ข่าวประชาสัมพันธ์
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก
วันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในครั้งนี้คณะครู และนักเรียนจากโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากโรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อย โรงเรียนบ้านพะเดะ โรงโรงเรียนบ้านแม่ตาว โรงเรียนบ้านสันป่าไร่ และโรงเรียนบ้านแม่กุเหนือ และบุคคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒ เข้าร่วมรับเสด็จในครั้งนี้ด้วย
พิธีรับมอบหนังสือสำหรับห้องสมุดโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ณ ธนาคารกรุงเทพฯ สำนักงานใหญ่
การประชุมปฏิบัติการจัดทำเกณฑ์การประกวดวิจัยดี มีนวัตกรรม และเกณฑ์การพิจารณาโครงการการนำผลการวิจัยไปใช้ประโยชน์ และการพัฒนาต่อยอดงานวิจัย
การแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานถอดบทเรียนโรงเรียนต้นแบบ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active Learning
ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้ ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และนางสาวฉัตรญาดา สืบสาย นักวิชาการศึกษาปฏิบัติการ เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานถอดบทเรียนโรงเรียนต้นแบบ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active Learning ระหว่างวันที่ 12-16 ธันวาคม พ.ศ.2562 ณ โรงแรมบียอนด์ สวีท กรุงเทพมหานคร โดยมีโรงเรียนที่ได้รับการคัดเลือกเป็นวัตถุประสงค์เพื่อถอดบทเรียนโรงเรียนต้นแบบ ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ : Active Learning ระดับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 20 โรงเรียน โดยแบ่งเป็น 3 ระดับ ดังนี้ (1) ระดับประถมศึกษา จำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนบ้านกลูบี สพป.นราธิวาศ เขต 2 โรงเรียนวัดดอนโพธิ์ทอง สพป.สุพรรณบุรี เขต 1 โรงเรียนบ้านแม่สวรรค์น้อย สพป.แม่ฮ่องสอน เขต 2 โรงเรียนบ้านนาพง สพป.สุโขทัย เขต 2 โรงเรียนอนุบาลเพชรบุรี สพป.เพชรบุรี เขต 1 โรงเรียนอนุบาลวังเหนือ สพป.ลำปาง เขต 3 และโรงเรียนวัดทุ่งสว่าง สพป.นครราชสีมา เขต 1 (2) ระดับขยายโอกาสทางการศึกษา จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดลาดสนุ่น สพป.ปทุมธานี เขต 2 โรงเรียนบ้านโคกนาโก สพป.ยโสธร เขต 2 โรงเรียนบ้านโนนเมือง สพป.หนองบัวลำภู เขต 2 โรงเรียนบ้านม่วงเตี้ย สพป.ปัตตานี เขต 2 โรงเรียนบ้านละลม สพป.ศรีสะเกษ เขต 3 และโรงเรียนบ้านเพียแก้ว สพป.บุรีรัมย์ เขต 4 (3) ระดับมัธยมศึกษา จำนวน 7 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนสุราษฎร์ธานี 2 สพม.เขต 11 โรงเรียนเบญจมานุสรณ์ สพม.เขต 17 โรงเรียนรัตนบุรี สพม.เขต 33 โรงเรียนพิริยาลัยจังหวัดแพร่ สพม.เขต 37 โรงเรียนห้วยกรดวิทยา สพม.เขต 5 โรงเรียนนาโพธิ์พิทยาสรรพ์ สพม.เขต 26 และโรงเรียนหนองโสนพิทยาคม สพม.เขต 41 ซึ่งการคัดเลือกโรงเรียนต้นแบบลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้: Active Learning เป็นกิจกรรมหนึ่งในการขับเคลื่อนนโยบายลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ดังที่ นายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้กล่าวในรายการศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน เมื่อวันศุกร์ที่ 2 ธันวาคม พ.ศ.2559 เกี่ยวกับนโยบาย ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เพื่อให้ทุกคนเข้าใจความหมายที่แท้จริงว่า “…การลดเวลาที่นักเรียนเรียนแบบ Passive คือ เป็นผู้รับอย่างเดียวลง แล้วเพิ่มเวลาที่นักเรียน เรียนรู้แบบ Active ให้มากขึ้น คือ เป็นผู้ปฏิบัติเอง เรียนรู้เอง ให้มากยิ่งขึ้นซึ่งเกิดขึ้นได้ ทั้งในห้องเรียน และนอกห้องเรียน…” เพื่อเป็นแบบอย่างในการดำเนินงานให้กับโรงเรียนทั่วไปต่อไป
การประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและแนวทางการดำเนินงาน ของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคุณธรรม(องค์กรคุณธรรม)ต้นแบบ
วันที่ 15 ธันวาคม 2562 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ชี้แจงที่มาและวัตถุประสงค์ของโครงการฯ ในการประชุมเชิงปฏิบัติการจัดทำแผนและแนวทางการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาคุณธรรม(องค์กรคุณธรรม)ต้นแบบ ณ โรงแรม เวสต์เกต เรสซิเดนท์ จ.นนทบุรี เพื่อให้การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เกิดความต่อเนื่อง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ มีความเข้าใจในการดำเนินงานที่ตรงกัน โดยมีเขตพื้นที่การศึกษาคุณธรรม (องค์กรคุณธรรม)ต้นแบบ เข้าร่วมประชุมฯ จำนวน 25 เขต
บุคลากรกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส. สนก.) ลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูลและถอดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย)
วันที่ 10 – 12 ธันวาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผอ.สนก.) มอบหมายให้บุคลากรกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส. สนก.) ลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูลและถอดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก (การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย) ในงาน “เปิดบ้านศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ครั้งที่ 2” ณ ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยกิจกรรมภายในงานประกอบด้วย 1. บูธโครงงานนวัตกรรม STEM และนิทรรศการพลังคิดดี ได้แก่ จุดที่ 1 นิทรรศการนวัตกรรมพลังงาน และส่วนจัดแสดงจุดที่ 2 นิทรรศการพลังคิดดี 2. การแข่งขันรถแข่งพลังงานแสงอาทิตย์ (STEM : Solar Fast Racing Thapsakae) แบ่งเป็นประเภททางเรียบ และทางวิบาก ระดับชั้นประถมศึกษา และมัธยมศึกษา 3. การแข่งขันกองเชียร์พลังคิดดี ระดับชั้นประถมศึกษาและมัธยมศึกษา โดยกิจกรรมดังกล่าว เป็นการส่งเสริมให้เยาวชนเกิดการเรียนรู้ด้านนวัตกรรมพลังงานแสงอาทิตย์ เกิดกระบวนการคิด แก้ปัญหาและพัฒนานวัตกรรมผ่านกิจกรรมการเรียนรู้นอกห้องเรียนผ่านกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning สามารถบูรณาการความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรมและคณิตศาสตร์สู่การนำไปประยุกต์สร้างนวัตกรรม และใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างเหมาะสมตามแนวทางการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 นอกจากนี้ ยังมีเยาวชนจากโครงการมัคคุเทศก์น้อย “ต้นกล้า พลังคิดดี” ได้พาเยี่ยมชมศูนย์การเรียนรู้ฯ และให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องของพลังงานไฟฟ้าและพลังงานหมุนเวียน รวมถึงประวัติความเป็นมาของชุมชนทับสะแก ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ที่ให้เยาวชนได้ลงมือปฏิบัติจริง ได้รับประสบการณ์ตรง มีทักษะการสื่อสารที่ดี และสามารถต่อยอดไปสู่การประกอบอาชีพในอนาคตได้
การประชุมผ่านระบบทางไกล ชี้แจงการจัดตั้งงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (Video Conference)
วันที่ 12 ธันวาคม 2562 นายอำนาจ วิชยานุวัติ เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน มอบนโยบายการจัดตั้งงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2564 งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้าง โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (Video Conference) เวลา 09.00 – 11.00 น. ณ ห้องประชุม DOC อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 9 กระทรวงศึกษาธิการ เพื่อให้สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเตรียมการดำเนินการจัดตั้งงบประมาณ ปีงบประมาณ พ.ศ.2564 งบลงทุน ค่าครุภัณฑ์ ที่ดินและสิ่งก่อสร้างให้กับโรงเรียนในสังกัดที่เข้าร่วมโครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล ที่มีความจำเป็นและขาดแคลนในด้านครุภัณฑ์และด้านอาคารสิ่งก่อสร้างฯ
ดร.สมพร สามทองกล่ำ เป็นผู้แทน สพฐ. ร่วมพิธีเปิดโครงการ “เปิดบ้าน ศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ครั้งที่ 2”
วันที่ 11 ธันวาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผอ.สนก.) มอบหมายให้ ดร.สมพร สามทองกล่ำ (ผอ. กลุ่ม วนส. สนก.) เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมพิธีเปิดโครงการ “เปิดบ้านศูนย์การเรียนรู้ กฟผ. ทับสะแก ครั้งที่ 2” ณ ตำบลนาหูกวาง อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และขึ้นกล่าวในฐานะผู้แทนภาคการศึกษา เยี่ยมชมนิทรรศการ ให้กำลังใจ พบปะภาคีเครือข่าย ผู้แทนเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และนักเรียนในโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ สังกัดเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาประจวบคีรีขันธ์ เขต 1 และสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง โดยมี นายปรีดา สุขใจ นายอำเภอทับสะแก กล่าวต้อนรับ และ นายนรินทร์ ทรงนิพิฐกุล ปลัดจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เป็นประธานในพิธีเปิด พร้อมทั้งได้ให้เกียรติเป็นผู้แทน สพฐ. มอบของที่ระลึกให้แก่มัคคุเทศก์น้อย
ในงานดังกล่าวมีการมอบรางวัลแก่โรงเรียนที่เข้าร่วมการแข่งขันรถแข่งพลังงานแสงอาทิตย์ และกองเชียร์พลังคิดดี ดังนี้
1. ผลการแข่งขันรถแข่งพลังงานแสงอาทิตย์ ทับสะแก
1.1 ประเภท ทางเรียบ ระดับประถม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนไตรกิตทัตตานนท์
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ B ได้แก่ โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี B
1.2 ประเภท ทางเรียบ ระดับมัธยม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนทับสะแกวิทยา
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนห้วยยางวิทยา
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ B ได้แก่ โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี B
1.3 ประเภท ทางวิบาก ระดับประถม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนอนุบาลประจวบคีรีขันธ์
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนบ้านวังยาง
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ B ได้แก่ โรงเรียนอรุณวิทยา
1.4 ประเภท ทางวิบาก ระดับมัธยม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนทับสะแกวิทยา
รางวัลรองชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนสมาคมเลขานุการสตรี B
รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ B ได้แก่ โรงเรียนบ้านวังน้ำเขียว
2. ผลการแข่งขันกองเชียร์พลังคิดดี
2.1 ระดับประถม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนบ้านวังยาว
2.2 ระดับมัธยม รางวัลชนะเลิศ ได้แก่ โรงเรียนบ้านคั่นกะได
ศึกษาเรียนรู้การดำเนินงานจัดทำวารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม
การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเชื่อมโยงองค์ความรู้และความร่วมมือ สู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านความหลากหลายทางชีวภาพของประเทศไทย หลังปี ค.ศ. 2020
การลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ณ จังหวัดเลย
วันที่ 5 – 7 ธันวาคม 2562 ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี (ผอ.สนก.) มอบหมายให้บุคลากรกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส. สนก.) ร่วมกับสำนักงานกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) และมูลนิธิลำปลายมาศพัฒนา ภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมโรงเรียนในโครงการสนับสนุนการพัฒนาครูและโรงเรียนเพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง ณ จังหวัดเลย โดยมีเป้าหมายในการส่งเสริม สนับสนุนการเรียนรู้ของผู้เรียนผ่านรูปแบบการเรียนรู้ที่หลากหลายผ่านกิจกรรม Active Learning ให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่สอดคล้องกับการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 รวมถึงบูรณาการกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายในการขับเคลื่อนการศึกษาให้มีประสิทธิภาพอย่างต่อเนื่อง