เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา
นำโดย นางสาวดุจดาว ทิพย์มาตย์ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและส่งเสริมการวิจัยทางการศึกษา และคณะ ได้ดำเนินการจัดประชุมปฏิบัติการจัดทำเอกสารรายงานการดำเนินงาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 และแนวทางการขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมือง
รุ่นใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 ระหว่างวันที่ 21 – 24 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ในการประชุมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากท่านรองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (ว่าที่ร้อยตรีธนุ วงษ์จินดา) ซึ่งได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมและบรรยายพิเศษในหัวข้อเรื่อง จุดเน้นการดำเนินงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 โดยกิจกรรมการประชุมประกอบด้วยการนำเสนอรายงานการดำเนินงานโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563 รุ่นที่ 1 และการวางกรอบแนวทางการดำเนินงานขับเคลื่อนโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 2 : โรงเรียนคุณภาพประจำชุมชน พร้อมทั้งมีการเติมเต็มกระบวนการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้และทักษะการชี้แนะ Coaching and Mentoring โดยท่าน รศ.ดร.สิริพันธุ์ สุวรรณมรรคา ข้าราชการบำนาญ (ผอ.ศูนย์พัฒนาการเรียนรู้และวิชาชีพครู จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย) และมีการบรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับถอดบทเรียนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือรวมพลัง โดยใช้กระบวนการ Lesson Study ของโรงเรียนในจังหวัดขอนแก่น โดย นางสาวพรพิมล ทักษะวรบุตร ข้าราชการบำนาญ (ศึกษานิเทศก์ สพป.ขอนแก่น เขต ๑) การจัดกิจกรรมการพัฒนาคุณลักษณะผู้เรียน โดย นางบรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา การจัดการศึกษาเพื่อพัฒนาความเป็นพลเมือง และนวัตกร โดย นางสาวสมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และมีการแบ่งกลุ่มปฏิบัติการเผยแพร่การดำเนินงานโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ บนเว็บไซต์โครงการ www.slcobec.net โดย นายพิทักษ์เกียรติ บรรเทา ผอ.รร.อุดมพัฒนศึกษา สพม. เขต 22 นอกจากนี้ในวันสุดท้ายของการประชุมได้รับเกียรติจากท่านเบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งได้บรรยายให้ความรู้เกี่ยวกับการปฏิรูปโรงเรียนผ่านนวัตกรรมการพัฒนาโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ และให้กำลังใจแก่ผู้เข้าร่วมประชุมในการขับเคลื่อนการดำเนินงานโครงการส่งเสริมโรงเรียนเป็นชุมชนแห่งการเรียนรู้ (School as Learning Community) เพื่อพัฒนาสมรรถนะพลเมืองรุ่นใหม่ ให้ประสบควมสำเร็จในการดำเนิน
Year: 2020
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้มุ่งสู่เป้าหมาย (Learning to target) บนฐานการวิจัยและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและพื้นที่
วันนี้ (22 ธ.ค.63) กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) ได้จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาแนวทางการจัดการเรียนรู้มุ่งสู่เป้าหมาย (Learning to target) บนฐานการวิจัยและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองความต้องการของผู้เรียนและพื้นที่ โดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งมอบแนวทางการดำเนินงานตามนโยบาย “สพฐ.วิถีใหม่ วิถีคุณภาพ” ของเลขาธิการ กพฐ. เกี่ยวกับการใช้ระบบสารสนเทศเพื่อพัฒนาการศึกษา และขอให้เป็นสารสนเทศที่ปลอดภัย มีคุณภาพ ทุกคนมีโอกาสเข้าถึงเทคโนโลยีสารสนเทศเหล่านั้นได้
ทั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว จัดขึ้นระหว่างวันที่ 20 – 24 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพมหานคร มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) จัดทำระบบข้อมูลสารสนเทศที่สนับสนุนการนำนวัตกรรมการเรียนการสอนไปใช้ได้จริงตามความต้องการและบริบทพื้นที่ และ 2) จัดทำเอกสารแนวทางการจัดการเรียนรู้มุ่งสู่เป้าหมาย (Learning to target) บนฐานการวิจัยและนวัตกรรมการจัดการเรียนการสอนที่มีคุณภาพและมาตรฐาน ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบข้อมูลสารสนเทศ คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง
ประชุมหารือเรื่องกรอบมาตรฐานการจัดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์
วันที่ 21 ธันวาคม 2563 เวลา 09.09 น.
ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษารักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ร่วมหารือกับ ผู้แทน สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ในเรื่องกรอบมาตรฐานการจัดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์ ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 10 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ กำหนดกรอบมาตรฐานการจัดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์ เพื่อให้หน่วยงานผู้จัดกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์มีมาตรฐาน ผู้ให้การสนับสนุนจะได้มีแนวทางในการพิจารณาให้การสนับสนุน ทั้งนี้ โดยศึกษาจากเกณฑ์การจัดการแข่งขันทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยกำหนดระยะเวลาให้ทันในภาคการศึกษาหน้า (พ.ค. 64)
ผู้เข้าร่วมหาประกอบด้วยผู้แทนจาก สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และสถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สสวท.) ดังนี้
ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี
ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษารักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน สพฐ.
ดร.วรวรงค์ รักเรืองเดช
ผู้ช่วยผู้อำนวยการ สสวท.
ดร.ศรเทพ วรรณรัตน์
ผู้อำนวยการสำนักวิชาคณิตศาสตร์และเทคโนโลยี สสวท.
ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด
ผู้อำนวยการกลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
นายพรพจน์ พัฒวันเพ็ญ
ผู้เชี่ยวชาญ สสวท.
นางสาวพรพิมล ตั้งชัยสิน
ผู้ชำนาญ สสวท.
นายนิรมิษ เพียรประเสริฐ
นักวิชาการ สสวท.
นายพรชัย ถาวรนาน
นักวิชาการศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ผู้แทน สสวท. กล่าว การดำเนินการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนักเรียน เป็นกิจกรรมที่แข่งขันนอกหลักสูตรแต่สามารถขับเคลื่อนได้เร็ว และสร้างแรงจูงใจของนักเรียนได้ ที่ผ่านการแข่งขันหุ่นยนต์จะมีความหลากหลาย จึงเสนอให้กำหนด กรอบมาตรฐานการจัดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์เป็นการแข่งขันทางวิชาการให้มากขึ้น การดำเนินงานในครั้งนี้ เป็นการต่อยอดจากการดำเนินงานการแข่งขันหุ่นยนต์ที่มีอยู่แล้ว สำหรับการดำเนินงานต่อไป จะแต่งตั้งคณะกรรมการ เพื่อพิจารณากรอบมาตรฐานการจัดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์ และให้ผู้เชี่ยวชาญ พิจารณา เมื่อดำเนินการจัดทำกรอบมาตรฐานการจัดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์เรียบร้อยแล้ว จะเสนอให้กระทรวงศึกษาธิการ ประกาศเป็นมาตรฐานการจัดกิจกรรมแข่งขันหุ่นยนต์ต่อไป
การประชุมสังเคราะห์งานในระยะที่ 1 และพัฒนางานวิจัยและพัฒนานวัตกรรมด้านการบริหารจัดการศึกษาสำหรับผู้บริหารสถานศึกษา ระยะที่ 2
เปิดรับข้อเสนอโครงการ การพัฒนานวัตกรรมสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ และภาพวาดจินตนาการอนาคต
ประชุมทางไกล VIDEO CONFERENCE การบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชนและโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง
วันพุธที่ 16 ธันวาคม 2563 เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 ท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เข้าร่วมประชุมทางไกล ผ่าน VIDEO CONFERENCE การบริหารจัดการโรงเรียนคุณภาพของชุมชน และโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง ร่วมกับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 225 เขต โดยมีท่าน ดร.อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในการประชุม เพื่อชี้แจง แนวทางการจัดทำแผนที่และการส่งแผนที่เพื่อเป็นข้อมูลในการบริหารจัดการโรงเรียนให้มีคุณภาพ โดยมีแนวทางการจัดทำเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของจังหวัดไว้ 3 แนวทาง คือ 1. ทำโรงเรียนให้มีคุณภาพของชุมชน 2. การยกระดับการศึกษา เพิ่มงบลงทุนสำหรับโรงเรียนที่สามารถดำรงอยู่ได้ด้วยตนเอง Stand alone และโรงเรียนขนาดกลาง และ 3. การพัฒนาโรงเรียนมัธยมดีสี่มุมเมือง จากแนวความคิดในการลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา เพื่อขับเคลื่อนคุณภาพการศึกษาของประเทศให้ดียิ่งขึ้น การกำกับติดตามและประสานงานจากกำหนดระยะเวลาที่ได้ให้เขตพื้นที่ดำเนินการ เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2563 นั้น พบปัญหา หลายประการในการดำเนินการ เช่น การจัดทำแผนที่ในการดำเนินงาน การกำหนดสัญลักษณ์ การใช้สีแต่ละจุดในพื้นที่ ซึ่งแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาดำเนินงานและจัดทำมาไม่เหมือนกัน จึงเป็นปัญหาเมื่อส่งมาที่ส่วนกลาง ทาง สพฐ. จึงมีแนวทางในการจัดทำเพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกันทุกเขต โดยท่าน ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ได้นำเสนอแนวทางการจัดทำแผนที่ แนวทางการจัดทำ ได้กำหนดไว้ 2 รูปแบบ คือ
- พื้นที่จังหวัด ซึ่งต้องจัดทำ 77 จังหวัด มีผู้รับผิดชอบคือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (จังหวัด) เขต 1 เป็นผู้รวบรวมในนามจังหวัด และ สพม. ใดครอบคลุมพื้นที่หลายจังหวัดให้แยกเป็นจังหวัด
- พื้นที่เขตการศึกษา จำนวน 225 เขต ผู้รับผิดชอบ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
รายละเอียดการจัดทำแผนที่สถานศึกษา โดยให้จัดทำเป็นไฟล์รูปภาพ ใช้ โปรแกรม Adobe Photoshop ซึ่งเมื่อนำเข้าโรงพิมพ์แล้วจะทำให้ขนาดและความละเอียดไม่แตกและมีความเสถียรกว่า โดยกำหนดขนาดของภาพ ตั้งค่าหน้ากระดาษ แนวนอน ขนาด A1 หรือ 23.4 x 33.1 นิ้ว กำหนดค่าความละเอียด 200 Pixels เมื่อบันทึกภาพ เป็นไฟล์สองรูปแบบซึ่งดูจากตัวอย่างของ สพฐ. ได้แก่ ไฟล์ของจังหวัด และไฟล์ของพื้นที่เขตการศึกษา ต้องใช้สัญลักษณ์หมุดสี
ขนาดเส้นถนน รูปแบบ/ชนิด/ขนาดอักษร ตามที่กำหนดในไฟล์ตัวอย่างเท่านั้น ดูตัวอย่างจาก คิวอาร์โค้ดที่ส่วนกลางกำหนดการบันทึกไฟล์ มีจำนวน 2 นามสกุล ได้แก่ 1. นามสกุล PSD (*.PSD, *PDD) Adobe photoshop สามารถปรับแก้ไขได้ 2. นามสกุล PNG, (*PNG, *PNS) รูปภาพ สามารถนำเสนอได้และได้กำหนดส่งแผนที่ดังกล่าวในวันที่ 19 ธันวาคม 2563 เพื่อส่วนกลางจะได้ดำเนินการในขั้นตอนต่อไป
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ Active Learning ร่วมกับภาคีเครือข่าย
วันนี้ (15 ธ.ค.63) กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) ได้จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้ Active Learning ร่วมกับภาคีเครือข่าย โดย ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน ได้ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งบรรยายพิเศษ ทั้งนี้ การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 15-19 ธันวาคม 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไรน์ เพลส จังหวัดนนทบุรี มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) แลกเปลี่ยนเรียนรู้และถอดกระบวนการจัดการเรียนรู้ Active Learning ของภาคีเครือข่ายที่ประสบความสำเร็จ 2) สังเคราะห์การดำเนินงานที่ประสบผลสำเร็จของโรงเรียนในการจัดการเรียนรู้ Active Learning ร่วมกับภาคีเครือข่าย และ 3) พัฒนากิจกรรมและนวัตกรรมการเรียนรู้ Active Learning ด้วยฐานการวิจัยแบบมีส่วนร่วม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการเรียนรู้ Active Learning พร้อมทั้งภาคีเครือข่าย
โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ร่วมออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในงานวันพ่อแห่งชาติ
โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรมนำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ โรงเรียนศรีวิชัยวิทยา สพม.เขต 9 จ.นครปฐม และโรงเรียนชะอำคุณหญิงเนื่องบุรี สพม.เขต 10 จ.เพชรบุรี ร่วมออกร้านจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ในงานวันพ่อแห่งชาติ ระหว่างวันที่ 1-6 ธันวาคม 2563 ณ มิวเซียมสยาม ถ.สนามไชย กรุงเทพมหานคร
การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ covid 19 ของ รร.คุณภาพประตำบลสู่การปฏิบัติ
วันที่ 6 ธันวาคม 2563 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนารูปแบบการวิจัยการจัดการเรียนการสอนในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ covid 19 ของ รร.คุณภาพประตำบลสู่การปฏิบัติ ณ โรงแรมแคนทารี พระนครศรีอยุธยา
OBEC Young Leaders for SDGs การอบรมปฏิบัติการครูแกนนำการใช้หลักสูตรพัฒนาศักยภาพผู้นำนักเรียนสู่การเป็นพลเมืองโลกตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน
การลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลกับนักเรียนเกี่ยวกับยุทธศาสตร์การบริหารจัดการ “โรงเรียนสู่ความเป็นเลิศ” (ระยะที่ 2)
โครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 2
เมื่อวันที่ 20 -22 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา (วคส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการจัดการศึกษา นำโดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และคณะฯ พร้อมทั้งคณะทำงานจากธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ ร่วมจัดโครงการ สอนกระบวนการคิดอย่างไรให้โดนใจวัยรุ่น ภายใต้หลักสูตร การอ่านคิดวิเคราะห์เชื่อมโยงของนักเรียน รหัสหลักสูตร 63001 รุ่นที่ 2 ประจำปี พ.ศ.2563 เป็นหลักสูตรนับชั่วโมงได้ จัดอบรมฟรีให้กับครูผู้สอนในเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29 ณ โรงแรมลายทอง จังหวัดอุบลราชธานีโดยในงานนี้ได้รับเกียรติจากผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 12 คุณสุนันท์ สุทธิบรรจง เป็นประธานในพิธีเปิดงาน พร้อมด้วยคณะจากธนาคารออมสินเขตอุบลราชธานี เข้าร่วมด้วย และโครงการนี้ยังได้รับการสนับสนุนงบประมาณการดำเนินงานจากธนาคารออมสิน สำนักงานใหญ่ มีผู้เข้าร่วมในการอบรบจำนวนทั้งสิ้น 70 คน ซึ่งโครงการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มศักยภาพให้ครูผู้สอนที่มีคุณธรรมจริยธรรม ได้เรียนรู้ด้านกระบวนการอ่าน คิดวิเคราะห์เชื่อมโยงในรูปแบบactive learning เพื่อต่อยอดสู่การนำไปใช้ในการพัฒนาการเรียนการสอนในห้องเรียน เพิ่มทักษะและเทคนิคในเรื่องของการสอนวิชา GAT เชื่อมโยง ซึ่งส่งผลให้ครูสามารถพัฒนาการสอนในวิชา GAT เชื่อมโยงและถ่ายทอดไปสู่นักเรียน เพื่อให้นักเรียนมีทักษะความรู้และนำไปใช้ในการสอบเข้าศึกษาต่อในสถาบันต่างๆ ได้