วันศุกร์ที่ 5 พฤศจิกายน พ.ศ. 2564 เวลา 09.30 น. ดร. อัมพร พินะสา เลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นประธานในพิธีเปิด การประชุมเตรียมความพร้อมผู้รับผิดชอบและชี้แจงแนวทางการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 ผ่านโปรแกรม Zoom โดยมอบนโยบายในการขับเคลื่อนการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรมในโรงเรียนอย่างเป็นรูปธรรม ให้แก่ ศึกษานิเทศก์ และบุคลากรทางการศึกษาผู้รับผิดชอบโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา จำนวน 245 คน นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมประชุมยังได้รับฟังบรรยายพิเศษจาก ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ในหัวข้อ ความเป็นมาและหลักการดำเนินงานโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. รวมถึงรับฟังการบรรยาย แนวทางการขับเคลื่อนโครงการและรายละเอียดการดำเนินกิจกรรมจากวิทยากรอีก 2 ท่าน คือ ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และ ดร.ฐาปณัฐ อุดมศรี รองผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ ทั้งนี้ การขับเคลื่อนโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ประจำปีงบประมาณ 2565 นับเป็นจุดเน้นของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในการพัฒนานักเรียน ครู ผู้บริหาร และบุคลากรทางการศึกษาในปีนี้อีกด้วย
04_Moral
Live สด โครงการ Good Food for All กินดี อยู่ดี ในโรงเรียนวิถีพุทธ : อาหารที่ลดการเบียดเบียนและส่งเสริมสุขภาพจากพืช (cruelty-free, plant-based diet)
การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 4 ภาคกลาง และภาคตะวันออก
วันที่ 7 เมษายน 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) กำหนดจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้เป็นรุ่นที่ 4 ประกอบด้วยภาคกลาง และภาคตะวันออก จัดขึ้นระหว่างวันที่ 7 – 9 เมษายน 2564 ณ โรงแรมคลาสสิก คามิโอ โฮเต็ล แอนด์ เซอร์วิช อพาร์ตเมนต์ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา วัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) ประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวทางปฏิบัติเดียวกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 48 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 12 เขต โดยได้รับเกียรติจาก นางสาวปุณญอุษา ผดุงหมาย รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา เขต 1 เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม
การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 3 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2564 ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น
วันที่ 30 มีนาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้ เป็นจุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 มีนาคม – 1 เมษายน 2564 ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) ประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวทางเดียวกัน ซึ่งมีผู้เข้าร่วมการประชุมจำนวนทั้งสิ้น 76 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 61 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 15 เขต โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม นายจักราวุธ สอนโกษา ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาขอนแก่น และนายศุภสิน ภูศรีโสม ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 4 ร่วมเป็นเกียรติในพิธีเปิดการประชุมดังกล่าวฯ
การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รุ่นที่ 2 ภาคใต้
วันที่ 23 มีนาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ (วพร.) กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น โดยการประชุมในครั้งนี้ เป็นจุดภาคใต้ จัดขึ้นระหว่างวันที่ 23 – 25 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมหรรษา เจบี หาดใหญ่ จังหวัดสงขลา วัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) ประจำปี พ.ศ. 2564 เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีแนวทางเดียวกันซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 30 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 6 เขต โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และนางจิณณาภักดิ์ มักคุ้น รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสงขลา เขต 2 เป็นเกียรติร่วมพิธีเปิดการประชุมดังกล่าวฯ
การประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณานวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับเขตตรวจราชการ
ด้วยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) กำหนดการจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการพิจารณานวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี ระดับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและระดับเขตตรวจราชการ ระหว่างวันที่ ๒๒-๒๕ มีนาคม ๒๕๖๔ ณ โรงแรมแกรนด์ฮาวเวิร์ด กรุงเทพมหานคร เพื่อพิจารณาและสังเคราะห์นวัตกรรมส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรมของผู้บริหารและครู โดยผู้เข้าร่วมประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ประกอบด้วย ข้าราชการบำนาญกระทรวงศึกษาธิการ ผู้บริหาร ศึกษานิเทศก์ บุคลากรทางการศึกษาและคณะทำงานจากส่วนกลาง (สพฐ.)
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ได้รับเกียรติจาก ดร.ชวลิต โพธิ์นคร อดีตผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาเครื่องมือวัดผล สพฐ. เป็นประธานในการประชุม พร้อมด้วย ดร.สิริมา หมอนไหม อดีตรองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษาและผู้เชี่ยวชาญด้านวิจัยทางการศึกษา และ นางนิรมล บัวเนียม อดีตผู้อำนวยการโรงเรียนสายน้ำทิพย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากรุงเทพมหานคร ที่ได้ให้แนวคิดในการพิจารณานวัตกรรมสร้างสรรค์คนดี และการสังเคราะห์นวัตกรรมอันเป็นประโยชน์ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม
ทั้งนี้ผลการพิจารณาและสังเคราะห์นวัตกรรม ในแต่ละสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและเขตตรวจราชการ จะนำไปใช้ในการยกระดับคุณภาพของนวัตกรรมสร้างสรรค์คนดีที่ผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ในปีงบประมาณ พ.ศ. ๒๕๖๔ และจัดทำเป็นคลังนวัตกรรมคุณธรรม จริยธรรม และเผยแพร่ต่อผู้ที่สนใจต่อไป
การประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564
วันที่ 17 มีนาคม 2564 สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการการศึกษา โดยกลุ่มงานวิจัยและพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้(วพร.) กำหนดจัดประชุมเชิงปฏิบัติการผู้รับผิดชอบการจัดกิจกรรมการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 จำนวน 4 รุ่น การประชุมในครั้งนี้ จัดขึ้นที่ภาคเหนือ ระหว่างวันที่ 17 – 19 มีนาคม 2564 ณ โรงแรมเชียงใหม่ภูคำ จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การดำเนินงานการจัดการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ (คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ ระดับประถมศึกษา และมัธยมศึกษา) เป็นไปด้วยความเรียบร้อยและเป็นแนวทางเดียวกัน ซึ่งผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย
– สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จำนวน 44 เขต
– สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา จำนวน 9 เขต
โดยได้รับเกียรติจาก ดร. อโณทัย ไทยวรรณศรี ผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งที่ปรึกษาด้านเทคโนโลยีเพื่อการเรียนการสอน เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุม และนางสาววิไลวรรณ ยะสินธ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเชียงใหม่ เข้าร่วมเป็นคณะทำงานการประชุมดังกล่าวฯ
การประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตร และสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา)
วันที่ 23 พฤศจิกายน 2563 กลุ่มวิจัยพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้ โดย ดร.จักรพงษ์ วงค์อ้าย ผู้อำนวยการกลุ่มบริหารทั่วไป สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิดการประชุมปฏิบัติการพิจารณากรอบเนื้อหาหลักสูตร และสร้างแบบทดสอบการแข่งขันทางวิชาการ ระดับนานาชาติ ประจำปี พ.ศ. 2564 รอบแรก (ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ระหว่างวันที่ 23 – 27 พฤศจิกายน 2563 ณ โรงแรมรอยัลซิตี้ กรุงเทพมหานคร
ประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม”การจัดโครงการอัตลักษณ์คนไทย Kindniss Thainess”
สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา นำโดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ,นางสาวเสาวนีย์ ทิพย์ฤกษ์,นางสาวจารุวรรณ กาบซ้อน และนางสาวทิฆัมพร มาลาล้ำ นักวิชาการศึกษา ได้เข้าร่วมประชุมกับคณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในวันที่ ๘ กันยายน ๒๕๖๓ เวลา ๑๔.๓๐ น. ณ ห้องประชุม หมายเลข ๓๐๖ อาคารรัฐสภา (เกียกกาย) เพื่อให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับพิจารณาแนวทางการจัดโครงการอัตลักษณ์คนไทย Kindniss Thainess โดยเปิดโอกาสให้เยาวชนที่มีอายุระหว่าง ๑๑ -๒๒ ปี GEN –Z นำเสนอเรื่องราวของความดีในท้องถิ่นของตนซึ่งที่ประชุมได้มีการนำเสนอรูปแบบกิจกรรมในครั้งนี้ คือ การจัดประกวดคลิปวิดีโอสั้นๆ ที่นำเสนอความดี ตามอัตลักษณ์ของคนไทยทั้ง ๗๗ จังหวัด โดยผสมผสานระหว่างความดีและเผยแพร่การท่องเที่ยวของแต่ละจังหวัด ซึ่งได้รับความร่วมมือจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เข้าร่วมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในครั้งนี้ด้วยและในส่วนของสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้นำเสนอโครงงานคุณธรรมของนักเรียน ซึ่งชนะการประกวดในปี พ.ศ. ๒๕๖๒ เพื่อร่วมแลกเปลี่ยนกับคณะอนุกรรมการฯ ทั้งนี้ โครงงานคุณธรรมของนักเรียน เป็นกิจกรรมการทำความดีภายในชุมชนของตนเอง และมีนักเรียนที่เข้าร่วมโครงงานคุณธรรมจากทุกจังหวัดของประเทศไทย และเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักเรียนที่มีความประพฤติดี มีคุณธรรมจริยธรรม ได้แสดงความสามารถและเผยแพร่การทำความดีผ่านสื่อต่าง ๆคณะอนุกรรมาธิการฯ จึงได้รับข้อเสนอดังกล่าวไว้พิจารณาและนำเสนอในการประชุมครั้งต่อไป
กลุ่ม วคส. สนก.
ประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการศาสนา ในคณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ครั้งที่ 21/2563
กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมาธิการด้านการศาสนา ในคณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ครั้งที่ 21/2563 เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2563 ณ อาคารสุขประพฤติ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ประชาชื่น โดย ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้ชี้แจงแนวทางการจัดการศึกษา ด้านคุณธรรม จริยธรรมในสถานศึกษา ว่า สพฐ. ได้ปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมให้นักเรียนภายใต้ โครงการ “โรงเรียนวิถีพุทธ” มาเป็นระยะเวลานานกว่า 10 ปี โดยนำหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มาบูรณาการในทุกกลุ่มสาระวิชา เพื่อให้นักเรียนได้ซึมซับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิต ตลอดจนส่งผลให้นักเรียนเป็นผู้มีคุณธรรม จริยธรรม และเป็นคนดีของสังคมต่อไป
การประชุมวาระพิเศษ คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในคณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา
ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา และคณะ เป็นผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เข้าร่วมประชุมวาระพิเศษ คณะอนุกรรมาธิการด้านคุณธรรมและจริยธรรม ในคณะกรรมาธิการศาสนา คุณธรรม จริยธรรม ศิลปะและวัฒนธรรม วุฒิสภา ร่วมกับหน่วยงานองค์กรภาคีเครือข่าย อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, กระทรวงการต่างประเทศ, TCEP และสื่อมวลชน เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในการดำเนินโครงการ “ภาพลักษณ์ประเทศไทย Thai DNA : Kindness Thainess” เมื่อวันอังคารที่ 25 สิงหาคม 2563 ณ ห้องประชุม หมายเลข 306 ชั้น 3 อาคารรัฐสภา (เกียกกาย)
ดร.ศิรินา ปวโรฬารวิทยา ประธานคณะอนุกรรมาธิการฯ และคณะ ได้เล็งเห็นความสำคัญของการสร้างคุณธรรมให้แก่คนไทยให้เป็นสังคมแห่งความดี เป็นอัตลักษณ์เฉพาะของคนไทย โดยเฉพาะการขับเคลื่อนหลักคุณธรรม 5 ประการ ได้แก่ กตัญญู วินัย สุจริต พอเพียง และจิตอาสา เชื่อมโยงกับสถาบันหลักของชาติ จึงเห็นควรใช้โอกาสอันดีนี้ ในการเผยแพร่ภาพลักษณ์ และคุณลักษณะที่ดีของคนไทยสู่สายตาชาวโลก อีกทั้งเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของประเทศอีกด้วย
ในปัจจุบัน คลิปวิดีโอมีเนื้อหาที่มีส่วนผสมของเรื่องราวต่าง ๆ จึงกำหนดให้เยาวชนอายุ 10 – 22 ปี รวมกลุ่มกันเพื่อสร้างสรรค์ผลงาน กลุ่มละ 2-5 คน ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ในที่ประชุม ได้มอบหมายให้ดำเนินการรวบรวมเรื่องราวคุณงามความดีของนักเรียนที่ได้ดำเนินการอยู่ก่อนแล้ว เสนอต่อคณะอนุกรรมาธิการฯ
อย่างไรก็ตาม คณะอนุกรรมาธิการฯ ได้กำหนดประชุมวาระพิเศษอีกครั้ง ในวันอังคารที่ 8 กันยายน 2563
โครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ “เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง” ปีที่ 13
กลุ่มวิจัยและส่งเสริมคุณธรรมและอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมในสถานศึกษา สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ร่วมกับ กลุ่มกัลยาณมิตรเพื่อเครือข่ายวิถีพุทธ จัดประเมินออนไลน์ โครงงานคุณธรรมเฉลิมพระเกียรติ “เยาวชนไทย ทำดี ถวายในหลวง” ปีที่ 13 จำนวน 18 โครงงาน เพื่อยกระดับศักยภาพของโครงงานคุณธรรมให้สามารถสร้างประโยชน์ต่อสังคมได้อย่างมีคุณภาพ ระหว่างวันที่ 24 – 25 สิงหาคม 2563 ณ วีเทรน อินเตอร์เนชั่นแนลเฮ้าส์ จำกัด ดอนเมือง กรุงเทพมหานคร