Year: 2020

การประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal) โดยสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ.

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) จัดประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนาการขับเคลื่อนโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” ด้วยรูปแบบการเรียนรู้วิถีใหม่ (New normal) ระหว่างวันที่ 19 – 23 กันยายน 2563 ณ โรงแรมกานต์มณี พาเลซ กรุงเทพฯ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อร่วมกันพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ของโครงการฯ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์และบริบท รวมถึงพัฒนานวัตกรรมการเสริมสร้างเยาวชนนักอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม สำหรับขยายผลในระดับโรงเรียนและชุมชนอย่างยั่งยืน ทั้งนี้ผู้เข้าร่วมประชุมประกอบไปด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ผู้แทนภาคีเครือข่าย คณะทำงานและผู้เกี่ยวข้อง

 

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 ณ โรงแรมน้ำทองน่าน จังหวัดน่าน

เมื่อวันที่ 16 และ 17 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้เข้าร่วมการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตรพัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ ภายใต้โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน (น่าน และเชียงใหม่) โดยมีวัตถุประสงค์ในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาครูวิทยากรรักษ์พงไพรในระดับพื้นที่อย่างเป็นระบบ

 

ทั้งนี้การประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับเกียรติจาก ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ร่วมบรรยายให้ความรู้แก่ครูวิทยากรรักษ์พงไพรในครั้งนี้ด้วย

ทางด้านศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบศูนย์ สพป.เชียงใหม่ เขต 1 ซึ่งเป็นหนึ่งในผู้ร่วมการประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้ให้แนวคิดในการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่ายไว้ว่า แต่ละหน่วยงานมีความรู้ มีความชำนาญในเรื่องที่แตกต่างกัน การทำงานเป็นเครือข่ายจะทำให้สามารถนำองค์ความรู้มาบูรณาการและต่อยอดได้ ดังนั้นการทำงานเป็นเครือข่ายจึงเป็นเรื่องที่ดี

 

การจัดประชุมสัมมนาฯ ภาคเหนือ กลุ่มที่ 1 จังหวัดน่าน ได้รับความร่วมมือจาก ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าน่าน (นาน้อย) บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาเชียงใหม่ บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษาน่าน (บ่อเกลือ) และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.เชียงใหม่ เขต 1 สพป.น่าน เขต 1 (เจ้าภาพ) โดยการสัมมนาดังกล่าวจะมีกิจกรรมหลักเป็นการแบ่งกลุ่มระดมพลังสมองเพื่อหาแนวทางการจัดกิจกรรมและขยายผลในโรงเรียน รวมถึงแนวทางการต่อยอดขยายผลระหว่างเครือข่าย และกิจกรรมเรียนรู้ 3 รักษ์ สำนึกในพระมหากรุณาธิคุณภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์)

จากนั้น ดร.สมพร สามทองกล่ำ พร้อมคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมชมศูนย์หม่อนไหมเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ น่าน ภายในศูนย์ประกอบไปด้วย โรงเลี้ยงไหม อุโมงค์หม่อนผลสด และนิทรรศการผ้าไหมไทย เป็นต้น

สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด และติดตามข่าวสารผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์

กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่ม ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่เพื่อการพัฒนาโครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์

เมื่อวันที่ 14 และ 15 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์ โดยได้รับเกียรติจาก นายยงยุทธ พรหมแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต1 เป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาวิชาการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และพัฒนาครูวิทยากรรักษ์พงไพร โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ บุคลากรจากองค์การบริหารส่วนตำบลโคกสมบูรณ์ บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ห้วยกลุ่ม บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ลำปาว บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์อุบลราชธานี (น้ำยืน) บุคลากรจากศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษายโสธร ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.ยโสธร เขต 1 สพป.อุบลราชธานี เขต 5 สพป.ชัยภูมิ เขต 2 สพป.อุบลราชธานี เขต 1 และสพป.กาฬสินธุ์ เขต 1 (เจ้าภาพ) โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมฝายชะลอน้ำ ปลูกต้นไม้เพิ่มเติมผืนป่าดงนา ภายใต้แนวคิด “เรียนรู้แนวคิดของพ่อ สานต่อคำของแม่” กิจกรรมเทียนบูรณาการ 3 รักษ์ (รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์)กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ/Nature Game กิจกรรมรักษ์พงไพร..หัวใจยูทูปเบอร์ กิจกรรมขยะเปลี่ยนชีวิต “ค่ายกล คนรักษ์โลก”พร้อมทั้งมีการเสวนาประสาคนรักษ์พงไพร เป็นต้น

สำหรับแนวคิดการขับเคลื่อนโครงการฯ ของเครือข่ายเชิงพื้นที่ (Rakpongprai Network : RN) ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ณ เฮือนกาฬสินธุ์-สวนดอนธรรม จังหวัดกาฬสินธุ์ มุ่งเน้นกิจกรรม 3 ด้าน คือ 1) กิจกรรม 3 รักษ์ (รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์) 2) กิจกรรมด้านสิ่งแวดล้อม และ3) กิจกรรมด้านคุณธรรมและจริยธรรม เป็นหลัก แล้วนำส่วนอื่นๆ มาบูรณาการ โดยทั้งนี้กิจกรรมต่างๆ ต้องเกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกส่วนงาน อาทิ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ ศูนย์การเรียนรู้ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงด้านการศึกษา บุคลากรจากเขตพื้นที่การศึกษาที่เกี่ยวข้อง หรือผู้แทนที่เคยเข้าร่วมโครงการค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ ตั้งแต่ปีที่ 1-6 ซึ่งจะมีการประชุมวางแผนการดำเนินงานอย่างสม่ำเสมอ แบ่งส่วนการทำงานร่วมกันอย่างชัดเจนสามารถต่องานกันได้ ทั้งนี้เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปแนวทางเดียวกันและเหมาะสมสอดคล้องกับวิถีชีวิตรูปแบบใหม่ (New Normal)

ท้ายที่สุด ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน ได้ให้ข้อคิดไว้ว่า “ใครเล่าจะรู้เท่าคนในพื้นที่เราเอง” นั่นคือ เราต้องเริ่มจากตัวเราเองที่รักและหวงแหนในทรัพยากรกรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมรอบตัวเรา ใกล้บ้านเรา ในชุมชนของเรา เริ่มจากจุดเล็กที่เราสามารถทำได้

การอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาและโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ.

วันที่ 16 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนาองค์การแห่งการเรียนรู้ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา จัดการอบรมเชิงปฏิบัติการพัฒนาตัวชี้วัดคุณธรรม จริยธรรม สำหรับผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษา ตามแนวทางโรงเรียนในโครงการกองทุนการศึกษาและโครงการโรงเรียนคุณธรรม สพฐ. ระหว่างวันที่ 16 – 18 กันยายน 2563 ณ โรงแรม ทีเค พาเลซ แอนด์ คอนเวชั่น กรุงเทพมหานคร โดย ดร.ภูธร จันทะหงษ์ ปุณยจรัสธำรง รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา รักษาการในตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญด้านการบริหารการจัดการศึกษา เป็นประธานในพิธีเปิด ในการอบรมครั้งนี้ได้รับเกียรติจากอาจารย์ประจำภาควิชาวิจัยและจิตวิทยาการศึกษา คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (รศ.ดร.ณัฏฐภรณ์ หลาวทองดร.สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน) และอาจารย์ประจำวิทยาลัยครูสุริยเทพ มหาวิทยาลัยรังสิต
(ผศ.ดร.ประทุมทอง ไตรรัตน์ ดร.นิภาพร เฉลิมนิรันดร) มาเป็นวิทยากรในการอบรมเพื่อให้ความรู้แก่ผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้

เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้มอบหมายให้กลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ  โดยการประชุมดังกล่าว จัดขึ้น เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2563 ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนท์ ถนนกำแพงเพชร 6 กรุงเทพมหานคร โดยมี ดร.สมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ และนายสราวุธ ชีวะประเสริฐ ที่ปรึกษาด้านยุทธศาสตร์น้ำ กล่าวรายงานวัตถุประสงค์การจัดประชุมและมีผู้เข้าร่วมการประชุมจากส่วนราชการ รัฐวิสหกิจ สถานศึกษา โรงพยาบาล สถานพยาบาล และกิจกรรมสุขภาพ และผู้สังเกตการณ์ กว่า 100 คน

ทั้งนี้ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) ในฐานะฝ่ายเลขานุการ กนช. ได้รับมอบหมายให้ดำเนินการตามมาตราการประหยัดน้ำภาครัฐตามมติ ครม. เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2558 โดยต้องรายงานผลให้ คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทราบ และ สทนช. ได้มีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 ซึ่งที่ประชุมมีมติให้ สทนช. จัดเก็บข้อมูลการใช้น้ำภาคราชการให้เป็นปัจจุบันตามประเภทและขนาดของหน่วยงาน ให้ครบถ้วน สมบูรณ์ สามารถนำมาใช้ในการวิเคราะห์การกำหนดจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำ ที่จะนำไปสู่การกำหนดมาตรการ วิธีการและแนวทางในการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพ โดยสอดคล้องกับแผนการดำเนินงาน (Road Map) ขับเคลื่อนแผนแม่บทการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ 20 ปี (พ.ศ.2561-2580) ด้านที่ 1 การจัดการน้ำอุปโภค บริโภค กลยุทธ์ที่ 1.4 การประหยัดน้ำทุกภาคส่วน ให้กำหนดอัตราการใช้น้ำในภาคราชการ และพื้นที่ชุมชน ทั้งชุมชนเมือง ชนบท และแหล่งท่องเที่ยว และการส่งเสริมการประหยัดน้ำภาครัฐ ในเบื้องต้น สทนช. โดยกองนโยบายและแผนแม่บทได้ดำเนินการศึกษา รวบรวม และวิเคราะห์การใช้น้ำสำหรับภาคราชการเสร็จเรียบร้อยแล้ว
การประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ เป็นการเปิดโอกาสให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องรับฟังการชี้แจงแนวทางการจัดเก็บข้อมูลและการจัดทำเกณฑ์มาตรฐานการใช้น้ำภาครัฐ ตลอดจนให้ข้อคิดเห็น ข้อเสนอแนะที่เป็นประโยชน์ และร่วมกันกำหนดมาตรการและแนวทางการประหยัดน้ำภาครัฐ เพื่อที่ สทนช.จะได้นำเสนอคณะกรรมการทรัพยากรน้ำแห่งชาติและคณะรัฐมนตรี (ครม.) กำหนดเป็นมาตรการบังคับใช้ต่อไป นอกจากนี้ ข้อมูลดังกล่าวจะถูกนำไปใช้ในการรายงานเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนเป้าหมายที่ 6 ตามตัวชี้วัด SDGs 6.4.1 การเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการใช้น้ำทุกช่วงเวลา สำหรับรายงาน UN-WATER ในปี 2020 ที่กำหนดให้จัดทำข้อมูลตามศักยภาพของประเทศ ซึ่งการจัดทำข้อมูลการใช้น้ำภาคบริการตามมาตรฐานอุตสาหกรรมสากลของ UNDP ในกลุ่มส่วนราชการ (O) สถานศึกษา (P) และโรงพยาบาล สถานพยาบาล และกิจกรรมสุขภาพ (Q) ต่อไป
ขอขอบคุณภาพและข่าวจาก https://www.facebook.com/onwrnews

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ ๖๐ พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 2 ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก

เมื่อวันที่ 12 และ 13 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. นำโดย ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน และคณะ ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 2 (นครนายก สระบุรี จันทบุรี และชลบุรี) ณ ท่าชัย โฮมสเตย์ จังหวัดนครนายก โดยได้รับเกียรติจาก นายพิเชษฐ์ นนท์พละ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายกเป็นประธานในพิธีเปิดการสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ครูวิทยากรค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็งและยั่งยืน

ดร.สมพร สามทองกล่ำ ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน กล่าวว่า การทำงานร่วมกับภาคีเครือข่าย และการใช้สถานที่จริงเป็นแหล่งเรียนรู้นั้น จะทำให้ครูผู้สอน เกิดความเข้าใจ เข้าถึง และสามารถนำสิ่งแวดล้อมเป็นฐานเพื่อไปประยุกต์ใช้กับวิชาที่สอนได้

ทางด้านบุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก กล่าวว่า การมีเครือข่ายทำให้สามารถที่จะประสานงานหรือพูดคุยกันได้ เป็นการระดมความคิด ได้เรียนรู้ซึ่งกันและกัน แลกเปลี่ยนความรู้กัน เมื่อร่วมกันทำงานย่อมทำให้เกิดการบูรณาการในสิ่งใหม่ๆร่วมกัน

ในครั้งนี้ ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้ทรงคุณวุฒิ ศึกษานิเทศก์ นักวิชาการศึกษา บุคลากรจากศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่านครนายก และคณะครูวิทยากรแกนนำค่ายเยาวชน…รักษ์พงไพรฯ จาก สพป.สระบุรี เขต 2 สพป.จันทบุรี เขต 1 และ 2 สพป.ชลบุรี เขต 1 และ 3 และ สพป.นครนายก (เจ้าภาพ) รวมทั้งสิ้น 70 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมนักสื่อความหมายธรรมชาติ กิจกรรม “Craft From Nature”  กิจกรรมขยะเปลี่ยนชีวิต “ค่ายกล คนรักษ์โลก” กิจกรรมถอดบทเรียน “เล่าขาน…งานค่าย” สู่แนวปฏิบัติที่ดี และกิจกรรมล่องแก่งเพื่อศึกษาเส้นทางธรรมชาติ รวมถึงการสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ภายใต้กิจกรรมเทียน (เชื่อมโยง 3 รักษ์ : รักษ์ชาติ รักษ์ศาสน์ รักษ์กษัตริย์) เป็นต้น

 

สามารถรับชม การเผยแพร่ภาพสด ผ่านทาง Facebook : ค่ายเยาวชน รักษ์พงไพร

 

การประชุมคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วม คณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 2/2563

วันที่ 11 กันยายน 2563  เวลา 09.30 น. ดร.อโณทัย  ไทยวรรณศรี เข้าร่วมประชุมคณะอนุกรรมการด้านการสื่อสารและการมีส่วนร่วมในคณะกรรมการนโยบายพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ครั้งที่ 2/2563 ณ กองทุนพัฒนาสื่อปลอดภัยและสร้างสรรค์ อาคาร เอส.พี. (ไอบีเอ็ม) อาคารบี ชั้น 6 พหลโยธิน กรุงเทพมหานคร

โครงการค่าย “เยาวชน…รักษ์พงไพร เฉลิมพระเกียรติ 60 พรรษา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี” สู่ความยั่งยืน (Rakpongprai Network : RN) ภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์

วันที่ 9 – 11 กันยายน 2563 กลุ่มวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการจัดการเรียนการสอน (วนส.) สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา สพฐ. ได้ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมและแลกเปลี่ยนเรียนรู้การดำเนินงานเครือข่ายเชิงพื้นที่ฯ (Rakpongprai Network : RN) ของภาคกลาง กลุ่มที่ 1 ณ ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จังหวัดนครสวรรค์ ที่ดำเนินการจัดสัมมนาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ แบบ Active Learning หลักสูตร “พัฒนาครูวิทยากรเครือข่ายเชิงพื้นที่” เพื่อพัฒนาและเสริมสร้างให้ครูมีความรู้ความเข้าใจในการจัดการเรียนการสอนแบบบูรณาการด้านการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น รวมถึงการนำไปต่อยอดขยายผลในโรงเรียนและชุมชนได้อย่างเข้มแข็ง เป็นไปตามพระราโชบายของสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ครูวิทยากรจาก สพป.กาญจนบุรี เขต 1 สพป.อุทัยธานี เขต 1 และ 2 สพป.พิษณุโลก เขต 2 และสพป.นครสวรรค์ เขต 1 (เจ้าภาพ) รวม 61 คน โดยการสัมมนาดังกล่าวเป็นการจัดกิจกรรมในรูปแบบ Active Learning อาทิ กิจกรรมรับอรุณ (ส่องนกท้องถิ่น) กิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4 จังหวัด กิจกรรมกลุ่มสัมพันธ์ กิจกรรมเรื่องเล่าจากพงไพรฯ กิจกรรม 6 ฐาน (ฐานป่าไม้ในเมืองไทย ฐานนักสืบสายน้ำ : สำรวจโลกแห่งลำน้ำ ฐานโซ่อาหาร สายใยอาหารและระบบนิเวศ ฐาน Coding ฐานสร้างภาพจากธรรมชาติ ฐานรอยตีนสัตว์) เป็นต้น

ประชุมรับฟังความเห็นภาคีเครือข่ายสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ “คุณธรรมกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติในสังคมไทยปัจจุบัน”

ดร.บรรเจอดพร สู่แสนสุข รองผู้อำนวยการสำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา ได้เข้าร่วมประชุมรับฟังความเห็นภาคีเครือข่ายสมัชชาคุณธรรมแห่งชาติ “คุณธรรมกับการแก้ไขปัญหาวิกฤติในสังคมไทยปัจจุบัน” ในวันพุธที่ 9 กันยายน 2563 เวลา 08.30 – 16.30 น. ณ ห้องแซฟไฟร์ 204-205 อาคารอิมแพคฟอรั่ม เมืองทองธานี แจ้งวัฒนะ จังหวัดนนทบุรี ในที่ประชุมมีการบรรยายพิเศษ “ปรากฏการณ์คุณธรรมในสังคมไทย” โดย นายวีระ โรจน์พจนรัตน์ ประธานกรรมการศูนย์คุณธรรมและการนำเสนอบทบาทของศูนย์คุณธรรมต่อการส่งเสริมคุณธรรมในอนาคต โดย รองศาสตราจารย์นายแพทย์สุริยเดว ทรีปาตี
ผู้อำนวยการศูนย์คุณธรรม รวมถึงการระดมความเห็นต่อสถานการณ์วิกฤติด้านคุณธรรมและแนวทางการแก้ไขปัญหาในแต่ละกลุ่มเครือข่าย ซึ่งแบ่งเป็น 7 กลุ่มย่อย ได้แก่ กลุ่มเครือข่ายองค์กรภาครัฐ กลุ่มเครือข่ายองค์กรภาคธุรกิจ เอกชน กลุ่มเครือข่ายองค์กรภาคประชาสังคม ชุมชน ครอบครัว เด็กและเยาวชน กลุ่มเครือข่ายองค์กรทางศาสนา กลุ่มเครือข่ายองค์กรทางการศึกษา กลุ่มเครือข่ายองค์กรสื่อมวลชน และกลุ่มแกนนำจังหวัดส่งเสริมคุณธรรมนำร่อง 10 จังหวัด โดยสถานการณ์วิกฤติที่กลุ่มเครือข่ายองค์กรการศึกษาได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ได้แก่ ปัญหาไฟป่า(ภาคเหนือ) สถานการณ์โควิด-19 และปัญหาการใช้สื่อโซเชียล

เข้าร่วมการประชุม Kick off วันดินโลก “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน”

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานมอบหมายให้บุคลากรกลุ่มโครงการพิเศษ สำนักพัฒนานวัตกรรมการจัดการศึกษา เข้าร่วมการประชุม Kick off วันดินโลก “รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ณ โรงแรมเซ็นทรา บายเซ็นทาราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ กรุงเทพฯ ว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดย กรมพัฒนาที่ดิน มีนโยบายด้านการจัดการทรัพยากรดิน โดยมีการจัดทำแผนปฏิบัติงาน เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ Sustainable Development Goals (SDGs) ในเรื่องทรัพยากรดินและสิ่งแวดล้อม ความปลอดภัยและความมั่นคงทางอาหาร รวมทั้งร่วมผลักดันเรื่องวันดินโลก ร่วมกับสมาคมดินและปุ๋ยแห่งประเทศไทย สมาคมอนุรักษ์ดินและน้ำ สมาคมดินโลก และองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โดยได้มีการจัดงานวันดินโลกในวันที่ 5 ธันวาคม ของทุกปี สำหรับในปี 2563 สมัชชาความร่วมมือทรัพยากรดินโลก (Global Soil Partnership : GSP) ได้กำหนดหัวข้อการจัดงานวันดินโลก “Keep Soil Alive, Protect Soil Biodiversity : รักษ์ปฐพี คืนชีวีที่หลากหลายให้ผืนดิน” ระหว่างวันที่ 4 – 7 ธันวาคม 2563 ณ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านการวิจัยดินแห่งเอเชีย (CESRA) อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นหัวข้อที่ให้ความสำคัญของนิเวศวิทยา และความหลากหลายทางชีวภาพในดินของสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับจุลินทรีย์ สิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก และสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่

 

เข้าร่วมประชุมทางวิชาการเพื่อจัดข้อเสนอนโยบายทางการศึกษา (OEC Forum) ครั้งที่ 6

ดร.มัลลวีร์ รอชโฟล ผู้อำนวยการกลุ่มวิจัยและนวัตกรรมการบริหาร ได้เข้าร่วมประชุมทางวิชาการเพื่อจัดข้อเสนอนโยบายทางการศึกษา (OEC Forum) ครั้งที่ 6 เรื่อง ยกกำลังสองการจัดการเรียนการสอนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่น และวิสาหกิจชุมชน ณ ห้องจามจุรี บอลลูม ชั้น M โรงแรมปทุมวัน ปริ๊นเซส ปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ในวันที่ 10 ตุลาคม 2563 เป็นการประชุมที่นำเสนอประเด็นที่เกี่ยวกับการสร้างระบบนิเวศทางการศึกษา  (Education Ecosystem)  ในการยกระดับคุณภาพการศึกษา  พร้อมกับการนำเสนอแนวทางให้ชุมชนนำภูมิปัญญาท้องถิ่น วิสาหกิจชุมชน และองค์ความรู้ให้ชุมชนเกิดการเรียนรู้เพื่อทำให้เกิดการพัฒนาคนและการศึกษา ผ่านวิทยากรชั้นนำ ได้แก่ รองศาสตราจารย์ ดร. วรากรณ์ สามโกเศศ  ประธานกรรมการปฏิรูปประเทศด้านการศึกษา  ดร.เตือนใจ ดีเทศน์ ที่ปรึกษาและผู้ก่อตั้งมูลนิธิพัฒนาชุมชนในเขตภูเขา  นายพรวิทย์ พัชรินทร์ตนะกุล  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการ สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ และนางสาวปาริสา สัทธินทรีย์ ประธานสภาผู้แทนนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เป็นต้น

บรรยากาศการจัดสอบคัดเลือกผู้มีสิทธิ์รับทุน รุ่นที่ 1 ประจำปี 2563 (THE C21 SCHOLASHIP (OBEC) Y2020/2021)

โครงการเปิดเวทีไทยก้าวไกลได้จัดสอบคัดเลือกผู้มีสิทธิ์รับทุนรุ่นที่ 1 ประจำปี 2563 (THE C21 SCHOLASHIP (OBEC) Y2020 / 2021) เพื่อรับทุนการศึกษาระดับ A – Level / Foundation / High Scool และมีสภาใน การศึกษาในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศอังกฤษและอเมริกา

การสอบดังกล่าวจัดขึ้นในวันที่ 5 เดือน 2563 ณ คณะครุศาสตร์มหาวิทยาลัยโดยมีนักเรียนในเครือสพฐ. จากโรงเรียนชั้นนำทั่วประเทศสมัครเข้าร่วมการสอบกว่า 200 คน

**************************