Month: สิงหาคม 2020

ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ.ตรวจสนามสอบครูผู้ช่วย จ.อยุธยา

ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ.ตรวจสนามสอบครูผู้ช่วย จ.อยุธยา
นายภูธร. จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้เชี่ยวชาญ สพฐ.ลงตรวจติดตามการสอบแข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาตำแหน่งครูผู้ช่วย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ณ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โรงเรียนอยุธยาวิทยาลัย และโรงเรียนประตูชัย

ลงพื้น​ที่​ตรวจ​เยี่ยม​สนาม​สอบ​แข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง​ครู​ผู้ช่วย สพฐ.

29 สิงหาคม​ 2563​

เวลา​ 09:00 น.​ ดร.สมพร  สามทองกล่ำ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษาลงพื้น​ที่​ตรวจ​เยี่ยม​สนาม​สอบ​แข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง​ครู​ผู้ช่วย​ สังกัด​สำ​นักงาน​คณะกรรมการ​การศึกษา​ขั้น​พื้นฐาน​ ปี พ.ศ.2563 ณ​ สนามสอบโรงเรียนสิรินธรราชวิทยาลัย จังหวัด​นครปฐม

​เวลา​ 11:30 น.​ลงพื้น​ที่​ตรวจ​เยี่ยม​สนาม​สอบ​แข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง​ครู​ผู้ช่วย​ สังกัด​สำ​นักงาน​คณะกรรมการ​การศึกษา​ขั้น​พื้นฐาน​ ปี พ.ศ.2563 ณ​ สนามสอบโรงเรียนศรีวิชัยวิทยา จังหวัด​นครปฐม

เวลา​ 14:30 น.​ลงพื้น​ที่​ตรวจ​เยี่ยม​สนาม​สอบ​แข่งขันเพื่อบรรจุและแต่งตั้งบุคคลเข้ารับราชการเป็นข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ตำแหน่ง​ครู​ผู้ช่วย​ สังกัด​สำ​นักงาน​คณะกรรมการ​การศึกษา​ขั้น​พื้นฐาน​ ปี พ.ศ.2563 ณ​ สนามสอบโรงเรียนพระปฐมวิทยาลัย จังหวัด​นครปฐม

 

 

 

ดร. นิพนธ์ ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชุมผู้บริหารสำนัก ภายใต้การกำกับดูแล

วันที่ 28 สิงหาคม 2563
ดร. นิพนธ์  ก้องเวหา ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชุมผู้บริหารสำนัก ภายใต้การกำกับดูแล ประกอบด้วย สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักบริหารงานพื้นที่นวักรรม ศูนย์ขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล และศูนย์เฉพาะกิจคุ้มครองและช่วยเหลือนักเรียน โดยได้รายงานผลการดำเนินงานที่ผ่านมาและแผนการดำเนินงานต่อไปของโครงการ ซึ่งท่านได้มอบนโยบาย แนวคิดในการขับเคลื่อนเชื่อมโยงระหว่างอดีต ปัจจุบันและอนาคต แนะนำแนวทางในการดำเนินการแต่โครงการให้มีคุณภาพ โดยคำนึงถึงนักเรียน ครู ผู้บริหารโรงเรียน

ประชุมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นการดำเนินโครงการพัฒนาหลักสูตร ‘กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น’ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning

วันที่ 26 สิงหาคม 2563 ดร.บรรเจอดพร  สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมประชุมกับผู้แทนจากบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด นำโดยคุณอิสตรี ประจญศานต์  ผู้จัดการฝ่ายโภชนาการและสุขภาพ คุณสันทนา ชาตินักรบ ผู้จัดการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ และคุณธิดารัตน์ วิเศษจินดาวัฒน์    นักโภชนาการ เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นนำไปต่อยอดโครงการอบรมครู  หลักสูตร ‘กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น’ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning โครงการดังกล่าวได้มีตัวแทนครู สังกัด สพป.สมุทรปราการ เขต 1 จำนวน 30 โรงเรียน เข้าร่วมอบรมเมื่อวันที่ 28 – 30 ตุลาคม 2562 ที่ผ่านมา โดยกิจกรรมที่จะดำเนินการต่อไป ได้แก่

1.การประกวดแม่ครัว จาก 30 โรงเรียน ที่มีตัวแทนครูเข้าอบรมหลักสูตร ‘กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น’  โดยเกณฑ์ที่จะใช้ในการประกวด คือ อร่อย มีประโยชน์ และน่ากิน ภายใต้เงื่อนไขงบประมาณ 20 บาท/คน/วัน

2.การนำหลักสูตรการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา สายงานการสอน หลักสูตร ‘กิน อยู่ ดู ฟัง เป็น’ ผ่านกระบวนการเรียนรู้แบบ Active Learning รหัสหลักสูตร 62092 มาทำเป็นหลักสูตรออนไลน์ เพื่อเป็นการเปิดโอกาสให้ครู    ทั่วประเทศได้เข้าอบรม ซึ่งเหมาะสมกับสถานการณ์ในปัจจุบัน

3.การประกวดการทำสื่อการสอนเกี่ยวกับการ “กิน เป็น” ซึ่งสื่อที่ทำขึ้นนั้นนักเรียน ชั้น ป.4-6 จะต้องสามารถเรียนรู้ได้ โดยกลุ่มเป้าหมายผู้ที่จะเข้าร่วมประกวด ได้แก่ นักศึกษา คณะครุศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยราชภัฏทั่วประเทศ

อย่างไรก็ตาม บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด จะมีการประชุมอีกครั้งเพื่อกำหนดรายละเอียดของกิจกรรมต่อไป

ศึกษาดูงานศูนย์กำจัดมูลฝอย อ่อนนุช กทม.

วันที่ 27 สิงหาคม 2563 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มโครงการพิเศษ ได้รับเชิญจาก Chula Zerowaste และเครือข่ายขับเคลื่อนการบริหารจัดการขยะ เข้าร่วมกิจกรรมศึกษาดูงานศูนย์กำจัดมูลฝอย อ่อนนุช กทม. เพื่อเพิ่มความรู้ ความเข้าใจ สร้างความตระหนักในการจัดการกับปัญหาขยะมูลฝอย โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดเป็นนโยบายหนึ่งในการขับเคลื่อนกิจกรรมโรงเรียนปลอดขยะ (Zero Waste School) อย่างต่อเนื่อง

ศูนย์กำจัดมูลฝอยอ่อนนุช มีพื้นที่ประมาณ 580 ไร่ เป็นศูนย์ในการจัดการขยะคิดเป็นครึ่งหนึ่งของปริมาณขยะที่เก็บได้ใน กทม.  โดยมีปริมาณขยะที่เข้ามาประมาณ 3,800 ถึง 4,000 ตันต่อวัน การกำจัดขยะมีอยู่ 3 ประเภทได้แก่การนำขยะไปเป็นพลังงานไฟฟ้า   นำขยะไปหมักเป็นแก๊สแล้วนำแก๊สไปปั่นเจนเนอเรเตอร์เพื่อผลิตกระแสไฟฟ้า  การนำขยะไปทำเป็นปุ๋ยส่วนที่เหลือที่ไม่สามารถนำไปทำอย่างอื่นได้ก็จะนำไปทำเชื้อเพลิงขยะ (Refuse Derived Fuel : RDF) และส่วนที่เหลือจากนั้นก็จะทำการฝังกลบ 

ประเด็นที่ได้เรียนรู้จากการศึกษาดูงานในครั้งนี้ คือ ได้พบว่าปลายทางของขยะไปที่ไหน และทำอย่างไรจึงจะมีการจัดการขยะที่ดี ตั้งแต่ต้นทาง เพื่อให้สามารถแปรรูปขยะให้สามารถนำกลับมาใช้ประโยชน์ได้มีประสิทธิภาพ โดยทุกคนควรมองว่า ปัญหาขยะเป็นเรื่องของเราทุกคน หากเราไม่จัดการ จะก็ส่งผลกระทบต่อตัวเราในที่สุด

 

 

 

 

การประชุมคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E๕) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED)

การประชุมคณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E๕) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) เป็นการประชุมร่วมกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อให้การปฏิบัติงานและการดำเนินงานยกระดับคุณภาพ “โรงเรียนประชารัฐ” เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมีนายณัฐฏพล ทีปสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ เป็นประธานการประชุม ในวันที่ 27 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุมราชวัลลภ ชั้น 2 อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ ทราบ โดยสาระการประชุมจะเป็นหารือ
การดําเนินงานและบทบาทหน้าที่คณะทำงานร่วมภาครัฐ-เอกชน ภายใต้คณะทำงานโครงการสานพลังประชารัฐ ด้านการศึกษาพื้นฐานและการพัฒนาผู้นำ (E๕) และโครงการสานอนาคตการศึกษา (CONNEXT ED) และแผนการขับเคลื่อนการดําเนินงานของโรงเรียนภายในโครงการ โดยรวมโรงเรียนสานพลังประชารัฐ ทั้ง 3 รุ่นกับโรงเรียนที่ภาคเอกชนอุปถัมภ์ เป็น โรงเรียนคอนเน็กซ์อีดี ตลอดจนข้อเสนอแนะยุทธศาสตร์เพื่อการพัฒนาโรงเรียน

ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินงานโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์

เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย นางสาวดุจดาว  ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา นางสาวสุวรรณา  กลิ่นนาค นักวิชาการศึกษา ผู้รับผิดชอบโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และนายศักดิ์สิน  ช่องดารากุล (ข้าราชการบำนาญ) ที่ปรึกษาโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ ได้ลงพื้นที่เพื่อติดตามการดำเนินงานโรงเรียนที่ได้รับการสนับสนุนงบประมาณในการดำเนินงานโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ของจังหวัดระยอง ได้แก่ 1) โรงเรียนบ้านค่าย  สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 18  โครงการ 1 ห้องเรียน 8 โครงงาน 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียน  ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ นายสุกิจ โพธิ์ศิริกุล  นายกุลธีร์ ศรัณยุตม์ และนางอุบลรัตน์ ฆวีวงษ์ และ 2) โรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 10 สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 โครงการการจัดการเรียนรู้แบบโครงงานบูรณาการกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและแนวคิดจิตศึกษาเพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 10 ผู้รับผิดชอบโครงการ คือ นางฉัตรมน อินทศร  นางญาณิศา จันทร์แสง  นางสาวนิตยา ใยคง  นางสาวภัคเนตร พุทธิโภคิน นางสาวศศินามณี สารักษ์ นางนันทชนม์ สิงห์สถิต นางเยาวลักษณ์ ชร็อฟ นางสาวสินาภรณ์ ใจแก้ว นางสาวดาริกา แก้วลังกา และนายนพรัตน์ บูรณะถาวร ซึ่งทางคณะที่ลงพื้นที่ในครั้งนี้ได้ให้ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินงานโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์แก่โรงเรียนในโครงการทั้งสองเพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงพัฒนาให้การดำเนินงานโครงการมีความสมบูรณ์และเกิดประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป

 

ประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการศาสนา ในคณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ครั้งที่ 21/2563

 

กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการศาสนา ในคณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ครั้งที่ 21/2563 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563 ณ อาคารสุขประพฤติ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ประชาชื่น โดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ชี้แจงแนวทางการจัดการศึกษา ด้านคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา ว่า สพฐ. ได้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้นักเรียนภายใต้ โครงการ “โรงเรียนวิถีพุทธ” มาเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาบูรณาการในทุกกลุ่มสาระวิชา เพื่อให้นักเรียนได้ซึมซับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ตลอดจนส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นคนดีของสังคมต่อไป

การประชุมวาระพิเศษ คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในคณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา

ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และคณะ เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมประชุมวาระพิเศษ คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในคณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับหน่วยงานองค์กรภาคีเครือข่าย อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงการต่างประเทศ, TCEP และสื่อมวลชน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินโครงการ “ภาพลักษณ์ประเทศไทย Thai DNA : Kindness Thainess” เมื่อวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม หมายเลข 306 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา (เกียกกาย)

ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ และคณะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างคุณธรรมให้แก่คนไทยให้เป็นสังคมแห่งความดี เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของคนไทย โดยเฉพาะการขับเคลื่อนหลักคุณธรรม 5 ประการ ได้แก่ กตัญญู วินัย สุจริต พอเพียง และจิตอาสา เชื่อมโยงกับสถาบันหลักของชาติ จึงเห็นควรใช้โอกาสอันดีนี้ ในการเผยแพร่ภาพลักษณ์ และคุณลักษณะที่ดีของคนไทยสู่สายตาชาวโลก อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศอีกด้วย

ในปัจจุบัน คลิปวิดีโอมีเนื้อหาที่มีส่วนผสมของเรื่องราวต่าง ๆ จึงกำหนดให้เยาวชนอายุ 10 – 22 ปี รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน กลุ่มละ 2-5 คน ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในที่ประชุม ได้มอบหมายให้ดำเนินการรวบรวมเรื่องราวคุณงามความดีของนักเรียนที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว เสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ

อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้กำหนดประชุมวาระพิเศษอีกครั้ง ในวันอังคารที่ 8 กันยายน 2563

การประชุมปฏิบัติการสรุปและรายการผลการวิจัยพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศผ่านกระบวนการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ

วันที่ 25 สิงหาคม 2563 ดร.ภูธร  จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการสรุปและรายการผลการวิจัยพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศผ่านกระบวนการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ระหว่างวันที่ 24 -28 สิงหาคม 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ ได้แก่ อาจารย์นิจวดี เจริญเกียรติบวร  ดร.พิธาน  พื้นทอง ดร.ไพรวัลย์  พิทักษ์สาลี  ดร.ชวลิต  โพธิ์นคร  ว่าที่ พ.ต.ไพโรจน์  เอมวัฒน์ และอาจารย์สุภาดา  พูนศรีโชติ ร่วมให้ข้อเสนอแนะเพื่อยกระดับผลการวิจัยพัฒนารูปแบบนวัตกรรมการเรียนรู้สู่ความเป็นเลิศผ่านกระบวนการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ของศูนย์สอบจำนวน 38 ศูนย์สอบ แบ่งเป็นศูนย์สอบระดับประถมศึกษา จำนวน 19 ศูนย์สอบ  และศูนย์สอบระดับมัธยมศึกษา จำนวน 19 ศูนย์สอบ

 

ติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สังกัด สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563

21 สิงหาคม 2563 ภาคบ่าย
ดร.สมพร  สามทองกล่ำ นักวิชาการศึกษาชำนาญการพิเศษ รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยทางการศึกษา ลงพื้นที่เชิงประจักษ์ ติดตามผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 ในสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในกลุ่มพื้นที่เป้าหมายลงติดตาม ณ โรงเรียนบ้านโพนทอง และโรงเรียนบ้านราษฏร์ดำเนิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 3