02_วนส.

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal) ระหว่างวันที่ 19 – 23 กันยายน 2563 ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของโครงการฯ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท รวมถึงพัฒนานวัตกรรมการเสริมสร้างเยาวชนนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับขยายผลในระดับโรงเรียนและชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคีเครือข่าย คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 ณ โรงแรมน้ำทองน่าน จังหวัดน่าน

เมื่อวันที่ 16 และ 17 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตรพัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ ภายใต้โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน (น่าน และเชียงใหม่) โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาครูวิทยากรรักษ์พงไพรในระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบ

 

ทั้งนี้การประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ครูวิทยากรรักษ์พงไพรในครั้งนี้ด้วย

ทางด้านศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบศูนย์ สพป.เชียงใหม่ เขต 1 ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมการประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้ให้แนวคิดในการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่ายไว้ว่า แต่ละหน่วยงานมีความรู้ มีความชำนาญในเรื่องที่แตกต่างกัน การทำงานเป็นเครือข่ายจะทำให้สามารถนำองค์ความรู้มาบูรณาการและต่อยอดได้ ดังนั้นการทำงานเป็นเครือข่ายจึงเป็นเรื่องที่ดี

 

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าน่าน (นาน้อย) บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเชียงใหม่ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาน่าน (บ่อเกลือ) และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.เชียงใหม่ เขต 1 สพป.น่าน เขต 1 (เจ้าภาพ) โดยการสัมมนาดังกล่าวจะมีกิจกรรมหลักเป็นการแบ่งกลุ่มระดมพลังสมองเพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมและขยายผลในโรงเรียน รวมถึงแนวทางการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่าย และกิจกรรมเรียนรู้ 3 รักษ์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์)

จากนั้น ดร.สมพร สามทองกล่ำ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ น่าน ภายในศูนย์ประกอบไปด้วย โรงเลี้ยงไหม อุโมงค์หม่อนผลสด และนิทรรศการผ้าไหมไทย เป็นต้น

สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด และติดตามข่าวสารผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 2 ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก

เมื่อวันที่ 12 และ 13 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 2 (นครนายก สระบุรี จันทบุรี และชลบุรี) ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก นายพิเชษฐ์ นนท์พละ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูวิทยากรค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน กล่าวว่า การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย และการใช้สถานที่จริงเป็นแหล่งเรียนรู้นั้น จะทำให้ครูผู้สอน เกิดความเข้าใจ เข้าถึง และสามารถนำสิ่งแวดล้อมเป็นฐานเพื่อไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่สอนได้

ทางด้านบุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก กล่าวว่า การมีเครือข่ายทำให้สามารถที่จะประสานงานหรือพูดคุยกันได้ เป็นการระดมความคิด ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน เมื่อร่วมกันทำงานย่อมทำให้เกิดการบูรณาการในสิ่งใหม่ๆร่วมกัน

ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.จันทบุรี เขต 1 และ 2 สพป.ชลบุรี เขต 1 และ 3 และ สพป.นครนายก (เจ้าภาพ) รวมทั้งสิ้น 70 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ กิจกรรม “Craft From Nature”  กิจกรรมขยะเปลี่ยนชีวิต “ค่ายกล คนรักษ์โลก” กิจกรรมถอดบทเรียน “เล่าขาน…งานค่าย” สู่แนวปฏิบัติที่ดี และกิจกรรมล่องแก่งเพื่อศึกษาเส้นทางธรรมชาติ รวมถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์) เป็นต้น

 

สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด ผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

วันที่ 9 – 11 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ที่ดำเนินการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตร “พัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่” เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง เป็นไปตามพระราโชบายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ครูวิทยากรจาก สพป.กาญจนบุรี เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 1 และ 2 สพป.พิษณุโลก เขต 2 และสพป.นครสวรรค์ เขต 1 (เจ้าภาพ) รวม 61 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมรับอรุณ (ส่องนกท้องถิ่น) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 จังหวัด กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมเรื่องเล่าจากพงไพรฯ กิจกรรม 6 ฐาน (ฐานป่าไม้ในเมืองไทย ฐานนักสืบสายน้ำ : สำรวจโลกแห่งลำน้ำ ฐานโซ่อาหาร สายใยอาหารและระบบนิเวศ ฐาน Coding ฐานสร้างภาพจากธรรมชาติ ฐานรอยตีนสัตว์) เป็นต้น

เปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ยกระดับการเรียน-การสอนประวัติศาสตร์ไทย มุ่งพัฒนาจิตสำนึกรักชาติ

“ครูกัลยา” เปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ยกระดับการเรียน-การสอนประวัติศาสตร์ไทย มุ่งพัฒนาจิตสำนึกรักชาติ
—–
วันที่ 3 กันยายน 2563 คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (รมช.ศธ.) เปิดโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย ดึงสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาจับมือวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มศว. สร้างและพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนสื่อร่วมสมัย ใช้เพลงแร็พ แหล่ หมอลำ นำสู่บทเรียน ยกระดับการเรียน-การสอนประวัติศาสตร์ไทย โดยมี นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (รองเลขาธิการ กพฐ.) และผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เข้าร่วม ณ พิพิธภัณฑ์การศึกษาไทย อาคารราชวัลลภ กระทรวงศึกษาธิการ
.
คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รมช.ศธ. กล่าวว่า โครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย โดยความร่วมมือกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการและวิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มหาวิทยาลัยศรีนครินทร วิโรฒ เพื่อมุ่งพัฒนาจิตสำนึกของความรักชาติให้เกิดขึ้นแก่นักเรียน ตามนโยบายการอ่าน การเขียน การเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย หนึ่งในนโยบายหลัก ที่ช่วยปฏิรูปการศึกษาไปสู่ผู้เรียนโดยตรง
.
“ประวัติศาสตร์มีหลายมิติ สามารถเรียนรู้ได้อย่างสนุก ไม่ใช่แค่การท่องจำแบบในอดีต..ดิฉันให้ความสำคัญกับเรื่องการเรียนการสอนประวัติศาสตร์มาก เพราะจะทำให้ทั้งครูและผู้เรียน เข้าใจพื้นฐานของตนและได้เรียนรู้ความสำเร็จหรือข้อผิดพลาด เป็นการนำบทเรียนในอดีตมาใช้เป็นแนวทางในการแก้ปัญหาในปัจจุบันตลอดจนก่อให้เกิดความภาคภูมิใจในประวัติความเป็นมาของชาติตน และนำไปสู่การเกิดสำนึกความรักชาติ และมีความภูมิใจในความเป็นชาติไทย” คุณหญิงกัลยา กล่าว
.
กระทรวงศึกษาธิการได้กำหนดยุทธศาสตร์ไว้ในเรื่องของการพัฒนาหลักสูตร กระบวนการจัดการเรียนการสอนวัดและประเมินผล เพื่อการทดสอบวัดผลการเรียนรู้ด้านทักษะความรู้ ความสามารถ และคุณภาพของผู้เรียน ดังนั้นโครงการพัฒนานวัตกรรมสื่อเสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย การอ่าน การเขียน การเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย จะเป็นการยกระดับการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ไทย ให้นักเรียนได้เรียนประวัติศาสตร์ไทยด้วยความสนุก ผ่านรูปแบบสื่อที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชน
.
ทั้งนี้นโยบายการอ่าน การเขียน การเรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย จะเน้นให้ครูช่วยกันปรับเปลี่ยนวิธีการสอน และกระบวนการเรียนการสอนด้วยการมีนวัตกรรมและสื่อการสอนที่ทันสมัยให้นักเรียนเรียนประวัติศาสตร์ไทยด้วยความสนุก ผ่านรูปแบบสื่อที่สามารถเข้าถึงเด็กและเยาวชน ที่สอดคล้องตามบริบทท้องถิ่นของแต่ละแห่ง เช่น เพลงแร็พ แหล่ หมอลำ รวมทั้งการจัดทำคลิปวีดีโอนำเข้าสู่บทเรียนที่มีศิลปินนักแสดงที่เป็นที่ชื่นชอบของเด็กและเยาวชน
.
ด้าน นายกวินทร์เกียรติ นนธ์พละ รองเลขาธิการ กพฐ. กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ในฐานะหน่วยงานหลักซึ่งทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัย และพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้เล็งเห็นความสำคัญและความจำเป็นในการพัฒนานวัตกรรมและประเมินคุณภาพผู้เรียน การสอนประวัติศาสตร์แบบสื่อออนไลน์เพื่อตอบสนอง สอดคล้องกับประเทศไทย 4.0 และโลกในศตวรรษที่ 21 และส่งเสริมเยาวชนให้เป็นพลเมืองที่มีความรับผิดชอบ มีความเป็นไทย รักชาติ ศาสนา และเทิดทูนสถาบันพระมหากษัตริย์ รวมถึงเป็นพลเมืองที่ดีในระบอบประชาธิปไตย มุ่งหวังให้ครูปรับเปลี่ยนวิธีการสอน ส่งผลทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เพิ่มขึ้นในสาระประวัติศาสตร์ ปลูกฝังให้นักเรียนเรียนรู้ในความรักชาติ ผ่านการเรียนรู้ร่วมสมัยด้วยความสุข สนุก เปิดรับการเรียนรู้ด้วยมิติต่าง ๆ ในอดีตสู่ความร่วมสมัยในปัจจุบันและสอดคล้องกับนโยบาย การเรียนรู้ในทักษะศตวรรษที่ 21
.
สำหรับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.กิตติคุณ รุ่งเรือง รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ กล่าวว่า วิทยาลัยนวัตกรรมสื่อสารสังคม มีความพร้อมทั้งบุคลากร และองค์ความรู้ และเทคโนโลยีที่ทันสมัยในการพัฒนาการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ชาติไทย ผ่านการสื่อสารร่วมสมัย พร้อมสนับสนุนการเรียนรู้โดยใช้สื่อร่วมสมัย เพื่อให้ครูสามารถนำไปพัฒนาต่อยอดในการจัดการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ในยุคปัจจุบัน
.
ทั้งนี้จะมีกิจกรรมประกอบด้วย สร้างและพัฒนานวัตกรรมสื่อการเรียนการสอนสื่อวิดีทัศน์เสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ จัดทำคู่มือการใช้สื่อวิดีทัศน์เสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทย รวมถึงขับเคลื่อนการใช้สื่อวีดิทัศน์เสริมสร้างการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ชาติไทยตามนโยบายการอ่าน การเขียน เรียนประวัติศาสตร์ผ่านการสื่อสารร่วมสมัยเพื่อใช้ประเมินการคิดวิเคราะห์การอ่าน การเขียนของผู้เรียน ในรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความร่วมสมัย อาทิ Youtube, Facebook, Tiktok, เพลงแร็พ และเผยแพร่ไปยังแพลตฟอร์มต่าง ๆ ภายในกระทรวงศึกษาธิการ เช่น Obec center , OBEC Channel เพื่อให้ครูผู้สอนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนประวัติศาสตร์ได้อีกด้วย
ที่มา : fb ประชาสัมพันธ์ สพฐ.

ชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อยอดขยายผลโครงการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0

 

วันนี้ (2 กันยายน 2563) กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ดำเนินการประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อชี้แจงแนวทางดำเนินการต่อยอดขยายผลโครงการพัฒนาครูด้านเทคโนโลยีดิจิทัล (Digital Technology) เพื่อเตรียมความพร้อมก้าวสู่ประเทศไทย 4.0 ภายใต้โครงการเสริมสร้างศักยภาพผู้เรียนด้านการพัฒนานักคิดสร้างสรรค์ นวัตกรรม เพื่อตอบสนองการเปลี่ยนแปลงในศตวรรษที่ 21 (Creating Innovators) รวมทั้งร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้การทำโครงงานขยายผลของโครงการฯ ดังกล่าว เช่น โครงงานวิทยาศาสตร์ โครงงานนวัตกรรมที่เน้นวิศวกรรม โครงงานวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (ดิน น้ำ อากาศ/ลม) และ
การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในโรงเรียนด้วยบอร์ด KidBright ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ครูผู้สอนในระดับมัธยมศึกษา ที่เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ เรื่อง “การสร้างนวัตกรรมเพื่อการเรียนการสอนวิทยาการคำนวณด้วย KidBright – IoT และการใช้ Fabrication Lab” จำนวน 40 คน (20 โรงเรียน)

ชี้แจงและร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งนวัตกรรม (Innovative School)

เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ดำเนินการประชุมทางไกล (Video Conference) เพื่อชี้แจงและร่วมหารือแนวทางการขับเคลื่อนโครงการวิจัยและพัฒนารูปแบบโรงเรียนแห่งนวัตกรรมเพื่อยกระดับคุณภาพการเรียนรู้อย่างสร้างสรรค์ ให้กับโรงเรียนแห่งนวัตกรรม (Innovative School) ต้นแบบ จำนวน 6 โรงเรียน ได้แก่ โรงเรียนวัดกลางบางแก้ว สพป.นครปฐม เขต 2 โรงเรียนวัดปรางแก้ว สพป.สงขลา เขต 2 โรงเรียนบ้านท่าอ่าง สพป.นครราชสีมา เขต 2 โรงเรียนบ้านห้วยไคร้ สพป.เชียงราย เขต 2 โรงเรียนวิเชียรมาตุ 3 สพม.13 และโรงเรียนมัธยมป่ากลาง สพม.37 ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ศึกษานิเทศก์ ผู้บริหารโรงเรียน และครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ ดังกล่าว

การประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563

วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยได้รับเกียรติจาก ดร.ชัยพฤกษ์ เสรีรักษ์  ที่ปรึกษาพิเศษประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นักบริหารระดับสูง) สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และกรรมการบริหารมูลนิธิยุวทูตความดี กระทรวงการต่างประเทศ มาบรรยายพิเศษในหัวข้อ “เส้นทางสร้างยุวทูตความดี สู่วิถีความยั่งยืน” เพื่อเป็นข้อคิด และคำแนะนำ สำหรับผู้เข้าร่วมการประชุมในการบูรณาการองค์ความรู้สู่การขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดีฯ ประจำปี 2563 ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนอย่างยั่งยืน เพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี และต่อยอดสู่การเป็นพลเมืองที่ดีของโลกอย่างมีคุณภาพ ตามแนวทางศาสตร์พระราชา พร้อมกันนี้ ยังได้รับเกียรติจาก ดร.สิริมา หมอนไหม อดีตรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา มาเป็นประธานในพิธีปิดการประชุมดังกล่าวด้วย

 

 

 

 

 

การประชุมเชิงปฎิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563

วันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้ดำเนินการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดี ยุวอาสา สู่วิถี “ความดี” อย่างยั่งยืน ประจำปี 2563 ระหว่างวันที่ 12 – 14 กุมภาพันธ์ 2563 ณ โรงแรมริเวอร์ไซด์ กรุงเทพมหานคร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ร่วมกันกำหนดแนวทางการขับเคลื่อนโครงการยุวทูตความดีฯ ประจำปี 2563 ให้เกิดผลสัมฤทธิ์ต่อผู้เรียนอย่างยั่งยืน 2) แลกเปลี่ยนเรียนรู้การพัฒนาการเรียนการสอนแบบบูรณาการเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เป็นคนดี และต่อยอดสู่การเป็นพลเมืองที่ดีของโลกอย่างมีคุณภาพ ตามแนวทางศาสตร์พระราชา ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุมประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้รับผิดชอบโครงการฯ ที่ได้เข้าร่วมรับเสด็จฯ พร้อมทั้งนำเสนอภาพความสำเร็จการดำเนินโครงการยุวทูตความดีฯ ในงานครบรอบ 20 ปี และมีผลการพัฒนาต่อยอดโครงการยุวทูตความดีฯ มาอย่างต่อเนื่อง คณะทำงาน และผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งสิ้น 75 คน โดยได้รับเกียรติจาก ท่านพจมาน พงษ์ไพบูลย์ ผู้ทรงคุณวุฒิ อดีตปรึกษาด้านการศึกษาพิเศษและผู้ด้อยโอกาส สพฐ. มาเป็นประธานในพิธีเปิดและบรรยายพิเศษ ในการประชุมดังกล่าว ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้มีการรับฟังการบรรยายจาก นายเกษมนิติ์ ทองสัมฤทธิ์ (ผู้ทรงคุณวุฒิ) ร่วมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และร่วมกันถอดรหัสความดีเพื่อเป็นแนวทางต่อยอดสู่วิถีอย่างยั่งยืน ประจำปี 2563

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานและร่วมงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2562

วันที่ 26 ธันวาคม 2562 เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบให้ผู้แทน คือ ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดงานและร่วมงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2562 ณ ศูนย์พัฒนาการจัดการสัตว์ป่า บึงฉวาก เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงฉวาก อ.เดิมบางนางบวช จ.สุพรรณบุรี โดยมีนายวราวุธ  ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เป็นประธานเปิดงานวันคุ้มครองสัตว์ป่าแห่งชาติ ประจำปี 2562 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 26-29 ธันวาคม 2562  ภายใต้แนวคิด “อนุรักษ์สัตว์ป่า รักษาสมดุลโลก”

ครูและนักเรียนผู้สนทั่วไป สามารถดาวน์โหลดสื่อโปสเตอร์สัตว์ป่าคุ้มครอง สัตว์ป่าสงวนได้ที่

http://www.dnp.go.th/wildlife_it/n_web/lacegant/pages/poster.php

การลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูลและถอดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก (มูลนิธิเสถียรธรรมสถาน)

ดร.อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้มอบหมายให้ ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ดำเนินการลงพื้นที่ภาคสนามเก็บข้อมูลและถอดกระบวนการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่ายองค์กรและหน่วยงานภายนอก (มูลนิธิเสถียรธรรมสถาน) ระหว่างวันที่ 23 – 24 ธันวาคม 2562 ณ โรงเรียนแก่งกระจานวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 10 จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นโรงเรียนนำร่องในโครงการ “1+1 ไม่เท่ากับ 2” โดยจัดกิจกรรม Walk of wisdom ซึ่งเป็นกิจกรรมการเรียนรู้ผ่านกระบวนการลงมือปฏิบัติจริงแบบ Active Learning ในมิติต่างๆ อย่างต่อเนื่อง นับว่าเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ใช้กระบวนการคิดขั้นสูง การวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการประเมินค่า อีกทั้งเป็นการพัฒนาการเรียนรู้นอกห้องเรียนอย่างมีความสุขผ่านการลงมือปฏิบัติจริง ซึ่งจะส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาศักยภาพผู้เรียนตามความถนัดและความสนใจ สามารถค้นพบศักยภาพของตนเองและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์

 

 

 

สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

วันพุธที่ ๑๘ ธันวาคม พ.ศ.๒๕๖๒ สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ในครั้งนี้คณะครู และนักเรียนจากโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี จากโรงเรียนบ้านแม่ระมาดน้อย โรงเรียนบ้านพะเดะ โรงโรงเรียนบ้านแม่ตาว โรงเรียนบ้านสันป่าไร่ และโรงเรียนบ้านแม่กุเหนือ และบุคคลากรในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตาก เขต ๒ เข้าร่วมรับเสด็จในครั้งนี้ด้วย