม 2565 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. โดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่ม ดำเนินการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ ๑ รุ่นที่ ๑ ณ โรงแรมรอแยล เบญจา สุขุมวิท 5 กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 27 – 29 สิงหาคม 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ เข้ารับการพัฒนาองค์ความรู้ตามเป้าหมายโลกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน และสามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอด ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการบริหารในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผลไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้

โดยการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวชาการ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. เป็นประธานเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 80 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการศึกษา ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง

การจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหลักสูตรพัฒนาวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการการจัดทำหลักสูตรพัฒนาวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ระหว่างวันที่ ๒๔ – ๒๖ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ซึ่งได้รับเกียรติจากท่าน ดร.อรนุช มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานในการเปิดการประชุมดังกล่าว

การประชุมครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อวางกรอบการอบรมและพัฒนาหลักสูตรสำหรับวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ซึ่งเกิดจากความร่วมมือของทั้ง ๒ หน่วยงาน ภายใต้ความร่วมมือ (MOU) การดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อวันที่ ๒๗ กรกฎาคม ๒๕๖๕ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้

๑) เพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)

๒) เพื่อสนับสนุนให้โรงเรียนภายใต้สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานทั่วประเทศ พัฒนาโรงเรียนตามหลักการของโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) และ

๓) เพื่อเสริมสร้างการรับรู้ ความเข้าใจ ความตระหนัก เจตคติ รวมถึงเสริมคุณลักษณะและพฤติกรรมที่พึงประสงค์ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตลอดจนพัฒนาทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ ๒๑ ผ่านการจัดกระบวนการเรียนรู้ตามหลักสิ่งแวดล้อมศึกษาในโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๕ จะดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรพัฒนาวิทยากรแกนนำโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)

การดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ) เริ่มตั้งแต่ปี ๒๕๕๐ และในปี ๒๕๖๔ โดยกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เปิดรับสมัครโรงเรียนอีโคสคูล ระดับต้น (Beginner) โดยมีโรงเรียนที่สนใจเข้าร่วม จำนวน ๔๓๐ แห่งทั่วประเทศ และได้รับนโยบายจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมกับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ให้ขยายผลการดำเนินโครงการโรงเรียนอีโคสคูลสู่โรงเรียนสังกัด สพฐ. ทั่วประเทศ

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ประจำปี 2564

ประกาศรายชื่อผู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ประจำปี 2564

หนังสือแนบประกาศ

พิมพ์ใบประกาศ

 

 

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ. – สพฐ.)

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรงอนุรักษ์ต้นยางนา ตั้งแต่ปี 2503 ทรงดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ โดยได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา รวมทั้งศึกษาด้านชีวโมเลกุลและจากสถานการณ์ของดวามหลากหลายทางชีวภาพที่ทั่วโลกตระหนักถึงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

 

อกจากนั้นไทยยังต้องเตรียมพร้อมและมีมาตรการเพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน มิฉะนั้นอาจสูญเสียทรัพยากรของประเทศ เนื่องจากต่างชาติได้นำไปศึกษาวิจัยและพัฒนาแล้วนำไปจดสิทธิบัตรเป็นพืชพันธุ์ใหม่ทำให้ประเทศไทยไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิ์ในทรัพยากรนั้น ๆ จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งที่จะสูญเสียความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านให้กับต่างประเทศ

การประชุมบรรณาธิการกิจงานวิจัยการบริหารโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย ระหว่างวันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ดำเนินการประชุมบรรณาธิการกิจงานวิจัยการบริหารโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จ ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย ระหว่างวันที่ 19 – 21 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ พระราม 6 กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรณาธิการกิจเอกสารงานวิจัยภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย จำนวน 3 เรื่อง ประกอบด้วย เรื่องที่ 1 การถอดบทเรียนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชนและภาคประชาสังคมที่ประสบความสำเร็จ ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดีให้เป็นรูปธรรม เรื่องที่ 2 จัดทำคู่มือวิทยากรแกนนำหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs) เรื่องที่ 3 จัดทำคู่มือครูแกนนำหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs) เพื่อนำผลการศึกษาไปใช้เป็นแนวทางการพัฒนาโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และขยายแนวปฏิบัติที่ดีของความร่วมมือระหว่างภาครัฐกับทุกภาคส่วน พร้อมทั้งจัดทำคู่มือหลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (OBEC Young Leaders for SDGs) สำหรับวิทยากรและครูแกนนำ เผยแพร่ต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยการประชุมครังนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.ภูธร จันทะหงส์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการกล่าวเปิดการประชุม และ มีคณะทำงานเข้าร่วมการประชุม ได้แก่ ข้าราชการบำนาญ นักวิชาการศึกษา รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา รองศึกษาธิการจังหวัด ผู้อำนวยการโรงเรียน ศึกษานิเทศก์ อาจารย์มหาวิทยาลัยและคณะครู จำนวน 35 ท่าน

พิธีมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2021 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี

วันที่ 15 สิงหาคม 2565 นายอัมพร  พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (เลขาธิการ กพฐ.) ได้มอบหมายให้นายภูธร  จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นประธานมอบรางวัลในพิธีมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2021 ซึ่งเป็นการประกาศเกียรติคุณให้แก่โรงเรียนที่ประสบความสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมของปี 2564 ภายในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ณ อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ให้ความสำคัญและร่วมเป็นพันธมิตรที่ดีในการสนับสนุนโครงการห้องเรียนสีเขียวของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมาโดยตลอด  ทั้งการพัฒนากลยุทธ์และแนวทางความร่วมมือในเชิงนโยบาย การบูรณาการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานในกลุ่มสาระการเรียนรู้ที่เกี่ยวข้อง การพัฒนาศักยภาพครูและนักเรียนให้เป็นผู้นำในการดำเนินกิจกรรม การพัฒนาสื่อและนวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ ตลอดจนการส่งเสริมให้ขยายผลจากสถานศึกษาสู่ภาคครัวเรือนและชุมชน ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานนั้นพร้อมที่จะสนับสนุนการดำเนินงานของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเพื่อประโยชน์ของประเทศชาติเป็นสำคัญ

นายภูธร  จันทะหงษ์  ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา กล่าวว่า “ในวันนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เห็นภาพความสำเร็จของทุกโรงเรียน ซึ่งเกิดมาจากความมุ่งมั่นตั้งใจและความร่วมมือร่วมใจอย่างแท้จริงในการส่งเสริมการเรียนรู้ของเยาวชนในด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่อง และพัฒนาให้สถานศึกษาเป็นศูนย์กลางในการเผยแพร่และแบ่งปันความรู้สู่ชุมชน สู่การสร้าง “สังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียว” หรือ Green Learning Society โดยมุ่งหวังว่าความร่วมมือนี้จะช่วยสร้างความยั่งยืนด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้แก่สังคมไทย เพื่ออนาคตของลูกหลานไทยที่จะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศของเรา ผมขอขอบคุณ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยและหน่วยงานพันธมิตร ที่ได้ร่วมกันสร้างสรรค์โครงการห้องเรียนสีเขียว อันเป็นโครงการที่ดีเพื่อสังคม ขอขอบคุณท่านผู้บริหาร ผู้อำนวยการโรงเรียน คณะครู นักเรียน และบุคลากรทุกท่าน ที่ให้ความร่วมมือกับทุกกิจกรรมในโครงการนี้ และขอแสดงความยินดีกับทุกท่านที่ได้รับรางวัล สำหรับก้าวสำคัญแห่งความสำเร็จ และจะเป็นแรงขับเคลื่อนในการพัฒนาโรงเรียนและตนเองต่อไป”

 

เปิดรับสมัครแล้ว! การอบรมออนไลน์ “เทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างครูมืออาชีพ” โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ขอเชิญชวน ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และครูผู้สอนวิชาอื่น ๆ สังกัด สพฐ. เข้าร่วมการอบรมออนไลน์ในหัวข้อ “เทคนิคการสอนโครงงานวิทยาศาสตร์อย่างครูมืออาชีพ” ภายใต้โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co – Creation Project) ระหว่างวันที่ 1 – 30 กันยายน 2565 โดยมีกลุ่มเป้าหมาย คือ ครูผู้สอนวิชาวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์ และครูผู้สอนวิชาอื่น ๆ ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 500  คน ของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพการจัดการเรียนรู้ โดยใช้โครงงานเป็นฐาน อันนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ และเจตคติที่ดีในการจัดทำโครงงานได้อย่างถูกต้อง โดยเปิดรับสมัครครูเข้าร่วมการอบรมผ่านระบบออนไลน์ ตั้งแต่บัดนี้ – 30 สิงหาคม 2565

 

คลิกที่ลิงก์ https://shorturl.asia/7wI4b

 

 

ประกาศรายชื่อ ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ ๒

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ “มูลนิธิ สานอนาคตการศึกษา คอนเน็กซ์อีดี” ได้จัดการอบรมหลักสูตรออนไลน์ “การพัฒนาผู้นำด้านเทคโนโลยี เพื่อการศึกษา (ICT Talent)” รอบแรก ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนมีนาคม พ.ศ. ๒๕๖๕ และรอบเพิ่มเติม ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๖๕ เพื่อสร้างทัศนคติ ให้ความรู้ สร้างความเข้าใจและทักษะด้าน ICT เพื่อสร้าง ผู้นำการเปลี่ยนแปลงด้าน ICT แก่ผู้อำนวยการโรงเรียน ข้าราชการครู และเพื่อยกระดับการใช้ ICT ในการบริหารจัดการสถานศึกษาและการจัดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งเปิดให้บุคลากร ICT Talent ภาครัฐ ยืนยันโรงเรียนต้นสังกัดและโรงเรียนเครือข่ายให้เป็นปัจจุบัน ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการการศึกษา ขั้นพื้นฐาน จะดำเนินการประกาศรายชื่อบุคลากรดังกล่าว ให้สามารถดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้ และสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่โรงเรียนต้นสังกัดและโรงเรียนเครือข่ายต่อไป นั้น

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ประกาศรายชื่อบุคลากร ICT Talent ภาครัฐ รุ่นที่ ๒ โดยบุคลากรดังกล่าวมีหน้าที่ถ่ายทอดองค์ความรู้และสนับสนุนงาน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศแก่โรงเรียนต้นสังกัดและโรงเรียนเครือข่าย และมอบวุฒิบัตรให้บุคลากรดังกล่าว ในรูปแบบออนไลน์ที่เว็บไซต์ที่ระบุตามด้านล่าง และขอให้บุคคลที่มีรายชื่อในประกาศทราบ เพื่อปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย รวมทั้งแจ้งโรงเรียนที่เป็นโรงเรียนเครือข่ายเพื่อติดต่อประสานงานขอรับการสนับสนุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อไป

การประชุมปฏิบัติการปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ (บอร์ดเกม) ภายใต้แผนการดำเนินงานการจัดทำบอร์ดเกมสิ่งแวดล้อมศึกษา

การประชุมปฏิบัติการปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ (บอร์ดเกม) ภายใต้แผนการดำเนินงานการจัดทำบอร์ดเกมสิ่งแวดล้อมศึกษา
ระหว่างวันที่ ๙ – ๑๐ สิงหาคม ๒๕๖๕ ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ เชิงสะพานซังฮี้ กรุงเทพมหานคร

การประชุมปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้เชิญผู้แทนศูนย์การเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา และ SDGs 5 ภูมิภาค สนับสนุนวิทยากรจาก TIPMSE คณะวิทยากรนักออกแบบกระบวนการเรียนรู้ จาก Deschooling Game มาเป็นวิทยากรในการประชุมปฏิบัติการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อปรับปรุงพัฒนาเครื่องมือด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์ (บอร์ดเกม) ให้เกิดประโยชน์ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สิ่งแวดล้อมศึกษา โดยใช้บอร์ดเกมเป็นสื่อการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ก่อให้เกิดกระบวนการคิดอย่างเป็นระบบและปลูกฝังการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน

การประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตร “การพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรม ของผู้บริหารสถานศึกษา ภายใต้โครงการ คอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์เทาว์เวอร์อินท์ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 6 สิงหาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร นำทีมโดย ดร.ธัญญานันท์ แก้วเกิด ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการปรับปรุงหลักสูตร “การพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา” ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี และสรุปงานวิจัย ระหว่างวันที่ 6 – 8 สิงหาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ เทาว์เวอร์อินท์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ปรับปรุงหลักสูตร “การพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา” ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดีให้เป็นรูปธรรม และส่งต่อหน่วยงานที่รับผิดชอบได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. จัดทำสรุปงานวิจัยตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ 3. จัดทำสรุปงานวิจัยรูปแบบการพัฒนาบริษัทภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 โดยการประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย  ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง

ประกาศผลการคัดเลือกวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษาภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี