01_บท.

การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน กลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์

ในวันที่ 18 พฤศจิกายน นายอำนาจ วิชยานุวัติ เป็นประธานในการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้บริหารสถานศึกษาเพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน ณ ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 1 อาคาร สพฐ. 5 ชั้น 2 โดยมีผู้บริหารสถานศึกษากลุ่มโรงเรียนวิทยาศาสตร์จุฬาภรณ์เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้จำนวน 15 ท่าน เพื่อร่วมกันพัฒนา model การศึกษาของโรงเรียน เพื่อยกระดับคุณภาพผู้เรียน

พิธีมอบเกียรติบัตรการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 ให้หน่วยงานในระดับกรม

โครงการโรงเรียนสุจริต สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดพิธีมอบเกียรติบัตรให้กับ สำนัก/กลุ่ม/ศูนย์ ในระดับกรมของสพฐ. ที่ร่วมที่ให้ความร่วมมือและเข้าร่วมการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity and Transparency Assessment : ITA ) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2562 ณ บริเวณพื้นที่ด้านหน้าห้องประชุม สพฐ.1 อาคาร สพฐ.4 ชั้น 2 โดยมีท่านอำนาจ วิชยานุวัติ รองปลัดกระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ รักษาราชการเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ให้เกียรติเป็นประธานมอบเกียรติบัตรในครั้งนี้

สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ร่วมกันจัดกิจกรรม 5 ส.

วันที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้จัดกิจกรรม 5 ส. ภายในสำนักโดยมีนโยบายให้มีการ ดำเนินกิจกรรม 5ส. ได้แก่ สะสาง สะดวก สะอาด สุขลักษณะ และสร้างนิสัยเพื่อเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนประสิทธิภาพการปฏิบัติงานโดยอาศัยความร่วมมือร่วมใจของบุคลากรเป็นพื้นฐานในการ พัฒนาการปฏิบัติงาน เพื่อให้ดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อยและบรรลุวัตถุประสงค์จึงกำหนดนโยบายเป็นแนวปฏิบัติกิจกรรม 5ส.

 

งานแถลงข่าวผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562

โครงการโรงเรียนสุจริต สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้รับเกียรติจากสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) รับเชิญเข้าร่วมงานแถลงข่าวผลการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ (Integrity & Transparency Assessment : ITA) ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 เมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2562 โดยมี ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา พร้อมคณะทำงานโครงการโรงเรียนสุจริต เป็นตัวแทนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมงานในครั้งนี้ ณ ห้องนนทบุรี 1 อาคาร 4 สำนักงาน ป.ป.ช. จังหวัดนนทบุรี

 

ผู้บริหาร สำนักงาน ป.ป.ช.

ท่านมนต์ชัย วสุวัติ ผู้ช่าวเลขาธิการ ป.ป.ช. ร่วมต้อนรับและถ่ายภาพกับท่าน ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.

พิธีเปิดงานแถลงข่าว การประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานของหน่วยงานภาครัฐ ประจำปี 2562

พิธีเปิดงานโดย ท่าน พลตำรวจเอกวัชรพล ประสารรัชกิจ ประธานกรรมการ ป.ป.ช.

ผลคะแนนภาพรวมของการประเมินการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในหน่วยงานภาครัฐ ระดับประเทศ

ผลคะแนนการประเมินคุณธรรมและความโปร่งใสในการดำเนินงานภาครัฐ ของ สพฐ.

โรงเรียนสุจริต

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา (สนก.) ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (สำนักงาน ป.ป.ช.) ดำเนินโครงการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรมและธรรมาภิบาลในสถานศึกษา “ป้องกันการทุจริต” (โครงการโรงเรียนสุจริต) เพื่อร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างนวัตกรรมในการต่อต้านการทุจริต มีกลไกป้องกันการทุจริตและระบบการบริหาร การจัดการตามหลักธรรมาภิบาล ซึ่งเป็นวัตถุประสงค์สำคัญของยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการป้องกันปราบปรามการทุจริต ระยะที่ 3 (พ.ศ.2560 – 2564) ที่ได้กำหนดวิสัยทัศน์ว่า “ประเทศไทยใสสะอาด ไทยทั้งชาติต้านทุจริต (Zero tolerance & Clean Thailand)” มีพันธกิจในการสร้างวัฒนธรรมต่อต้านการทุจริต ยกระดับธรรมาภิบาลในการบริหารจัดการ ทุกภาคส่วนแบบบูรณาการและปฏิรูปกระบวนการป้องกันและปราบปรามการทุจริตทั้งระบบ ให้มีมาตรฐานสากล โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เป็นต้นมา ในการพัฒนาผู้บริหาร ครูและนักเรียน ให้เกิดคุณลักษณะ 5 ประการของโรงเรียนสุจริต ได้แก่ ทักษะกระบวนการคิด มีวินัย ซื่อสัตย์สุจริต อยู่อย่างพอเพียง และจิตสาธารณะ โดยดำเนินการตามแนวทางของปฏิญญาโรงเรียนสุจริตทั้ง 3 ด้าน คือ ด้านการป้องกัน ด้านการปลูกฝัง และด้านการสร้างเครือข่าย

โรงเรียนคุณธรรม

กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายภายใต้กรอบยุทธศาสตร์ชาติว่าด้วยการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมให้แก่เยาวชนไทย โดย สพฐ. ในฐานะองค์กรหลักเกี่ยวกับการจัดการศึกษาให้เยาวชนส่วนใหญ่ของประเทศ ได้จัดทำโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. เพื่อสืบสานพระราชปณิธาน และตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว มหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร รัชกาลที่ 10

โรงเรียนคุณภาพประจำตำบล

โครงการโรงเรียนคุณภาพประจำตำบล (1 ตำบล 1 โรงเรียนคุณภาพ) มุ่งเน้นการพัฒนาโรงเรียนให้มีคุณภาพ และได้มาตรฐานตามบริบทของตนเอง เพื่อสร้างโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ได้รับการพัฒนาอย่างเต็มที่ เกิดความเท่าเทียมและครอบคลุมทั่วประเทศ เป็นการลดความเหลื่อมล้ำด้านการจัดการศึกษาของประเทศ โดยมีโรงเรียนศูนย์กลางของชุมชนเป็นต้นแบบ สร้างความเชื่อมั่นด้านคุณภาพ นำไปสู่การร่วมกันจัดกิจกรรมทางการศึกษาที่เป็นประโยชน์ เชื่อมโยงความสัมพันธ์กับชุมชนได้อย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ

โดยมีเป้าหมายที่สำคัญ 4 ส่วน ได้แก่

1) มีโรงเรียนประจำตำบล อย่างน้อยตำบลละ 1 โรงเรียน ที่มีความเข้มแข็งทางวิชาการ มีคุณธรรมจริยธรรม งานอาชีพ และสุขภาพอนามัย ให้บริการการศึกษาแก่นักเรียนและชุมชน อย่างมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน

2) ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา มีความพร้อมในทุกด้าน ทั้งสมรรถนะและศักยภาพในการบริหารจัดการ ตลอดจนมีความคิดสร้างสรรค์นวัตกรรมการเรียนการสอน

3) นักเรียนทุกคนในตำบล ได้รับโอกาสและเข้าถึงการบริการและสวัสดิการทางการศึกษาที่มีคุณภาพ และเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา แก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจและสังคมในท้องถิ่นชนบท

4) นักเรียนได้รับการพัฒนา ทั้งด้านสติปัญญา ความฉลาดทางอารมณ์ ทัศนคติ และพัฒนาการด้านร่างกายที่เหมาะสมกับช่วงวัย ควบคู่กับการปฏิบัติตามค่านิยม 12 ประการ

ในส่วนของการสนับสนุนจากรัฐบาล ได้ให้การสนับสนุน 3 ด้าน ดังนี้

1) ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทั้งอาคารเรียน อาคารประกอบ โรงอาหาร โรงพลศึกษา สนามฟุตบอล ระบบคมนาคม ระบบไฟฟ้าและระบบพลังงานทางเลือก ระบบประปาน้ำดื่ม ระบบบำบัดน้ำเสีย เครือข่ายโทรศัพท์ สัญญาณอินเตอร์เน็ต เครื่องคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์อื่น ๆ ระบบบำบัดขยะ ด้านโภชนาการและสุขภาพของนักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษาและผู้บริหารสถานศึกษา ตลอดจนสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือผู้มีความต้องการเป็นพิเศษ

2) ด้านการส่งเสริมการศึกษา ให้การสนับสนุนการเรียนการสอนด้านวิชาการ ด้านภาษาอังกฤษและภาษาจีน รวมทั้งสร้างสื่อและนวัตกรรมให้เป็นคลังความรู้ในโรงเรียน และจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้เพื่อการพัฒนา การส่งเสริมอาชีพเพื่อสร้างการเป็นผู้ประกอบการ ตลอดจนวัสดุอุปกรณ์ องค์ความรู้ด้านการพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ ตลอดจนการพัฒนาเพิ่มทักษะของผู้บริหารให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และทักษะของครูและบุคลากรทางการศึกษา โดยมุ่งเน้นที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ พร้อมสนับสนุนค่าวัสดุรายหัวของนักเรียนด้วย

3) ด้านการสร้างเครือข่ายและการมีส่วนร่วม โดยเน้นให้หน่วยงานในท้องถิ่นได้มีส่วนร่วมเป็นเครือข่ายการพัฒนา สนับสนุนความร่วมมือระหว่างศึกษาธิการจังหวัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา โรงเรียน และชุมชน รวมทั้งส่งเสริมความร่วมมือระหว่างโรงเรียนกับหน่วยงานในท้องถิ่นด้วย ในส่วนของผู้บริหารและครู จะส่งเสริมทักษะการสื่อสารและความร่วมมือเพื่อต่อยอดการพัฒนาอย่างเต็มที่ พร้อม ๆ กับการพัฒนาคณะกรรมการสถานศึกษาเพื่อร่วมพัฒนาโรงเรียนคุณภาพประจำตำบลต่อไป