ข่าวประชาสัมพันธ์

การประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ : Best of the Best Practices “เพชรน้ำหนึ่ง สพม.2”

 

วันที่ 8 ตุลาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับเชิญเป็นวิทยากรบรรยายเรื่อง “การพัฒนานวัตกรรมสู่ Best Practice” และเยี่ยมชมให้กำลังใจคณะครู และผู้นำเสนอผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศของโรงเรียนในสังกัด สพม.2 ในการประชุมเชิงปฏิบัติการนำเสนอผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ : Best of the Best Practices “เพชรน้ำหนึ่ง สพม.2” ณ โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี) กรุงเทพมหานคร

 

5 ส. สร้างนิสัย สนก. ก้าวไกลพัฒนา

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมทำกิจกรรม  5 ส “5 ส. สร้างนิสัย สนก. ก้าวไกลพัฒนา” เนื่องในวันคล้ายสถาปนา สพฐ. ครบรอบ 16 ปี นำโดยท่านผอ. สนก. (นายอโณทัย ไทยวรรณศรี) ผู้ชี่ยวชาญ สพฐ. (นางสาวสิริมา หมอนไหม และนางอรนุช มั่งมีสุขศิริ) ผู้อำนวยการกลุ่มทุกกลุ่ม และบุคลากร สนก. ทุกคน ร่วมกันทำกิจกรรม 5 ส. เพื่อเป็นการส่งเสริม สนับสนุน บุคลากรให้มีความรู้้ความเข้าใจใน
หลักการ 5 ส. โดยการลงมือปฏิบัติจริง สร้างนิสัยของบุคลากรให้เกิดความเป็นระเบียบ มีความรับผิดชอบ วินัย ทำให้สภาพแวดล้อมในองค์กรมีความเหมาะสม ปลอดภัย เสริมสร้างบรรยากาศที่ดีและเอื้อต่อการปฏิบัติงาน
อันจะส่งผลต่อการเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีในองค์กร

การแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับประเทศไปแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ได้ประกาศให้จัดงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โดยมีหลักการว่า   ในกรณีที่ต้องคัดเลือกตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติ จะเชิญผู้ได้รับรางวัลระดับชาติเข้าคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไทยเฉพาะกิจกรรมเป็นรายกิจกรรมไป โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รับผิดชอบในกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. รวม ๑๖ กิจกรรม

การแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับประเทศ ไปแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติ โดยเปิดโอกาสให้กับทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ ในการแข่งขันหุ่นยนต์ สพฐ. จากงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยีของนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑ ทั้ง ๑๖ กิจกรรม  ใน ๔ ภูมิภาค รวมทั้งสิ้น ๕๔ ทีม ซึ่งเป็นทีมหุ่นยนต์ที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ งานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยี
ของนักเรียน ปีการศึกษา ๒๕๖๑  ใน ๔ ภูมิภาค จำนวน ๕๔ ทีม (๑ ทีม ประกอบด้วย นักเรียนผู้เข้าแข่งขัน ๓ คน และครูที่ปรึกษา ๑ คน) รวมทั้งสิ้น ๑๙๘ คน โดยทำการแข่งขันใน ๒๗ รายการแข่งขัน  เพื่อคัดเลือกเป็นตัวแทนระดับประเทศไปแข่งขันในเวทีระดับนานาชาติต่อไป โดยในปี ๒๕๖๒ การแข่งขันหุ่นยนต์ในเวทีระดับนานาชาติ จะจัดขึ้นในประเทศไทย จำนวน ๓ รายการแข่งขัน ได้แก่ ๑. การแข่งขันหุ่นยนต์ International Robotic Olympiad 2019 ระหว่างวันที่ ๒๐ – ๒๑ กรกฎาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี ๒.การแข่งขันหุ่นยนต์ World Robot Game ระหว่างวันที่ ๒๘ – ๓๐ สิงหาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การค้าเซียร์รังสิต จังหวัดปทุมธานี และ ๓. การแข่งขันหุ่นยนต์ International Robot Olympiad 2019 ระหว่างวันที่ ๑๖ – ๒๐ ธันวาคม ๒๕๖๒ ณ ศูนย์การประชุมมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่

โดยการจัดการแข่งขันครั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานได้ กำหนดเกณฑ์ ระเบียบ วิธีการจัดการแข่งขันให้ได้มาตรฐานในระดับนานาชาติ เพื่อคัดเลือกทีมตัวแทนประเทศไทยที่พร้อมทั้งในด้านความรู้ และทักษะ  การประกอบสร้างหุ่นยนต์ การเขียนโปรแกรมควบคุมหุ่นยนต์ เพื่อให้สามารถทำภารกิจ แก้ไขปัญหาตามโจทย์การแข่งขันในระดับนานาชาติ  โดย สพฐ. ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชน ร่วมเป็นผู้สนับสนุนทีมหุ่นยนต์ไทยได้แสดงศักยภาพในเวทีระดับนานาชาติต่อไป
ภาพกิจกรรมเพิ่มเติมติดตามได้ที่ https://www.facebook.com/obecrobot/

 

กลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมโครงการลด และคัดแยกขยะมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ

กลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมโครงการลด และคัดแยกมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ
โดย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป ได้มอบแก้วน้ำส่วนตัวให้กับบุคลากรกลุ่มบริหารทั่วไป ตามโครงการลด และคัดแยกมูลฝอยในหน่วยงานภาครัฐ

สพฐ. ลงนามบันทึกข้อตกลง รร.คุณภาพประจำตำบล เพิ่มเติม 3 องค์กร พร้อมประชุมสรุปผลการเตรียมความพร้อม ระยะที่ 2

พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เป็นประธานในการประชุมปฏิบัติการสรุปผลการเตรียมความพร้อมโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระยะที่ 2 พร้อมเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เพิ่มเติม ระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักพระพุทธศาสนาแห่งชาติ

โดยมี พลเอก สุทัศน์ กาญจนานนท์กุล ที่ปรึกษา รมช.ศธ. นายบุญรักษ์ ยอดเพชร เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้บริหารของ สพฐ. และผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาทั่วประเทศ จำนวนกว่า 300 คน เข้าร่วมประชุม เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2562 ณ โรงแรมเอเชีย แอร์พอร์ท จ.ปทุมธานี
โครงการโรงเรียนคุณภาพประจําตําบลเป็นโครงการที่เกิดขึ้นตามนโยบาย “1 ตําบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” เป้าหมายเพื่อพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบลให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจําตําบล ภายใต้แนวคิด “1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อมในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมสำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

ในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงศึกษาธิการได้ดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนระดับประถมศึกษาเพื่อเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยการพิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นชอบผ่านกระบวนการประชาคม 3 ระดับ คือ ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด จำนวนทั้งสิ้น 6,843 โรงเรียน ซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด คือ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีความพร้อมเข้ารับการพัฒนา ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน การคมนาคมและการสื่อสารสะดวก มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักเรียนได้ในอนาคต ตลอดจนมีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชนที่ยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุน เพื่อการพัฒนาคุณภาพทางการศึกษาและการบริหารการจัดการโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และดำเนินการคัดเลือกโรงเรียนระดับมัธยมศึกษาเพื่อเข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยการพิจารณากลั่นกรองให้ความเห็นชอบผ่านกระบวนการประชาคมระดับอำเภอและรายงานระดับจังหวัด มีจำนวนทั้งสิ้น 1,140 โรงเรียน รวมทั้งสิ้นมีโรงเรียนระดับประถมศึกษาและระดับมัธยมศึกษาที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 7,983 โรงเรียน
ในอนาคตโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลจะส่งเสริมและสนับสนุนให้นักเรียนเข้าถึงการบริการที่มีคุณภาพอย่างทั่วถึงและเป็นธรรม ได้รับความรู้กระบวนการและทักษะที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิต และเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศ ในส่วนของผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ก็จะมีความพร้อมทั้งสมรรถนะ ศักยภาพ และความสามารถในการบริหาร การจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ โรงเรียนจะกลายเป็นต้นแบบโรงเรียนคุณภาพที่มีความพร้อมในทุก ๆ ด้าน และเป็นแหล่งการเรียนรู้ของชุมชน ทุกภาคส่วนให้การยอมรับ เชื่อมั่น และศรัทธาต่อคุณภาพของโรงเรียน ทั้งหมดนี้เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพตลอดจนมีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการและทิศทางในการพัฒนาประเทศ อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการวางรากฐานของประเทศไทยให้มีความมั่นคงที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน

ด้าน พลเอก สุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รมช.ศธ. ได้กล่าวว่า สำหรับภาพอนาคตของโครงการโรงเรียนคุณภาพประจําตําบลที่เราจะพัฒนาร่วมกัน คือ เป็นโรงเรียนที่ให้โอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกันอย่างมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา มีความเข้มแข็งด้านวิชาการ สมรรถนะสำคัญ และคุณลักษณะที่พึงประสงค์ รวมถึงกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน ดนตรี กีฬา ศิลปะ และจิตสาธารณะ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพร้อมทางด้านกายภาพ สิ่งอำนวยความสะดวก วัสดุครุภัณฑ์ มีความสะอาดร่มรื่นปลอดภัย เป็นโรงเรียนที่เน้นการพัฒนาพื้นฐานด้านอาชีพ และการเป็นโรงเรียนของชุมชนที่มีความร่วมมือกับท้องถิ่นในการให้บริการโรงเรียนเครือข่ายและชุมชนอย่างเข้มแข็ง

สำหรับการสร้างเครือข่ายความร่วมมือในการดำเนินโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะทำให้การดำเนินโครงการบรรลุตามเป้าหมาย จึงจำเป็นต้องอาศัยเครือข่ายและการมีส่วนร่วมที่เข้มแข็งจากเดิม 7 หน่วยงาน ซึ่งประกอบด้วย กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในวันนี้ได้มีการสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพิ่มขึ้น 3 หน่วยงาน คือ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงวัฒนธรรม และสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ โดยแต่ละหน่วยงานจะมีบทบาทหน้าที่ตามภารกิจและความรับผิดชอบของตนเอง ซึ่งล้วนมีความสำคัญในการขับเคลื่อนโครงการให้เกิดความเข้มแข็งและบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์“เนื่องจากโรงเรียนเป็นองค์กรทางการศึกษาที่สำคัญที่สุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน แนวคิดในการพัฒนาคุณภาพโรงเรียนจึงมีความสำคัญสูงสุดในการปฏิบัติงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นชนบท โรงเรียนที่ได้รับ

การคัดเลือกให้เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลจึงเปรียบเสมือนการได้รับโอกาสการยกย่องเชิดชูเกียรติยศและความรุ่งโรจน์ ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาให้เป็นหนึ่งในระดับตำบลมีความเข้มแข็งและมีความพร้อมในการให้บริการทางการศึกษาตามนโยบาย 1 ตําบล 1 โรงเรียนคุณภาพ

โดยจะได้รับการส่งเสริมความร่วมมือและสร้างการมีส่วนร่วมในกระบวนการบริหารการจัดการสถานศึกษาของภาคีเครือข่าย ที่เปรียบเสมือนดาว 5 ดวงซึ่งเป็นตัวแทนของเอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน เพื่อพัฒนานักเรียนให้มีคุณภาพ มีความรู้ความสามารถตรงกับความต้องการและทิศทางในการพัฒนาประเทศ อันจะเป็นการเตรียมความพร้อมในการวางรากฐานของประเทศไทยให้มีความมั่นคงเพื่อก้าวไปสู่การพัฒนาที่ยั่งยืนต่อไป” รมช.ศธ. กล่าว

ภาพ/ข่าว : อัจฉรา ปชส.สพฐ.

จุดไฟคิดกับสิ่งประดิษฐ์เยาวชนไทย

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ได้ดำเนินการโครงการการจัดการเรียนรู้ ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรมทางการศึกษาเพื่อสมรรถนะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 กิจกรรม การพัฒนาศักยภาพความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ เป็นกิจกรรมเพื่อบ่มเพาะสร้างแรงบันดาลใจให้เด็กและเยาวชนสร้างสรรค์แนวคิดใหม่ และมีนวัตกรรมทางความคิดในการสร้างสิ่งประดิษฐ์ มีเวทีและโอกาสในการจัดแสดงและนำเสนอผลงานสิ่งประประดิษฐ์ในระดับชาติ และระดับนานาชาติ โดยกิจกรรมดังกล่าวได้เสร็จสิ้นแล้ว ลำดับต่อไปจะดำเนินการประกวดในรอบสุดท้าย คือ การประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ แนวคิดใหม่ในระดับประเทศ เพื่อคัดเลือกและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์ ไปร่วมประกวดและจัดแสดง ในเวทีระดับนานาชาติ โดยพิจารณาคัดเลือกจากข้อเสนอโครงการผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ที่โรงเรียนจัดส่ง เข้าร่วมประกวด จำนวน 229 ผลงาน ซึ่งคณะกรรมการได้คัดเลือกไว้ 50 ผลงาน และ ให้นักเรียนเจ้าของผลงาน ได้เตรียมการพัฒนาพร้อมจัดทำเป็นผลงานสิ่งประดิษฐ์ให้เสร็จสมบูรณ์ และ เปิดโอกาสให้นักเรียนที่ได้รับการตัดสินชนะเลิศทุกช่วงชั้นในงานมหกรรมความสามารถทางศิลปหัตถกรรม วิชาการ และเทคโนโลยี ของนักเรียน ครั้งที่ 68 ประจำปี 2561 ระดับชาติ จากเวทีการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ ประเภทสิ่งประดิษฐ์ 3 ผลงาน และการประกวดผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ 3 ผลงาน รวม 56 ผลงาน โดยในงานครั้งนี้ มีโรงเรียนตอบรับเข้าร่วมนำเสนอผลงาน จำนวน 47 ผลงาน  เพื่อให้คณะกรรมการคัดเลือกเป็นตัวแทนประเทศไปประกวดในเวทีระดับนานาชาติต่อไป

 

 

ผลงานที่ได้รับการคัดเลือกไปให้นำเสนอในงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในระดับนานาชาติ

“วัสดุดูดความชื้นจากไส้ต้นมันสำปะหลัง” จากโรงเรียนสตรีพัทลุง สพม.เขต 12 จังหวัดพัทลุง  “นวัตกรรมลูกบอลดินเผาอุ้มน้ำ Baked clay ball” สามัคคีวิทยาคม สพม.เขต 36 จังหวัดเชียงราย   “ฟองน้ำชีวภาพจากเกล็ดปลากะพงขาวในการดูดซับของเสียและโลหะมีพิษ” “วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย นครศรีธรรมราช สพม.เขต 12 จัหวัดนครศรีธรรมราช  “ผลิตภัณฑ์ข้าวตอกบรรจุสารสกัดยีสต์โปรตีน ไฮโดรไลเซทและสารสกัดจากสะเดาและ ใบแมงลักคาเพื่อล่อและกำจัดแมลงวันทอง ในสวนผลไม้” โรงเรียนปิยะมหาราชาลัย สพม.เขต 22 จังหวัดนครพนม “สื่อการเรียนรู้อักษรเบรลล์ภาษาอังกฤษสำหรับผู้พิการทางสายตา” วิทยาศาสตร์จุฬาภรณราชวิทยาลัย พิษณุโลก สพม.เขต 39 จังหวัดพิษณุโลก “ประสิทธิภาพของถ้วยเก็บน้ำผึ้งแบบจำลอง ที่มีผลต่อการเพิ่มปริมาณน้ำผึ้งชันโรงในธรรมชาติ” โรงเรียนวัดทรงธรรม สพม.เขต 6 จังหวัดสมุทรปราการ  “ศึกษาการผลิตอุปกรณ์ปลูกพืชสวนจาก ใบก้ามปูผสมกากกาแฟเพื่อแก้ปัญหา ดินร่วนป่นทราย” โรงเรียนดอนจานวิทยาคม สพม.เขต 24 จังหวัดกาฬสินธุ์  “ไฟฉายอเนกประสงค์” อนุบาลเวียงแก่น สพป.เชียงราย เขต 4 จังหวัดเชียงราย “แผ่นล่อแมลงจากข้าวตอกรูพรุน – โฟมยางพาราคอมพาวด์”  และ “กรีนฟิล์มเพคตินจากเปลือกทุเรียน” โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา สพม.เขต 11 จังหวัดสุราษฎร์ธานี

การดำเนินการประกวดและตัดสินผลงานสิ่งประดิษฐ์แนวคิดใหม่ ในครั้งนี้ ส่งผลให้นักเรียนได้แสดงศักยภาพการนำเสนอผลงานสิ่งประดิษฐ์จากความคิดสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ของตนเองได้อย่างเต็มภาคภูมิใจ  ครู นักเรียน ผู้เกี่ยวข้อง ได้รับความรู้ และนำความรู้ และประสบการณ์ที่ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกันไปสร้างแรงบันดาลใจ สร้างสรรค์นวัตกรรมทางความคิดผลงานสิ่งประดิษฐ์แปลกใหม่และได้ผลงานสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ คุณค่า ความคิดสร้างสรรค์ผลงานแปลกใหม่ เป็นตัวแทนประเทศไปประกวดและจัดแสดงผลงานสิ่งประดิษฐ์ทางวิทยาศาสตร์ในเวทีระดับนานาชาติต่อไป

 

รายละเอียดโครงการเพิ่มเติม ดูไได้จาก เว็บไซต์ http://younginventors.inno.obec.go.th/?page_id=1322

และ facebook fanpage https://www.facebook.com/obecyounginventor/

บทเรียนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สร้างนักประดิษฐ์ ประกอบภาพยนตร์สั้น

คำชี้แจงวิธีการประเมิน
1. CLICK ดาวโหลด เพื่อแสดงหนังสือ FILE…จากบทเรียนการจัดการเรียนรู้ของครูผู้สร้างนักประดิษฐ์ ประกอบภาพยนตร์สั้น
2 กลับไป CLICK ที่แบบประเมิน
3 แบบประเมินมี 5 ระดับ ตั้งแต่หนังสือนำไปใช้ได้และมีประโยชน์ ระดับ 1 น้อยที่สุด จนถึง ระดับ 5 มากที่สุด คะ
และเขียนแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับหนังสือ คะ

“นวัตกรรมกักเก็บน้ำเลียนแบบสับปะรดสี” โรงเรียนสุราษฎร์พิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11

 

“E-Bug หุ่นยนต์ปลูกพืชอัตโนมัติ” โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1

 

“ชุดอุปกรณ์ตัดไม้หนาม” โรงเรียนเบญจมราชูทิศ ราชบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8

 

“ถุงกระดาษไคโตซานดูดซับไขมันในอาหาร” โรงเรียนวังน้อย (พนมยงค์วิทยา) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 3

 

“Jigsaw Model” โรงเรียนวัดเขาวัง(แสง ช่วงสุวนิช) สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรีเขต 1

 

 

 

 

 

ประชาสัมพันธ์การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. – สพฐ. ยุวชน ชิงแชมป์ประเทศไทย ประจำปี 2562

การแข่งขันหุ่นยนต์ ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทย

กฟผ. ผนึกกำลัง สพฐ. สร้างโรงเรียนอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม

กฟผ. ผนึกกำลัง สพฐ. ปลุกสร้างโรงเรียนอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม 156 โรงเรียนพร้อมเป็นต้นแบบเผยแพร่ขยายผลอย่างต่อเนื่อง

กฟผ. ร่วมกับ สพฐ. ประกาศผลการดำเนินงานของครูและเยาวชนในเครือข่ายอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียว หวังปลูกฝังทัศนคติการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้ขยายผลสู่ชุมชนทั่วประเทศ

วันนี้ (9 กุมภาพันธ์ 2562) นายพัฒนา แสงศรีโรจน์ รองผู้ว่าการยุทธศาสตร์ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และนางสาวสิริมา หมอนไหม ผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบรางวัล EGAT Green Learning Awards 2018 ให้แก่โรงเรียน เยาวชนและครูต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมภายใต้โครงการห้องเรียนสีเขียว ณ หอประชุมเกษม จาติกวณิช สำนักงานใหญ่ กฟผ.อ.บางกรวย จ.นนทบุรี

 

**** ติดตามข่าวสาร กด like กด shared กดติดตาม ความเคลื่อนไหวเกี่ยวกับโรงเรียนมาตรฐานสิ่งแวดล้อมศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนได้ที่ https://www.facebook.com/EESDinThailand

 

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต่อยอดการวิจัยและนวัตกรรมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก

วันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา) ให้เกียรติมาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาต่อยอดการวิจัยและนวัตกรรมการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก ระหว่างวันที่ 4 – 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562 ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพมหานคร โดยมีที่ปรึกษาด้านพัฒนากระบวนการเรียนรู้ (นางสุกัญญา งามบรรจง) พบปะและให้แนวคิดการขับเคลื่อนกิจกรรม “ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active Learning” พร้อมกันนี้มีคณะผู้แทนจากภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก ได้แก่ นายวัฒนชัย วินิจจะกูล (หัวหน้าฝ่ายวิชาการ สำนักงานอุทยานการเรียนรู้ TK Park) นางสาวตติยา สาครพันธ์ (หัวหน้ากองศูนย์การเรียนรู้ กฟผ.) นางวรรณา อิศรางกูร ณ อยุธยา (ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดนิทรรศการแบบ Active Learning) เข้าร่วมประชุมแลกเปลี่ยนแนวทางการขับเคลื่อนนโยบายอย่างมีส่วนร่วม ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู ผู้แทนภาคีเครือข่าย และผู้ที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต่อยอดการวิจัยนวัตกรรมและการมีส่วนร่วม พัฒนาสื่อนวัตกรรม และสร้างช่องทางการนำเสนอนิทรรศนวัตกรรม Active Learning อย่างสร้างสรรค์และยั่งยืน

ติดตามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ :

“สพฐ. เดินหน้าโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล เชิญ ผอ.สพป. ร่วมระดมความคิด”

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

พลเอกสุรเชษฐ์ ชัยวงศ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ(รมช.ศธ.)
เป็นประธานเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

          สืบเนื่องจากพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ระหว่าง กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงพลังงาน และสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เพื่อขับเคลื่อนการพัฒนาโรงเรียนในท้องถิ่นระดับตำบลให้เป็นโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ภายใต้แนวคิด “1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ” ให้มีความเข้มแข็งทางวิชาการและมีความพร้อมในการพัฒนาด้านคุณธรรม จริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย สามารถให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน อีกทั้งยังเป็นการเพิ่มโอกาสการเข้าถึงการศึกษาที่มีคุณภาพ ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคม สำหรับนักเรียนในท้องถิ่นชนบท และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของเอกชน บ้าน วัด รัฐ โรงเรียน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพ

ในปีงบประมาณ 2562 กระทรวงศึกษาธิการ ได้ดำเนินการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล โดยคัดเลือกโรงเรียนระดับประถมศึกษาที่มีคุณสมบัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด คือ เป็นโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาที่มีความพร้อมเข้าร่วมการพัฒนา ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นศูนย์กลางของชุมชน การคมนาคม และการสื่อสารสะดวก มีพื้นที่เพียงพอต่อการจัดการเรียนรู้และกิจกรรมต่างๆ สามารถรองรับการเพิ่มจำนวนนักเรียนได้ในอนาคต รวมถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและชุมชน ยินดีให้ความร่วมมือและสนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษาและการบริหารจัดการโรงเรียนอย่างต่อเนื่อง และผ่านการพิจารณาคัดเลือก กลั่นกรอง ให้ความเห็นชอบ ผ่านกระบวนการประชาคม 3 ระดับ คือ ระดับตำบล ระดับอำเภอ และระดับจังหวัด ตามลำดับ โดยตั้งเป้าหมายในการพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล จำนวน 7,255 โรงเรียน นอกจากนั้น ยังมีแผนที่จะขยายผลไปยังโรงเรียนคุณภาพระดับมัธยมศึกษาประจำอำเภอทุกอำเภอ และโรงเรียนพื้นที่พิเศษ (STAND ALONE) ตามลำดับ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการพัฒนาการศึกษาไทยในเชิงระบบอย่างแท้จริง

             เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลบรรลุผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ จึงมีความจำเป็นต้องระดมความคิดเห็น เพื่อจัดทำแนวทางการขับเคลื่อนโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ให้ครอบคลุมตามความต้องการของโรงเรียนในแต่ละพื้นที่ และมีการดำเนินงานโครงการไปในทิศทางเดียวกัน จึงได้มีการจัดประชุมในครั้งนี้เพื่อกำหนดแนวทางในการเตรียมการขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ก่อนเปิดภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2562 ในวันอาทิตย์ที่ 27 มกราคม 2562 เวลา 13.00 – 16.30 น. ณ โรงแรมเอวาน่า บางนา กรุงเทพมหานคร

 

เว็บไซต์โครงการ :  http://www.1tambon1school.go.th/

Line โครงการ : 1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ

ติดต่อสอบถาม สแกน QR CODE