Month: เมษายน 2021

มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าแห่งอนาคต

Morbi placerat elit fermentum, cursus tellus id, congue metus. Phasellus elementum sodales lacus, id facilisis justo. Nulla at blandit erat. Curabitur finibus at sem ut ultrices. Morbi tellus felis, consectetur ac mi sed, laoreet facilisis ipsum. Integer sit amet tortor finibus felis tristique congue eget eu massa. Suspendisse potenti. Aenean eu iaculis ex. Morbi accumsan turpis eu ligula auctor euismod. Nam sit amet imperdiet ipsum. Vestibulum cursus sapien ipsum, eu vestibulum tortor farer vulputate.

Aenean in diam nec odio blandit egestas et aliquam orci. Praesent vitae vestibulum nibh. Aliquam rutrum viverra ligula non placerat. Sed iaculis scelerisque velit ut lacinia. Vestibulum maximus quam ante, at efficitur mi vulputate non. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Proin eleifend neque sed nisl hendrerit dignissim. Pellentesque faucibus, mi eget tincidunt efficitur, libero tellus ullamcorper urna, ac vulputate arcu libero hendrerit neque. Fusce ac mauris ut nulla ornare viverra.

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Quisque sed mattis velit. Donec vehicula, lectus sit amet finibus scelerisque, leo mauris scelerisque ligula, eu luctus neque justo pulvinar sem. Morbi faucibus lobortis quam, sed egestas tellus imperdiet sed.

ประกาศผลการคัดเลือกข้อเสนอโครงการผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ และภาพวาดจินตนาการอนาคตด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

นวัตกรรมหุ่นยนต์สำหรับอวกาศ

Phasellus tellus lectus, viverra ac imperdiet at, mollis ut velit. Curabitur varius imperdiet lacinia. Curabitur vitae venenatis ex, in fermentum risus. Quisque in orci ac nisl pharetra egestas vitae quis tellus. Sed congue leo neque. Suspendisse porta, ante non tempus rhoncus, risus augue sodales tellus, sed commodo purus massa in ligula. Quisque finibus congue risus, quis semper quam iaculis ac. Sed quis congue tortor. Fusce in scelerisque elit, vitae vestibulum nibh. Nunc ut ex nec sem luctus sodales a eu ex. Pellentesque pretium nulla justo, ut tristique mi condimentum vitae. Maecenas iaculis dui aliquam felis vehicula dictum sit amet vel sapien. Quisque et fermentum nunc, vitae cursus tellus. Phasellus facilisis, nisi sed porta tempor, turpis lacus malesuada ligula, id malesuada augue ante sit amet arcu. Proin at felis nec lacus eleifend varius. Vestibulum ante ipsum primis in faucibus orci luctus et ultrices posuere cubilia Curae.

Quisque purus erat, pellentesque sit amet lacus eu, condimentum elementum nibh. Nullam at lectus sodales, ornare leo in, imperdiet lacus. Vestibulum aliquet augue nunc. Praesent vitae nibh ac erat fringilla varius. Vivamus nisi mi, suscipit vel nibh ac, tincidunt dictum dolor. Vivamus pharetra tincidunt tortor sit amet dignissim. Mauris dignissim risus ut risus volutpat rhoncus. Duis eget quam luctus, dignissim erat eu, consectetur tellus. Pellentesque nec risus ac justo bibendum tincidunt quis at enim. Duis convallis aliquet purus euismod finibus. Mauris sit amet ipsum eleifend, eleifend elit blandit, tempus augue. Duis porta risus ac eros tempus, id sollicitudin urna venenatis. Sed dapibus rhoncus sodales. In hac habitasse platea dictumst. In sed laoreet eros, eu mattis erat. Donec ut libero at velit porta porta ut et risus.

ประชาสัมพันธ์โครงการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน

ด้วย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินโครงการพัฒนาสื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง (AR) เพื่อการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ รักชาติ ศาสตร์ กษัตริย์ สำหรับใช้ประเมินเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ สำหรับนักเรียน ร่วมกับ สถาบันอุตสาหกรรมสร้างสรรค์และนวัตกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลรัตนโกสินทร์ และได้จัดทำ QR – CODE คู่มือการใช้สื่อ AR คู่มือการอบรมสร้างสื่อ AR คลิปการใช้AR Application และคลิปการสร้างสื่อ AR

ในการนี้ เพื่อสร้างการรับรู้และขยายผลของการใช้สื่อเสมือนจริง (AR) ให้กับครูเพื่อนำไปต่อยอด ประยุกต์ใช้ทั่วประเทศ จึงเห็นควรประชาสัมพันธ์และเผยแพรให้กับครูผู้สอนประวัติศาสตร์ หรือครูสาระการเรียนรู้อื่นๆ จึงขอให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาสนับสนุน ส่งเสริม และประชาสัมพันธ์แจ้งโรงเรียนให้มีการใช้ AR Appication และคู่มือตามสิ่งที่ส่งมาด้วย พร้อมทั้งรายงานผลการนำสื่อไปใช้ผ่านทาง e-mail : learning.obec@gmail.com ภายในวันที่ 30 มิถุนายน 2564

ตอนที่ 1 QR – CODE เกี่ยวกับสื่อ AR

1. คู่มือการใช้สื่อเทคโนโลยีภาพเสมือนจริง

2. คู่มืออบรมสร้างเทคโนโลยีเสมือนจริง

3. วิดีโอสอนสร้างสื่อ

4. วิดีโอการใช้ Application

ตอนที่ 2 QR – CODE เกี่ยวกับสื่อ AR

แบบรายงานสภาพฯ ฉบับโรงเรียน

แบบรายงานสภาพฯ ฉบับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

แบบรายงานการใช้ฯ ฉบับโรงเรียน

แบบรายงานการใช้ฯ ฉบับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

เทคโนโลยีสมาร์ทออฟฟิศ

Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Quisque sed mattis velit. Donec vehicula, lectus sit amet finibus scelerisque, leo mauris scelerisque ligula, eu luctus neque justo pulvinar sem. Morbi faucibus lobortis quam, sed egestas tellus imperdiet sed.

Morbi placerat elit fermentum, cursus tellus id, congue metus. Phasellus elementum sodales lacus, id facilisis justo. Nulla at blandit erat. Curabitur finibus at sem ut ultrices. Morbi tellus felis, consectetur ac mi sed, laoreet facilisis ipsum. Integer sit amet tortor finibus felis tristique congue eget eu massa. Suspendisse potenti. Aenean eu iaculis ex. Morbi accumsan turpis eu ligula auctor euismod. Nam sit amet imperdiet ipsum. Vestibulum cursus sapien ipsum, eu vestibulum tortor farer vulputate.

Aenean in diam nec odio blandit egestas et aliquam orci. Praesent vitae vestibulum nibh. Aliquam rutrum viverra ligula non placerat. Sed iaculis scelerisque velit ut lacinia. Vestibulum maximus quam ante, at efficitur mi vulputate non. Lorem ipsum dolor sit amet, consectetur adipiscing elit. Proin eleifend neque sed nisl hendrerit dignissim. Pellentesque faucibus, mi eget tincidunt efficitur, libero tellus ullamcorper urna, ac vulputate arcu libero hendrerit neque. Fusce ac mauris ut nulla ornare viverra.

ร่วมเป็นเกียรติร่วมแจกเหรียญรางวัลสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ แคนาดา CMO (Canadian Mathematical Olympiad)

วันที่ 8 เมษายน 2564 เวลา 10.30 น. เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบหมายให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา เข้าร่วมเป็นเกียรติร่วมแจกเหรียญรางวัลสอบแข่งขันคณิตศาสตร์ แคนาดา CMO (Canadian Mathematical Olympiad) สำหรับนักเรียนในสนามสอบประเทศไทย จำนวน 43 คน ร่วมกับ ดร.ซาราห์ เทย์เลอร์ เอกอัครราชทูตแคนาดา ประจำประเทศไทย และนายพีรพล ไตรทศาวิทย์ นายกสมาคมนักเรียนเก่าแคนาดา ณ ห้องอับดุลราฮิม สมาคม ไว ดับยู ซีเอ กรุงเทพมหานคร

 

 

 

 

 

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 4 ภาคกลาง และภาคตะวันออก

         วันที่ 7 เมษายน 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 4 ประกอบด้วยภาคกลาง และภาคตะวันออก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2564 ณ โรงแรมคลาสสิก คามิโอ โฮเต็ล แอนด์ เซอร์วิช อพาร์ตเมนต์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) ประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวทางปฏิบัติเดียวกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 48 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 12 เขต โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวปุณญอุษา ผดุงหมาย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม

สพฐ. เดินหน้าโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง”

สพฐ. เดินหน้าโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เริ่มจุดแรกที่ภาคใต้
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) จัดการประชุมปฏิบัติการโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” จุดภาคใต้ ระหว่างวันที่ 3-4 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ณ โรงแรมไดมอนด์ พลาซ่า จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้รับเกียรติจาก พลโท สมบัติ ธัญญะวัน นายทหารปฏิบัติการพิเศษ
ในพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว บรรยาย เรื่อง แนวทางการปฏิบัติดำเนินการประยุกต์เศรษฐกิจพอเพียง และทฤษฏีใหม่แบบชาวบ้านสู่การปั้นโคก ขุดหนอง ทำนา สู่การศึกษาในโรงเรียน และ ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ประธานมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ บรรยายเรื่องแผนปฏิรูปการศึกษาและหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง รวมถึงคณะวิทยากรประกอบด้วยผู้บริหาร คณะครูและนักเรียน จากโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย
.
ว่าที่ร้อยตรี ธนุ วงษ์จินดา รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ในฐานะองค์กรหลักที่รับผิดชอบการจัดการศึกษาให้กับเยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ให้เป็นพลเมืองที่มีคุณภาพต่อไปในอนาคตนั้น โครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” เป็นโครงการที่มุ่งเน้นการปรับเปลี่ยนรูปแบบการจัดการเรียนการสอนภายใต้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และการประยุกต์ใช้ทฤษฎีด้านการเกษตร อีกทั้ง ได้นำหลักคิดการจัดการเรียนรู้แบบปูทะเลย์มหาวิชชาลัยที่มุ่งเน้นด้านการศึกษาควบคู่กับคุณธรรม ซึ่งผู้เรียนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ นำมาเป็นหลักคิดการบริหารจัดการโครงการ ในการนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการปลูกฝังให้เยาวชนได้ สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง มีเป้าหมายพัฒนาผู้เรียน 4 ข้อ คือเป็นคนดี มีระเบียบวินัยพึ่งพาตนเองได้ เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน และกตัญญูกตเวที จึงได้จัดการประชุมปฏิบัติการโครงการอารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย“โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ซึ่งการประชุมในจุดภาคใต้นี้ มีผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด หรือผู้แทน ผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษา รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาที่รับผิดชอบ ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริม และศึกษานิเทศก์หรือผู้รับผิดชอบโครงการทั้งหมดในภาคใต้ จำนวนทั้งสิ้นกว่า 200 คน
.
ด้านนายอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ. กล่าวว่า นอกจากนี้แล้วยังเป็นการบูรณาการความร่วมมือด้านการศึกษาในระดับจังหวัดเพื่อให้โครงการบรรลุตามวัตถุประสงค์ โดยมีวัตถุประสงค์ในการจัดประชุมเพื่อชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการ อารยเกษตร สืบสาน รักษา ต่อยอด ตามแนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงด้วย “โคก หนอง นา แห่งน้ำใจและความหวัง” ในระดับเขตพื้นที่การศึกษา และในระดับจังหวัดและการร่วมกิจกรรม Workshop ซึ่งเป็นการถ่ายทอดกระบวนการและวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบของโรงเรียนปูทะเลย์มหาวิชชาลัย ในครั้งนี้อีกด้วย

การประชุมปฏิบัติการจัดทำร่างแบบประเมินและคู่มือสำหรับผู้ประเมิน โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 6- 8 เมษายน 2564

วันที่ 6-8 เมษายน 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้มอบหมายให้กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร นำโดย ดร.มัลลวีร์ รอสโฟล และทีมงาน ดำเนินการจัดการประชุมปฏิบัติการจัดทำร่างแบบประเมินและคู่มือสำหรับผู้ประเมิน โครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา (Partnership School Project) ระหว่างวันที่ 6- 8 เมษายน 2564 ณ โรงแรมบางกอกชฎา จังหวัดกรุงเทพมหานคร โดยการจัดประชุมครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดมาตรฐานการประเมินและออกแบบเครื่องมือสำหรับการลงพื้นที่เพื่อประเมินโรงเรียน รวมถึงจัดทำคู่มือการประเมินให้สอดคลัองกับบริบทของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ ซึ่งได้มีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งหมด 40 คน ประกอบไปด้วย ผู้บริหารการศึกษาจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา คณาจารย์จากคณะวิทยาการเรียนรู้และศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้แทนจากและตัวแทนจากภาคเอกชน ทั้งนี้การประชุมดังกล่าว ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ได้มอบหมายให้ ดร.อรนุช  มั่งมีสุขศิริ ผู้เชี่ยวชาญด้านพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ เป็นประธานในการประชุมแทน

โครงการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนและครูผู้สอน กิจกรรมที่ 2 เสริมสร้างศักยภาพและคุณธรรมจริยธรรมครูผู้สอน ภายใต้หลักสูตร การสอนเพื่อพัฒนากระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เชื่อมโยง ของนักเรียน

ในวันที่ 6 เมษายน 2564
กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกับธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ดำเนินการโครงการเสริมสร้างศักยภาพเยาวชนและสิ่งแวดล้อม กิจกรรมที่ 2 เสริมสร้างศักยภาพและคุณธรรมจริยธรรมครูผู้สอน ภายใต้หลักสูตร การสอนเพื่อพัฒนากระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เขื่อมโยง ของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 1 ประจำปี 2564 ณ โรงแรมบรรจงบุรี จังหวัดสุราษฎร์ธานี โดยมีคุณสมจิตร ทองจุ้น ผู้อำนวยการธนาคารออมสินสุราษฎร์ธานี เขต 1 เป็นเป็นประธานในพิธีเปิด และนายวินัยสิทธิ ไวทยาภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม พร้อมคณะทำงานจากธนาคารออมสิน และ สพฐ. เข้าร่วมดำเนินโครงการดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อเพิ่มศักยภาพและพัฒนาทักษะครูผู้สอนในเรื่องการสอนเพื่อพัฒนากระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เชื่อมโยง ในรูปแบบactive learning สู่การนำไปใช้จริงในห้องเรียน
ทั้งนี้ การจัดกิจกรรม รุ่นที่ 1 มีครูผู้สอนจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จากจังหวัดต่าง ๆ ในภาคใต้และทั่วประเทศ รวม 86 คน

 

 

 

 

แนวทางการดำเนินงานด้านสารบรรณด้วยระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-saraban)

วันที่ 5 เมษายน 2564 เวลา 13.30 น. ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานการประชุมมอบนโยบายให้ข้าราชการและบุคลากร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ในการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาช่วยสนับสนุนการบริหารจัดการภายในสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เพื่อให้สอดรับกับนโยบายของเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการภายในสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และเตรียมความพร้อมในการปรับเปลี่ยนองค์กรสู่การเป็นองค์กรราชการ 4.0


ร่วมเป็นเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครบรอบ 29 ปี

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบให้สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ  เข้าร่วมเป็นเกียรติเนื่องในวันคล้ายวันสถาปนากรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ครบรอบ 29 ปี เมื่อวันจันทร์ที่ 5 เมษายน 2564 ที่ผ่านมา ณ บริเวณห้องโถง ชั้น 3 อาคารกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ ได้ร่วมสมทบทุนกองทุนสวัสดิการกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม เพื่อนำไปบริจาคให้กับโรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ จังหวัดยะลา และจัดสวัสดิการให้กับบุคลากรของกรมส่งเสริมคุณภาพแวดล้อมด้วย