INNO_Project

การประชุมเตรียมการโครงการนำร่องการศึกษาสีเขียว UNESCO – Huawei

เมื่อวันพฤหัสบดี ที่ 18 เดือนมกราคม 2567 เวลา 10.00 น.
ณ ห้องประชุมสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

ตัวแทน UNESCO – Huawei ได้ประสานงานโครงการฯ กับหน่วยงานหลายหน่วยงาน เช่น อาชีวศึกษา กรมส่งเสริมการเรียนรู้ ฯลฯ เพื่อเสนอโปรเจ็ค Green – Cool และอธิบายรายละเอียดของโปรเจ็คเป็นการบริจาคอุปกรณ์โซล่าเซลล์ให้กับโรงเรียนจำนวน 4 โรงเรียน

ซึ่งอุปกรณ์ที่จะแจกให้กับโรงเรียนมีมูลค่า 500,000 – 1,000,000 บาท โดยขอให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เสนอชื่อโรงเรียนไปยังทางโครงการฯ อีกทั้งทางโครงการจะมีเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบคุณสมบัติของโรงเรียนที่จะรับบริจาคเพื่อดำเนินโครงการต่อไป

ผู้เขียน นายประเวช อุ่มผาง
กลุ่มโครงการพิเศษ (Special Project Unit)
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.
ติดตามข่าวสารเพิ่มเติมได้ที่ : Facebook คพศ สนก

การขับเคลื่อนการจัดการบรรจุภัณฑ์ตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนด้วยหลักการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR)

TIPMSE รวมพลังเครือข่ายประกาศเริ่มปฏิบัติการ EPR ภาคสมัครใจ เก็บกลับบรรจุภัณฑ์สู่วงจรรีไซเคิล

ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน นายภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กระทรวงศึกษาธิการ หนึ่งใน 26 องค์กรที่มาร่วมแสดงเจตจำนงขับเคลื่อน EPR Voluntary เพิ่มเติมในปี 2023 โดยมีบทบาทการทำงานร่วมกันในส่วนของการสื่อสารสร้างความเข้าใจเพื่อสนับสนุนหลักการ EPR ให้กับกลุ่มเยาวชนซึ่งจะเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต โดยเป็นการสร้างความเข้าใจที่ถูกต้องต่อการจัดการบรรจุภัณฑ์ผ่านกิจกรรมหลักสูตรอบรมครูประถม-มัธยม และกิจกรรมโต้สาระวาที ซึ่งเป็น 2 กิจกรรมที่จะช่วยให้เยาวชนเข้าใจและมีส่วนร่วมในการจัดการบรรจุภัณฑ์ต่อไปอนาคตได้

ภายในงานดังกล่าวมีเวทีสัมมนา “EPR in action: ออกแบบบรรจุภัณฑ์ให้ธุรกิจปังอย่างยั่งยืน” โดยกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมมลพิษ และสถาบันการจัดการบรรจุภัณฑ์และรีไซเคิลเพื่อสิ่งแวดล้อม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) หรือ TIPMSE จัดเวทีสัมมนา พร้อมแถลงความร่วมมือระหว่าง 4 องค์กรเครือข่าย ได้แก่ PackBack By TIPMSE, PPP Plastics, PRO Thailand Network และ Aluminum Closed Loop Packaging System ที่มีบทบาทในการเก็บกลับบรรจุภัณฑ์ใช้แล้ว ทั้งแก้ว กระดาษ พลาสติก กล่องนม และกระป๋องอลูมิเนียม เข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลหรือนำกลับมาใช้ใหม่ ด้วยกลไก Extended Producer Responsibility หรือ EPR ซึ่งเป็นกลไกการขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต ครอบคลุมตลอดทั้งชีวิตวงจรผลิตภัณฑ์ ตั้งแต่กระบวนการผลิตไปจนถึงขั้นตอนหลังการบริโภค โดยมีนางชญานันท์ ภักดีจิตต์ รองปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และประธานคณะกรรมการขับเคลื่อน EPR ร่วมเป็นประธานในพิธี ในวันที่ 6 ตุลาคม 2566 ณ ห้องเพลนารีฮอลล์ ชั้น 1 ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์

 

 

พิธีมอบรางวัลในงาน EGAT Green Learning Society

ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร่วมกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินงานโครงการห้องเรียนสีเขียว ในการมุ่งเน้นปลูกฝังองค์ความรู้ ทัศนคติ และอุปนิสัยที่ดีในการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ควบคู่ไปกับการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมให้กับเยาวชนของโรงเรียนในโครงการห้องเรียนสีเขียว ในปี 2566 ได้กำหนดจัดกิจกรรมประกวดสำหรับนักเรียนและโรงเรียน จำนวน 2 กิจกรรม ดังนี้

  1. กิจกรรมโรงเรียนสีเขียวเบอร์ 5 เพื่อยกระดับโรงเรียนสู่การเป็นโรงเรียนต้นแบบด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โดยส่งเสริมให้โรงเรียนบูรณาการองค์ความรู้ด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมกับทุกกิจกรรมของโรงเรียน รวมทั้งเป็นการประเมินและติดตามผลโรงเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมสร้างการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน
  2. กิจกรรม EGAT Green Learning Academy ร่วมกับองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) เพื่อส่งเสริมศักยภาพและพัฒนาทักษะการผลิตสื่อของเยาวชนสู่การเป็นนักสื่อสารและเป็นผู้นำที่สามารถถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับความสำคัญของการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมสู่สังคม

และในวันพุธที่ 16 สิงหาคม 2566 นายเสริมฤทธิ์ หวายฤทธิ์ธนกุล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมเป็นประธานมอบรางวัลในงาน EGAT Green Learning Society ซึ่งเป็น การประกาศเกียรติคุณให้แก่โรงเรียนที่ประสบผลสำเร็จในการดำเนินกิจกรรมด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อม ของปี 2565 และปี 2566 ณ งานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ อาคาร Impact Exhibition อิมแพคอารีนา เมืองทองธานี 

        

“คนดี รักษ์โลก”

กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาได้เข้าร่วมงาน “คนดี รักษ์โลก” โดยคณะกรรมาธิการการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับสมาคมคาทอลิกแห่งประเทศไทย และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ในวันอังคารที่ 8 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุม B1-1 ถึง ห้องประชุม B1 – 6 (ฝั่งสภาผู้แทนราษฎร) ชั้น B1 อาคารรัฐสภา โดยเป็นการจัดงานประกาศผลการประกวดคลิป และพิธีมอบรางวัลโครงการนวัตกรรมรักษ์โลก ในงาน “พลังแห่งความรัก” และได้เชิญโรงเรียนสังกัด สพฐ. จำนวน 2 โรงเรียนเข้าร่วมจัดนิทรรศการ “นวัตกรรมรักษ์โลก” ได้แก่ โรงเรียนสุรศักดิ์มนตรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร เขต 2 และโรงเรียนนิคมสร้างตนเองจังหวัดระยอง 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1 ซึ่งเป็นโรงเรียนที่มีการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อมศึกษาที่เป็นเลิศ (Best Practice)

 

     

 

สพฐ. ขอประกาศผลการแข่งขันโครงการส่งเสริมและพัฒนาทักษะการคิดเพื่อสิ่งแวดล้อมด้วยกระบวนการโต้สาระวาที ภายใต้แนวคิด “เศรษฐกิจหมุนเวียน เปลี่ยนชีวิตเปลี่ยนโลก” และขอแจ้งรายละเอียด ดังนี้

ดาวน์โหลดหนังสือราชการ

การอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุ่นที่ 2

ในวันจันทร์ที่ 10 เมษายน 2566 ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีกล่าวเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการส่งเสริมพัฒนาทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการยุคใหม่ ภายใต้โครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ รุ่นที่ 2 ระหว่างวันที่ 10 – 11 เมษายน 2566 ผ่านระบบออนไลน์ ให้กับโรงเรียนศูนย์แกนนำขยายเครือข่ายโครงการนักธุรกิจน้อยมีคุณธรรม นำสู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์ และโรงเรียนในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ที่ได้รับการคัดเลือกเข้ารับการอบรมดังกล่าว จำนวน 100 คน/รุ่น

และได้รับเกียรติจาก ดร.นิติ นาชิต ที่ปรึกษาด้านมาตรฐานอาชีวศึกษาธุรกิจและบริการ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ร่วมกล่าวทักทายผู้เข้าร่วมการอบรม และให้ทราบถึงแนวนโยบายในการพัฒนาทักษะการเป็นผู้ประกอบการแก่ผู้เรียน และสร้างผู้เรียนสู่ผู้ประกอบการ ภายใต้การบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้ศูนย์ CEC ในระดับพื้นที่ นั้น

ทั้งนี้ การอบรมเชิงปฏิบัติการดังกล่าว ได้รับเกียรติวิทยากรจากสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา และสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ (NIA) เพื่อพัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบ่มเพาะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีความรู้เกี่ยวกับการเขียนแผนธุรกิจ โดยบูรณาการเข้ากับความรู้ความเข้าใจทางด้าน STEAM เพื่อให้นักเรียนสามารถประยุกต์และสร้างสรรค์ผลงานบนพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีมิติของการประกอบธุรกิจนวัตกรรมอยู่ด้วยอย่างสมบูรณ์ พัฒนาครูให้มีความรู้ ความเข้าใจ สามารถบ่มเพาะนักเรียนระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้มีประสบการณ์ด้านอาชีพ ในเรื่องการดำเนินการด้านธุรกิจในการเป็นผู้ประกอบการที่มีคุณธรรม เหมาะสมกับวัย ต่อยอดการจัดการเรียนรู้งานอาชีพของครู โดยการสร้างแนวคิดใหม่และพัฒนารูปแบบการสอนงานอาชีพในโรงเรียนให้นักเรียนเรียนรู้การเป็นผู้ประกอบการ สามารถสร้างสรรค์ผลงานอย่างสร้างสรรค์ เชิงพาณิชย์ ผลิตเองได้ และขายได้อย่างครบวงจร พัฒนาขีดความสามารถในการสร้างสรรค์ผลงานต่อยอดผลิตภัณฑ์ของครูและนักเรียน โดยความร่วมมือกับเครือข่ายภาครัฐและเอกชน ในการสร้างทรัพย์สินทางปัญญาให้กับประเทศชาติ    

 

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

สพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โสพฐ. เดินหน้าพัฒนาครูทั่วประเทศ เพื่อสร้างเครือข่ายการส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนสู่ระบบการศึกษาที่มีคุณภาพทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21ครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21

เมื่อวันที่ 11 – 12 มีนาคม 2566 ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้เป็นประธานเปิดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 จุดที่ 4 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น การอบรมฯ ครั้งนี้ จัดขึ้นโดยกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ในรูปแบบกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้เชิงบูรณาการระหว่างโครงการย่อย จำนวน ๓ โครงการ ได้แก่
โครงการย่อยที่ 1 โครงการพัฒนานวัตกรรมการยกระดับศักยภาพผู้เรียนสู่สากล (iConnect OBEC Scholarships) เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. และ CATS Global Schools ซึ่งเป็นหน่วยงานทางการศึกษา ที่มีเครือข่ายโรงเรียนชั้นนำ ตั้งอยู่ในสหราชอาณาจักร สหรัฐอเมริกา และสาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ 2 โครงการความร่วมมือทางการศึกษา “1 + 2 + 1” เป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง สพฐ. มหาวิทยาลัยสวนดุสิต และมหาวิทยาลัยกวางสี สาธารณรัฐประชาชนจีน
โครงการย่อยที่ ๓ โครงการพัฒนาเครือข่ายองค์กรแห่งการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์สู่การต่อยอดระดับสากล (STEAMs Co-Creation Projects) ซึ่งเป็นโครงการภายใต้ความร่วมมือระหว่างสพฐ. กับ คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

โดยจัดการอบรมฯ ใน 4 ภูมิภาค มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาครูผู้สอนรายวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาจีน และวิทยาศาสตร์ ที่ได้รับการคัดเลือกจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาทั่วประเทศ จำนวน 656 คน ให้ได้รับการพัฒนาองค์ความรู้ เติมเต็มกระบวนการคิด และฝึกฝนทักษะด้านการสอนในรายวิชาของตนเอง เพื่อนำไปสู่การยกระดับการจัดการเรียนรู้ ที่ช่วยส่งเสริมและต่อยอดนักเรียนที่มีศักยภาพสู่การศึกษาในระดับที่สูงขึ้นต่อไป
ดร.อนันต์ พันนึก ผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้กล่าวในพิธีเปิดว่า “สพฐ. ในฐานะองค์กรหลักที่มีหน้าที่จัดการศึกษาให้เยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้กำหนดนโยบายการพัฒนานักเรียนในสังกัดที่มีความเป็นเลิศทางภาษา และมีสมรรถนะที่เป็นเลิศ ให้มีโอกาสในการเรียนรู้ผ่านการจัดการเรียนการสอนที่หลากหลายและมีคุณภาพ รวมถึงการศึกษาต่อในสถาบันการศึกษาที่มีความเชี่ยวชาญทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะผู้ที่ได้รับมอบหมายจากท่านเลขาฯ กพฐ. จึงมีความยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้เห็นการเปลี่ยนแปลง และจุดเริ่มต้นของโครงการความร่วมมือระหว่างหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ ทั้งภาครัฐ และเอกชน ที่จะช่วยพัฒนาเยาวชนไทยให้มีความพร้อม มีทักษะวิชาการ ทักษะอาชีพ ทักษะชีวิต และมีศักยภาพเพียงพอที่จะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศให้เจริญก้าวหน้าได้อย่างแท้จริง”

ทั้งนี้ ในปีที่ผ่านมาได้มีนักเรียนในสังกัด สพฐ. และสังกัดอื่น ๆ ได้รับการพัฒนาและต่อยอดสู่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ทั้งในและต่างประเทศ ภายใต้โครงการพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้สู่การต่อยอดเยาวชนไทยในศตวรรษที่ 21 เป็นจำนวนมาก โดยในปี พ.ศ. 2566 จะเปิดรับสมัครนักเรียนรุ่นต่อไปเข้าร่วมโครงการตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นไป โดยสามารถติดตามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://inno.obec.go.th/

การประชุมโครงการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดีระหว่างวันที่ 15 – 18 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรม แกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ กรุงเทพมหานคร

วันที่ 15 ธันวาคม 2565 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา โดยกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร (วนบ.) นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ดำเนินการจัดอบรมเชิงปฏิบัติการจัดทำหลักสูตรพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระหว่างวันที่ 15 – 18 ธันวาคม 2565 ณ โรงแรม แกรนด์ ทาวเวอร์ อินน์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อจัดทำหลักสูตร เรียบเรียงสาระสำคัญของการอบรมให้มีองค์ความรู้เชิงลึกมากยิ่งขึ้น และเพิ่มเติมกระบวนการออกแบบกิจกรรมให้เหมาะสมกับบริบท ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับสถานศึกษา ตลอดจนใช้เป็นคู่มือสำหรับการขยายผลการอบรมวิทยากรแกนนำในรุ่นต่อไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยภายหลังเสร็จสิ้นการอบรม วิทยากรแกนนำจะนำหลักสูตรที่ได้รับ ไปขับเคลื่อนให้กับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาในสังกัดเพื่อต่อยอดกิจกรรมและเป็นต้นแบบการพัฒนาวิทยากรแกนนำรุ่นต่อไป การอบรมครังนี้ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการและพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษ มีผู้เข้าร่วมการอบรม ประกอบด้วย ผู้บริหารจากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และบุคลากรที่เกี่ยวข้อง จำนวน 60 คน

การประชุมเชิงปฎิบัติการ”สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฎิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565″ ระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2565 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก

ช่วงระหว่างวันที่ 22-24 กันยายน 2565 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (วนบ.) และ กลุ่มโครงการพิเศษ (คพศ.) นำทีมโดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ “สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565 ณ โรงแรมจันทรา รีสอร์ท จังหวัดนครนายก” ซึ่งมีคณะทำงานเข้าร่วมทั้งหมด 60 คน ได้แก่ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการการเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้อำนวยการและรองผู้อำนวยการโรงเรียน  คณะอาจารย์และผู้ทรงคุณวุฒิจากมหาวิทยาลัย นักวิชาการศึกษา และข้าราชการบำนาญ โดยการประชุมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. เข้าร่วมสังเกตุและให้คำปรึกษาในการประชุมครั้งนี้

วัตถุประสงค์การประชุมครั้งนี้ เกิดขึ้นเพื่อทบทวนและสรุปผลการดำเนินงานที่ผ่านมาตลอดปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ภาพความสำเร็จ ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินงาน ซึ่งประกอบด้วย 4 เรื่อง ดังนี้
1) สรุปผลการดำเนินงานโครงการคอนเน็กซ์อีดี
2) สรุปผลการดำเนินงานโครงการโรงเรียนร่วมพัฒนา
3)
สรุปผลการดำเนินงานโครงการสร้างเสริมศักยภาพ
ในการเป็นพลเมืองอาเซียนและเตรียมสู่การเป็นพลเมืองโลกอย่างยั่งยืนและ
4) สรุปผลการดำเนินงาน
ด้านสิ่งแวดล้อม
พร้อมทั้งจัดทำเล่ม “สรุปผลการดำเนินงานตามแผนปฏิบัติการ ประจำปีงบประมาณ
พ.ศ. 2565 ต่อไป

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 รุ่นที่ 1 (ครั้งที่ 2 )

วันที่ 9 กันยายน 2565 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการบริหาร สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. โดย ดร.ธัญนันท์ แก้วเกิด ผู้อำนวยการกลุ่ม ดำเนินการจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาวิทยากรแกนนำตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน ด้านการบริหารการศึกษา ภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี ระยะที่ 1 รุ่นที่ 1 ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมรอแยล เบญจา สุขุมวิท 5 กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 9 – 11 กันยายน 2565 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและศึกษานิเทศก์ เข้ารับการพัฒนาองค์ความรู้ตามเป้าหมายโลกสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ต่อยอดจากการอบรมในครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 27-29 สิงหาคม 2565 เพื่อให้สามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอด ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมด้านการบริหารในระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เพื่อเป็นต้นแบบในการขยายผล ไปสู่สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอื่นได้
โดยการอบรมครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.เบญจลักษณ์ น้ำฟ้า ผู้เชี่ยวชาญพิเศษด้านวิชาการ และพัฒนากระบวนการเรียนรู้ สพฐ. เป็นประธานเปิดการอบรมและบรรยายพิเศษแก่ผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 80 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการศึกษา ครูผู้สอนและผู้เกี่ยวข้อง

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ (อพ.สธ. – สพฐ.)

โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) เป็นโครงการที่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้ากรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีทรงสืบสานพระราชปณิธานในการอนุรักษ์ทรัพยากรของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงเห็นความสำคัญของการอนุรักษ์พันธุกรรมพืช ทรงอนุรักษ์ต้นยางนา ตั้งแต่ปี 2503 ทรงดำเนินโครงการอนุรักษ์และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและความหลากหลายทางชีวภาพ ต่อมาในปี พ.ศ. 2535 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระราชดำริให้ดำเนินการนุรักษ์พืชพรรณของประเทศและดำเนินการเป็นธนาคารพืชพรรณ โดยได้ดำเนินการโครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริฯ และจัดสร้างธนาคารพืชพรรณขึ้นในโครงการส่วนพระองค์สวนจิตรลดาตั้งแต่ พ.ศ. 2536 เป็นต้นมา รวมทั้งศึกษาด้านชีวโมเลกุลและจากสถานการณ์ของดวามหลากหลายทางชีวภาพที่ทั่วโลกตระหนักถึงการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์อย่างยั่งยืน

 

อกจากนั้นไทยยังต้องเตรียมพร้อมและมีมาตรการเพื่ออนุรักษ์และใช้ประโยชน์ความหลากหลายทางชีวภาพอย่างยั่งยืน มิฉะนั้นอาจสูญเสียทรัพยากรของประเทศ เนื่องจากต่างชาติได้นำไปศึกษาวิจัยและพัฒนาแล้วนำไปจดสิทธิบัตรเป็นพืชพันธุ์ใหม่ทำให้ประเทศไทยไม่ได้เป็นเจ้าของสิทธิ์ในทรัพยากรนั้น ๆ จึงเป็นอันตรายอย่างยิ่งที่จะสูญเสียความรู้และภูมิปัญญาพื้นบ้านให้กับต่างประเทศ