Month: กรกฎาคม 2022

โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดำเนินโครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ มีวัตถุประสงค์เพื่อดำเนินการส่งเสริม ขยายผล เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ โครงการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ และมีกำหนดจัดการประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ ๗ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา สำรวจโรงเรียนในสังกัด ที่ดำเนินโครงการปลูกและการใช้ประโยชน์หญ้าแฝกในการจัดการเรียนการสอนและโครงการหมอดินน้อย ร่วมกับกรมพัฒนาที่ดิน เพื่อนำข้อมูลที่ได้มาวางแผนและให้การสนับสนุนงบประมาณ ตามแผนแม่บทการพัฒนาและรณรงค์การใช้หญ้าแฝกอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ฉบับที่ ๗ (พ.ศ. ๒๕๖๖ – ๒๕๗๐) รวมทั้งเตรียมความพร้อมสำหรับการประชุมหญ้าแฝกนานาชาติ ครั้งที่ ๗ ในช่วง เดือนกุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ ต่อไป สามารถกรอกข้อมูลผ่านระบบออนไลน์ที่ https://inno.obec.go.th/vetiver ภายในวันที่ ๒๐ สิงหาคม ๒๕๖๕

ขอเชิญร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School)

ขอเชิญร่วมพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ การดำเนินงานโครงการโรงเรียนอีโคสคูล (Eco – School) ระหว่าง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กับ กระทรวงศึกษาธิการ ผ่านระบบออนไลน์ วันที่ 27 กรกฎาคม 2565 เวลา 13.30 – 15.00 น. รับชมสดผ่านระบบออนไลน์ FB : กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม

ว 1781 สพท ทุกเขต MOU Eco School  *** Link Zoom สำหรับผู้บริหารและผู้แทน สพท. เท่านั้น **** 

องคมนตรี เปิดงานมอบห้องเรียนสีเขียว แก่ รร.สามเงาวิทยาคม สพม.ตาก

กฟผ. ดำเนินโครงการห้องเรียนสีเขียว ตั้งแต่ปี 2541 โดยมุ่งสนับสนุนองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ให้แก่นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาของโรงเรียน ปัจจุบันมีโรงเรียนในโครงการฯ จำนวน 484 แห่งทั่วประเทศ ทั้งในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยในปี 2556 กฟผ. ได้ร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ขับเคลื่อนโครงการห้องเรียนสีเขียวในเชิงระบบและนโยบาย โดยสนับสนุนให้โรงเรียนเป็นศูนย์กลางของแหล่งเรียนรู้ด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน พร้อมส่งเสริมพลังเยาวชนผ่านกิจกรรมชุมนุมห้องเรียนสีเขียว ตลอดจนขยายผลไปยังชุมชนโดยรอบ เพื่อนำไปสู่สังคมคาร์บอนต่ำ และในปี 2563 ได้พัฒนาต่อยอดจากห้องเรียนสีเขียวเดิม สู่ Smart Green Learning Room ที่มีสื่อเทคโนโลยีทันสมัย ทั้งในรูปแบบ Online และ On-site โดยเริ่มดำเนินการในกลุ่มโรงเรียนในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร จำนวน 15 แห่ง เนื่องในโอกาสมหามงคลพระราชพิธีบรมราชาภิเษกพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

โรงเรียนสามเงาวิทยาคม เป็นโรงเรียนที่ให้ความร่วมมือในการดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียวอย่างต่อเนื่อง กฟผ. จึงได้จัดตั้งห้องเรียนสีเขียวแบบ Smart Green Learning Room เพื่อให้โรงเรียนสามารถวางแผนการจัดการเรียนรู้และกำหนดกิจกรรมบูรณาการเชื่อมโยงองค์ความรู้ บ่มเพาะเมล็ดพันธุ์เยาวชนให้เกิดการปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมด้านการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมขยายผลสู่ครัวเรือนและชุมชนในวงกว้างอย่างเป็นรูปธรรม นำไปสู่สังคมแห่งการเรียนรู้สีเขียวที่ยั่งยืนต่อไป

ขอขอบคุณ ภาพ/ข่าว : ฤทัยกัญญา ชูทอง ประชาสัมพันธ์ สพม.ตาก

ประกาศผลการตัดสินการประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับประเทศ

ประกาศผลการตัดสินการประกวดนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนงานอาชีพและผลิตภัณฑ์ โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ระดับประเทศ

ขอให้โรงเรียนดำเนินการตามแนวทางที่แจ้งไว้

  1. แนวทางการขอรับเกียรติบัตรเข้าร่วม 503 นวัตกรรม (สามารถขอรับได้ทุกโรงเรียนตามรายชื่อเข้าร่วม)
  2. แนวทางการดำเนินงานสำหรับ 100 นวัตกรรม (ที่ได้รับการตัดสิน)
  3. แบบประเมินตอนที่ 1 (ทุกโรงเรียนที่เข้าร่วม) /และ แบบประเมินตอนที่ 2,3 (สำหรับ 100 นวัตกรรม)

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

หนังสือนำส่ง สพท.

สำหรับนวัตกรรมที่เข้าร่วมประกวดทั้ง 503 นวัตกรรม ที่ประสงค์ขอรับเกียรติบัตรเข้าร่วม รายละเอียด ดังนี้

หากมีการแก้ไขคำถูกผิดสำหรับรายชื่อ โปรดแจ้งทางช่องทางไลน์ประสานงาน

การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2564 “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.”

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณายกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ประจำปีการศึกษา พ.ศ. 2564  “โครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.ระหว่างวันที่ 8 – 10 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรมแกรนด์ทาวเวอร์อินน์ กรุงเทพมหานคร โดยรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย มอบนโยบายการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. และดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ เป็นผู้ชี้แจงวัตถุประสงค์และแนวทางการดำเนินงาน เพื่อเป็นการยกระดับคุณภาพโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว เป็นไปอย่างต่อเนื่อง โดยคณะกรรมการทีมขับเคลื่อนโรงเรียนคุณธรรมด่วนพิเศษ (EMS: Express Moral Service) ประมินผลการรายงานผลโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับ 4 ดาว ผ่านระบบออนไลน์ เพื่อนำไปสู่การประกาศผลเพื่อยกย่อง เชิดชูเกียรติต่อไป

 

การประชุมปฏิบัติการจัดทำ Best Practice ของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project)

วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา(วนบ.) นำทีมโดย ดร.ธัญญานันท์ แก้วเกิด ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการจัดทำ Best Practice ของโรงเรียนในโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 9 – 11 กรกฎาคม 2565 ณ โรงแรม บางกอกชฎา กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อรวบรวมแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practice) ของผู้ที่ให้การสนับสนุนโรงเรียนร่วมพัฒนา รุ่นที่ 1 จำนวน 50 โรงเรียน โดยผู้สนับสนุน 12 หน่วยงาน เพื่อนำมาเป็นต้นแบบให้กับโรงเรียนอื่นได้นำไปเป็นแนวทางในการประยุกต์ใช้ต่อไป โดยการประชุมครังนี้ได้รับเกียรติจาก รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา เป็นประธานเปิดการประชุม และมีผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้สนับสนุนโรงเรียนร่วมพัฒนาจากภาคเอกชน ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 50 คน

การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ผ่านระบบออนไลน์

ตามที่สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้แจ้งผลการคัดเลือกข้อเสนอโครงการผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่และแจ้งนักเรียนเจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่ได้รับการคัดเลือกได้พัฒนาและจัดทำผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้เสร็จสมบูรณ์ พร้อมที่จะนำไปจัดแสดง และนำเสนอต่อคณะกรรมการผ่านระบบออนไลน์ (Video Conference) เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเข้าร่วมการประกวดในเวทีระดับนานาชาติ 2022 IEYI World Contest ทางระบบออนไลน์ (Virtual Contest) ผ่านคลิปวิดีโอ ในช่วงเดือนกันยายน 2565 ณ ประเทศไต้หวัน นั้น

ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดการจัดประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ผ่านระบบออนไลน์ (Video Conference) ระหว่างวันที่ 20-22 กรกฎาคม 2565 เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับประเทศเข้าร่วมการประกวดในเวทีระดับนานาชาติ 2022 IEYI World Contest ณ ประเทศไต้หวัน ขอให้โรงเรียนในสังกัดที่มีนักเรียนเจ้าของผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ดำเนินการ ดังนี้

1. นักเรียนเจ้าของผลงานข้อเสนอโครงการที่ผ่านการคัดเลือก จำนวน 59 ผลงาน แจ้งยืนยันสิทธิ์การเข้าร่วมการประกวดและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ผ่านระบบออนไลน์ที่ https://inno.obec.go.th/inventor/younginventor 2022 ภายในวันที่ 11 กรกฎาคม 2565 ไม่เกินเวลา 16.30 น.

2. ทีมผู้เข้าร่วมประกวดและนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ต่อคณะกรรมการ ในวันประกวดผ่านระบบออนไลน์ กำหนดการจะแจ้งให้ทราบอีกครั้ง

3. ในวันที่ 19 กรกฎาคม 2565 ทดสอบระบบการใช้งานระบบ (Video Conference)ระหว่างเวลา 13.00 – 16.00 น. ทั้งนี้ จะแจ้ง URL ในการเข้าใช้งานผ่านทาง E-mail หรือกลุ่ม Line รายละเอียดสิ่งที่ส่งมาด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะประกาศผลการนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ระดับประเทศ ภายในวันที่ 30 กรกฎาคม 2565 และผลการตัดสินของคณะกรรมการถือเป็นสิ้นสุด

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ร่วมกับ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จัดการประชุมหารือการดำเนินงานโครงการร่วมกันในอนาคต

ในวันที่ 6 มิถุนายน 2565  เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ดร.อัมพร พินะสา พร้อมด้วย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และ ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร ในฐานะผู้ขับเคลื่อนโครงการคอนเน็กอีดี ภาครัฐ ร่วมประชุมหารือกับ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) นำโดย ดร. เอกพล ณ สงขลา รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ และคณะ ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรายงานความก้าวหน้า พร้อมหารือแนวทางการดำเนินโครงการในอนาคต ดังต่อไปนี้

  1. การดำเนินการสนับสนุนของ สพฐ. ในการจัดทางานวิจัยรูปแบบการยกระดับคุณภาพการศึกษาไทยของมูลนิธิสานอนาคตการศึกษาคอนเน็กซ์อีดี ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี กรณีศึกษา OTOP Junior ผู้ประกอบการน้อย ของบริษัทไทยเบฟเวอเรจ จากัด (มหาชน)
  2. รายงานความก้าวหน้าของ โครงการ partnership ในส่วนการดำเนินการของ สพฐ.
  3. การดำเนินประกวด Win Win WAR วัตถุประสงค์เพื่อเชิญชวนนักเรียน อายุระหว่าง 9 – 14 ปี ที่มีความรู้ ความสามารถ ความคิดสร้างสรรค์ ต่อยอดความรู้และนาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ เข้าร่วมการประกวด เพื่อชิงทุนการศึกษา

ทั้งนี้ ผลการหารือร่วมกันระหว่าง สพฐ. และ บริษัทไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) จะได้รับการสานต่อเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาผ่านโครงการคอนเน็กซ์อีดีต่อไป

ขอเปลี่ยนแปลงวันประกาศผลผู้ได้รับการคัดเลือกทีมวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี