Month: กุมภาพันธ์ 2020

การประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ คู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง และจัดโครงร่างงานวิจัยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา)

เมื่อวันที่ 15-18 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้จัดประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ คู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง และจัดทำโครงร่างงานวิจัยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ ถนนประดิพัทธ์ แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจากท่านวิทยากร รองศาสตราจารย์สิริพันธุ์  สุวรรณมรรคา ข้าราชการบำนาญ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มาบรรยายให้ความรู้และทำกิจกรรมเกี่ยวกับคุณลักษณะและการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ในโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) อาจารย์วิฑูรย์ นาสารีย์ ข้าราชการบำนาญ ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ให้เกียรติมาบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาคู่มือการจัดกิจกรรมการประเมินตนเองอย่างมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ซึ่งการประชุมในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเองอย่างมีส่วนร่วม จัดทำเกณฑ์คุณภาพโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และจัดทำโครงร่างงานวิจัยและพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยผู้เข้าร่วมการประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ คู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง และจัดทำโครงร่างงานวิจัยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ ข้าราชการ ข้าราชการบำนาญ ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานด้านการวัดและประเมินผลทางการศึกษาหรือด้านการวิจัยจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 34 เขต และบุคลากรในสังกัด สพฐ. ซึ่งกิจกรรมการประชุม ประกอบด้วย การรับฟังบรรยายความรู้จากวิทยากรและแบ่งกลุ่มปฏิบัติการทำกิจกรรม ได้แก่ 1) จัดทำคู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเองอย่างมีส่วนร่วม 2) จัดทำเกณฑ์คุณภาพโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ 3) จัดทำโครงร่างงานวิจัยและพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ โดยมีวิทยากรประจำกลุ่มเป็นพี่เลี้ยงในการดำเนินการและกำหนดปฏิทินการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง ณ โรงเรียนนำร่องโครงการ และในวันสุดท้ายของการประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์โรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ คู่มือการจัดกิจกรรมโรงเรียนประเมินตนเอง และจัดทำโครงร่างงานวิจัยระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาได้รับเกียรติจากท่านเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ให้เกียรติมามอบนโยบายในการดำเนินงานโครงการโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ให้แก่ผู้เข้าร่วมการประชุมเพื่อนำไปเป็นแนวทางการในการดำเนินงานต่อไป

การประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการขยะในโรงเรียน ตามประกาศเจตนารมณ์ของสภานักเรียน ระดับประเทศ ครั้งที่ 1/2563

                         จันทร์ที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนระบบการบริหารจัดการขยะในโรงเรียนตามประกาศเจตนารมณ์ของสภานักเรียน ระดับประเทศ โดยมีผู้แทนจากสถาบันอุดมศึกษา หน่วยงานภาคเอกชนหลายองค์กร มาร่วมระดมความคิด วางแผนการดำเนินงาน และผลักดันการขับเคลื่อนการดำเนินการลดขยะในโรงเรียนทั่วประเทศให้เกิดเป็นรูปธรรม เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีในโรงเรียนและชุมชน 

 

 

สพฐ.สร้างองค์ความรู้ตามแนวทางการดำเนินการตามาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ และการจัดการขยะและบุรรจุภัณฑ์ใช้แล้วในสำนักงาน

วันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2563  ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี  ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา  ให้เกียรติเป็นประธานในพิธีเปิดการอบรมและประชุมชี้แจงสร้างองค์ความรู้ตามแนวทางการดำเนินการตามมาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ  และการจัดการขยะและบุรรจุภัณฑ์ใช้แล้วในสำนักงาน  ณ ห้องประชุมเธียเตอร์ ชั้น 3 อาคารรัชมังคลาภิเษก กระทรวงศึกษาธิการ

ในช่วงระยะเวลา 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการนำพลาสติกและโฟมมาใช้ในรูปแบบของบรรจุภัณฑ์ต่าง ๆ มากขึ้น ซึ่งพลาสติกและโฟมเหล่านี้เป็นวัสดุที่ย่อยสลายได้ยากเมื่อไม่ได้รับการจัดการที่ถูกต้องส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมทั้งทางบก และทางทะเล รวมทั้งปัญหามลพิษสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากขยะพลาสติก

ตามที่คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 17 กรกฎาคม 2561 มีมติเห็นชอบให้ทุกหน่วยงานภาครัฐต้องดำเนินงานพร้อมกันทั่วประเทศในการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ ซึ่งเป็นหนึ่งใน 5 กิจกรรมภายใต้โครงการ “ทำความดีด้วยหัวใจ  ลดภัยสิ่งแวดล้อม” โดยกำหนดเป็นตัวชี้วัดเพิ่มเติมในการประเมินผลการปฏิบัติราชการ และกรมควบคุมมลพิษเป็นหน่วยงานบูรณาการระหว่างภาครัฐ เอกชน และประชาชน ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอยของประเทศให้เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เล็งเห็นความสำคัญในปัญหามลพิษและสิ่งแวดล้อมดังกล่าว ซึ่งควรสร้างความตระหนักตั้งแต่เยาวชนของชาติจนถึงข้าราชการและบุคลากรในส่วนกลางและเขตพื้นที่การศึกษา โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินการ เพื่อให้สำนักในส่วนกลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และสถานศึกษา ในสังกัด มีการดำเนินงานด้านการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในอาคารและพื้นที่ ของหน่วยงาน เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแต่ภาคเอกชนและประชาชนในการมีส่วนร่วม ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาขยะมูลฝอย ขยะพลาสติก และโฟม ในภาพรวมของประเทศอย่างต่อเนื่อง โดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กำหนดแนวทางและมาตรการลดและคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน ดังนี้

1) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะร่วมกันปรับเปลี่ยนพฤติกรรมในการลด คัดแยกขยะมูลฝอย เพื่อนำไปสู่วินัยในการลดใช้ถุงพลาสติก และโฟม

2) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะเป็นหน่วยงานต้นแบบ ในการลด คัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน และลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และโฟม

3) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะสร้างความตระหนักและส่งเสริมบทบาทของหน่วยงานในสังกัด ในการร่วมลด คัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงาน ลดการใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว และโฟม เพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่สังคม

4) สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จะกระทำเป็นตัวอย่างในการลดเลิกใช้ถุงพลาสติกหูหิ้ว โฟม และพลาสติกอื่น ๆ เพื่อลดขยะอย่างจริงจัง รวมทั้งจะใช้หลักการ 3R คือ ใช้น้อยหรือลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) และแปรรูปใช้ใหม่ (Recycle) ในการจัดการขยะที่เกิดขึ้น ประธานในพิธีกล่าว

โดยมีบุคลากรสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ตลอดจนแม่บ้านทำความสะอาดประจำสำนักงาน สพฐ. เพื่อสร้างความรู้ และสามารถนำไปปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการตามาตรการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานของรัฐต่อไป โดยมีเป้าหมาย ผู้เข้ารับการอบรมฯ ครั้งนี้ ประกอบด้วยบุคลากรส่วนกลาง จำนวน 85 คน แม่บ้านทำความสะอาด 25 คน และผู้เกี่ยวข้อง จำนวน 10 คน  รวมทั้งสิ้น 120 คน

ที่มา : http://zerowaste.eesdobec.com/?p=337

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์  ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการบริหารมูลนิธิยุวทูตความดี กระทรวงการต่างประเทศ มาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เส้นทางสร้างยุวทูตความดี สู่วิถีความยั่งยืน” เพื่อเป็นข้อคิด และคำแนะนำ สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมในการบูรณาการองค์ความรู้สู่การขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดีฯ ประจำปี 2563 ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี และต่อยอดสู่การเป็นพลเมืองที่ดีของโลกอย่างมีคุณภาพ ตามแนวทางศาสตร์พระราชา พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ดร.สิริมา หมอนไหม อดีตรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา มาเป็นประธานในพิธีปิดการประชุมดังกล่าวด้วย

 

 

 

 

 

การประชุมเชิงปฎิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ร่วมกันกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดีฯ ประจำปี 2563 ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนอย่างยั่งยืน 2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี และต่อยอดสู่การเป็นพลเมืองที่ดีของโลกอย่างมีคุณภาพ ตามแนวทางศาสตร์พระราชา ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ ที่ได้เข้าร่วมรับเสด็จฯ พร้อมทั้งนำเสนอภาพความสำเร็จการดำเนินโครงการยุวทูตความดีฯ ในงานครบรอบ 20 ปี และมีผลการพัฒนาต่อยอดโครงการยุวทูตความดีฯ มาอย่างต่อเนื่อง คณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 75 คน โดยได้รับเกียรติจาก ท่านพจมาน พงษ์ไพบูลย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส สพฐ. มาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ ในการประชุมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้มีการรับฟังการบรรยายจาก นายเกษมนิติ์ ทองสัมฤทธิ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันถอดรหัสความดีเพื่อเป็นแนวทางต่อยอดสู่วิถีอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

การประชุมปฏิบัติการยกร่างงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา และจัดทำเกณฑ์การจัดสรรงบแลกเป้าหมาย ภายใต้โครงการโรงเรียนประชารัฐ ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา กรุงเทพมหานคร

การประชุมปฏิบัติการยกร่างงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ด้านการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาและจัดทำเกณฑ์การจัดสรรงบแลกเป้าหมาย ภายใต้โครงการโรงเรียนประชารัฐ ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา สุขุมวิท 5 กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกร่างงานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษาของโครงการโรงเรียนประชารัฐ และทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องกับการบริหารจัดการทางการศึกษา เพื่อยกร่างแบบสอบถามที่เกี่ยวข้อง พร้อมจัดทำกรอบและเกณฑ์การของบแลกเป้าหมาย พร้อมรายละเอียดสำหรับโรงเรียนประชารัฐ ซึ่งได้รับเกียรติจากท่านอโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ

 

แนวทางการดำเนินงานตามข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน

ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาร่วมประชุมหารือแนวทางการดำเนินงานตามข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ร่วมกับกรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม ในวันอังคารที่ 11 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 09.30 – 11.30 น. ณ ห้องประชุมก่อ สวัสดิพาณิชย์ ชั้น 8 อาคารรัชมังคลาภิเษก สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ
โดยในที่ประชุม ได้มีการอภิปราย ใน 2 ประเด็น ได้แก่ การจัดทำแผนปฏิบัติการเสริมสร้างพลังความร่วมมือด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และ การดำเนินงานตามข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อขับเคลื่อนสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน